เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8346 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8861 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

พุทธศาสนสุภาษิตสอนใจ 5

รายละเอียด
 อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ ฯ
 บุรุษผู้สดับน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก ฯ
(พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๒๑/๓๕
 ทุกคนที่เกิดมาจนถึงจำความได้ จะได้ยินได้ฟังคนอื่นพูดกันอยู่ทุกวัน นอกจากจะเป็นคำพูดด้วยปากแล้ว ยังมีคำพูดจากตัวหนังสืออีก เรียกว่าคนเราจะมีการฟังกันอยู่ตลอดเวลา และการฟังนั้นจะมีอยู่สองประเภท คือ ฟังทิ้ง กับ ฟังเก็บ หมายความว่า คำพูดที่ฟังแล้วไม่มีสาระ หรือเป็นคำพูดทุจริตชวนให้ทำความชั่ว ก็ทิ้งไปอย่าเก็บไว้ ส่วนคำพูดสุจริตเป็นสาระชวนให้ทำความดี ก็เก็บไว้ในตู้คือหัวใจให้มั่นคง
 ถ้าคนไหนที่สนใจในคำพูดที่เป็นสาระ เช่น ความรู้ในวิชาต่าง ๆ ก็เที่ยวไปเสาะแสวงหามาศึกษาเล่าเรียนและนำไปประพฤติปฏิบัติตาม คนไหนเป็นคนเกียจคร้านไม่ใส่ใจในวิชาความรู้หรือฟังแล้วก็ทิ้งไป ไม่ใฝ่ใจจดจำ และไม่สนใจในการที่จะนำมาประพฤติปฏิบัติ คนอย่างนี้เรียกว่า เป็นผู้มีการสดับน้อย เช่นคนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ จะไม่เกิดความรู้คือปัญญา เขาย่อมจะมีแต่ความเสื่อมหาความเจริญไม่ได้
 การสดับรับฟังและการศึกษาตามความหมายนี้ ทางพระพุทธศาสนาหมายถึงการปฏิบัติได้ตามที่ฟังหรือตามที่ได้ศึกษามานั้น เช่น สีลสิกขา การศึกษาในศีล ก็คือการปฏิบัติอยู่ในศีลนั้นเอง ถ้าเป็นในปัจจุบันนี้หมายถึงการเรียนรู้ เรียนให้จำได้ ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง เรียนให้ทำได้
 การที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้สดับน้อยเหมือนโคถึก หมายถึง โคเป็นสัตว์ใหญ่แต่ตัวเองมีปัญญาน้อย ไม่เหมือนมนุษย์ที่มีตัวเล็กกว่า แต่มีปัญญาสามารถจะสั่งบังคับโคได้ โคจะต้องทำตามคำสั่งคน คนเป็นผู้ใช้แรงงานโคนั่นเอง ข้อนี้เปรียบด้วยคนที่มีการศึกษาน้อย ไม่สามารถจะประกอบอาชีพที่ใช้ปัญญาความสามารถมากได้ จะทำได้ก็เพียงการงานที่ใช้เรี้ยวแรงทางกายไม่ใช่แรงทางปัญญา ถูกคนมีปัญญาเขาใช้ให้ทำงานเหมือนโคถูกคนใช้ให้ทำงานฉะนั้น
 แต่ถ้าคนที่มีการศึกษาน้อยนั้น ต่อมาภายหลังนึกสำเหนียกตัวได้ แล้วกลับมาตั้งตัวใหม่ โดยจัดหาอาชีพที่ตนชอบและฝึกหัดให้ทำได้ มีความขยันอดทนจนตั้งตัวได้ อย่างนี้จะไม่เรียกว่า คนสดับน้อย จะเป็นคนสดับมาก เพราะสามารถใช้ความรู้ที่เป็นทักษะในการฝึกฝนอบรมตนเองให้เกิดความชำนาญจนเป็นที่พึ่งให้กับตนเองได้
 เพราะฉะนั้น ทุกคนสามารถฝึกฝนอบรมตนเองได้ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ในหมู่คน ผู้ที่ฝึกฝนอบรมตนเองได้เป็นผู้ที่ประเสริฐ คนอื่นก็มีหนึ่งสมองสองมือ เขายังสามารถฝึกฝนอบรมตนเองได้ เราก็ไม่ได้ต่างจากคนอื่น ขอเพียงเราไม่เกียจคร้านตั้งใจฝึกฝนก็จะเป็นคนมีปัญญาสดับมากได้เช่นกัน

ผู้แต่ง
พุทธสุภาษิต

โดย : วัดจำปา

ที่อยู่ : ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 1207

ปรับปรุงล่าสุด : 29 มกราคม พ.ศ. 2565 05:22:57

ข้อมูลเมื่อ : 29 มกราคม พ.ศ. 2565 05:22:57

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

"อยู่สบาย ตายก็เป็นสุข"

โดย วัดประตูสาร

ข้อมูลเมื่อ : 06-04-2567

เปิดดู : 36

ปล่อยวาง

โดย วัดสะแกราย

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 42

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

โดย วัดท่าทอง

ข้อมูลเมื่อ : 08-03-2567

เปิดดู : 50

ความสุขในโลก

โดย วัดสุวรรณตะไล

ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2567

เปิดดู : 33

วันมาฆบูชา

โดย วัดอินทาราม

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2567

เปิดดู : 35