เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1454 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1623 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8342 รูป
สามเณร
292 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8853 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7185 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดญาณเวศกวัน

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดญาณเวศกวัน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 19 เดือน พฤศจิกายน ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 20 เดือน กันยายน ปี 500

ที่อยู่
วัดญาณเวศกวัน

เลขที่
10

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
บางกระทึก

เขต / อำเภอ
สามพราน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73210

เนื้อที่
34 ไร่ - งาน 38 ตารางวา

Line
0867862272

Facebook
คลิกดู

เว็บไซต์
คลิกดู

มือถือ
0867862272

โทรศัพท์
02-4827365

อีเมล์
nyanaves.info@gmail.com

จำนวนเข้าดู : 2814

ปรับปรุงล่าสุด : 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 08:53:45

ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ยุคแรก: เกิดเป็นสำนักสงฆ์

บนที่ดินแปลงหนึ่งอยู่เลยพุทธมณฑลไปทางด้านหลังห่างเพียงสัก ๑๐๐ เมตร เนื้อที่ ๑๑ ไร่เศษ คณะญาติโยมได้ดำเนินการขออนุญาตสร้างวัด และได้รับหนังสืออนุญาตสร้างวัดที่ทางราชการออกให้เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๓๒ เมื่อก่อสร้างเสนาสนะพอเป็นที่อยู่อาศัยได้แล้ว โยมก็นิมนต์พระไปจำพรรษา พระภิกษุ ๓ รูป เข้าพำนัก ณ ที่ก่อตั้ง สำนักสงฆ์ญาณเวศกวัน หลังพุทธมณฑล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ตั้งแต่วันเข้าพรรษาที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒ เป็นต้นมา

ในการวางฐานความมั่นคงทางปัจจัยสี่ เริ่มด้วยเรื่องเสนาสนะ มีโยมเป็นผู้ถวายกุฏิ ๒ หลังแรกของวัด โดยอุปถัมภ์ทุน และบริจาคไม้ที่รื้อบ้านเก่ามาสร้าง จากนั้นก็จัดตั้งทุนด้านต่างๆ ให้แก่วัด ต่อจากนั้น ญาติโยมที่ร่วมสร้างวัดกันมา ก็สร้างอาคารหลักให้พอที่การปฏิบัติศาสนกิจของพระสงฆ์และการบำเพ็ญกุศลของสาธุชนจะเป็นไปได้ มีศาลาอเนกประสงค์ขนาดย่อม ๑ หลัง โรงครัวขนาดย่อม ซึ่งเป็นทั้งที่ประกอบอาหารและที่เลี้ยงภัตตาหาร ๑ หลัง (พอแก่พระภิกษุซึ่งในระยะแรกมีจำนวนเพียงไม่กี่รูป) และหอระฆัง ซึ่งเป็นที่ตั้งถังน้ำบาดาล พร้อมทั้งมีห้องเล็กที่ลูกศิษย์อยู่ได้อีกคนหนึ่ง ๑ หลัง

จากนั้น ก็มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ชื่อว่า วัดญาณเวศกวัน ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๓๗ เป็นวัดสมบูรณ์ตามกฎหมาย ในระดับสำนักสงฆ์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๒ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) เป็นเจ้าอาวาสสืบมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน

อารามร่มรื่น: บรรยากาศอันให้สมเป็นวัด

การปลูกต้นไม้ก็มีความเป็นมายืดยาวคู่กับประวัติญาณเวศกวันอีกเรื่องหนึ่ง เพราะดังที่ทราบกันอยู่ว่า วัดควรมีลักษณะแห่งบรรยากาศที่รื่นรมย์ ร่มรื่น สงบสงัด หรือวิเวก พุทธบริษัทก็เห็นชอบและร่วมแรงร่วมใจกันที่จะทำให้วัดที่นี่มีลักษณะสมเป็น “วัน” (ป่า) หรือ “อาราม” (สวน) ซึ่งเป็นคำเรียกวัดส่วนมากในพุทธกาล

ที่หลังพุทธมณฑล เมื่อเริ่มจะสร้างวัด เป็นที่ถูกทอดทิ้ง รกร้าง มีต้นไม้ ๓ อย่างขึ้นเองอยู่มากมาย คือ มะขามเทศ แค และกระถิน มีคลองสาธารณะที่ชื่อว่า “คลองใหม่เจริญสุข” ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน

เมื่อพระเริ่มมาจำพรรษา ๒๕๓๒ แล้วไม่นาน ญาติโยมก็เริ่มงานปลูกต้นไม้ แต่ที่ดินนั้นปลูกต้นไม้ยาก ความเพียรมีผลน้อย ส่วนที่เห็นผลยืนยาวเป็นหลักฐานชัดเจน คือ ต้นประดู่ ซึ่งติดต่อจ้างแหล่งรับงานปลูกต้นไม้ ให้นำต้นที่โตแล้ว สูงประมาณ ๑๐ เมตร เอามาปลูกเรียงแถวตลอดริมคลอง ขอบสระน้ำ และวนรอบขอบที่ดินวัด เฉพาะจากสุดคลองด้านเหนือไปถึงสุดคลองด้านใต้ จดขอบสระน้ำด้านตะวันตกซึ่งส่วนใหญ่ยังเจริญงอกงามเห็นชัดอยู่ในบัดนี้

สรุปได้ว่า สิบปีผ่านล่วงแล้วหลังจากเริ่มสร้างวัด จึงพอจะเห็นชัดขึ้นมาว่าวัดญาณเวศกวันนี้มีความร่มรื่นด้วยหมู่ไม้

ศาสนกิจ: สาระของความเป็นวัด

ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ มีผู้ทยอยมาอุปสมบทอยู่ด้วยบ้าง บรรพชาเป็นสามเณรก็มี แต่ในปีแรกๆ บวชอยู่ระยะสั้นประมาณ ๑ เดือน ยังไม่มีผู้อยู่จำพรรษา เมื่อมีผู้บวชใหม่เป็นพระนวกะ ซึ่งเรียกกันว่าบวชเรียน ก็จะต้องมีการเล่าเรียนสั่งสอนธรรม แต่เมื่อผู้บวชยังมีน้อยรูป และบวชช่วงสั้นๆ การแนะนำสั่งสอนก็ดำเนินไปเป็นส่วนแทรกอยู่ในความเป็นอยู่และกิจวัตรประจำวัน

ครั้นถึงปี ๒๕๓๖ เป็นต้นมา เมื่อเริ่มมีพระนวกะอยู่จำพรรษาแล้ว การเรียนการสอนก็เป็นงานที่เด่นชัดขึ้นมา นอกจากฟังธรรมคำบรรยายจากประธานสงฆ์ หลังทำวัตรทั้งภาคเช้าและภาคค่ำแล้ว ก็มีการจัดชั้นเรียนสอนพระปริยัติธรรมแก่พระใหม่ ทุกวัน เว้นวันเสาร์-อาทิตย์ และวันอุโบสถ

การสอนพระปริยัติธรรมแก่พระนวกะ ที่เริ่มตั้งแต่พรรษาปี ๒๕๓๖ มานี้ ถือว่าเป็นศาสนกิจหลักของวัดสืบมาจนปัจจุบัน ในระยะต่อมาเมื่อมีผู้ขออุปสมบทมากขึ้น ก็ขยายงานออกไป ให้มีการจัดชั้นสอนในช่วงนอกพรรษาด้วย แต่ใช้วิธีวางกำหนดให้มีการบวชพร้อมกัน เพื่อสอนเป็นรุ่นๆ ละ ๑ เดือน ดังที่ในปัจจุบันค่อนข้างลงตัวว่า ในปีหนึ่งๆ มีรุ่นพรรษา ๓ เดือน ๑ รุ่น และรุ่นหนึ่งเดือนนอกพรรษา ประมาณ ๓-๔ รุ่น

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์) ปยุตฺโต

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมงคลธีรคุณ (อินศร) จินฺตาปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-02-2565

​พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ คุณวโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระครูธรรมรัต เตชปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

​พระครูธรรมรุจิ สุขิโต

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระครูวรวงศ์ ถิรญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาปริญญา ปญฺญาสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาการุณย์ กุสลนนฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาพงศ์พิสุทธิ์ ฐิตญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาปณต คุณวฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาพงศธรณ์ เกตุญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาสมภพ ภูริญาโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

​พระมหาวรท ธมฺมธโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

​พระมหาอมรวิทย์ นนฺทิโย

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหาเอกวัฒน์ เอกคฺคจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมาโนช ธมฺมครุโก

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระชัยยศ พุทฺธิวโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระวิทยา ธมฺมวโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

​พระมหาธีรพงษ์ อุตฺตโม

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระนิชนันท์ ชุติกาโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระปฏิพล ภูริเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระวสุ วสุตฺตโม

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระสุพจน์ ปภากโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 01-12-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

เพียงฟัง

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 336 ครั้ง

เด็กวัดชวนธรรม

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 233 ครั้ง

เก็บหอมออมสติ

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 433 ครั้ง

เรื่องเล่าจากพระสูตร

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 85 ครั้ง

ขอระบายหน่อยเถอะ

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 124 ครั้ง

"บุญพิธี สุดสัปดาห์ ออนไลน์"

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 123 ครั้ง

"วันพระสุดสัปดาห์ออนไลน์"

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 404 ครั้ง

ญาณเวศก์ NEWSLETTER

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 271 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ธรรมกถาพรรษากาล...

ข้อมูลเมื่อ 25-09-2564

เปิดดู 80 ครั้ง

ธรรมกถาพรรษากาล...

ข้อมูลเมื่อ 25-09-2564

เปิดดู 78 ครั้ง

ธรรมกถาพรรษากาล...

ข้อมูลเมื่อ 25-09-2564

เปิดดู 82 ครั้ง

สาระธรรม

ศิลป์ธรรม

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 2172 ครั้ง

ศิลป์ธรรม

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 95 ครั้ง

ศิลป์ธรรม

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

เปิดดู 538 ครั้ง

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด