เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8354 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8870 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7201 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

พระครูโพธาภิรัต (หลวงพ่อโต๊ะ)

รายละเอียด

พระครูโพธาภิรัต (หลวงพ่อโต๊ะ)
อดีตเจ้าอาวาสวัดสองเขตสามัคคี ผู้เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้าน
เรียบเรียงโดย พระครูสุวรรณคณารักษ์
จากหนังสืออนุสรณ์ เนื่องในงานพระราชทานเพลิง พระครูโพธาภิรัตน์ 15 ธันวาคม 2516

         
     พระครูโพธาภิรัต (โต๊ะ ชินปุตฺโต) ชาติภูมิบ้านชีปะขาว ตำบลป่าพฤกษ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีเกิดเมื่อ พ. ศ. 2427 บิดาชื่อนายจวง​ มารดาชื่อนางเผื่อน บุญศิริ เมื่อโตจนอายุครบบวช ทำการอุปสมบทที่วัดสำปะซิว ตำบลพิหารแดง อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราว พ.ศ. 2444 หลวงพ่อโต๊ะจำพรรษาอยู่ที่วัดสำปะซิวเรื่อยมา จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสำปะซิว
     หลวงพ่ออุปสมบทแล้วทำการศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนมูลกัจจายน์ ตามวิธีการศึกษาสมัยโน้นจนมีความรู้แตกฉาน หากแต่หลวงพ่อมิได้ทำการสอบธรรมสนามหลวงในขณะนั้น แต่ต่อมาได้เรียนนักธรรมโทที่สำนักวัดสุวรรณภูมิ ในด้านวิปัสสนาธุระหลวงพ่อมีความเชี่ยวชาญมาก ในคราวที่หลวงพ่อแต้ม ปุญฺญสุวณฺโณ (พระครูประภัศธรรมาภรณ์) มาขอนิสัยเพื่ออุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลวงพ่อโต๊ะเป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทเสร็จแล้วให้มาอยู่กุฏิเดียวกับหลวงพ่อ ความไม่สงบในจิตใจของหลวงพ่อแต้มมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะขณะเป็นฆราวาสประพฤติตนเป็นคนเกเร นักเลงหัวไม้ ชอบตีรันฟันแทง จากบ้านที่เคยอยู่จากอู่ที่เคยนอนตระเวนไปหลายจังหวัด บิดามารดาจับตัวเอามาอุปสมบท ฝากฝังให้หลวงพ่อโต๊ะเป็นผู้สั่งสอน
     จากความสามารถในวิปัสสนาธุระ หลวงพ่อโต๊ะใช้ทางด้านจิตวิทยาและความพากเพียร ดัดความประพฤติของหลวงพ่อแต้ม ซึ่งมีจิตใจแข็งกร้าวปานเหล็กค่อยๆอ่อนเป็นขี้ผึ้งด้วยการชักจูงต่างๆนานา เช่นพาเข้าไปในป่าช้าวัดสำปะซิวในเวลากลางคืน ซึ่งขณะนั้นสภาพของป่าช้าวัดสำปะซิวเป็นป่ารกดงดิบ พระจันทร์ส่องแสงกระจ่าง หลวงพ่อโต๊ะแนะให้หลวงพ่อแช่มเอากระดูกผีซึ่งกองยุคขาวโพลนท่ามกลางแสงจันทร์มานับดู แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นแยกกองกระดูกเล็ก กลาง ใหญ่ ทำอยู่เช่นนั้นเป็นเวลานานจนจิตใจของหลวงพ่อแต้มเปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยสอนหนังสือให้กับหลวงพ่อแต้ม จนกระทั่งหลวงพ่อแต้มอ่านหนังสือได้คล่องแคล่วทั้งไทยและขอม และเป็นคนที่ดีได้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่า หลวงพ่อโต๊ะเป็นบุคคลที่มีจิตวิทยาสูง มีความรู้ความสามารถผู้หนึ่งในด้านพระธรรมวินัยและวิปัสสนาธุระ ต่อมาหลวงพ่อได้ลาสิกขาเป็นเพศฆราวาส ครองเรือนอยู่กับภรรยาที่บ้านเหนือวัดสำปะซิว จนภรรยาตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาถึงแก่กรรม