เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8352 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8867 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7197 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดดอนหวาย

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดดอนหวาย

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2394

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2394

ที่อยู่
วัดดอนหวาย

เลขที่
78

หมู่ที่
5

ซอย
-

ถนน
ถนนไร่ขิง-ทรงคะนอง

แขวง / ตำบล
บางกระทึก

เขต / อำเภอ
สามพราน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73210

เนื้อที่
34 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา

มือถือ
081-6141-639

โทรศัพท์
0-3439-3706

Fax
0-3439-3706

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นโรงเรียนการกุศลของวัด
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 1351

ปรับปรุงล่าสุด : 21 มีนาคม พ.ศ. 2566 01:37:38

ข้อมูลเมื่อ : 26 กันยายน พ.ศ. 2564 13:52:05

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดดอนหวาย

) ชั้นและตำบลที่ตั้ง
  วัดดอนหวายเป็นวัดราษฎร์ ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๕ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ขึ้นตรงต่อเจ้าคณะตำบลไร่ขิง (วัดท่าพูด) วัดดอนหวายได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๙๔
) เขตและอุปจารวัด
  วัดดอนหวายมีอาณาเขต ดังนี้
    ทิศเหนือ     ติดคลองวัฒนา (คลองนา)
    ทิศใต้    ติดโรงเรียนวัดดอนหวาย
    ทิศตะวันออก   ติดถนนไร่ขิง-ทรงคะนอง
    ทิศตะวันตก    ติดริมแม่น้ำ นครชัยศรีหรือแม่น้ำ ท่าจีน พื้นที่ตั้งของวัดดอนหวายนี้แบ่งออกเป็น ๒ เขต คือ
.๑ เขตพุทธาวาส ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ประกอบด้วยวิหารสร้างคู่ขนานกับอุโบสถ โดยหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านหน้าอุโบสถมีศาลาพระสังกัจจายน์ มุมกำแพงแก้วด้าน ทิศเหนือและทิศตะวันออก มีเจดีย์ทรงลังกา สร้างขึ้นใหม่ทั้ง ๒ องค์ มุมด้านทิศใต้มีเจดีย์ ทรงระฆังฐานสูง มีรูปยักษ์แบก มุมด้านทิศตะวันตกมีเจดีย์ทรงระฆังฐานสูงเช่นกัน เจดีย์ทั้งสอง องค์นี้เป็นของเก่าแก่ สร้างพร้อมกับวัด ต่อมาได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่
.๒ เขตสังฆาวาส ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ทิศใต้และทิศตะวันตก ประกอบด้วย หมู่กุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ศาลแป๊ะกง ศาลาปฏิบัติกัมมัฏฐาน ศาลาประชาศรัทธาธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาสวดพระอภิธรรม เมรุเผาศพ และโรงครัว เป็นต้น
) ประวัติการสร้างวัด
  วัดดอนหวายเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งตั้งอยู่ติดลุ่มแม่น้ำ นครชัยศรี สร้างขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น จากหนังสืองานประจำ ปีวัดดอนหวาย ได้กล่าวไว้ว่า   “สถานที่ดั้งเดิมที่เป็นที่ตั้งบริเวณวัดนั้นเป็นที่ตั้งโรงหีบอ้อยซึ่งมีเจ้าของที่ดินเป็นชาวจีน ภายหลังได้ยกที่ดินของตนสร้างวัดดอนหวาย คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งเกิดในสมัย รัชกาลที่ ๑ ท่านได้เป็นอธิบดีสงฆ์องค์ที่ ๖ ของวัดมหาธาตุฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ไปอยู่วัดศาลาปูนวรวิหาร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นเจ้าคณะใหญ่กรุงเก่า ได้เริ่มสร้างวัดโคกหวายโดยใช้ช่างจากอยุธยาและ ประชาชนในท้องถิ่นร่วมกันสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔

สมเด็จพุฒาจารย์(พุก) มรณภาพในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๔๒๗ อายุ ๙๑ ปี การสร้างวัดโคกหวายยังคงค้างอยู่ ต่อมาพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) เกิดที่ ตำบลบางกระทึก อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินการก่อสร้างวัดโคกหวายต่อจน สำเร็จเรียบร้อย และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
วัดคงคารามดอนหวาย และยังได้ถือเป็นธุระ คอยบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้ตลอดมา ท่านได้มรณภาพเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๒
    จากประวัติของวัดดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในที่นี้จึงขอนำ เกียรติประวัติของพระผู้ สร้างวัดดอนหวายซึ่งมีสมณศักดิ์สูงถึงพระราชาคณะชั้น “สมเด็จ” มาบันทึกไว้ด้วย นอกจาก นี้ปัจจุบันที่วัดดอนหวายยังมีรูปวาดเก่าอยู่ ๒ รูป เป็นรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) ๑ รูป ใต้รูปมีข้อความว่า “สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) อดีตเจ้าคณะใหญ่ แขวงกรุงเก่า ๒๓๓๗-๒๔๒๗ เจ้าอาวาสวัดศาลาปูน ผู้สร้างวัดดอนหวายและวัดไร่ขิง” และรูปพระธรรม ราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ๑ รูป ใต้รูปมีข้อความว่า “เจ้าคุณธรรมราชานุวัตร (อาจ) 
วัดศาลาปูน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้สร้างและปฏิสังขรณ์วัดดอนหวาย และสร้าง วัดไร่ขิงจากหลักฐานดังที่กล่าวมาแล้วย่อมเป็นเครื่องสนับสนุนข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ได้ว่า วัดดอนหวายและวัดไร่ขิงนี้มีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่อดีต คือสร้างขึ้นโดยสมเด็จ พระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) ในปีเดียวกัน และต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) องค์เดียวกัน
) ความหมายของชื่อวัด
  วัดดอนหวายแห่งนี้สันนิษฐานว่าแต่เดิมชื่อ “วัดโคกหวาย”จากคำ บอกเล่าสืบต่อกันมาว่า พื้นที่ ในบริเวณนี้เป็นเนินสูงและมีต้นหวายขึ้นปกคลุมอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ชื่อของหมู่บ้านซึ่ง ปรากฏอยู่ในโฉนดที่ดินรุ่นเก่าสมัยรัชกาลที่ ๕ ก็เรียกว่าหมู่บ้าน “โคกหวาย” ส่วนชื่อใหม่ของวัดนั้นในหนังสืองานประจำปีวัดดอนหวายได้กล่าวไว้ว่า
  “เมื่อท่านเจ้าคุณธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ก่อสร้างวัดดอนหวายต่อจนสำ เร็จ เรียบร้อยแล้ว และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดคงคารามดอนหวาย”
  ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงเทพฯ ได้เสด็จตรวจเยี่ยม วัดต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำ นครชัยศรีและทรงเปลี่ยนชื่อวัดให้ใหม่หลายวัดในบริเวณแถบนี้ โดยตั้งสอดคล้องกับนามเดิมของวัดหรือมีคำ ที่เป็นมงคลมากยิ่งขึ้น เช่น วัดตาเพชร เป็น “วัดสรรเพชญ” วัดยายชา เป็น “วัดเดชานุสรณ์” วัดไร่ขิง เป็น “วัดมงคลจินดาราม (ไร่ขิง)” ดังนั้นวัดโคกหวายหรือวัดดอนหวาย สันนิษฐานว่าทรงเปลี่ยนชื่อ เป็น “วัดคงคาราม (ดอนหวาย)” เพราะชื่อดั้งเดิมของวัดทั้งสองก็อยู่ท้ายชื่อใหม่และมีวงเล็บเหมือนกัน แต่ถ้าทรง เปลี่ยนในสมัยพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) พระองค์ก็ควรจะต้องทรงเปลี่ยนชื่อวัดไร่ขิงด้วย ซึ่งในเรื่องนี้ควรที่จะศึกษาหรือสืบค้นที่มาของชื่อวัดกันต่อไป
