เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8351 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8866 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7197 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดสามกระบือเผือก

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดสามกระบือเผือก

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 10 เดือน มีนาคม ปี 500

ที่อยู่
-

เลขที่
-

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
สามควายเผือก

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
๒๓ ไร่ ๑ งาน ๘๙ ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 1428

ปรับปรุงล่าสุด : 25 มกราคม พ.ศ. 2565 19:54:42

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 20:16:35

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัด
วัดสามกระบือเผือก     ชื่อที่ชาวบ้านเรียกขานว่า  วัดสามควายเผือก    ชื่อเดิม  วัดอินทาราม    ตั้งอยู่บ้านเลขที่    ๖๑  หมู่ที่  ๔   ตำบล  สามควายเผือก   อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  สังกัดคณะสงฆ์    มหานิกาย
การตั้งวัด
ได้ตั้งวัดเมื่อ  พ.ศ.   ๒๔๑๕ 
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด  มีเนื้อที่ ๒๓ ไร่ ๑ งาน ๘๙ ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน โฉนดเลขที่ ๒๕๗๘๙ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด
                                                             อาณาเขต 
                                ทิศเหนือ             จดคลองสาธารณะ
                                ทิศใต้                 จดถนนสาธารณะเข้าหมู่บ้านศาลาแดง
                                ทิศตะวันออก        จดที่ดินของนางประนอม  ดิลกวรนาถ
                                ทิศตะวันตก          จดถนนสาธารณะประโยชน์
ที่ธรณีสงฆ์  มี ๒ แปลง รวมเนื้อที่ดิน ๓๐ ไร่ ๒ งาน ๔ ตารางวาคือ
๑.   แปลงที่  ๑   ตั้งอยู่ตำบลสามควายเผือก   อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม   มีเนื้อที่   ๒๖  ไร่    ๔๔  ตารางวา   มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน   คือ โฉนดที่ดิน  เลขที่   ๔๙๐๖
๒.  แปลงที่  ๒   ตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมศาลา  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม  มีเนื้อที่  ๔   ไร่ ๑   งาน   ๖๐   ตารางวา  มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน   คือ โฉนดที่ดิน   เลขที่   ๓๕๐๔
ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบ    
วัดตั้งอยู่ในภูมิประเทศราบลุ่ม  ด้านเหนือติดลำคลองสาธารณประโยชน์    ด้านใต้ติดกับที่ดินของประชาชนที่ยังมิได้ทำประโยชน์   ด้านตะวันตกติดกับโรงเรียนซึ่งสร้างบนที่ดินของวัด  ชื่อโรงเรียนวัดสามควายเผือก ด้านตะวันออกเป็นทางสาธารณประโยชน์      ฯ
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี 
อุโบสถ  กว้าง   ๒๘.๕๐  เมตร     ยาว  ๔๙.๘๐  เมตร   สร้างเมื่อ พ.ศ..๒๕๒๘   เป็นอาคารคอนกรีต
ศาลาการเปรียญ  กว้าง   ๑๙.๙๐  เมตร   ยาว   ๒๗.๓๕   เมตร    สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๗๘    เป็นอาคารหลังไม้   พื้นหินขัด
หอสวดมนต์   กว้าง   ๘.๖๐  เมตร  ยาว  ๑๓.๒๐  เมตร  ไม่ปรากฏ พ.ศ.ที่สร้าง   เป็นอาคารหลังไม้  พื้นคอนกรีต
กุฏิสงฆ์   จำนวน   ๑๓  หลัง   ครึ่งตึกครึ่งไม้   ๑๐  หลัง   ตึก  ๓  หลัง
ศาลาอเนกประสงค์  ๑  หลัง   กว้าง   ๑๖.๐๕  เมตร    ยาว  ๓๕.๖๕  เมตร   สร้างเมื่อ  พ.ศ.   ๒๕๓๓   เป็นอาคารคอนกรีต
ศาลาบำเพ็ญกุศล   ๑  หลัง  สร้างด้วยคอนกรีต
มณฑป  ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสทั้ง  ๓  รูป    ๑  หลัง   หอระฆังซึ่งสร้างเมื่อ  พ.ศ.   ๒๕๒๓   ๑   หลัง     ห้องเก็บพัศดุ   ๑  หลัง   ฐานบาตร    ๑  หลัง    ฯ
การศึกษา  ได้มีการเปิดสอน
๑.  โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม   เปิดสอนเมื่อ  พ.ศ.   ๒๔๙๐ มีการสนับสนุนส่งเสริมการเรียนภาษาบาลี  โดยได้จัดส่งนักเรียนเข้าเรียนบาลี   ณ  โรงเรียนสหศึกษาบาลี   วัดพระปฐมเจดีย์  ตลอดมา นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนประถมศึกษา  ตั้งอยู่ในที่ดินของวัด   เนื้อที่   ๗  ไร่