จากความไม่เที่ยงนี้เองทำให้หลวงพ่อโต๊ะหันหน้าเข้าสู่แสงธรรมของบวรพุทธศาสนาอีกเป็นรอบที่ 2 ณ วัดสุวรรณภูมิ (วัดใหม่) ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2458 โดยมีพระครูสัทธานุสาลีเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อขาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระใบฎีกาเปลื้อง (หลวงพ่อเปลื้อง หรือพระราชสุพรรณนาภรณ์) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่ที่วัดสุวรรณภูมิเรื่อยมา
     หลวงพ่อโต๊ะมีความนึกคิดสูง มองเห็นการณ์ไกลว่าการศึกษาเท่านั้นที่จะช่วยให้คนเป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติบ้านเมือง จึงพยายามอย่างยิ่งที่จะจัดตั้งโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยขึ้น เรียกในสมัยนั้นว่าโรงเรียนนักธรรมจนกระทั่งหลวงพ่อโต๊ะได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณภูมิ เนื่องด้วยพระอุปัชฌาย์และหลวงพ่อขาวถึงแก่การมรณภาพ ส่วนหลวงพ่อเปลื้องลาสิกขาบทครองเรือนอยู่ใต้วัดสุวรรณภูมิ ทำให้ความปรารถนาดั้งเดิมของหลวงพ่อโต๊ะหวนกลับมาอีกครั้ง จึงปรึกษาหารือกับพระเกลี้ยง กลิ่นคำหอม ว่าจังหวัดอื่นเขามีโรงเรียนพระธรรมวินัย จังหวัดสุพรรณบุรีก็น่าจะมีบ้าง จึงชวนกันไปที่วัดชายทุ่ง บ้านโคกหม้อ ตำบลท่าระหัด อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรีหารือกับหลวงตาคต ซึ่งถือธรรมยุติกนิกาย หลวงตาคดรับปากว่าจะช่วยเป็นธุระจัดการให้ และแล้วหลวงพ่อโต๊ะไปหาพระครูวิบูลศีลวัตร (หลวงพ่อยา) วัดลาดหอย เจ้าคณะอำเภอบางปลาม้า ซึ่งก็มีความประสงค์จะได้ครูสอนพระธรรมวินัยเช่นกัน
จากนั้นหลวงพ่อโต๊ะ หลวงตาคต และพระเกลี้ยง ได้แจวเรือไปยังวัดสัมปะทวน จังหวัดนครปฐม เรียนความประสงค์ให้พระครูสุทธิสุนทร กรรมการสงฆ์ระดับมณฑลทราบ ในราวเดือนมิถุนายน (เดือน 7) พ.ศ. 2463 จึงได้ครูมา 2 รูป คือ พระมหาสำเภา ป.ธ. 5 สอนที่วัดสุวรรณภูมิ และพระมหาเชย ป.ธ. 5 สอนที่วัดลาดหอย ครูทั้ง 2 รูปมาจากสำนักวัดมหาธาตุด้วยกันทั้งคู่ โดยหลวงพ่อเปลื้องซึ่งขณะนั้นลาสิกขาบทได้เอารถมาไปรับที่ท่าเรือบางปลาม้า  และจวนจะเข้าพรรษาปีนั้นหลวงพ่อเปลื้อง กลับเข้าอุปสมบทอีกครั้ง เนื่องด้วยภรรยาถึงแก่กรรม โดยหลวงพ่อโต๊ะเป็นคู่สวดให้ เมื่อได้ครูมาแล้วเริ่มตั้งโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยขึ้น ในปีรุ่งขึ้น ปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ถือว่าเป็นโรงเรียนสอนพระธรรมวินัยแห่งแรกของจังหวัดสุพรรณบุรี
     หลวงพ่อโต๊ะได้มีสมณศักดิ์ที่ พระครูโพธาภิรัต เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองฯ และเป็นพระอุปัชฌายะ ย้ายจากวัดสุวรรณภูมิไปเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอท่าพี่เลี้ยง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราว พ.