ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดไผ่โรงวัว
รหัสวัด
02720703005
ชื่อวัด
วัดไผ่โรงวัว
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2469
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 01 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2489
ที่อยู่
วัดไผ่โรงวัว
เลขที่
118
หมู่ที่
11
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
บางตาเถร
เขต / อำเภอ
สองพี่น้อง
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72110
เนื้อที่
260 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา
Line
watphai2469
Facebook
คลิกดู
มือถือ
0987399771
โทรศัพท์
0816823303
Fax
035960360
อีเมล์
watphai2469@gmail.com
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1773
ปรับปรุงล่าสุด : 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 10:44:37
ข้อมูลเมื่อ : 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564 21:04:02
ประวัติความเป็นมา
เดิมคลองพระยาบรรลือยังมิได้ขุดเป็นแต่ร่องน้ำทิศใต้จากไผ่ตาแบ้เรียกปากคลองยายบ้วย (แยกจากแม่น้ำท่าจีน) ถึงตลาดบัวหวั่น ต่อ มา มีโครงการขุดลอกคลองใน พ.ศ. ๒๔๘๐ ประชาชนเริ่มอพยพมาอยู่ที่ริมฝั่งคลองมากขึ้นตามลำดับ
บริเวณที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ แต่ก่อนมีแต่หญ้าคา และดงกอไผ่ ชาวบ้านนำฝูงโค(วัว)ที่เลี้ยงมาพักและอาศัยดงไผ่นี้เป็นที่อยู่ ครั้งแรกมีพระชื่อ พระรุ่งธุดงค์มาอยู่ พระรุ่งนี้เมื่อเป็นฆราวาสเป็นเพื่อนกับนายสอน ซึ่งบ้านอยู่ที่บ้านไผ่โรงวัวนี้ หมู่บ้านไผ่นี้เป็นที่ของนายสุข ๒๐ไร่ ให้เป็นที่พักสงฆ์ ๒๔๖๙ มีพระรุ่งมาอยู่ได้ ๑ ปีกว่า ก็จาริกจากไป
ชาวบ้านไผ่ ซึ่งมี นายสุข สุวรรณศรี , ผู้ใหญ่สุด วัชวงษ์ , นายบุตร , นายพุฒ , และนายสอน ได้ไปนิมนต์พระขอม (หลวงพ่อขอม) จากวัดบางสาม ให้มาอยู่ที่สำนักสงฆ์นี้ พระขอมได้มาพร้อมกับพระขาว ซึ่งมีพรรษามากกว่าพระขอม มาอยู่ด้วยกัน พ.ศ.๒๔๗๒ ณ สำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัว ได้นำชาวบ้านขุดสระน้ำ ๑ สระ ไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง อยู่ได้ ๑ ปี พระขอม (หลวงพ่อขอม) ได้ไปเรียนพระปริยัติธรรม ที่วัดพระศรีมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ๖ ปี จบ น.ธ.เอก
ส่วนทางสำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัว เมื่อพระขอมไปเรียนพระปริยัติธรรมที่ตัวจังหวัดสุพรรณบุรี พระขาวอยู่ที่สำนักสงฆ์บ้านไผ่โรงวัวได้ ๕ ปี ก็ลาสิกขาบท ได้มีพระรอด อยู่ต่อได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขาบท และได้มีพระเงินมาอยู่ต่อ
ชาวบ้านไผ่โรงวัว จึงได้ไปนิมนต์ พระขอม ( หลวงพ่อขอม ) ที่วัดพระศรีมหาธาตุสุพรรณบุรี มาอยู่ประจำ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระขอม ( หลวงพ่อขอม ) ได้บุกเบิกก่อสร้างพัฒนาวัดไผ่โรงวัวมาจากเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ขยายต่อจนมีเนื้อที่ตั้งวัด ๒๖๐ ไร่ ๑ งาน ๖๗ ตารางวา ( มีโฉนด ) มีที่ธรณีสงฆ์ ๒๐ ไร่ ๒ แปลง ( มีโฉนด ) ได้รับวิสุงคามสีมา วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ตั้งชื่อวัดตามการปกครองคณะสงฆ์ว่า วัดโพธาราม แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกว่าวัดไผ่โรงวัวกันติดปาก มาเปลี่ยนชื่อจาก วัดโพธาราม เป็นชื่อ วัดไผ่โรงวัว ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ปัจจุบัน เนื้อที่ตั้งวัด ถูกทางหลวงสายเลขหมาย ๓๔๒๒ ลาดบัวหลวง–สองพี่น้อง ตัดผ่านถูกเวนคืนเป็นผาติกรรม (ยังไม่ได้แบ่งโฉนด) จำนวน ๒ ไร่ ๔.๙/๑๐ ตารางวา ปัจจุบันจึงเหลือพื้นที่ตั้งวัดจำนวน ๒๕๗ ไร่ ๑ งาน ๖๒ ตารางวา
วัดไผ่โรงวัว พื้นที่ตั้งวัด แบ่งเป็น ๒ เขต
เขตพุทธาวาส ทิศตะวันออกของวัด บริเวณเนื้อที่ประมาณ ๑๐๗ ไร่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมเด็จพระพุทธโคดม หลวงพ่อขอมเป็นผู้นำสร้าง เริ่มงาน พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๑๒ หน้าตักกว้าง ๑๐.๒๕ เมตร สูงเฉพาะองค์พระ ๑๔ เมตร รวมทั้งบัลลังก์ ๒๖ เมตร สร้างด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ น้ำหนักประมาณ ๕๐ ตัน เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ทูลเชิญในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จมาทรงยกพระเกตุมาลา
วงล้อพระธรรมจักร หล่อด้วยทองเหลืองขนาดใหญ่ มีพุทธบริษัททั้ง ๔
สี่เหล่าชาวพุทธะ องค์เฮย
รวมกลุ่มรุมล้อกง จักรไว้
พลั่งพร้อมล้อมรุนกง จักร์รัตน์นา
จักรพระเจ้าจักได้ ก้าวหน้า พาเจริญ
สถานที่ทางพระพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จำลองเมืองกบิลพัสดุ์ ตั้งแต่ทรงประสูติ ออกผนวช ทรงตัดโมฬี ถึงทรงพระปรินิพพาน เขาคิชฌกูฎ
จำลองสังเวชนียสถานทั้ง ๔ ตำบล สถานที่ทรงประสูติ สถานที่ทรงตรัสรู้ สถานที่ทรงแสดงพระธรรมจักกัปวัตนสูตร และสถานที่ทรงปรินิพพาน
เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
๑. สมเด็จพระพุทธโคดม ( ปางมารวิชัยเนื้อทองสัมฤทธิ์ลงลักสีดำ หน้าตักกว้าง ๑๐.๒๕ เมตร )
๒. สมเด็จพระกะกุสันโธ ( ปางมารวิชัย เนื้อปูนก่อด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สีขาว หน้าตักกว้าง ๔๐ เมตร )
๓. สมเด็จพระโคนาคม ( ปางยืนประทานพร สีทอง สูง ๑๘ เมตร ) บริเวณที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ๕๐๐ องค์
๔. สมเด็จพระพุทธกัสสปะ ( ปางไสยาสน์ ยาว ๘๐ เมตร การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ )
๕. พระศรีอริยะเมตไตย์ ( ปางนั่ง สูง ๑๕ เมตร )
เขตสังฆาวาส ทิศตะวันตกของวัด บริเวณเนื้อที่ประมาณ ๑๕๐ ไร่ เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ บริเวณเขตนี้เป็นที่ตั้งหอกลาง เป็นที่เก็บสรีระของหลวงพ่อขอม ผู้นำการก่อสร้างพัฒนาวัดไผ่โรงวัว ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างวัดใหม่ๆ จนถึงมรณภาพ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๓ มีคลังเช่าบูชาวัตถุมงคล , ที่รับถวายสังฆทาน ศาลาการเปรียญ ๑ , ๒ , ๓ โรงทานหลวงพ่อขอม , และศาลา ๔ , โรงเรียนพระปริยัติธรรม , ฌาปนสถาน
เป็นที่ตั้งของเมืองนรกภูมิ ในพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ มีเปรต อสุรกาย ต่างๆ สร้าง พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างตามคำภีร์พระมาลัยโปรดสัตว์นรก ไตรภูมิพระร่วง เป็นคติสอนใจ ในการกระทำชั่ว กระทำบาปจะได้รับผลเช่นไร ฯลฯ ข้อคิด…ชาวพุทธที่มาชมเปรตที่วัดไผ่โรงวัว มี ๓ ชั้น
๑. ชาวพุทธชั้นสูง ท่านเป็นผู้อุดมธรรม ท่านไม่มีอะไร ท่านเห็นเป็นกฏของธรรมดา
๒. ชาวพุทธชั้นกลาง ยังมีรักมีชัง ก็ติบ้างชมบ้างไปตามวิสัย
๓. ชาวพุทธชั้นต่ำ ไม่รู้อีโหน่อีเหน่อะไร ได้แต่หัวเราะชอบใจไปตามอารมณ์
นิโครธารามพุทธวิหาร ( วิหารร้อยยอด ) ที่สวยงาม สร้างตามพุทธประวัติ พระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพุทธเจ้าให้เป็นอารามที่ประทับของพระพุทธองค์และพระสาวก ครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาที่เมืองกบิลพัสดุ์ครั้งแรก หลังจากที่ทรงตรัสรู้
เจดีย์ร้อยยอด , มณฑปหลวงพ่อขอม , อุโบสถ์ร้อยยอด
เขาถวายเพลิง ( มกุฏพันธนเจดีย์ ) สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระ หลังจากทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๗ วัน
งานประจำปีของวัดไผ่โรงวัว ปัจจุบัน
๑. งานครบรอบปี มรณภาพพระเดชพระคุณหลวงพ่อขอม ( ๖ - ๗ มกราคม )
๒. งานประเพณีทิ้งกระจาดให้ทานกลางเดือน ๙ ( ขึ้น ๑๔ , ๑๕ และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ) ทิ้งทานวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ เวลา ๑๕.๐๐ น
๓. งานลอยกระทงกลางเดือน ๑๒ ( ขึ้น ๑๔ , ๑๕ และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ )
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวัด | ไผ่โรงวัว |
มีความหมายว่า | เดิมเป็นดงกอไผ่ชาวบ้านนำโค (วัว) มาเลี้ยงเป็นที่พักอาศัยของโคชาวบ้าน |
ชาวบ้านเริ่มสร้างเมื่อ | พ.ศ. ๒๔๖๙ |
ผู้สร้างวัด | ชาวบ้านไผ่โรงวัว |
เดิม วัดมีชื่อว่า | โพธาราม |
เปลี่ยนชื่อเมื่อ | พ.ศ. ๒๕๓๓ |
เหตุผลที่เปลี่ยน | ตั้งตามชื่อหมู่บ้าน |
สภาพฐานะของวัด | วัดราษฎร์ ( มหานิกาย ) |
ตั้งอยู่เลขที่ | ๑๑๘ หมู่ ๑๑ |
ตำบล | บางตาเถร |
อำเภอ | สองพี่น้อง |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ | ๒๖๐ ไร่ ๑ งาน ๖๗ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๔๒๕๔ เล่ม ๔๓ หน้า ๕๔ |
ที่ธรณีสงฆ์ | ๒๐ ไร่ ( แปลงละ ๑๐ ไร่ ๒ แปลง ) สุพรรณบุรี / นครปฐม |
ทิศเหนือ | ติดคลองพระยาบรรลือ |
ทิศใต้ | ติดถนนทางหลวงหมายเลข ๓๔๒๒ ลาดบัวหลวง - สองพี่น้อง |
ทิศตะวันตก | โรงเรียนประชาบาลวัดไผ่โรงวัวเป็นพื้นที่วัด ติดที่หมู่บ้านและที่นาชาวบ้าน |
ทิศตะวันออก | ติดหมู่บ้านไผ่โรงวัว |
พื้นที่ตั้งวัด | รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านยาวจากทิศเหนือ-ทิศใต้ ๙๕๐ เมตร กว้าง ๔๐๐ ม. (ประมาณ) |
การปกครองภายในวัดปัจจุบัน | |
เจ้าอาวาส | พระครูอนุกูลปัญญากร (สุชิน) / รจอ. |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส | พระมหาลำใย พุทฺธสโร |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส | พระสมชาย มนาโป |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส | พระมหาชาญณรงค์ อกฺกปญฺโญ |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส | พระวิวัฒน์ รคนปญฺโญ |
ผู้ช่วยเจ้าอาวาส | พระนท |
ไวยาวัจกร | นายบำรุง เสียงเพราะดี |
รูปที่ | นามเจ้าอาวาส | พ.ศ. - พ.ศ. | ประวัติเจ้าอาวาส |
๑ | พระครูอุภัยภาดาทร ( หลวงพ่อขอม ) | ๒๔๗๒ – ๒๕๓๒ | ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก |
๒ | พระครูสุวรรณชินวัฒน์ (โกร่ง ชินวํโส) | ๒๕๓๒ – ๒๕๕๗ | เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ |
๓ | พระครูอนุกูลปัญญากร (สุชิน สิริปญฺโญ) | ๒๕๕๗ – ปัจจุบัน | เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ |
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูอนุกูลปัญญากร สิริปญฺโญ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 15-10-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 23-07-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดไผ่โรงวัว
ข้อมูลเมื่อ : 13-03-2565
ทรัพย์สินของวัด
สมเด็จพระพุทธโคดม
ข้อมูลเมื่อ : 13-03-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
โครงการจัดนิทรรศการแสดงผลงานหน่วย อปต. อ.สองพี่น้อง
ข้อมูลเมื่อ : 30-06-2566
ปฏิทินศาสนา และกิจกรรมวันสำคัญของวัดไผ่โรงวัว
ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565
ปฏิทินศาสนา และกิจกรรมวันสำคัญของวัดไผ่โรงวัว
ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565
ท่องเที่ยวตลาดวัดไผ่ ไหว้พระใหญ่เมืองสองพี่น้อง
ข้อมูลเมื่อ : 30-01-2565