ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดเขานางบวช
รหัสวัด
02720203001
ชื่อวัด
วัดเขานางบวช
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2309
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 18 เดือน พฤษภาคม ปี 2525
ที่อยู่
วัดเขานางบวช
เลขที่
136
หมู่ที่
7
ซอย
-
ถนน
สุพรรณบุรี-ชัยนาท
แขวง / ตำบล
นางบวช
เขต / อำเภอ
เดิมบางนางบวช
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72120
เนื้อที่
63 ไร่ 2 งาน 51 ตารางวา
Facebook
คลิกดู
จำนวนเข้าดู : 902
ปรับปรุงล่าสุด : 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 16:26:59
ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 11:28:32
ประวัติความเป็นมา
วัดเขาขึ้น (วัดเขานางบวช)
(วัดพระอาจารย์ธรรมโชติ) อำเภอเดิมบางนางบวช
บริเวณวัดตั้งอยู่บนเขานางบวช มีทิวทัศน์ที่สวยงาม และเป็นวัดสำคัญที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และเรื่องราวราวเล่าขานที่น่าสนใจ
มีทั้งทางราดยางและบันได 249 ขั้น ขึ้นไปจนถึงยอดเขา เป็นวัดของพระอาจารย์ ธรรมโชติ ผู้ทรงคุณวุฒเครื่องรางของขลังสมัยศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันได้นิมนต์ไปเป็นกำลังใจการสู้รบ กับพม่า มีรอยพระพุทธบาทอยู่ในวิหาร พระอาจารย์ธรรมโชติ ด้านหลังเป็นเจดีย์แผ่นหิน รูปปั้นอาจารย์ธรรมโชติ ภายในศาลามีพระพุทธรูปสมัยรัชกาลที่ 5ประวัติพระอาจารย์ธรรมโชติ
พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา
ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน ***สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไป หรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่ แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจันบางข้อมูลอ้างว่า เมื่อครั้งค่ายบางระจันแตก ท่านได้ไปจำพรรษา ที่วัดนครจำปาศักดิ์อยู่สามปี เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กู้ชาติกลับคืนได้ ท่านได้เดินทางกลับมายังสำนักเขาขึ้น และได้รับสมณศักดิพัดยศเป็น พระครูธรรมโชติรังษี จากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอาจารย์ธรรมโชติ มรณะภาพเมื่ออายุ 82 พรรษา หลายคนยังเชื่อว่าท่านหายสาบสูญไปกับค่ายบางระจัน ด้วยเหตุที่ท่านเก็บตัวไม่รับแขก จึงเป็นที่มาว่าท่านถูกข้าศึกฆ่าตาย
ประวัติ และที่มาของวัดเขานางบวช
ราวปี 1826 มีหญิงชื่อชบา เป็นสนมแห่งพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย เกิดเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชสละทางโลกเข้าจำพรรษารักษาศีลอยู่ในถ้ำบนยอดเขาแห่งนี้ คนทั้งหลายจึงเรียกเขาแห่งนี้ว่า "เขานางบวช" (ถ้ำอยู่ด้านหลังศาลา) ปัจจุบันปากถ้ำทรุดไม่สามารถเข้าไปได้ เล่ากันว่าภายในถ้ำมีข้าวของ เครื่องประดับจำนวนมาก สันนิฐานว่าเป็นของพวกที่ติดตามนางสนมชบา แต่ของเหล่านั้นได้สูญหายไปเมื่อปี พ.ศ.2402 และบางช่วงเวลา วัดแห่งนี้ได้เป็นวัดร้างในบางปีด้วยเครื่อประดับชิ้นสุดท้ายที่พบบริเวณปากถ้ำ เมื่อปี พ.ศ. 2539 เป็นกำไรหยกหัวพญานาค แต่ผู้พบมิได้ถวายเป็นสมบัติวัดสถานที่สำคัญภายในบริเวณวัดเขานางบวช
อุโบสถพระอาจารย์ธรรมโชติ หันหน้าไปทางทิศตะวันตก รัชกาลที่ 5 มีรับสั่งให้บูรณปฏิสังขรณ์ เปลี่ยนหลังคาจากมุงแฝก เป็นมุงกระเบื้อง ภายในมีเสาขนาดใหญ่ ข้างละ 4 เสา ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทราย รวม 13 องค์ ล้วนแต่ถูกคนร้ายตัดเศียรไปหมดแล้ว ได้บูรณะสร้างเศียรขึ้นมาใหม่โบสถ์หลังนี้ถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์แปลกกว่าโบสถ์ทั่วไป คือมีประตู่เข้าออกเพียงประตูเดียว และไม่มีหน้าต่างเลยแม้แต่บานเดียว สมัยโบราณเรียกกันว่า “โบสถ์มหาอุตม์” ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นเสมาธรรมจักร หินสีเขียวขนาดใหญ่ 5 แผ่น สูง 37 นิ้ว กว้าง 22 นิ้ว ไม่มีลวดลายใด ๆ ทั้งสิ้น ถัดจากเสมาธรรมจักรมีหินวางเป็นแนวสันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพง แต่เดิมนี้นภายในอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อแก่นจันทร์ พระพุทธรูปไม้ที่สร้างขึ้นในสมัยพระอาจารย์ธรรมโชติ แต่ปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างมณฑปขึ้นใหม่เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระอาจารย์ธรรมโชติ จึงได้ย้ายหลวงพ่อแก่นจันทร์เข้าไปประดิษฐาน ณ มณฑปใหม่ด้ววิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ ภายในเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท มีหลุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว เพื่อให้ประชาชนได้โยนเหรียญลงไปทำบุญ ในวิหารด้านหลังมีร่องรอยการเจาะผนังวิหารทะลุไปยังองค์เจดีย์ที่ก่อด้วยแผ่นหินบาง ๆ วางซ้อนเป็นรูปเจดีย์ขนาดไม่สูงมาก เจดีย์สร้างติดกับผนังวิหาร ก่อนที่ค่ายบางระจันแตก ชาวบ้านนิมนต์พระอาจารย์ธรรมโชติให้หนีไป แต่ท่านไม่หนีจนในที่สุด หัวหน้าชาวบ้านบางระจันบอกว่า มีอาจารย์คนเดียวเป็นพระ จะได้กลับมาทำศพพวกเรา ท่านถึงยอดออกจากหลังค่ายหนีไป หลังจากนั้น 3 วัน ค่ายบางระจันก็แตก พระอาจารย์ธรรมโชติ ก็นำคนมาช่วยเก็บศพทำบุญให้ หลายคนเข้าใจว่า ท่านใช้วิชากสิณชั้นสูง กลับไปวัดเขานางบวชแล้วหลบซ่อนอยู่ในอุโมงค์ใต้วิหาร เป็นอุโมงค์ที่กว้างพอจะเข้าไปอยู่ได้สัก 5 -6 คน เรื่องเหล่านี้อาจารย์ธรรมโชติท่านบันทึกไว้ทั้งหมด เพราะท่านเป็นพระที่รู้หนังสือ
ศาลาหลวงปู่ธรรมโชติ เป็นทีประดิษฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางห้ามสมุทร (เป็นพระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถยืน ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบตั้งขึ้น ยื่นออกไปข้างหน้าเสมอพระอุระ (อก) เป็นกริยาห้าม บางแบบเป็นพระทรงเครื่อง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อายุประมาณ 600 – 700 ปี และรูปหล่อพระอาจารย์ธรรมโชติ ใกล้ ๆ กับศาลานั้นมีตนโพธิ์ที่ประทับของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อครั้งเสด็จประพาสต้น ณ วัดเขานางบวช เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2451
พระราชหัตถเลขาเรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า กล่าวถึงวัดเขานางบวช
เมื่อวานนี้เรื่อครุฑจักรฟันไม้ลอยน้ำบิ่น จึงต้องยกย้ายขึ้นเปลี่ยนจักรใหม่ ยังไม่แล้ว อีกประการหนึ่ง ทางที่จะไปวันนี้ต้องเลี้ยวเข้าไปในทุ่ง ไปได้แต่เรือเล็ก จึงได้ลงเรือศรีเทพออกจากเดิมบาง ไปทางน้ำประมาณสักชั่วโมงหนึ่ง จนถึงนางบวชซึ่งมีตำบลบ้านและมีสะพานยาวเข้าไปจนถึงเขา แต่สะพานนั้นน้ำท่วม เรื่อเข้าไปจอดได้ถึงเชิงเขา ลักษณะเขาสมอคอน ในแม่น้ำตอนตั้งแต่เดิมบางลงมา ปรากฏว่าเป็นแม่น้ำใหม่ น่าจะเรียกว่าลำคลองมากกว่าแม่น้ำ เพราะไม่มีไม้ใหญ่ มีแต่ไผ่และแคบกว่าลำแม่น้ำตอนข้างบนมาก ลำแม่น้ำเดิมไปทางกำมะเชียน เมื่อถึงนางบวชแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าในคลอง หรือในทุ่งเข้าไปถึงเชิงเขา มีกุฏิพระมุงแฝกหลังใหญ่ 3 หลัง มีพระสงฆ์อยู่ถึง 7 รูป มีโรงพักสัปบุรุษและสระบัว ทางที่ขึ้นเขาเป็นสองทาง ตรงขึ้นไปเหมือนธรรมามูลทางหนึ่ง เลี้ยวอ้อมไปที่ไม่สู้ชันทางหนึ่ง เขาเป็นลักษณะเดียวกันกับเขาธรรมามูลหรือโพธิ์ลังกา ไม่ใคร่มีต้นไม้อื่นนอกจากไม้รวกเต็มไปทั้งเขา ฤดูแล้งแห้ง ใบร่วงเกิดเพลิงบ่อย ๆ เพราะฉะนั้นหลังคา
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
บุญบริสุทธิ์ ของคนที่ดูแลพ่อแม่ และผู้มีพระคุณ จะพาทุกคน สู่ความรุ่งเรืองไม่มีวันตกอับ.
ข้อมูลเมื่อ : 20-11-2566
เปิดดู 235 ครั้ง
โสตถิเต โหตุ สัพพะทา 🌿..ขอความสุขสวัสดี.. ..จงมีแก่..ท่าน..ทุกเมื่อเทอญ ฯ
ข้อมูลเมื่อ : 06-11-2566
เปิดดู 116 ครั้ง
พุทธศาสนาโดยเนื้อแท้เป็นวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ปรัชญา แต่วิธีพูดในบางเรื่องบางกรณี ในการเริ่มต้นหรือในการพูดอย่างหลักปรัชญา มันก็มีเหมือนกัน...
ข้อมูลเมื่อ : 22-10-2566
เปิดดู 101 ครั้ง
การแก้กรรม ไม่ใช่ไปทําพิธีกับพระ ใครก็แก้ไม่ได้หรอก กรรมคือการกระทํา
ข้อมูลเมื่อ : 15-10-2566
เปิดดู 129 ครั้ง
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดเขานางบวช
ข้อมูลเมื่อ : 19-03-2565
ทรัพย์สินของวัด
วัดเขาขึัน
ข้อมูลเมื่อ : 26-02-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
ทอดผ้าป่าสามัคีเพื่อการศึกษา
ข้อมูลเมื่อ : 18-03-2565