เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

พระธรรมเทศนาวันพระ เรื่อง สัจวาจาและความสงบ

รายละเอียด

พระธรรมเทศนา เรื่อง สัจวาจาและความสงบ

แสดงเมื่อ

วันอังคารที่ 21 กันยายน 2564

นโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ)

นัตถิ สันติ ปรัง สุขังตีติ

   ณ  โอกาสบัดนี้อาตมภาพจะแสดงพระสัทธรรมเทศนาในสันติกภาคา  เพื่อเป็นเครื่องโสรจสรงองคศรัทธาบารมี  ที่บรรดาท่านนริศราทานบดีทั้งหลายที่ได้พร้อมใจกันมาบำเพ็ญกุศลประจำปักษ์ คือวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10  ตรงกับวันที่ 21 กันยายน 2564 เป็นวันอังคาร การที่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านได้มีความศรัทธาปสาทะ  ความเชื่อ  ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา  ตั้งใจมาบำเพ็ยกุศลในจรรยาสัมมาปฏิบัติ  ในวันพระขึ้น 15  ค่ำนี้  ก็อาศัยที่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมีความเลื่อมใส  ในองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ  จึงได้พกกันมาปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์  เป็นประจำวันพระ  การปฏิบัติของท่านพุทธบริษัททั้งหลายทำเป็นประจำใจอย่างนี้  องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าเป็น อนุสสติ ถือว่ามีความสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา

      คำว่า อนุสสติ  แปลว่า นึกถึง การที่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกคน ที่มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระบรมศาดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  เมื่อถึงเวลาที่ใกล้จะถึงวันพระ  คือกาลเวลาที่จะต้องบำเพ็ญกุศล พุทธศาสนิกชนก็คิดว่า วันพระข้างหน้าเราจะทำอะไร จะนำอะไรไปถวายพระเป็นภัตตาหารก็ดี  เป็นปัจจัยก็ดีอย่างนี้องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า  เป็น  จาคานุสสติกรรมฐาน  คือความจริงคำว่า  กรรมฐานนี้  จะหลับตาภาวนาก็มี  ไม่ภาวนาเสมอไป  การตั้งใจจะกระทำ นึกเอาไว้ว่าจะกระทำ นึกเอาไว้เป็น อนุสสติ

   การที่บรรดาท่านพุทธบริษัทคิดว่า ในวันนี้หรือวันพรุ่งนี้ นึกถึงการถวายจะจัดภัตตาหารไปถวายพระ อย่างนี้เป็น จาคานุสสติกรรมฐาน  นึกถึงการถวายการบริจาคทาน จาคานุสสติกรรมฐาน นี้  องค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า  ถ้าบุคคลใดเป็นฌานสมาบัติ  องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่าเป็นการชนะความโลภ  เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้ก้าวไปสู่พระนิพพานคำว่าเป็นกรรมฐานในตอนนี้  แปลว่า  นึกอยู่เสมอว่าตื่นขึ้นมาวันนี้  เราจะมีโอกาสสงเคราะห์บุคคลคน หรือพระ หรือว่าสัตว์เดรัจฉานก็ดี คิดนี้ คิดสงเคราะห์อยู่เสมอ เป็นกฎธรรมดาอย่างนี้เรียกว่า จาคานุสสติกรรมฐาน คือนึกว่าจะให้ตลอดเวลา

     ประการที่ 2 บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดว่าจะไปทำบุญที่วัด ในวัดย่อมมีพระ ถ้าคิดว่า ถ้าวัดนั้นเรามีส่วนได้บำรุง ได้สร้างไว้ในพุทธศาสนาจะเป็นปัจจัยมากก็ดี น้อยก็ดี หรือว่าท่านที่ไม่มีปัจจัยทำบุญใจการก่อสร้าง แต่ช่วยแรงงานในการก่อสร้าง อย่างนี้ก็ถือว่า ทุกท่านมีอานิสงส์ในวิหารทาน เสมอกันการคิดว่าจะไปวัดที่เราทำการบำรุงไว้นั้น จัดว่าเป็น วิหารทาน เป็น จาคานุสสติกรรมฐาน เหมือนกัน เป็นอานิสงส์ใหญ่ และต่อไปบรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็คิดว่า  วัดที่เราจะไปมีพระพุทธรูปเป็นองค์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วก็มีรูปพระสงฆ์มีพระสงฆ์อยู่ด้วยก็ทำให้จิตคิดว่า  เราจะไปวัดที่มีพระพุทธรูปองค์นั้นที่เราใคร่บูชา  มีพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่ก็ดี  หรือมีพระสงฆ์ที่เขาทำรูปไว้  เมื่อท่านตายไปแล้วก็ดี  ที่เราคิดว่าบูชาการคิดอย่างนี้  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า  เป็น  พุทธานุสสติกรรมฐาน  เป็นการนึกถึงพระพุทธเจ้า  นึกถึงพระพุทธรูป  การนึกถึงพระสงฆ์  เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน คิดว่าการไปวัดคราวนี้เราจะไปฟังเทศน์ จัดเป็น ธัมมานุสสติกรรมฐานรวมความว่า  บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านที่จะมาทำบุญ  ก็ได้บุญตั้งแต่เริ่มตั้งใจจะมา  ถ้าเริ่มที่จะมีจิตกุศล  กุสลที่จะมีบุคคล  ถ้าเริ่มตั้งแต่ว่าจะทำคิดว่าจะหาของมาถวายพระ  เป็น  จาคานุสสติกรรมฐาน  มีบุญใหญ่แล้ว  จิตใจก็ตั้งไว้ไม่เสื่อมคลาย  คิดว่าจะไปวัดที่เราสร้างไว้  อันนี้เป็น  จาคานุสสติกรรมฐาน เหมือนกัน เพราะเป็น วิหารทาน คิดว่าจะไปไหว้พระพุทธรูปที่วัด เป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน  นี่บุญเกิดแล้ว  คิดว่าจะไปไหว้พระสงฆ์  ที่มีชีวิตอยู่ก็ดีที่ตายไปแล้วก็ดี  ที่เขาได้ตั้งใจอย่างนี้ เป็นต้น สังฆานุสสติกรรมฐาน คิดว่าจะไปฟังธรรมเป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน รวมความว่า  กรรมฐาน  คือความดีที่ทรงไว้  ความดีท่านบรรดาท่านพุทธบริษัทนี้มีทุกประการ  จัดว่าเป็นบุญใหม่  ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทไม่ทิ้งความดีประเภทนี้  คิดไว้อย่างนี้ทุกวันก็ตามที  เมื่อทำไปแล้วก็ตั้งใจกำหนดคิดไว้เสมอว่า  วันนี้  วันนั้น  หรือวันพระทุกที่เราเคยไปทำบุญ เคยไปฟังเทศน์ เคยไปไหว้พระพุทธรูป ไปถวายสังฆทานที่วัด เคยไปไหว้พระสงฆ์ที่วัด  จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทคิดอย่างใดอย่างหนึ่งได้ประจำใจอย่างนี้ถือว่าเป็นฌานในอนุสติ

      เมื่อจิตเป็นฌานในอนุสติอย่างนี้เวลาจะตาย  ก็ไม่หลงตาย  ใจของบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายมีอารมณ์ผ่องใส มีอารมณ์เป็นกุศล อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  อย่างน้อยที่สุดความดีของท่านตายไปแล้วไปสู่สวรรค์  ถ้ากำลังใจของบรรดาพุทธบริษัททุกท่านมีความมั่นคง คือจิตคิดมั่นอยู่เสมอ ไม่เสื่อมคลายอย่างนี้ กำลังใจของท่านทั้งหลายเป็นฌานสมาบัติองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงกล่าวว่า  ตายแล้วไปเป็นพรหม  ถ้าบุคคลผู้ใดนิยม ในการบำเพ็ญกองการกุศล  คิดว่าการตายของเราคราวนี้มีเมื่อไหร่ใจของเรามีความต้องการพระนิพพาน ขึ้นชื่อว่า มนุษยโลกก็ดี เทวโลกก็ดีพรหมโลกก็ดี จะไม่มีสำหรับเรา เรามีความพอใจเฉพาะนิพพาน  ตายไปเมื่อไหร่ก็ไปนิพพานเมื่อนั้น  เพราะจิตเป็นเอกัคคตารมณ์  โดยนิยมอย่างนี้  จึงถือว่า บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ที่ตั้งใจบำเพ็ญกุศลบุญบารมี จัดว่าเป็นโชคใหญ่ขอย้ำอีกสักนิดว่า  ขึ้นชื่อว่าบุญกุศลนั้นไซร้  องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า เริ่มมีตั้งแต่ตั้งใจจะทำ  ตามพระบาลีกล่าวว่า  เจตนาหัง  ภิกขเว  ปุญญัง  วทามิ  แปลเป็นใจความว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า การตั้งใจว่าทำหรือตั้งใจทำจริง บุญกุศลเริ่มเกิดตั้งแต่วันตั้งใจที่จะทำเป็นต้น

   ต่อนี้ไป  ก็จะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพลเป็นเรื่องสั้นๆ  ที่ปรากฏใน  มงคลทีปนี  มาแสดงแก่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายสำหรับเรื่องราวนี้ไซร้  องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดา  มีเจตนาให้ท่านพุทธบริษัทตั้งอยู่ในสัจจธรรม  และมีความสงบ  คำว่า  สงบนี้หมายความว่า  จิตสงบ  ถ้าจิตสงบ  กายก็สงบ  วาจาก็สงบ  มันอยู่ที่ใจตัวเดียวนี้  ประการที่ 2  มีสัจธรรมว่ามีวามจาเช่นใดกล่าวไว้ ให้รักษาวาจาเช่นนั้นตลอดไป จึงจะสงบก็รวมความว่า  ในกาลครั้งหนึ่ง  นี่เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์  อย่าถือว่าเป็นนิทานไร้สาระนะ  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า  ในสมัยครั้งหนึ่งมีหงส์ 2  ตัว  บินมาจากป่าหิมพานต์  ในป่าหิมพานต์มี  สระโบกขรณี  ใหญ่น้ำใสไหลเย็น  มีสัตว์อาศัยอยู่มากอยู่แถบทะเล  ครั้นมาถึงชายทะเล มันก็ไปท่องเที่ยวในสถานที่นั้น ก็บังเอิญพบเต่าใหญ่อยู่ตัวหนึ่ง เวลานั้นสัตว์ต่อสัตว์ก็พูดกันรู้เรื่อง  สัตว์กับคนก็พูดกันรู้เรื่อง  ที่รู้เรื่องก็เพราะว่า  สัตว์ก็ดี  คนก็ดีต่างคนต่างมีอายุถึง 80,000 ปีถึงตาย เมื่ออยู่นายๆ เข้าไซร้ความสัมผัสแห่งภาษาย่อมรู้ภาษาซึ่งกันและกันเมื่อพญาหงส์เห็นเต่าตัวนั้นเจริญอาหารอยู่ปกติจึงได้ถามว่า ที่สถานที่นี้ อาหารสมบูรณ์พูนสุขอยู่หรือ  เต่าก็ว่า  เป็นสุขดี  หงส์ 2  ตัว  จึงกล่าวว่า  ความจริงในที่นี้ก็มีความสุขดีในอาหาร  แต่ว่าความสุขกายสบายใจ แต่ความเยือกเย็นนั้นสู้ป่าหิมพานต์ไม่ได้ ป่าหิมพานต์นั้นสงัดมาก ไม่มีคนเข้ามายุ่งในสถานที่นั้นในสถานที่นี้เจ้าเป็นเต่าตัวเมีย  เวลาที่เจ้าไข่มานี้  เจ้ามีลูกกับไข่ทุกฟอง  หรือไข่มันหายไปบ้าง  เต่าก็บอกว่า  ไอ้เรื่องไข่นี่มันมีความหวังน้อยเต็มที  ก่อนที่ไข่จะฟักลูก  เราก็พยายามจะขุดดิน ให้เป็นหลุมเป็นบ่อแล้วก็กลบไว้ ไม่ช้าไม่นานก็มาขุดดู ก็หายไป เพราะบางทีมนุษย์นำไป ก็เหลือไว้มั่ง เป็นแต่เพียงเล็กน้อย คือ บางส่วนเท่านั้นเหลือน้อยเต็มที่พญาหงส์ก็ว่าในสถานที่นี้ก็อันตราย  เพราะว่ามนุษย์ทั้งหลาย  ไร้ความดีไร้สัจธรรม  ไร้ความเมตตาปรานี  ถ้าทางที่ดีไปอยู่ป่าหิมพานต์ดีกว่า  เพราะว่าที่ป่าหิมพานต์ไม่มีคนเดินไปเดินมา ไม่มีอันตราย  สัตว์ทั้งหลายก็อยู่ด้วยกันด้วยความเป็นสุขสมบูรณ์  มีความเยือกเย็นในสถานที่นั้น  มีสระโบกขรณีใหญ่ น้ำใสเยือกเย็น บัวมี ผลไม้มีอะไรต่างๆ หงส์ก็พรรณนาเรื่อยไป จนกระทั่งเต่ามีความเลื่อมใสในป่าหิมพานต์  เต่าจึงถามกับพญาหงส์ว่า  ก็ขาเรามันสั้นแค่นี้  ห่างจากนี้ไปป่าหิมพานต์มันใกล้หรือไกลแค่ไร พญาหงส์จึงตอบว่า ห่างจากนี้ไปป่าหิมพานต์ 300 โยชน์ เต่าเกือบจะเป็นลม 300 โยชน์ ไอ้เต่าก็บอกว่า ทางโยชน์เดียว เต่าเดิน 3 วันอยู่แล้ว ไอ้ทาง 300  โยชน์  เต่าจะเดินกี่วัน  พญาหงส์บอกว่าไปครู่เดียวก็ถึงฉันบินมาจากป่าหิมพานต์  จากสระโบกขรณีมาถึงที่นี้โดยไม่ต้องพักเลย เต่าก็บอกว่าแกมีปีก ฉันมีแต่ขา พญาหงส์ถามว่า ท่านอยากไปจริงๆ หรือ เต่าก็บอกว่า ฉันอยากจะไป พญาหงส์ก็บอกว่า ท่านจะรักษาสัจวาจาได้ไหม เต่าก็บอกว่า ได้ เอาไงก็ได ขอให้พาไปก็แล้วกัน พญาหงส์จึงบอกว่า ท่านจงรักษาสัจจะไว้อย่างหนึ่งคือ ท่านจะต้องไม่พูด เมื่อไปกับเรา จนกว่าจะถึงที่ที่เราให้พูดได้พญาเต่าถามว่า  ทำอย่างไร  หงส์ก็ตอบว่า  ฉันจะพาท่านเหาะไป  เต่าก็ว่าฉันไม่มีปีกจะเหาะไปได้อย่างไร หงส์บอกว่า ฉันจะนำไม้มาท่อนหนึ่ง ฉัน 2 ตัวจะคาบหัวตัวหนึ่งท้ายตัวหนึ่ง ท่านจงคาบตรงกลางไม้  เราจะบินพาท่านไปสระโบกขรณีสักครู่หนึ่งก็ถึง  เต่าก็อยากจะเหาะไปต่างประเทศ ไปป่าหิมพานต์ ก็อยากจะเหาะ ไม่มีเครื่องบิน ก็ตกลงไปเป็นอันว่า  พญาหงส์ 2  ตัว  ก็นำให้มา 1  ท่อน  ความจริงพญาหงส์ก็คือพระพุทธเจ้านั่นเอง หงส์ตัวหนึ่งเป็นพระพุทธเจ้า หงส์อีกตัวหนึ่งเป็น พระอานนท์ พญาหงส์ 2 ตัวจึงนำไม้มาท่อนหนึ่ง ซึ่งเป็นไม้เล็กๆ  สามารถจะรับน้ำหนักเต่าได้  จึงได้บอกให้เต่าคาบไม้ตรงกลาง  เมื่อเต่าคาบไม้แล้ว พญาหงส์จึงกล่าวว่า  ต่อนี้ไปห้ามเจ้าเปิดปาก  ห้ามพูดเด็ดขาด  เราจะพาเจ้าบินไป  ถ้าเจ้าพูดเมื่อไหร่ เข้าก็ตกลงมาเมื่อนั้น เต่าปล่อยไม้ประเดี๋ยวหนึ่ง แล้วจึงกล่าวว่า ฉันขอให้สัญญาว่าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าท่านจะบอกให้พูดจึงจะพูด  มิฉะนั้นเราจะไม่ยอมพูดเป็นอันว่า  พญาหงส์ 2  ตัว  ก็คาบไม้ทั้งหัวและท้าย  เต่าก็คาบตรงกลาง  พากันเหาะไป  พญาเต่าบินไปในอากาศ  ขณะที่บินไม่ถึงครึ่งทาง พญาหงส์ก็บินสูงไปได้ เพราะเต่าตัวหนัก ก็บินไปแค่เลยยอดไม้ไม่มากนักบังเอิญอย่างยิ่งในระหว่างทาง  เจ้าเด็กชาวบ้านที่เลี้ยงควายอยู่กลางทุ่งนาเห็นพญาหงส์พาเต่าเหาะมา  ก็ต่างคนก็ร้องว่า  เต่าเหาะโว้ย  เต่าเหาะ  ก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์ใจเหลือเกิน  ตั้งแต่เกิดมาจากโคตรพ่อ  โคตรแม่เราก็ดี  วันนี้เต่ามีความอัศจรรย์เหาะได้  ไอ้เต่าเมื่อเด็กพูดมากๆ  เข้ามันก็รำคาญใจ ถ้าปากจะด่าเด็กเข้าว่า อ้ายเด็กจัญไร มันพูดอะไรไม่เข้าเรื่อง พออ้าปากเข้า เต่ามันก็ตกลงมาตายเป็นอันว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เต่าในสมัยนั้นคือ พระเทวทัต ในสมัยนี้  เป็นคนที่ไร้สัจจธรรม  องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  จึงกล่าวกับภิกษุว่า  ภิกขเว  ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย นัตถิ สันติ ปรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี การที่เต่าต้องตาย เพราะการอ้าปากอย่างนี้ก็เพราะเต่าไร้สัจจธรรมเราได้ให้สัญญาแก่เต่าแล้วว่า ข้าจงอย่าพูด เต่าก็ได้ให้สัญญาแล้ว แต่เพราะอาศัยจิตของเขา ไร้ความดี ไร้ความสงบ ไร้สัจจธรรมที่กำหนดไว้ เต่าจึงตายฉะนั้น  องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงได้นำเอาเรื่องราวของเต่ามาพูดให้กับพระฟัง นำเอาเรื่องราวของเต่ามาเทศน์ เทศน์ในกรรมบถ 10 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ว่าคนจะชั่วดี  ก็อยู่ที่ปาก  จะอดอยาก  อยู่ที่ชิวหาหมายความว่า  เต่าตัวนี้จะตายไม่ดีด้วยปากฉันใด  คนทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ก็ฉันนั้น  ความจริงคนจะชั่วจะดีอยู่ที่ปาก  ถ้าปากไร้ความดี  ก็หาความสุขไม่ได้อันตรายก็เกิดมีแก่ตน  แล้วองค์สมเด็จพระทศพลจึงกล่าวว่า  วาจา 4  ประการขอบรรดาภิกษุสงฆ์ทั้งหลายจงระงับไว้

