เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8346 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8861 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สื่อมีเดีย

วันเลิกทาส ๑ เมษายน ของทุกปี ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส

รายละเอียด
การเลิกทาส และ การเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส
เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
ทรงประกาศใช้ "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔″ และ
"พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔″
เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเมืองไทย
มีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ
เนื่องจากพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ต้องตกเป็นทาสต่อไป
ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต
เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่
          ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ
"พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๗
แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ
จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี เมื่ออายุได้ ๒๑ ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ
เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๔๘ ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. ๑๒๔"
ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘
ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ ๔ บาท
นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก
และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

การเลิกไพร่
หมอสมิธ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอมรีโพซิตอรี่ ได้เขียนบทความเพื่อตำหนิรัฐบาลสยามอย่างรุนแรง
ด้วยเห็นว่า ในบรรดาประเทศที่มีความเจริญแล้วทั้งหลาย ไม่ว่าจะพระเจ้าแผ่นดินก็ดี เหล่าขุนนางก็ดี
ไม่มีสิทธิ์ที่จะเกณฑ์แรงงานราษฎรที่เสียภาษีอาการโดยไม่ให้อะไรตอบแทน เนื่องจากในสมัยนั้น
คนที่เป็นไพร่เข้ารับราชการโดยที่ไม่ได้รับค่าตอบ ทั้งยังต้องออกค่าใช้จ่ายเองทุกอย่างในระหว่างที่รับราชการ
อาทิ ค่าเดินทาง ค่าอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเหล่าคนไทยหนุ่ม มีความคิดอยากให้เลิกขนบไพร่
บางส่วนก็ออกมาแสดงความคัดค้านที่รัฐบาลสักเลกในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ทำให้การทำนาได้รับความเสียหาย
ขนบไพร่ในสมัยนั้นได้บังคับให้ราฎรที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ - ๑๖ ปี ไปจนถึง ๗๐ ปี ต้องเข้าทำงานรับใช้
หรือส่งส่วยให้แก่เจ้านายชนชั้นปกครอง โดยแบ่งออกเป็น ไพร่หลวง ไพร่สม และไพร่ส่วย
โดยที่มีกำหนดรับราชการแบบเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยาปีละ ๖ เดือน จากนั้นลดลงมาเหลือ
ปีละ ๔ เดือนในสมัยรัชกาลที่ ๑ และเหลือ ๓ เดือนในสมัยรัชกาลที่ ๒ หากใครที่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย
ค่าราชการ เดือนละ ๖ บาท จากนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ได้กราบทูลเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้ราษฎรเสียค่าราชการจากเดือน เป็นปีละ ๖ บาทเท่าๆ กัน
อีกทั้งให้งดการเกณฑ์แรงชั่วคราว แต่ให้เปลี่ยนเป็นวิธีเกณฑ์จ้างแทน



 

โดย : วัดสวนหงส์

ที่อยู่ : ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 1661

ปรับปรุงล่าสุด : 2 เมษายน พ.ศ. 2565 09:15:02

ข้อมูลเมื่อ : 2 เมษายน พ.ศ. 2565 09:15:02

 
 
 
 

สื่อมีเดีย 10 อันดับ

วันนี้วันพระ (๒๓ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-04-2567

เปิดดู : 32

วันนี้วันพระ (๑๖ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 16-04-2567

เปิดดู : 61

ทำบุญวันสงกรานต์

โดย วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 10-04-2567

เปิดดู : 10

วันนี้วันพระ (๘ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567

เปิดดู : 60

วันนี้วันพระ (๙ มีนาคม ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 62

วันนี้วันพระ (๓ มีนาคม ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2567

เปิดดู : 58