      ส่วนหลักฐานชื่อเก่าของวัดดอนหวายนั้น ได้พบแผนที่โบราณของกรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ออกสำ รวจเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๖๗ พบชื่อ “วัดคงคาราม (ดอนหวาย)” ปรากฏอยู่ นอกจากนี้ยังมีสมุดไทยโบราณหรือสมุดข่อยด้านในปกหน้าเขียนไว้ว่า “ตำหรับท่านอาจารย์ยา”  ภายในเขียนคาถาภาษาไทยและภาษาขอม มีปะปนอยู่หลายลายมือและหลายเรื่อง ต่อมาตำรา ดังกล่าวได้ตกทอดลงมาถึงพระอธิการยอด อินฺทรส ซึ่งเป็นหลานชาย เนื้อหาที่บันทึกเรื่องราว สำ คัญเกี่ยวกับชื่อวัดมีดังนี้“วัดดอนหวาย วัดคงคารามดอนหวาย บางกระทึก พระอาจารย์ยาน้าชาย พระอาจารย์ยอดใหญ่ พระอาจารย์เพิ่ม อาจารย์น้อย อาจารย์แปลก” และถัด ไปอีกหลายหน้ามีข้อความแต่เขียนต่างลายมือกัน ดังนี้ “ข้าพเจ้าพระเจิ่ง พุฒสาโร สีสามพันธ์ อุปสมบท ตั้งแต่ พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ อยู่ที่วัดคงคารามดอนหวาย” จากหลักฐาน ดังกล่าวทำ ให้ทราบว่าชื่อวัดคงคารามดอนหวายนั้น อย่างน้อยมีมาตั้งแต่ในรัชกาลที่๖ นอกจากนี้ ในปัจจุบันที่ศาลาท่าน้ำของวัดยังติดแผ่นป้ายชื่อ “วัดคงคารามดอนหวาย”ของเก่าทำ ด้วยแผ่น ไม้สักส่วนตัวอักษรเป็นแบบฉลุ
  อนึ่งชื่อ “วัดคงคารามดอนหวาย” ที่เป็นมงคลนามนี้มีข้อสันนิษฐานถึงที่มาและความ หมายของชื่อได้หลายประการ กล่าวคือ
  ประการแรก ตั้งชื่อตาม “ภูมินาม” หรือลักษณะของภูมิประเทศอันเป็นที่ตั้งของวัด เพราะวัดตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำ นครชัยศรีคำ ว่า “คงคา” นอกจากแปลว่า “น้ำ ”แล้วยังแปลว่าแม่น้ำ หรือทะเลก็ได้เมื่อนำ มาสนธิกับคำ ว่า “อาราม” ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๒ แปลว่า วัด ; สวนเป็นที่น่ารื่นรมย์, ความยินดี, ความรื่นรมย์, ความเพลิดเพลินดัง นั้น “วัดคงคาราม” จึงหมายถึง วัดซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ที่ให้ความรื่นรมย์
  ประการที่ ๒ ตั้งชื่อตามประเพณีการตั้งชื่อวัดสำ คัญตามเมือง อันได้แก่ ทุกเมืองสำ คัญ จะมีการสร้างวัดมหาธาตุวัดราชบูรณะ และวัดบุปผาราม เป็นต้น วัดคงคารามก็เป็นชื่ออันเป็น มงคลอีกชื่อหนึ่งเพราะ “คงคา”แปลว่า “น้ำ” ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลและชื่อนี้มีอยู่หลายแห่งเช่น วัดคงคาราม (วัดกลางบางแก้ว) วัดคงคาราม จังหวัดเพชรบุรีและวัดคงคาราม จังหวัดราชบุรี เป็นต้น
  ประการที่ ๓ การตั้งชื่อวัดว่า “คงคา” นี้อาจได้รับอิทธิพลมาอีกชั้นหนึ่งตามคติแม่น้ำ คงคาอันเป็นแม่น้ำ ศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอินเดียที่มีความเชื่อว่า มีกำ เนิดมาจากสรวงสวรรค์ และสามารถล้างบาปได้จึงทำ ให้เกิดความนิยมตั้งชื่อวัดที่อยู่ติดริมแม่น้ำ ว่า “คงคา” เพราะ นอกจากจะสะดวกในการสัญจรไปมาแล้ว ชื่อยังเป็นมงคลนามอีกด้วย
  ประการที่ ๔ เล่าสืบต่อกันมาว่าพื้นที่บริเวณนี้แต่เดิมเป็นเนินดินและมีต้นหวายขึ้นปกคลุม อยู่มาก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านโคกหวาย และ “วัดโคกหวาย” ต่อมาชื่อนี้อาจฟังดูไม่ไพเราะ จึงเปลี่ยนเป็น “วัดดอนหวาย” ภายหลังครั้งเมื่อมีการตั้งชื่อวัดขึ้นใหม่ จึงได้นำ เอาสถานที่ตั้ง ของวัด ซึ่งอยู่ติดริมแม่น้ำ คือ “คงคาราม” มารวมกับชื่อเดิมเป็น “วัดคงคารามดอนหวาย” ต่อมาคนทั่วไปมักเรียกกันแต่เพียงคำ สั้นๆ ว่า “วัดดอนหวาย” สืบมาจนทุกวันนี้  

) ลำดับเจ้าอาวาส
  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก ป.ธ.๓) หลังจากที่ได้สร้างวัดคงคารามดอนหวายหรือ วัดดอนหวายแล้ว คงจะไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกหวาย เพราะเจ้าประคุณ สมเด็จท่านดำ รงตำ แหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน พระอารามหลวงและพระเดชพระคุณ ธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ผู้ก่อสร้างเพิ่มเติมและบูรณปฏิสังขรณ์วัดโคกหวาย เป็น “วัดคงคารามดอนหวาย” เพราะนัยเดียวกัน พระเดชพระคุณได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้า อาวาสวัดศาลาปูนพระอารามหลวง
  ดังนั้น จึงสันนิษฐานได้ว่าเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เป็นผู้สร้างวัดโคกควาย ต่อมาในภายหลังพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ได้รับมอบหมายให้ดำ เนินการก่อสร้าง เพิ่มเติมและบูรณปฏิสังขรณ์วัดให้เสร็จสิ้นบริบูรณ์ เจ้าอาวาสที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดโคกหวายหรือวัดคงคารามดอนหวาย เท่าที่สืบค้นได้มีดังนี้
  ๑) พระอธิการดิษฐ์ ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร (อาจ จนฺทโชโต) ได้นิมนต์มาจาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะนิมนต์มาและมรณภาพเมื่อใดไม่ปรากฏ
  ๒) พระอธิการแสง ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ต่อมา ส่วนรายละเอียดต่างๆ ไม่ปรากฏ ทราบว่าภายหลังท่านได้ลาสิกขาบทไป
  ๓) พระอธิการเปลี่ยน ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ต่อมา ส่วนรายละเอียดต่างๆ ไม่ปรากฏ ทราบว่าภายหลังท่านได้ลาสิกขาบทไป
  ๔) พระอธิการขำ ได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์ต่อมาและได้ลาสิกขาบทไปเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๐ (อยู่ในช่วงรัชกาลที่ ๕)
  ๕) พระอธิการยอด อินฺทรส นามเดิม “ยอด” ฉายา “อินทรโส” นามสกุล “อินกระทึก” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวาย เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๐ และมรณภาพ เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๘๓
  ๖) พระอธิการแก่น โกวิโท นามเดิน “แก่น” ฉายา “โกวิโท” นามสกุล “ขุนทรง” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายรูปต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๐
  ๗) พระอธิการเที่ยง พยตฺโต นามเดิม “เที่ยง” ฉายา “พยตฺโต” นามสกุล “ญาติตาอิน”  ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายรูปต่อมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๑ ท่านได้ลาสิกขาบทไป เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖
  ๘) พระครูไพศาลธรรมวาที (เท้ โกวิโท) นามเดิม “เท้”
ฉายา “โกวิโท” นามสกุล “ภู่เฟื่องนาม” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายรูปต่อมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๐๖ และ มรณภาพในปีพ.ศ. ๒๕๓๕
  ๙) พระครูสังฆรักษ์นรินทร์ ตุฎฺโฐ นามเดิม “นรินทร์”
ฉายา “ตุฏฺโฐ” นามสกุล “คุมพล” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายรูปต่อมา ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับ ตำแหน่งเจ้าอาวาสไม่นานเท่าใด ก็ขอลาออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ 
      ๑๐) พระอธิการประวัติปวตฺติโก นามเดิม “ประวัติ”
ฉายา “ปวตฺติโฏ” นามสกุล “แย้มเดช” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายรูปต่อมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึง ๒๕๔๘ มรณภาพในปีพ.ศ. ๒๕๕๓
  ๑๑)  พระธรรมเสนานี(ชุณห์ กิตฺติวณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดวังตะกูที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัด นครปฐม ได้รับการแต่งตั้งรักษาการณ์เจ้าอาวาสวัดดอนหวาย ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๐
  ๑๒) พระเมธีธรรมานันท์ นามเดิม “สำเริง”
ฉายา “ธมฺมานนฺโท” นามสกุล “เสมอจิต” ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนหวายตั้งแต่วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระเมธีธรรมานันท์ (สำเริง) ธมฺมานนฺโท

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 18-07-2565

พระมหาเฉลียว ญาณวโร

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 18-05-2566

พระเจริญ นาครกฺขิโต

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 22-01-2565

พระมหารุ่งธรรม โรจโน

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

พระอุบล ปภาโส

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 22-01-2565

พระปฏิภัทร์ อจลธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 22-01-2565

พระบุญทัน คนฺธปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 18-05-2566

พระจักรวัติ จกฺกวโร

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 18-05-2566

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ทอดกฐินสามัคคี วัดดอนหวาย

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

เปิดดู 927 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด