



ปูชนียวัตถุสถาน
อุโบสถวัดไทรย์



รายละเอียด
อุโบสถวัดไทรย์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน อยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังทึบตัน ตัวอาคารเอนสอบใช้ฐานบัวยึดสูงรองรับ ด้านหน้ามีการเจาะช่องประตู 1 ช่อง มีการ ตกแต่งซุ้มประตูด้วยปูนปั้นเป็นลายหยังเทศน์ ผนังด้านข้างมีการเจาะช่องหน้าต่างข้างละ 4 ซอง ไม่มีการตกแต่งลวดลาย ในส่วนของหลังคาเป็น หลังคาไม้มุงกระเบื้องชั้นเดียว แต่มีการลดขั้นหลังคา 3 ตับ ตกแต่งด้วยเครื่องลำยอง ในส่วนของหน้าบันนั้นมีการก่ออิฐขึ้นไปถึงหน้าจั่ว ซึ่งเป็นรูป แบบที่นิยมทำในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายและน่าจะส่งอิทธิพลมาถึงช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย โดยเรียกว่าอาคารทรงคฤห์ ที่ด้านหน้าอุโบสถมี การทําหลังคาลาดลงมา เรียกว่าฉันรับ โดยมีเสารองรับอันดับ 4 ต้น เป็นแบบเสาสี่เหลี่ยมลบมุม โดยเสารูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ 3 จากรูปแบบที่ได้กล่าวมาจึงสันนิษฐานได้ว่าอุโบสถหลังนี้เป็นรูปแบบงานศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้น ช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ราวๆ พุทธ ศตวรรษที่ 24
โดย : วัดไทรย์
ที่อยู่ : ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี
จำนวนเข้าดู : 115
ปรับปรุงล่าสุด : 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 09:43:40
ข้อมูลเมื่อ : 9 มีนาคม พ.ศ. 2565 15:06:54
ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ
งานสร้างห้องสุขขา จำนวน 22 ห้อง เริ่มดำเนินการ
โดย : วัดธรรมศาลา
ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2566
เปิดดู : 145