ศ. 2480  จิตใจของหลวงพ่อโต๊ะ มุ่งในด้านการศึกษาชนิดฝังจิตฝังใจ ไปอยู่ไหนก็พยายามสร้างสถานศึกษา ไม่โรงเรียนพระธรรมวินัย ก็โรงเรียนประชาบาล เมื่อมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ เริ่มทำการปรับปรุงสถานที่ปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ที่ชำรุดทรุดโทรมให้ดีขึ้น และดำริสร้างโรงเรียนประชาบาลเพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านวัดป่าเลไลยก์ได้ร่ำเรียนศึกษา แต่เกิดไปขัดกับมติของชาวบ้าน ที่ไม่อยากจะให้มีโรงเรียนประชาบาล หลวงพ่อโต๊ะจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์ พร้อมกับลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ ไปจำพรรษายังวัดในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีหลายวัด แต่ไม่ทราบได้ว่าเป็นวัดไหนบ้าง
                ต่อมาหลวงพ่อโต๊ะได้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลาดตาล ตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดสองเขตสามัคคี เพราะเหตุว่าเป็นวัดชายแดนระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีกับจังหวัดอ่างทองมีเพียงแม่น้ำหรือคลองเก่าๆ ขวางกั้นอยู่เท่านั้น การตั้งชื่อวัดดังกล่าวแล้วมีความหมายในทางจิตวิทยามาก ทำให้ชาวบ้านสองจังหวัดมีความสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันดีโดยยึดวัดสองเขตสามัคคีเป็นที่พักใจ และยกหลวงพ่อโต๊ะเป็นที่ตั้ง
                อีกนั่นแหละเมื่อหลวงพ่อโต๊ะมาอยู่ที่วัดลาดตาล หลวงพ่อพยายามนักพยายามหนา ที่จะสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นให้ได้ แต่แล้วก็สำเร็จสมประสงค์เมื่อปี พ.ศ. 2511 ในชีวิตของหลวงพ่อโต๊ะเป็นประธานในการสร้างพระอุโบสถ ไม่น้อยกว่า 10 แห่ง นับว่าหลวงพ่อบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่บวรพุทธศาสนาและการศึกษาไม่น้อยทีเดียว
                หลวงพ่อโต๊ะได้สร้างสิ่งที่ระลึกไว้ เช่น เหรียญรูปหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าเลไลยก์ และปี พ.ศ. 2512 ทำบุญฉลองอายุ 90 ปี สร้างเหรียญเป็นรูปเสมาเนื้ออัลปาก้าขาว จำนวน 100 เหรียญ และสร้างรูปหล่อขนาดเล็กและใหญ่ จำนวน 1,000 องค์ หลวงพ่อโต๊ะมรณภาพเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนปี พ.ศ. 2512 สิริอายุได้ 91 ปี

โดย : วัดสองเขตสามัคคี

ที่อยู่ : ต.ดอนมะสังข์ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 839

ปรับปรุงล่าสุด : 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 19:08:04

ข้อมูลเมื่อ : 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 19:07:38

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

หลวงพ่อพระนอนไสยยาสน์

โดย : วัดบางยี่หน

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู : 12

หลวงพ่อขาว วัดบางยี่หน

โดย : วัดบางยี่หน

ข้อมูลเมื่อ : 24-02-2565

เปิดดู : 153

หลวงพ่อแดง วัดเกาะวังไทร

โดย : วัดเกาะวังไทร

ข้อมูลเมื่อ : 01-02-2567

เปิดดู : 136

หลวงพ่อโต วัดดอนไก่ดี

โดย : วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 25-12-2566

เปิดดู : 128

พระพิฆเนศ ปางเสวยสุข

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 133

พระพุทธโตรโลกนาถ(หลวงพ่อขาว)

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 135

หลวงพ่อโตทันใจ

โดย : วัดอัมพวนาราม

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู : 205