เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

พุทธศาสนสุภาษิสอนใจ 6

รายละเอียด
อิจฺฉา หิ อนนฺตโคจรา ฯ
 ความอยากมีอารมณ์หาที่สุดมิได้ ฯ
(พุทฺธ) ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๙๔
 ทุกชีวิตมีความอยาก ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน ชีวิตจะเกิดความอยากอยู่ตลอดเวลา ตามวิสัยธรรมดาของชีวิตบ้าง ตามอารมณ์ความต้องการของตัณหาในใจบ้าง อยากทานข้าวปลาอาหาร อยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ เป็นต้น บางครั้งก็อยากในสิ่งที่ไม่อยากก็มี เช่น อยากที่จะไม่อยากทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ อยากที่จะไม่อยากให้ชีวิตเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นต้น ทุกชีวิตจึงถูกขับเคลื่อนหรือตกอยู่ใต้อำนาจความอยาก
 แต่อยากมีทั้งที่ไม่เกิดความเสียหายกล่าวคือไม่มีโทษ เป็นไปตามวิสัยธรรมดาของชีวิต เช่น อยากรับประทานอาหาร เป็นต้น ควรระวังแต่อย่าให้มีความอยากเกินพอดีหรือเกินฐานะของตนเท่านั้น แต่ความอยากที่ต้องระวังคือความอยากที่มีโทษ ที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหา เช่น อยากเล่นการพนัน อยากดื่มสุรา เป็นต้น อยากอย่างนี้ จงห้ามใจให้เว้นและให้ห่างไกลอย่างเด็ดขาด ความอยากประเภทนี้ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มีอารมณ์หาที่สุดมิได้ คือไม่มีขอบเขต ยิ่งปล่อยใจให้เป็นไปตามกิเลสตัณหา ยิ่งมีความทะยานอยากไม่มีที่สิ้นสุด
 ธรรมดาของความอยากย่อมจะเกิดจากใจของแต่ละคน และใจนั้นก็ย่อมจะท่องเที่ยวไปได้ทุกหนทุกแห่งโดยไม่มีขอบเขต เพราะเหตุนี้ ความอยากจึงไม่มีที่สิ้นสุดอย่างไร้ขอบเขต เนื่องจากความอยากนี้ไปกับใจ แต่ถ้าใจที่ท่องเที่ยวไปนั้น ไม่พกเอาความอยากไปด้วย ความอยากนั้นก็จะไม่มี เพราะไม่มีอยู่ในใจ สำหรับการฝึกใจให้ไม่มีความอยากนั้น ควรจะต้องมีสติตามไปกับใจที่มีความอยากด้วย จึงจะแก้กันได้ทัน
 ความอยากดังกล่าวนี้ หมายถึงความอยากในทางไม่ดี เช่น แต่เดิมมีภรรยาอยู่แล้ว ทนความอยากไม่ไหว ไปพาเอาหญิงอื่นมาเป็นภรรยาอีกหนึ่งคน เป็นต้น เมื่อรู้ว่าความอยากไม่ดี กำลังเกิดขึ้นกับใจตน ก็จงบอกกับตัวเองว่า หยุด
 ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เข้าไปเทศน์ในวัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงรับสั่งว่า “ขรัวโต วันนี้เทศน์สั้น ๆ หน่อย กำลังมีราชกิจอยู่” สมเด็จโตพอขึ้นธรรมาสน์ ตั้งนโมจบแล้ว ก็เทศน์เพียงคำเดียวว่า หยุด แล้วต่อด้วย เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
 เพราะฉะนั้น หยุด คำเดียวเท่านั้น เป็นคำที่ศักดิ์สิทธิ์ เราเคยสั่งคนอื่นให้หยุดได้ ทดลองสั่งตัวเองบ้างก็ดีเหมือนกัน ท่านกล่าวว่า อยากคือยุ่ง หยุดอยากก็หยุดยุ่ง ความจริงก็เป็นอย่างนั้น ความอยากหากมีพอดีและเป็นไปในทางดีที่เรียกว่า ฉันทะ ก็ควรอยาก เช่น อยากทำบุญเป็นต้น 

ผู้แต่ง
พุทธสุภาษิต

โดย : วัดจำปา

ที่อยู่ : ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 289

ปรับปรุงล่าสุด : 30 มกราคม พ.ศ. 2565 06:46:08

ข้อมูลเมื่อ : 30 มกราคม พ.ศ. 2565 06:45:54

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 35

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 41

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 50

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 33

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 35