ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดประตูสาร
รหัสวัด
02720101004
ชื่อวัด
วัดประตูสาร
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2223
วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2280
ที่อยู่
วัดประตูสาร
เลขที่
22/4
หมู่ที่
-
ซอย
-
ถนน
ขุนช้าง
แขวง / ตำบล
ท่าพี่เลี้ยง
เขต / อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72000
เนื้อที่
17 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา
Facebook
คลิกดู
เว็บไซต์
คลิกดู
มือถือ
080-6533886
โทรศัพท์
-
Fax
-
อีเมล์
dbackham5@gmail.com
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1427
ปรับปรุงล่าสุด : 8 เมษายน พ.ศ. 2567 20:04:29
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 12:37:07
ประวัติความเป็นมา
วัดประตูสาร ตั้งอยู่เลขที่ 22/4 ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 83 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 8624 มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 10154 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
1. อุโบสถ กว้าง 9 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างไม่แน่ชัด เป็นอาคารคอนกรีต
2 ศาลาการเปรียญ กว้าง 18.20 เมตร ยาว 33.32 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2495 เป็นอาคารยก 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ชั้นบนเป็นอาคารไม้
3. หอสวดมนต์ กว้าง 8.20 เมตร ยาว 13.39 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2549 อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้
4. กุฎิสงฆ์ จำนวน 9 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 9 หลัง
5. วิหาร กว้าง 9 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
6. ศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2550 กว้าง 3 เมตร ยาว 5 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
7. มณฑปบูรพาจารย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518 กว้าง 3 เมตร ยาว 8 เมตร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 2 องค์ องค์บน พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก สูง 3 ศอก องค์ล่าง พระพุทธรูปปางป่าลิไลยก์ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก สูง 4 ศอก
วัดได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2280
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ 1 พระง่อย
รูปที่ 2 พระดี
รูปที่ 3 พระครูวิบูลย์เมธาจารย์ พ.ศ. ? - 2465
รูปที่ 4 พระครูวิธุรสุตาคม พ.ศ. 2471 - 2506
รูปที่ 5 พระครูพิศิษฐสมณการ พ.ศ. 2508 - 2545
รูปที่ 6 พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน
วัดประตูสารสร้างราวปีพุทธศักราช ๒๒๒๓ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี(ท่าจีน) ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นตำบลเดียวกันกับบ้านขุนช้างในวรรณคดีไทย