  1. วาจาที่ไร้ความเป็นจริง หรือมุสาวาท
  2. วาจาที่กล่าวไปเป็นที่ระคายหู ระคายใจแก่ผู้ฟังไม่ควรกล่าว
  3. วาจาเป็นเครื่องส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน อันนี้ก็ไม่ควรกล่าว
  4. องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า วาจาซึ่งไร้ประโยชน์ ก็ไม่ควรพูด

    นี่หมายความว่า  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า  ให้ทุกคนจงรักษาวาจา  คนเราที่ไม่มีความสุขส่วนใหญ่  เป็นเรื่องของวาจา  ทุกคนต้องการความดี  ถ้าพูดในวาจาเรื่องไม่จริง  เรื่องโกหก  ก่อนจะพูดโกหกมันจะต้องระมัดระวังมาก  พูดไปแล้วก็มีความจำเป็นต้องจำ  ว่าพูดกับคนโน้นว่าอย่างไร  พูดไว้เมื่อไหร่  ถ้าจะไปพูดใหม่  ก็ต้องพยายามจำไว้  สมัยหนึ่งเราพูดว่าอย่างไรบ้างซึ่งตรงกันข้ามกับการกล่าววาจาเป็นจริง วาจาจากความเป็นจริงนี่ เราเป็นชายหรือหญิงก็ตาม เราจะพูดเมื่อไหร่ พูดได้สบายๆ จะไปเจอะใครเมื่อไหร่ พูดความจริงเสมอ เรื่องก็ตรงกันอารมณ์ของคนทั้ง 2 ประการคือ คนพูดจริงกับคนพูดเท็จนี่ ใครเป็นสุขเป็นทุกข์มากกว่ากัน คนพูดวาจาจริงมีจิตเป็นสุขอยู่เสมอ  เพราะว่าไม่ต้องระแวงเกรงว่า  วันนั้นเราโกหกไว้อย่างไร  ต้องจำวาจาเก่าอันนี้ลำบากมาก  องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า  เมื่อเราพูดวาจาไม่จริงเราก็เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ก็ต้องระมัดระวัง เกรงว่าเขาจะจับผิดได้ ตายไปก็ลงนรกเมื่อนั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับคนที่พูดวาจาจริง  เพราะเมื่อมีวาจาจริง  ไปไหนก็มีแต่คนนับหน้าถือตา  เชื่อถือคนเองก็มีแต่ความสุข เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลายแต่ว่าวาจาจริงนี่  บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย  ถ้าจะพูดก็ต้องระวังเหมือนกัน  บางครั้งเรื่องจริงๆ ตรงกับความเป็นจริงก็ไม่สมควรจะพูด ฉะนั้นก็ต้องเป็นที่มีปัญญา ก็ต้องดูกาล ดูเวลาว่า วาจาความจริงจะพูดในคนกลุ่มไหน  จะพูดในเวลานี้ได้ไหม  กาลเวลาที่พูดควรหรือไม่ควร  ถ้าไม่ควรก็อาจจะระงับยับยั้งได้

