เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8346 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8861 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

วิหารหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์

รายละเอียด
   เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าวัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์     ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย  หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย
                
วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๒๔๙ บ้านรั้วใหญ่ ถนนมาลัยแมน หมู่ที่ ๒ ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ๓ งาน ๕๖ ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ จดถนนมาลัยแมน และที่ดินเอกชน ทิศใต้และทิศตะวันออก จดที่ดินเอกชน และทางรถไฟ ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน และคลองชลประทาน อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย พระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ทรงไทย หลังคา ๓ ชั้น ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๕๙ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย ๒ ชั้น หอสวดมนต์ ๑ หลัง พระวิหาร กว้าง ๒๑.๓๐ เมตร ยาว ๓๑.๑๐ เมตร เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าบันประดิษฐ์รูปลายไทยปูนปั้น ตรงกลางปั้นเป็นรูปพระมหามงกุฎประดิษฐานบนพระแท่น มีฉัตรทองคู่ประดับซ้ายขวาอันเป็นเครื่องหมายตรารัชกาลที่ ๔ สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๔๓๗ ปูชนียวัตถุมี พระประธานประจำอุโบสถ และมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางป่าเลไลยก์ ชาวบ้านเรียกว่า พระป่าเลไลยก์ สูง ๒๓.๔๘ เมตร วัดรอบพระวรกายใหญ่ ๑๑.๒๐ เมตร สร้างก่ออิฐถือปูน สร้างประมาณปี พ.ศ.๑๒๑๕ ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารใหญ่
         วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๑๓๖๙ เดิมชื่อ วัดลานมะขวิด โดยเอาชื่อหมู่บ้านลานมะขวิด มาตั้งเป็นชื่อ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระวินิจฉัยว่าคงจะสร้างขึ้นในสมัยอู่ทอง โดยสันนิษฐานจากลักษณะพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานภายในพระวิหารประจำวัด ทีเรียกนามกันว่า พระป่าเลไลยก์ แต่เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ต่อมาองค์พระชำรุดหักพังลงชนชั้นหลังที่มาปฏิสังขรณ์องค์พระขึ้นมาใหม่ เปลี่ยนเป็นพระปางป่าเลไลยก์แต่จะเปลี่ยนแปลงครั้งไหนไม่ปรากฏหลักฐาน ครั้นสมัยกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้โปรดให้ขุนหลวงพงั่ว ( สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ) ไปรักษาเมืองสุพรรณบุรีในปี พ.ศ. ๑๘๙๓ และได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์เป็นการใหญ่ ครั้งถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๔ วัดนี้รกร้างไม่มีพระสงฆ์ปกครองดูแล จึงโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาบดินทร์ไปสร้างวัดป่าเลไลยก์ร่วมกันกับหลวงพ่อกล่ำ เจ้าอาวาสวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี ได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุขึ้นใหม่เกือบหมดทั้งวัด ต่อมาในรัชกาลที่ ๖ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดป่าเลไลยก์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๘ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือรูปที่ ๑ หลวงพ่อกล่ำ พ.ศ.๒๔๒๑ รูปที่ ๒ เจ้าอธิการสุด พ.ศ.๒๔๔๗ รูปที่ ๓ พระครูโพธาภิรัต ( สอน ) พ.ศ.๒๔๕๖ – ๒๔๗๕ รูปที่ ๔ พระครูรักขิตวันมุนี ( พร ) พ.ศ.๒๔๗๕ – ๒๔๘๐ รูปที่ ๕ พระครูโพธาภิรัต ( โต๊ะ ) พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๔๘๓ รูปที่ ๖ พระวิสุทธิสารเถร ( ถิร ) พ.ศ.๒๔๙๔ – ๒๕๒๗ รูปที่ ๗ พระธรรมมหาวีรานุวัตร ( ฉลอง จินฺตาอินฺโท ) พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๕๔ รูปที่ ๘ พระธรรมพุทธิมงคล ( สอิ้ง   สิรินนฺโท )พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ และโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ ปัจจุบัน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๒
 

โดย : วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร

ที่อยู่ : ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 151

ปรับปรุงล่าสุด : 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 15:25:23

ข้อมูลเมื่อ : 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 15:25:23

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

หลวงพ่อแดง วัดเกาะวังไทร

โดย : วัดเกาะวังไทร

ข้อมูลเมื่อ : 01-02-2567

เปิดดู : 119

หลวงพ่อโต วัดดอนไก่ดี

โดย : วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 25-12-2566

เปิดดู : 122

พระพิฆเนศ ปางเสวยสุข

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 129

พระพุทธโตรโลกนาถ(หลวงพ่อขาว)

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 130

หลวงพ่อโตทันใจ

โดย : วัดอัมพวนาราม

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู : 195

หลวงพ่อโต ป่าเลไลยก์

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-12-2566

เปิดดู : 128