ในความหมายของคำว่า "สาร" ตามที่ผู้ใหญ่ได้เล่าให้ฟังว่า คำว่า สาร บางท่านเขียนว่า สาน ที่เขียน ศาล ก็มี ถ้าจะพิจารณากันให้ถ่องแท้แล้ว คำว่า สาร น่าจะถูกต้องกว่า กล่าวคือพื้นที่เหนือวัดประตูสารขึ้นไปประมาณ 100 เมตรเศษ ที่ตรงนั้นเป็นคู สืบความมาได้ว่า ที่ตรงนั้นเคยเป็นเพนียดคล้องช้างแต่โบราณ คาดว่าเป็นเพนียดคล้องช้างสมัยอู่ทอง จนล่วงเข้ามาอยู่สมัยอยุธยา เมื่อควาญช้างไปไล่ต้อนช้างจากป่าสูงเข้ามาเพนียด ควาญช้างจะค่อยๆคัดเลือกช้างที่มีลักษณะดีไว้ใช้งาน หรือเพื่อเป็นช้างศึกต่อไป ประตูสาร จึงแปลว่าประตูของช้างนั่นเอง
การตั้งวัด
1. วัดประตูสารสร้างมาราวๆประมาณปี พ.ศ. 2223 (หลักฐานไม่แน่ชัด)
2. มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมาปีพุทธศักราช 2280
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนป่าเลไลยก์
ทิศตะวันตก จดศาลเจ้าพ่อประตูสาร
ทิศตะวันออก จดแม่น้ำท่าจีน ในปัจจุบัน
ทิศใต้ จดโรงเรียนเทศบาล 1 วัดประตูสาร
วัดประตูสาร เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งดังจะมีปรากฏในนิราศสุพรรณเมื่อ พ.ศ. 2379 กวีเอกสุนทรภู่ได้เดินทางชลมารคตามลำแม่น้ำสุพรรณ ได้แต่งนิราศสุพรรณไว้เป็นบางตอนดังนี้
ฝ่ายซ้ายฝ่ายฟากโน้น พิสดาร
มีวัดพระรูปบุราณ ท่านสร้าง
ที่ถัดวัดประตูสาร สงสู่อยู่แฮ
หย่อมบ้านบ้านขุนช้าง ชิดข้างสวนบัลลังก์ (๑๓๘)
นอนค้างข้างคุ้ง วัดกระไกร
ครั้งรุ้งมุ่งเดินไพร พรั่งพร้อม
ไหว้พระป่าเลไลยก์ ร่มรื่นชื่นเอย
ริมรอบขอบเขื่อนล้อม ละล่างไม้ไพรพนม (๑๔๐)
สุนทรภู่ เป็นกวีเอกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มาเมืองสุพรรณ ในเพศบรรพชิต เพื่อหาแร่ธาตุและยาอายุวัฒนะ มาถึงสุพรรณตอนเย็น ได้ค้างที่วัดตระไกร ข้างวัดประตูสาร โดยมีลำคลองขั้นเท่านั้น พอรุ่งขึ้นก็เดินฝ่าป่าไปถึงวัดป่าเลไลยก์
จากการที่สุนทรภู่กล่าวถึงวัดประตูสาร ย่อมสันนิฐานได้ว่า วัดประตูสารมีมาก่อนแล้ว โดยเฉพาะอุโบสถเดิมที่มุงแฝกและยิ่งกว่านั้นการสร้างก็ผิดแผกแตกต่างกับอุโบสถทั่วไปคือมีลักษณะหัวท้ายสูง ตรงกลางแอ่นคล้ายเรือสำเภา แต่เป็นที่น่าเสียดาย เนื่องจากตัวอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมากทางวัดจึงปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ไม่ได้ทำแอ่นเหมือนเดิม
ดังจะเห็นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราว พ.ศ. ๒๓๙๔ มีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อหลวงพ่อกล่ำ ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรมจบแล้ว ท่านได้จัดสร้างวัดเสากระโดงทองขึ้นที่บ้านแพน ท่านได้ทราบข่าวว่าวัดป่าเลไลยก์ซึ่งอยู่ห่างจากวัดประตูสารประมาณเพียง ๒ กิโลเมตร วิหารถูกฟ้าฝ่าไฟไหม้หมดท่านได้ดูปรากฏว่าองค์พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ที่อยู่ในพระวิหารนั้น ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างไร ขื่อที่ถูกไฟไหม้หลุดกระเด็นพ้นองค์พระไป หลวงพ่อกล่ำได้เห็นอภินิหาร เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงได้ติดต่อพระยานิกรบดินทร์เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้น พระยาบดินทร์เห็นด้วยในการปฏิสังขรณ์พระวิหารนี้ ได้ให้เลขวัดขุดคลองจากแม่น้ำสุพรรณบุรีไปยังวัดป่าเลไลยก์ เพื่อทำแพซุงไปปฏิสังขรณ์พระวิหาร
เจ้าอาวาสองค์แรก(รุ่นหลัง)มีหลวงพ่อกล่ำท่านมีความสามารถในคาถาอาคม จะเห็นได้จากตอนเกณฑ์ชาวบ้านมาช่วยกันยกเครื่องบนวิหารหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ท่านทำมงคลสวมศีรษะให้ทุกคน และทุกอย่างก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ไม่มีใครได้รับอันตรายใด ๆ