     ประการที่ 2  อย่าใช้วาจาหยาบคาย  เป็นเรื่องกระทบกระเทือนใจผู้อื่นวาจาหยาบคาย ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ไม่มีใครชอบ ในเมื่อเราไม่ชอบวาจาอย่างนั้น เราก็ไม่กล่าวกับบุคคลอื่น เพราะเป็นเครื่องทำลายมิตรจิตของบุคคลผู้รับฟัง  และก็ไม่ชอบใจผู้พูด  ศัตรูก็จะเกิดซึ่งกันและกัน  ความสบายกายสบายใจมันก็ไม่มี

    ประการที่ 3  องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงว่า  อย่าใช้วาจาส่อเสียด ยุยงส่งเสริม ที่ทำให้เขาแตกร้าวกัน ในหมู่คณะทั้งหลาย ที่ไม่มีความสุขกาย สบายใจ ต้องแตกร้าวกัน เพราะวาจาประเภทนี้และไอ้วาจาทั้ง 4 ประการนี้ ไม่ว่าที่ไหน แม้แต่ในสมัยองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีชีวิตอยู่ก็มีวาจาประเภทนี้นั่นคือ กลุ่มของ พระเทวทัต กลุ่มของ พระเทวทัต ก็ไม่ได้มีอยู่องค์เดียว  มีหลายคนเหมือนกัน  และที่มีพระอยู่หลายองค์หลายท่าน  ที่ชอบใช้วาจาส่อเสียดอยู่เหมือนกัน โดยการยุยงส่งเสริมซึ่งกันและกัน อย่างในเรื่องราวของ ปฐมบัญญัติพระทัพ

พมัลลบุตร  ท่านเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่เมื่ออายุ 7 ปี ไม่อยู่กับองค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาก็ยังมีบรรดาพระทั้งหลาย หรือบรรดานางภิกษุณีกล่าววาจาจ้วงจาบในทางที่ไม่ดี เป็นวาจามุสาวาท หาว่า  พระทัพพมัลลบุตร  เป็นปาราชิกบ้าง  หาว่า  พระทัพพมัลลบุตร  เป็นอย่างนั้นอย่างนี้บ้าง  แต่ว่าท่านเป็นพระอรหันต์น่ะ แต่ว่ายังมีแบบนี้เหมือนกันฉะนั้นในฐานะที่บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านส่วนใหญ่  เป็นคนที่มีอารมณ์ตั้งอยู่ในกุศลจงจำไว้ว่า ในศาสนาขององค์สมเด็จพระทศพลทรงห้ามวาจา 4 ประการคือ

  1. วาจาเท็จ พูดไม่ตรงตามความเป็นจริง
  2. วาจาหยาบคาย พูดแล้วสะเทือนใจแก่คนทั้งหลาย
  3. วาจาส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
  4. วาจาเพ้อเจ้อ ที่พูดไปแล้วไร้ประโยชน์

