ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
รหัสวัด
02710102001
ชื่อวัด
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
วันตั้งวัด
ปี 2328
วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2484
ที่อยู่
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม
เลขที่
227
หมู่ที่
-
ซอย
-
ถนน
ไชยชุมพลฯ
แขวง / ตำบล
บ้านใต้
เขต / อำเภอ
เมืองกาญจนบุรี
จังหวัด
กาญจนบุรี
ไปรษณีย์
71000
เนื้อที่
44 ไร่ 2 งาน 81 ตารางวา
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 2391
ปรับปรุงล่าสุด : 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 12:17:53
ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00
ประวัติความเป็นมา
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม หรือ ชื่อที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีเรียกขานอีกนามหนึ่งว่า วัดใต้ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๗ ถนนไชยชุมพล ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔๔ ไร่ ๒ งาน ๘๑ ตารางวา โดยมีเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นโฉนดเลขที่ ๑๔๓๔ เล่มที่ ๑๕ หน้า ๓๔ เลขที่ดิน ๖๒ หน้าสำรวจ ๓๘๕
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๔ พระอุโบสถหลังเก่าได้ผูกพัทธสีมาเมื่อปีใดไม่มีหลักฐานยืนยัน ส่วนพระอุโบสถหลังใหม่ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีเขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐เมตร ยาว ๘๐ เมตร
ประวัติความเป็นมาของวัดไชยชุมพลชนะสงคราม
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ด้านทิศตะวันออก อยู่ห่างทางใต้จากจุดแม่น้ำแคว ๒ แคว ไหลมาบรรจบกันประมาณ ๑๐ เส้น ตำบลที่ตั้งวัดอยู่เดิมเรียกว่า “ตำบลปากแพรก” ที่เรียก ดังกล่าว เนื่องจากแพรกแห่งลำน้ำทั้งสองคือ แควไทรโยค (แควน้อย) กับแควศรีสวัสดิ์ (แควใหญ่) ไหลมาบรรจบรวมเป็นสายเดียวกัน เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่กลอง จึงเรียกตำบลนี้ว่า “ตำบลปากแพรก” มาแต่โบราณ
ที่มาของชื่อ " วัดใต้ "
ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. ๒๓๒๘ พระเจ้าปะดุง (พม่า) ยกทัพใหญ่มาตีเมืองไทย กำลังส่วนใหญ่ของพม่าเข้ามาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ตรงเข้ามายังเมืองกาญจนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ยกทัพไปตั้งรับที่ตำบลลาดหญ้า ริมเขาชนไก่ ลงมาตั้งที่ตำบลปากแพรกแห่งนี้ ทางด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำ ตรงที่แควทั้งสองไหลมาบรรจบกันนี้เอง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๓๗๔ ในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฯ ให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นอย่างถาวร ห่างจากริมริมฝั่งประมาณ ๓ เส้นเศษ(ปรากฏซากกำแพงเมืองบางส่วนในปัจจุบันนี้)
ตั้งแต่นั้นมา วัดและหมู่บ้านที่อยู่ในบริเวณตัวเมือง วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านเหนือเมืองชาวบ้านก็เรียกว่า “วัดเหนือ บ้านเหนือ” วัดใดบ้านใดที่อยู่ด้านใต้เมืองชาวบ้านก็เรียกว่า “วัดใต้ บ้านใต้” บ้านใต้ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ต่อมาภายหลังตำบลปากแพรกได้แยกเขตการปกครองออกเป็น ๓ ตำบลได้แก่ตำบลบ้านเหนือ ตำบลบ้านใต้ ตำบลปากแพรก จนถึงปัจจุบันนี้ (ตำบลบ้านเหนือและตำบลบ้านใต้อยู่ในเขตเทศบาลเมืองกาญจนบุรี)
อนึ่งวัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) นับเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกาญจนบุรีมาแต่โบราณกาลวัดหนึ่ง หาประวัติเป็นที่แน่นอนไม่ได้ว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด ใครเป็นผู้สร้างกันแน่ อาศัยทราบจากผู้เฒ่าเล่าต่อกันมาว่า *"พระยาตาแดง" เป็นผู้สร้าง แต่จะเป็นการสร้างขึ้นใหม่ หรือซ่อมแซมบูรณะต่อเติมจากของเดิมซึ่งมีอยู่มาก่อนแล้วก็ได้ ทั้งนี้เพราะทราบกันแต่คำบอกเล่าต่อๆกันมาเท่านั้น จะเท็จจริงประการใดยังไม่มีหลักฐานหรือตำนานการสร้างวัดนี้