โดยเฉพาะเจ้าอาวาสองค์นี้ ยังไม่แน่ใจว่าจะเป็นเจ้าอาวาสวัดประตูสารหรือไม่ เพราะว่าบังเอิญมีชื่อไปพ้องกับหลวงพ่ออีกรูปหนึ่ง ซึ่งชื่อเดียวกันกับหลวงพ่อที่ดำเนินการซ่อมวิหารวัดป่าเลไลยก์ ที่สร้างวัดเสากระโดงทองที่บ้านแพน(ยังหาหลักฐานไม่ได้แน่ชัด)
ต่อมารัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จประพาสทางชลมารคและได้ถวาย ธรรมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ย่าม ตาลปัตร บาตร ปิ่นโต และได้ลงตราพระปรมาภิไธยย่อ จ.ป.ล. ไว้ที่ธรรมาสน์
ในสมัยหลวงพ่อดีง่อย เป็นเจ้าอาวาสวัดประตูสาร ท่านเห็นว่าโบสถ์วัดประตูสารยังเป็นโบสถ์ไม่ถาวร คือหลังคายังมุงด้วยแฝก ท่านจึงได้ติดต่อหลวงพ่อกล่ำ ขอไม้ที่เหลือจาการสร้างพระวิหารที่วัดป่าเลไลยก์มาบูรณปฏิสังขรณ์โบสถ์วัดประตูสาร
เมื่อสร้างเสร็จยังมีไม้เหลืออยู่จึงได้สร้างศาลาการเปรียญอีกหลังหนึ่ง (ศาลาการเปรียญหลังนั้นได้รื้อไปแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๙ นี่เอง)หลวงพ่อดีง่อยท่านเป็นพระมีมนต์ขลังทางสกน้ำมันรักษาฝี และท่านก็ประกอบด้วยเมตตากรุณาแก่ทุกคนทุกขั้น
วัดประตูสารมีปริศนาลายแทงว่า“วัดใต้ล่องเกลือ วัดเหนือล่องข้าว สาวน้อยนั่งพับเพียบ เรียบแล้วไม่มีใครเอา”
สถานที่สำคัญของวัดประตูสาร
อุโบสถ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์และพระบรมสารีริกธาตุนอกจากนั้นยังมีภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัย ร.๓
วิหาร ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อดำศักดิ์สิทธิ์พระพุทธรูปโบราณเก่าแก่ที่ประดิษฐานคู่วัดมาเกือบ๓๐๐ ปีและภาพเขียน ธรรมมาสน์ ตู้พระไตรปิฎก ฯลฯ
มณฑป เป็นที่ประดิษฐานรูปจำลองพระครูวิธุรสุตาคมพระเกจิชื่อดังของสุพรรณบุรี)หลวงพ่อภู หลวงพ่อดี
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยก่อนผู้ใดได้อาบกินจะมีความเจริญทางด้านหน้าที่การงานก้าวหน้า ท่านเจ้าพระยายมราช(ปั้น สุขุม)ก็ยังเคยมาอาบน้ำในบ่อนี้
ประวัติหลวงพ่อ พระอุปัชฌาย์ดี
หลวงพ่อดีองค์นี้ท่านเก่งทางด้านพระปริยัติธรรมพระตามวัดต่าง ๆ ล้วนมาเรียนกับท่านตั้งแต่สนธิถึงมงคลทีปนี ท่านยังเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อสด(พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำอีกด้วย และท่านมีมนต์ขลังทางรักษาไข้ทรพิษ และท่านได้เสกหินด้วยมนต์ขลังของท่านทิ้งไว้ในสระน้ำวัดประตูสาร คนที่ได้อาบน้ำหรือกินน้ำในสระนี้มักจะได้เป็นใหญ่เป็นโตในทางราชการดังเช่น ศิษย์วัดประตูสารที่เด่นที่สุดคือเจ้าพระยายมราช( ปั้น สุขุม ) บ้านเกิดอยู่ท้ายถนนตก ตำบลท่าพี่เลี้ยง เมื่อ๕ ขวบ บิดามารดานำเอาไปฝากตัวเป็นศิษย์ที่วัดประตูสาร ชะรอยวัดประตูสารจะมีอาจารย์ดี ไม่ช้าไม่นานพระใบฎีกาอ่วม วัดหงส์รัตนศาสดารามมาแสดงพระธรรมเทศนาที่วัดประตูสาร พ.ศ. ๒๔๑๐ บิดาของพระเจ้ายมราชได้ถวายพระเจ้ายมราช (หรืออีกนัยหนึ่งเด็กชายปั้น ) เป็นเสมือนติดกัณฑ์เทศน์เข้ากรุงเทพด้วย เมื่อท่านเป็นเจ้าพระยายมราชแล้วก็มาเยี่ยมวัด ได้แนะนำให้เด็กวัดหมั่นกินและอาบน้ำในสระนี้ จนมีกิตติศัพท์ล่ำลือไปไกล ทำให้มีประชาชนเมืองไกล ๆ มาเอาน้ำในสระนี้ไปกินและอาบเพื่อเป็นสิริมงคล