รายนามเจ้าอาวาส  ตั้งแต่รูปแรกจนถึงปัจจุบัน  จำนวน   ๕  รูป
รูปที่   ๑.    พระอาจารย์โต   ไม่ทราบฉายา          ไม่ทราบ  พ.ศ.  ที่แน่นอน
รูปที่   ๒.    พระอธิการชา     ไม่ทราบฉายา          พ.ศ.  ๒๔๒๓    ถึง  พ.ศ.  ๒๔๗๙
รูปที่   ๓.    พระภิกษุฉ่ำ     อินทแสง   ไม่ทราบฉายา     พ.ศ.  ๒๔๘๐    ถึง  พ.ศ.  ๒๔๘๙
รูปที่   ๔.    พระครูสังฆการโกวิท   ( วรรณ  ปุณวณโณ  ) พ.ศ. ๒๔๙๐   ถึง  พ.ศ.  ๒๕๒๖
รูปที่   ๕.    พระครูวิสุทธาจารวิมล  ( เฉลิม  ยสธโร )        พ.ศ.  ๒๕๒๖  ถึง  ปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมาของวัดสามกระบือเผือก   โดยสังเขป
วัดสามกระบือเผือก   มีประวัติความเป็นมา  ซึ่งผู้มีอายุได้เล่าขานจดจำสืบต่อกันมา   ดังนี้
เดิมมีภิกษุรูปหนึ่ง  มีนามว่าอาจารย์โต   ไม่มีผู้ใดทราบว่าท่านเป็นใคร  มาจากไหน   ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งที่บ้านสระน้ำหวารน  ซึ่งอยู่ในตำบลสามควายเผือก   ห่างออกไปจากวัดในปัจจุบันนี้  ไปทางทิศเหนือประมาณ  ๓  กิโลเมตร     ต่อมาอาจารย์โต ได้ย้ายวัดมาสร้างใหม่  อยู่ทางทิศเหนือของวัดในปัจจุบัน  ห่างจากวัดประมาณครึ่งกิโลเมตร   ( ปัจจุบันนี้เป็นที่ตั้งของสถานีตำรวจภูธรตำบลสามควายเผือก )    เมื่ออาจารย์โตได้มรณภาพลง   พระภิกษุชา  ซึ่งท่านมีภูมีลำเนาอยู่ที่ตำบลสามควายเผือกนี้  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดสืบแทน    และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น  เจ้าอธิการชา    หลวงพ่อชาท่านได้พิจารณาเห็นว่า  วัดนี้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม   จึงได้ย้ายวัดข้ามคลองมาสร้างขึ้นใหม่   ทรงด้านทิศใต้  คือ สถานที่ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน  โดยได้ตั้งชื่อวัดว่า    วัดอินทาราม   โดยได้เอานามของ นายหมวดอินทร์  ซึ่งเป็นผู้อุปการะในการสร้างวัดมาตั้งเป็นชื่อวัด   อยู่ต่อมาวันหนึ่ง  ได้มีพ่อค้าเกวียน ได้มาปลดควายเพื่อหยุดพัก  พร้อมกับไล่ควายให้ลงไปกินน้ำอาบน้ำ  ในลำคลองข้างวัด   ( คลองที่ว่านี้  ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน )   จะเป็นด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบชัด    ปรากฏว่าความเผือกสามตัว   ได้จมน้ำตาย   ณ  ลำคลองข้างวัดนั่นเอง  ด้วยเหตุนี้เอง  ชาวบ้านทั้งหลายก็เลยถือเอานิมิตที่ควายเผือกสามตัวจมน้ำตายนั่นแล  มาขนานนามวัดเสียใหม่   จากวัดอินทาราม  มาเป็นวัดสามกระบือเผือก  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้.
ประวัติฉบับนี้  จัดทำเมื่อวันที่    ๙  ธันวาคม   พ.ศ.   ๒๕๔๔
 
                                                              ( ลงชื่อ ) พระครูวิสุทธาจารวิมล  เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก
 

รายการพระ

พระครูวิสุทธาจารวิมล (เฉลิม) ยสธโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-01-2565

พระมหาปัญญา จิตฺตปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระพัชรินทร์ วชิรุตฺตโม

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-01-2565

พระสายชล สารมติโก

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระมนต์เดชา เมตฺตจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 24-01-2565

พระเกรียงไกร กิตฺติสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 24-01-2565

พระภษร ผาสุโก

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระทวีศักดิ์ หิรญฺญปริปุณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระมานพ ภูมิมาณโว

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระยุทธนา ญาณธโร

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระศุภกฤษ์ เมตฺตาวิหารี

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระไฟฑูรย์ ภทฺททินฺโน

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระชัยณรงค์ อธิปุญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด