เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8349 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8865 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

ข้อธรรม ชวนคิด วัดอินทาราม(หนองขาว)5 เรื่อง การพัฒนาพื้นที่ชนบทด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชาวหนองขาว

รายละเอียด

ข้อธรรม ชวนคิด
*****************
การพัฒนาพื้นที่ชนบทด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชาวหนองขาว
***************************************************
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ชนบทนั้น จะเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงาน เพิ่มการรับรู้ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ให้แก่คนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ในการจัดการการท่องเที่ยวต้องมีความรับผิดชอบ และเห็นชอบร่วมกันในชุมชน และมีการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ในการพัฒนาพื้นที่ชนบทของชาวบ้านหนองขาวนั้น ได้นำเอาแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเข้ามาโดยไม่รู้ตัว นั่นคือ ชาวบ้านได้มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบต่อแหล่งธรรมชาติ เอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การจัดการอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ทั้งนี้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้นำชุมชน หน่วยงานจากภาครัฐ (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์การบริหาร) และชาวบ้าน ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่ชนบทโดยมีการผสมผสานระหว่างความรู้เดิมของชุมชนซึ่งเป็นของ “เก่า” และการประสานความรู้จากภายนอกซึ่งเป็นของ “ใหม่” ที่รับเข้ามา เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ IUCN ที่ว่า “ในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนนั้นต้องใช้ความรู้ใหม่ผสมผสานกับความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่น”
การพัฒนาพื้นที่ชนบทของบ้านหนองขาวได้สอดคล้องกับลักษณะที่สำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้
1.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสัตว์ป่า ซึ่งชาวบ้านหนองขาวมีวิถีชีวิตเกษตรกรรมที่พึ่งพิงธรรมชาติ จึงทำให้ชาวบ้านหนองขาวเห็นความสำคัญของธรรมชาติ มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบไป เช่น การปลูกต้นไม้ใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของนกและสรรพสัตว์ การทำเกษตรด้วยวิธีธรรมชาติจึงไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม การไม่บุกรุกพื้นที่ป่าชุมชน เพื่อให้ธรรมชาติมีความสมบูรณ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเพื่อการศึกษาเรียนรู้ให้กับนักท่องเที่ยวต่อไป
2.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่มุ่งให้คนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากการที่ชุมชนได้จัดตั้งเครือข่ายท่องเที่ยวชุมชนบ้านหนองขาว เพื่อเป็นศูนย์รวมในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน และได้จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ดังเช่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านหนองขาวที่เกิดจากความต้องการและความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชน และการแสดงละครเพื่อบอกเล่าวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านหนองขาวเรื่อง “ไอ้บุญทองบ้านหนองขาว” ที่ให้ชาวบ้านทุกวัย ทุกอาชีพมีส่วนร่วมในการจัดการแสดง ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของ IUCN ที่ว่า “ในการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จะต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีบทบาททุกคนทั้งผู้ชาย ผู้หญิง คนแก่ และเด็ก” (รัฎดา ลาภหนุน, 2553)
3.การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวที่มีจุดสนใจหลักอยู่ที่สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และ/หรือวัฒนธรรมที่ยังคงความดั้งเดิม และบริสุทธิ์ ห่างไกลความเจริญแบบสังคมเมือง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการที่ชาวบ้านหนองขาวยังคงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม และวิถีชีวิตแบบธรรมชาติไว้อย่างสมบูรณ์ เช่น เอกลักษณ์ทางภาษาพูดของคนหนองขาวที่มีสำเนียงเหน่อสูง รัวและเร็ว การปลูกฝังเยาวชนด้านดนตรีไทย และเพลงพื้นบ้าน การรักษาประเพณีความเชื่อเรื่องหม้อยาย วัฒนธรรมการทอผ้าขาวม้าร้อยสีด้วยกี่กระตุกซึ่งหาดูได้ยาก และการประกอบอาชีพเกษตรตามธรรมชาติที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น อาชีพการปีนต้นตาล ทำน้ำตาลสด และขนมตาล การทำนา และการทำขวัญข้าว เป็นต้น
การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (Rural Tourism) เป็นการหวนกลับไปเรียนรู้รากเหง้าของตนเอง เพื่อให้เราเกิดความภาคภูมิใจ หวงแหน และต้องการอนุรักษ์วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของตน ในขณะเดียวกันก็มีการเผยแพร่อัตลักษณ์เหล่านี้ผ่านการท่องเที่ยว ซึ่งการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ชนบทนั้น จะต้องมีการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ นั่นคือ การรักษาธรรมชาติ เอกลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น ด้วยกระบวนการพัฒนาโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังเช่น ชุมชนบ้านหนองขาวที่นำความรู้ดั้งเดิมของท้องถิ่น และความรู้ใหม่ตามแนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศมาผสมผสานในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างลงตัว จนได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านอุตสาหกรรมเพื่อการท่องเที่ยวที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์
พระสมุห์สมโภชนื อินฺทวิริโย 7/11/2564

ผู้แต่ง
พระสมุห์สมโภชน์ อินฺทวิริโย

โดย : วัดอินทาราม

ที่อยู่ : ต.หนองขาว อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี

จำนวนเข้าดู : 83

ปรับปรุงล่าสุด : 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 00:03:41

ข้อมูลเมื่อ : 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 00:03:41

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

การรับข่าว ควรที่จะรับอย่างมีสติ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู : 11

การสรงน้ำพระ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู : 14

พรปีใหม่ที่ดีที่สุด

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-01-2567

เปิดดู : 96

ภาวนาแล้วอยากรวย

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-12-2566

เปิดดู : 70