* พระยาตาแดง หรือ พระยากาญจนบุรีในสมัยนั้นชื่อพระยาประสิทธิสงคราม นามเต็มว่า พระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์ พระยากาญจนบุรี นามเดิมไม่ปรากฏแต่มีฉายาตามที่เรียกกันว่า “พระยาตาแดง หรือ เจ้าเมืองตาแดง” เดิมเป็น ที่พระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจและได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีคนที่ ๒ ของเมืองกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ พระยาประสิทธิสงครามหรือเจ้าพระยาตาแดงผู้นี้เป็นผู้ดำเนินการสร้างป้อมปราการและกำแพงขึ้นใหม่และเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ปรากฏในอักษรได้จารึกหลักศิลาเมืองกาญจนบุรี อันเป็นประกาศพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓
วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้) เป็นวัดสำคัญทางประวัติศาสตร์ระหว่างสงครามไทยรบกับพม่ามาแต่โบราณ ส่วนมากทัพพม่าจะต้องยกทัพมาทางด่านพระเจดีย์ ๓ องค์ ผ่านตรงเข้าจังหวัดกาญจนบุรีแทบทุกครั้ง และกองทัพไทยที่ยกออกไปต่อต้านทัพพม่าก็จะต้องมาพักแรมประชุมพลที่ตำบลปากแพรก หรือบริเวณอาณาเขตวัดไชยชุมชนะสงคราม แทบทุกครั้งไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ไทยได้ทำสงครามกับพม่าและมีการสู้รบกันที่จังหวัดกาญจนบุรี ๒ ครั้ง ดังนี้
๑.ไทยรบชนะพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า (กาญจนบุรีเดิม) ช่วงสงคราม ๙ ทัพ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ก่อนออกศึกสงครามที่แล้วจะต้องได้รับชัยชนะทุกครั้งไป
๒.ไทยรบชนะพม่าที่บ้านท่าดินแดง (ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี ในปัจจุบัน) พ.ศ. ๒๓๒๙ในการรบกับพม่าทั้งสองครั้งนี้ ตามตำนานประวัติศาสตร์ ได้บันทึกไว้ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ ๑) พร้อมด้วยพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้ทรงประชุมพลเหล่าทหารกล้า ณ ตำบลปากแพรก (บริเวณวัดไชยชพลชนะสงคราม) ก่อนออกศึกสงครามทุกครั้ง แล้วจึงยกกองทัพออกสู่สมรภูมิรบ ได้รับชัยชนะทั้ง ๒ ครั้ง เมื่อมีการประชุมพลที่นี่แล้วออกศึกสงครามได้รับชัยชนะกลับมาทุกครั้ง จึงเป็นที่มาแห่งนามวัดว่า “วัดไชยชุมพลชนะสงคราม” อันหมายถึงเมื่อมีการประชุมพลก่อนออกศึกสงครามที่แล้วจะต้องได้รับชัยชนะทุกครั้งไป
ถึงปากแพรกซึ่งเป็นที่ประชุมพล พร้อมพหลพลนิกรน้อยใหญ่
ค่ายคูเขื่อนขัณฑ์ทั้งนั้นไซร์ สารพัดแต่งไว้ทุกประการ
จึงรีบรัดจัดโดยขบวนทัพ สรรพด้วยพยุหทวยหาญ
ทุกหมู่หมวดกันไว้พร้อมการ ครั้นได้ศุภวารเวลา
ให้ยกรื่นตามทางไทรโยคสถาน ทั้งบกเรือล้วนทหารอาสา
จะสังหารอริราชพาลา อันสถิตอยู่ยังท่าดินแดง
อุโบสถหลังเก่า
ที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม มีพระเจดีย์เก่าแก่องหนึ่งอยู่ใกล้พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ริมตลิ่งพระเจดีย์องค์นี้มีชื่อทางโบราณคดี กรมศิลปากรได้จัดขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานไว้ (ตามประกาศครั้งที่ ๑ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๒ ลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๘) ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี เรียกว่า “เจดีย์โบราณวัดไชยชุมพลชนะสงคราม” ในสมัยโบราณกองทัพไทยได้เคยชุมพลเหล่าทหารที่ทะแกล้วร่วมพิธีตั้งศาลเพียงตาบวงสรวงเทพารักษ์ทางไสยศาสตร์ ก่อนที่จะออกไปรบประจันกับเหล่าศัตรู โดยชุมชุมร่วมพิธีกัน ณ ตรงที่ตั้งพระเจดีย์องค์นี้ แล้วยกออกไปรบกับพม่าข้าศึกได้ชัยชนะมาทุกๆครั้ง จึงได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นไว้เพื่อเป็นนิมิตฉลองชัย คำว่า “ไชยชุมพล” แสดงว่าพระเจดีย์นี้สร้างขึ้นในที่ชุมพล มิใช่สร้างขึ้นที่รบชนะเหมือนพระเจดีย์ยุทธหัตถี แต่เมื่อชุมพลในที่นี้แล้วยกทัพไปก็มีชัยกลับมา แต่เดิมวัดไชยชุมพลชนะสงครามบรรดาแม่ทัพนายกองของกองทัพไทยในสมัยที่ทำการรบข้าศึกได้ชัยชนะในครั้งนั้นคงเห็นว่าควรย้ายเลื่อนวัดขึ้นมาอยู่ในบริเวณเดียวกันกับเจดีย์ จึงได้เคลื่อนย้ายกันขึ้นมา และได้ขนานนามวัดให้เหมาะสมตามชัยนิมิตนั้นว่า “วัดไชยชุมพลชนะสงคราม”
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระเทพปริยัติโสภณ วิสุทฺธิปญฺโญ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 26-01-2565