เส้นชีวิตตรงนี้เองส่งให้เจ้าพระยายมราชเป็นถึงเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ หลายกระทรวง และเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕)
ประวัติพระครูวิบูลย์เมธาจารย์
พระครูวิบูลย์เมธาจารย์(หลวงพ่อภู) เป็นอดีตเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี หลวงพ่อภู เกิดเมื่อปี ๒๓๘๙ และมรณภาพเมื่อปี ๒๔๖๖ อายุได้ ๗๗ ปี อยู่ที่วัดประตูสารโดยมีหลวงพ่อดีเป็นเจ้าอาวาสวัดประตูสาร ท่านเชี่ยวชาญในการแสดงธรรมกถึก เสียงของท่านดังกังวานแจ่มใสมีผู้ฟังนิยมมากในสมัยนั้น
ในปี ๒๔๕๙ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ ๕ เสด็จตรวจการคณะสงฆ์ทางชลมารคประทับที่วัดใหม่ และได้ทรงเปลี่ยนแปลงคณะสงฆ์ใหม่ ทรงแต่งตั้งพระครูวินยานุโยค(หลวงพ่อลี่) เจ้าอาวาสวัดใหม่ซึ่งเป็นเจ้าคณะแขวงบางปลาม้า ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี (ทรงยกพระครูวิบูลย์เมธาจารย์ วัดประตูสาร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรีเป็นกิตติมศักดิ์ ต่อมาอีกไม่นานท่านก็มรณภาพไปตามกาลเวลา)
ประวัติพระครูวิธุรสุตาคม (หลวงพ่อก๋ำ)
พระครูวิธุรสุตาคม เกิดปีมะโรงวันอาทิตย์ เดือนอ้าย เวลาช้าตรู่ พ.ศ. ๒๔๒๓ ที่บ้านข้างวัดประตูสาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่ออายุ ๒๒ ปี ท่านได้อุปสมบท ณ วัดประตูสาร หลวงพ่อดีเจ้าอาวาสวัดประตูสารเป็นอุปัชฌายะ จำพรรษาได้ ๗ พรรษา พี่เขยท่านเจ็บหนัก โยมผู้ชายก็แก่มากแล้ว ท่านจึงต้องลาสิกขาบทไปดูแลทั้ง ๆ ที่ชาวบ้านร้านตลาดยังอาลัยถึงท่านอยู่ และตัวท่านเองก็ยังไม่อยากลาอุปสมบท แต่ด้วยความกตัญญูรู้จักคุณต่อโยมผู้ชายจึงต้องลาสิกขาบท
เมื่อท่านดูแลบ้านอยู่สามปีพอพี่เขยหายปกติดีแล้ว ท่านจึงกลับมาอุปสมบท ณ วัดประตูสารอีกครั้ง และได้จำพรรษาตลอดมา
พรรษา ๑๘ อายุ ๔๙ พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาส
พรรษา ๒๐ อายุ ๕๑ พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบล
พรรษา ๒๔ อายุ ๕๕ พ.ศ.๒๔๗๗ ได้รับตราตั้งเป็นอุปัชฌายะ
พรรษา ๒๖ อายุ ๕๗ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น พระครูวิธุรสุตาคม และท่านเป็นเจ้าคณะตำบลด้วย
ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุทางศาสนาในวัดประตูสารมากมาย เช่น เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ปฏิสังขรณ์พระวิหารโดยรื้อของเก่าแล้วสร้างใหม่เป็นตึกก่ออิฐหินปูนหลังคามุงกระเบื้องเคลือบให้เหมือนปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ได้ดัดแปลงโบสถ์เก่าซึ่งเดิมทีพาไลด้านหน้าเป็นเพิงลาด และหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา ให้พาไลด้านหน้าเป็นจั่วมีช่อฟ้าหน้าบันเปลี่ยนจากกระเบื้องดินเผาเป็นกระเบื้องเคลือบเพื่อให้เป็นแบบเดียวกันกันพระวิหารซึ่งอยู่ใกล้กัน
หลวงพ่อท่านตื่นขึ้นครองผ้าในตอนเช้ามือนั่งสวดมนต์ภาวนาจนรุ่งอรุณแล้วกวาวัดทุกวันมิได้ขาดเสียงของหลวงพ่อกังวานและแจ่มใสมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งในคราวประชุมเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ทั่วประเทศที่กรุงเทพท่านได้สวดมนต์ทำวัตรร่วมกับเจ้าอาวาสทั้งหลาย เสียงของท่านดังกลบเสียงพระองค์อื่น ๆ หมด ทำให้เป็นจุดเด่นและเป็นที่สนใจของสมเด็จพระสังฆราชมาก ยิ่งกว่านั้นหลวงพ่อยังมีมนต์ขลังในทางรักษาฝี ด้วยใช้วิธีตะปูตอกเสา เพียงรู้ชื่อผู้ป่วยและตำแหน่งที่เป็นฝีเท่านั้นท่านก็สามารถทำให้ฝียุบได้ภายใน ๓ วัน ๗ วัน อีกทั้งท่านยังมีมนต์ขลังในทางทำน้ำมนต์อีกด้วย และมีญาณวิเศษสามารถล่วงรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคตของคนที่ท่านรดน้ำมนต์ด้วยการดูจากเทียนที่ท่านหยดลงในน้ำมนต์
ส่วนของขลังของหลวงพ่อมีตะกุดโทนในทางอยู่ยงคงกระพัน และยิ่งกว่านั้นท่านยังส่งเสริมการศึกษา เนื่องจากท่านไม่ได้เรียนหนังสือจึงให้การสนับสนุนคนอื่นเรียน และถ้าผู้ใดได้รับพรจากท่านจะได้รับความเจริญทุกคนเพราะเป็นพรที่ศักดิ์สิทธ์มากหากผู้นั้นไม่ประพฤติเกเรจะได้ดีทุกคนถ้าใครถูกหลวงพ่อด่าว่า “อ้ายระยำ”คนผู้นั้นจะไร้โชควาสนาเป็นคนอาภัพไปจนตาย ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๖ หลวงพ่อได้มรณภาพด้วยโรคชราภาพ รวมอายุได้ ๘๓ ปี
ประวัติพระครูพิศิษฐสมณการ (ทอง)
พระครูพิศิษฐสมณการ เกิดวันอังคารที่ ๑๙ เดือน กันยายน ๒๔๕๙ ปีมะโรง บิดาชื่อนายไหม มารดาชื่อนางคล้อย อยู่ที่หมู่ ๔ ต.เจดีย์ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๗๙ ต่อมา ใน พ.ศ.๒๕๐๖ พระอธิการสมบุญเป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์ชงค์ วัดยุ้งทะลาย เป็นกรรมวาจารย์ พระมหาหนุน วัดหางกะหลาด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทที่วัดยางยี่แส อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี สำหรับการศึกษา ปี ๒๔๗๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถม ๔ โรงเรียนวัดสุวรรณภูมิ อำเภอเมือง จ.สุพรรณบุรี ปี ๒๔๘๑ นักธรรมชั้นโท เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๑ ย้ายมาจากวัดแค ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ท่านย้ายมาอยู่วัดประตูสาร เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๘๑
ปี พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดประตูสาร
ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดประตูสาร
ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิศิษฐสมณการชั้นตรี
ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
มาจนถึง วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ เวลา ๑๙.๓๐ น. หลวงพ่อท่านมรณภาพ อายุได้ ๘๖ ปี ๖๖ พรรษา
พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร (บุญช่วย) (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)
พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร เกิดวันที่ ๒๕ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๓ ณ บ้านเดิมบาง ตำบล เดิมบาง อำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อ นายเที่ยง ศรีโมรา มารดาชื่อ นางใส นามสกุลเดิม ยอดดำเนิน อุปสมบทที่ วัดเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ ๑๐ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ มีพระอธิการวินย์ วัดเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเข็ม วัดเดิมบาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาวิรัตน์ วัดเดิมบาง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านย้ายมาจากวัดเดิมบาง ตำบลเดิมบาง อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มาอยู่วัดประตูสารนี้เมื่อวันที่ ๑๔ เดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เพื่อศึกษาต่อ
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเจ้าอาวาสวัดประตูสาร วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนเจ้าอาวาสชั่วคราว วันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดประตูสาร วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ พ.ศ. ๒๕๒๗
เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : จิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดประตูสาร (8.07 mb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : ประวัติวัด (3.01 mb)
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร (บุญช่วย) ปวฑฺฒโน
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
ขอเชิญร่วมสืบสานประเพณี "สรงน้ำพระ" เนื่องในวันสงกรานต์ ๒๕๖๗
ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567
เปิดดู 55 ครั้ง
วัดประตูสาร กำหนดทำบุญประเพณีตรุษสงกรานต์ ๔ วันด้วยกัน( วันที่ ๘ - ๑๑ เมษายน ๒๕๖๗ )
ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567
เปิดดู 44 ครั้ง
พิธีไหว้ครูและทำบุญโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดประตูสาร ๑๐๒ ปี (ปี๒๕๖๖)
ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567
เปิดดู 44 ครั้ง
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดประตูสาร
ข้อมูลเมื่อ : 27-01-2565
ทรัพย์สินของวัด
สถานที่จัดงานประจำปีศาลเจ้าพ่อประตูสาร
ข้อมูลเมื่อ : 25-01-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
การสอบธรรมศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๖
ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567
กิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์และทำวัตรเย็น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล
ข้อมูลเมื่อ : 15-06-2565
กิจกรรมถวายเทียนพรรษาของวัดประตูสาร ปี ๒๕๖๖
ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567
โครงการ พาเด็กเข้าวัด ทุกวันพฤหัสบดี ปลูกฝัง ศีล สมาธิ ปัญญา ณ วัดประตูสาร
ข้อมูลเมื่อ : 05-04-2567
โครงการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา"หมู่บ้านรักษาศีล5"
ข้อมูลเมื่อ : 15-06-2565
งานสาธารณสงเคราะห์
ข้อมูลเมื่อ : 26-05-2565
โครงการเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง คนชรา ผู้พิการ ทุพพลภาพ
ข้อมูลเมื่อ : 23-01-2565
กิจกรรม ถนนคนเดินประตูสาร ถนนสายวัฒนธรรม จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูลเมื่อ : 25-01-2565
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี๒ คณะสงฆ์ตำบลรั้วใหญ่ เขต๒
ข้อมูลเมื่อ : 23-01-2565
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี๓ คณะสงฆ์ตำบลรั้วใหญ่ เขต๒
ข้อมูลเมื่อ : 23-01-2565
ทำบุญกับวัด
วัดประตูสาร
ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
เจ้าอาวาส พระครูพิพัฒน์สุวรรณสาร (บุญช่วย) ปวฑฺฒโน
โทร. 062-2395111
ผู้มีจิตศรัทธา สามารถทำบุญกับวัดโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของวัดหรือ QR-Code ข้างล่างนี้
ธนาคาร กรุงไทย
เลขที่บัญชี 710-0-69755-7
ชื่อบัญชี วัดประตูสาร(ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา)
QRCODE เพื่อทำบุญวัด วัดประตูสาร