ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดอินทาราม
รหัสวัด
02710605001
ชื่อวัด
วัดอินทาราม
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
วันที่ 30 เดือน ธันวาคม ปี 2320
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 30 เดือน สิงหาคม ปี 2520
ที่อยู่
-
เลขที่
-
หมู่ที่
1
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
หนองขาว
เขต / อำเภอ
ท่าม่วง
จังหวัด
กาญจนบุรี
ไปรษณีย์
71110
เนื้อที่
63 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา
อีเมล์
sompoch25998@gmail.com
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1269
ปรับปรุงล่าสุด : 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 15:24:57
ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 14:41:25
ประวัติความเป็นมา
ตามข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติระบุว่า วัดอินทรารามเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2320 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2520
วัดอินทารามหรือวัดหนองขาวเป็นที่มีความสำคัญต่อตำบลหนองขาวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นวัดขนาดใหญ่ประจำตำบล หลักฐานโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ภายในวัดอาจเก่าแก่ไปถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย อย่างไรก็ตาม โบราณสถานวัดอินทารามยังไม่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
ส่วนประวัติการตั้งถิ่นฐานที่บ้านหนองขาวคือ เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาญจนบุรีเป็นเมืองหน้าด่านและเป็นเส้นทางเดินทัพ ในขณะนั้นตำบลหนองขาวประกอบด้วย 2 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านดงรัง (มีวัดประจำหมู่บ้านคือวัดส้มใหญ่หรือวัดใหญ่ดงรัง) และหมู่บ้านดอนกระเดื่อง (มีวัดโบสถ์เป็นวัดประจำหมู่บ้าน)
การศึกกับพม่าในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้น ชาวบ้านทั้ง 2 หมู่บ้านได้รวมตัวกันต่อสู้กับข้าศึกอย่างกล้าหาญ แต่ไม่สามารถสู้ได้ (ปัจจุบันยังมีร่องรอยคูรบอยู่ห่างจากวัดไปทางทิศใต้ราว 1 กิโลเมตร เรียกว่า “ทุ่งคู”) หมู่บ้านถูกทำลายเสียหายเหลือเพียงซากวัดและเจดีย์ หลังสงครามยุติชาวบ้านได้พากันหลบหนีมารวมตัวกันที่บริเวณหนองน้ำใหญ่ ตั้งเป็นหมู่บ้าน “บ้านหนองหญ้าดอกขาว”
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระมหากษัตริย์หลายพระองค์เสด็จยังบ้านหนองหญ้าขาว เนื่องจากเป็นเส้นทางผ่านไปยังกาญจนบุรี เช่น รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จมาเมืองกาญจน์และผ่านหนองขาวดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ของเจ้าพระยาทิพากรวงค์ กล่าวว่า รุ่งขึ้นวันศุกร์ แรม 14 ค่ำ เสด็จจากพลับพลาเมืองกาญจน์ถึงพลับพลาบ้านหนองขาว ประทับแรมอยู่หนึ่งราตรี และได้ทรงพระราชนิพนธ์ในกลอนไดอารี่ซึมซาบตอนหนึ่งว่า
“ราษฎรพากันดาษดื่นเห็นแต่นั่งหน้าพลับพลากว่าห้าร้อย มีเขียนโต๊ะ ขันหมาก ขันพานบ้านนอก ข้าวหลามสี่ห้ากระบอก ขนมไหม้ จัดตามมีตามจนกันคนละเล็กละน้อยมานั่งคอยถวายล้อมอยู่พร้อมเพรียง ทรงปราศรัยไปทุกหน้าที่มานั้นก็ทูลกันสนองออกซ้องเสียง ฟังเหน่อหน่าตามประสาแปร่งสำเนียง บางขึ้นเสียงทานขัดคอกัน”
วัดอินทารามเป็นวัดที่ยังคงมีการดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันพระครูสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย,ดร. เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
รายนามอดีตเจ้าอาวาส
1. พระอธิการกลม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2320-2325
2. พระอธิการเถื่อน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2325-2347
3. พระอธิการภู่ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2347-2397
4. พระอธิการชุบ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2397-2422
5. พระอธิการหมอน ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2422-2431
6. พระอธิการเอี้ยง ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2431-2436
7. พระอธิการพัด ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2436-2440
8. พระอธิการชุ่ม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2440-2444
9. พระครูวัตตสารโสภณ (หลวงพ่อดอกไม้ ปทุมรัตโน) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2444-2447 ภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน หลวงพ่อเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว สมัยท่านได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก ได้ รวมทั้งบูรณะเจดีย์
10. พระครูจริยาภิรัต (หลวงพ่อยันต์) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2447-2467
11. พระครูโกวิทสุตคุณ (หลวงพ่อพยอม โกวิทโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2467-2526 เป็นอดีตเจ้าคณะอำเภอท่าม่วง
12. พระครูปลัดแน่น ปุสฺโส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2526-2528 เป็นพระเจกิสร้างวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงมาก คือ ลูกอมติดวิญญาณ
13. พระครูอินทคุณากร (หลวงพ่อฮับ เซี่ยงฉี่) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2528-2533
14. พระครูสมุห์ธเนศ ดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาสระหว่าง พ.ศ.2533-2535
14. พระครูกาญจนวิธาน (หลวงพ่อจอก สุชาโต)(รักษาการเจ้าอาวาส) ระหว่าง พ.ศ.2535-2537 ภายหลังได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดด่านมะขามเตี้ยและเจ้าคณะอำเภอด่านมะขามเตี้ย
15. พระครูถาวรกาญจนนิมิต (หลวงพ่อจีรศักดิ์ ถาวโร) ระหว่าง พ.ศ.2537-2553
16. พระครูสังฆรักษ์วินัย อินฺทวินโย (ลาสิกขา) พ.ศ.2553-2562
17. พระครูสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย,ดร. ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส พ.ศ. เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 จนถึงปัจจุบัน
สถานที่สำคัญภายในวัด ได้แก่
พระปรางค์ ตั้งอยู่ด้านหน้า (ด้านทิศตะวันออก) ของอุโบสถ และด้านหลัง (ด้านทิศตะวันตก) ของวิหารพระป่าเลไลยก์ เป็นพระปรางค์ทรงไทย ก่ออิฐฉาบปูน ปัจจุบันทาสีขาว ฐานเป็นฐานเขียง 3 ชั้น มีบันไดทางขึ้นสู่ฐานเขียงชั้นที่ 2 ที่ด้านทิศเหนือและใต้ เหนือขึ้นเป็นชุดฐานปัทม์ (ฐานบัว 4 ชั้น) เรือนธาตุที่มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศ กรอบซุ้มปั้นปูนเป็นลวดลายพญานาค ถัดขึ้นเป็นชั้นอัสดง ยอดปรางค์ (ชั้นวิมานซ้อนกัน 7 ชั้น) เหนือสุดเป็นรูปบัวคลุ่มที่เป็นทรงโดมสูงและนภศูลโลหะ ความสูงจากพื้นถึงยอดประมาณ 20 เมตร จากลักษณะศิลปกรรมอาจกำหนดอายุปรางค์องค์นี้ได้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย
วิหารพระป่าเลไลยก์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์ สันนิษฐานว่าอาจปฏิสังขรณ์ขึ้นมาจากซากวิหารเดิม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ที่ชาวบ้านหนองขาวเรียกกันว่า “หลวงปู่โเลไลยก์” สร้างด้วยปูนปั้นแบบโบราณเป็นแกนไม้รวก หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 7.5 เมตร เป็นที่เคารพสักการะและเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านหนองขาว ชาวบ้านเชื่อว่าหากกราบไหว้ขอพรหลวงปู่โตแล้ว สิ่งที่ขอจะสำเร็จไปได้ด้วยดี
รอบวิหารประดิษฐานรูปปั้นอดีตเจ้าอาวาสวัดอินทาราม เบื้องซ้าย-ขวาด้านหน้าวิหารมีหอระฆังก่ออิฐถือปูนอยู่ด้านละ 1 หอ ลักษณะเป็นอาคารมณฑปขนาดเล็ก ด้านล่างมีช่องประตูทั้ง 4 ทิศ ส่วนบนทำเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุม
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านหนองขาว ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระป่าเลไลยก์ ข้างประตูทางเข้าวัด เป็นอาคารตึกก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ปัจจุบันทาสีเหลือง หลังคาจั่วเตี้ยๆ มุงกระเบื้องลอน หันหน้าไปทางทิศเหนือออกสู่ถนนภายในวัด เดิมเป็นอาคารเรียนของโรงเรียนวัดอินทาราม “โกวิทอินทราทร” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2478
หลังจาก พ.ศ.2541 ทางวัด โรงเรียน และท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้อาคารเรียนดังกล่าวที่ไม่ใช้งานแล้ว จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านหนองขาวขึ้น เพื่อนำเสนอเรื่องราวท้องถิ่นบ้านหนองขาวและจัดแสดงวัตถุที่ชุมชมรวบรวมขึ้น นำเสนอเป็นหมวดหมู่ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิประเทศ วิถีชีวิต วัฒนธรรมและประเพณีของชาวหนองขาว
เจดีย์ จำนวน 3 องค์ อยู่ด้านทิศตะวันออกของอุโบสถ 2 องค์ (ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 1 องค์ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ 1 องค์) และด้านหลังหรือด้านทิศตะวันตกของวิหารพระป่าเลไลย์ 1 องค์ (หรือทางทิศตะวันออกของพระปรางค์) ทั้งหมดเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดเล็ก สี่เหลี่ยมย่อมุม ฐานสิงห์ เจดีย์องค์ด้านหลังวิหารพระป่าเลไลย์และองค์เบื้องขวาของอุโบสถมีสภาพค่อนข้างทรุดโทรม จากรูปแบบศิลปกรรมสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์
อาคารสำคัญอื่นๆ ศาลาการเปรียญ กว้าง 30 ยาว 30 เมตร ภายในตบแต่งด้วยกระจก สวยงาม มีธรรมมาสโบราณ อยู่ภายใน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2563 ยังไม่แล้วเสร็จ ภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปโบราณ และธรรมมาสโบราณ
และหมู่กุฏิก่ออิฐฉาบปูน ที่น่าจะสร้างขึ้นรุ่นราวคราวเดียวกับศาลาการเปรียญ และได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ.2563 ในสมัยเจ้าอาวาสพระครูสมุห์สมโภชน์ อินทวิริโย,ดร.
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 27-11-2566
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
ข้อธรรม ชวนคิด วัดอินทาราม(หนองขาว)5 เรื่อง การพัฒนาพื้นที่ชนบทด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชาวหนองขาว
ข้อมูลเมื่อ : 07-11-2564
เปิดดู 94 ครั้ง
ข้อธรรม ชวนคิด วัดอินทาราม(หนองขาว) 4 เรื่อง เพราะโลกมันกว้าง คนข้างๆ จึงสำคัญ
ข้อมูลเมื่อ : 03-11-2564
เปิดดู 457 ครั้ง
ข้อธรรม ชวนคิด วัดอินทาราม (หนองขาว) เรื่อง คนละไม้ คนละมือ
ข้อมูลเมื่อ : 03-11-2564
เปิดดู 94 ครั้ง
ข้อธรรม ชวนคิด วัดอินทาราม (หนองขาว) 2 เรื่อง เดินไปตามทางธรรม
ข้อมูลเมื่อ : 03-11-2564
เปิดดู 266 ครั้ง
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรีแห่งที่ ๓๙ วัดอินทาราม
ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564
ทรัพย์สินของวัด
โครงการและกิจกรรมเด่น
วันบูรพาจารย์ วัดอินทาราม (หนองขาว) ปี ๒๕๖๗
ข้อมูลเมื่อ : 23-06-2567
เจริญพระพุทธมนต์ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าพัชรกิตติยาภาฯ
ข้อมูลเมื่อ : 27-11-2566
วัดอินทาราม กิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ในวันพระ
ข้อมูลเมื่อ : 02-02-2565
โครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนาภาวนา ประจำปีการศึกษา 2564
ข้อมูลเมื่อ : 02-02-2565
โครงการประกวดวาดภาพระบายสี ในหัวข้อ วาดพุทธศิลป์ วัดอินทาราม หนองขาว ปี ๒๕๖๔
ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564