วาจาใดที่ไม่มีประโยชน์ จงอย่าพูดวาจานั้น ในฐานะที่พวกท่านทั้งหลายเป็นสาวกขององค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคนจะเป็นพระก็ดี เณรก็ดี อุบาสกก็ดี อบาสิกาก็ดี ถ้ามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินศรีบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าท่านเป็นพุทธสาวกจริงขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งชายหญิง  ภิกษุสามเณร  จงเว้นวาจาทั้ง 4  ประการนี้  ไอ้เรื่องราวที่มันเกิดความเดือดร้อน  แต่ละทีก็อาศัยวาจานี่แหละเป็นเหตุ  ฉะนั้นหากว่าท่านมีความเคารพในองค์สมเด็จบรมโลกเชษฐ์  ต้องการมีความสุขทั้งในชาติปัจจุบัน  และสัมปรายภพ  ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงจำคำแนะนำขององค์สมเด็จพระนราสภคือ พระพุทธเจ้าไว้ว่าวาจา 4 ประการ ซึ่งเป็นวาจาเลวร้ายเราจะไม่พูดในสถานที่ใด คือ 1. วาจาเท็จ ความไม่จริง   2. วาจาหยาบ   3. คำพูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน 4. วาจาไร้ประโยชน์เมื่อเว้นจากวาจา 4 ประการที่เป็นโทษแล้ว ก็สร้างไร้แต่วาจาที่เป็นความดีนั่นคือกล่าววาจาตามความเป็นจริง แต่ทั้งนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายชายหญิง ต้องดูเวลาควรไม่ควร ถ้าพูดความจริงกับบุคคลที่ควรพูด  แต่อารมณ์เขายังไม่ดี  ก็ปล่อยให้อารมณ์เขาสบายๆ  และพูดกันด้วยเหตุผล และประการที่ 2 องค์สมเด็จพระทศพลว่า จงเว้นเด็ดขาดคือ วาจาหยาบเมื่อเป็นวาจาหยาบเราไม่พูด ก็ใช้วาจาอ่อนหวานฟังแล้วชื่นใจวาจาใดที่พูดแล้ว ทำให้เขาแตกกัน ก็อย่าพูดวาจานั้น อันนี้ไม่ควรเด็ดขาดและต่อไปวาจาที่องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถตรัสคือ  วาจาที่ไร้ประโยชน์คือพูดไร้แล้วเสียเวลา ถ้าบุคคลใดพุดเฉพาะเวลาที่มีประโยชน์เท่านั้นถ้าบุคคลใดวาจาไม่ดี  ก็แสดงว่า  เขามีใจไม่ดี  อย่าลืมว่า  องค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า  มโนปุพพังคมา  ธัมมา  มโนเสฏฐา  มโนมยา  แปลว่า  ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า  มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ เราจะทำดีหรือชั่วก็อยู่ที่จิต ถ้าจิตคิดี เราก็ทำดี ถ้าจิตคิดชั่ว เราก็ทำชั่ว ถ้าจิตคิดดีปากก็พูดดีถ้าจิตคิดชั่ว  ปากก็พูดชั่ว  ที่นี้ความชั่วมันหลั่งไหลมาทางกายก็ดี  ทางปากก็ดีแสดงว่า  คนประเภทนี้มีความเลวเกินอัตรา มันยับยั้งไว้ในใจไม่ได้ มันล้นจากใจไหลมาหาปากที่นี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  จึงได้สรุปในบาตรคาถาว่า  นัตถิสันติ ปรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี เอาละ  บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระชินศรีเวลานี้ก็หมดเวลาพอดี ต่อนี้ไปอาตมาก็ขอยุติพระสัทธรรมเทศนา ลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้

    ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้  อาตมภาพขอตั้งสัตยาธิษฐาน  อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย  มีพระพุทธรัตนะ  ธรรมรัตนะ  สังฆรัตนะ  ทั้ง 3  จงขอดลบันดาลบรรดาพุทธบริษัททุกๆ  ท่าน  มีแต่ความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผลจงเจริญไปด้วยจตุรพิธพรชัย  ทั้ง 4  ประการ  คือ  อายุ วรรณะ  สุขะ  พละ  และปฏิภาณ  หากทุกท่านมีความประสงค์สิ่งใด  ก็ขอให้ได้สิ่งนั้นสมความปรารถนาทุกประการ  อาตมภาพรับประทานวิสัชนาในสันติกคาถาก็ขอยุติพระธรรมเทศนาลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้

ผู้แต่ง
คำสอนครูบาอาจารย์

โดย : วัดสระบัวก่ำ

ที่อยู่ : ต.หนองมะค่าโมง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 21260

ปรับปรุงล่าสุด : 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 21:10:20

ข้อมูลเมื่อ : 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 21:03:29

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 35

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 41

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 50

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 33

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 35