เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8352 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8868 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7199 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

เรื่อง ประโยชน์ของความไม่วิวาท

รายละเอียด
                                                                 นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (๓จบ)
                                     วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา    อวิวาทญฺจ เขมโตสมคฺคา สขิลา โหถ  เอสา พุทธานสาสนีติ 
ณ โอกาส บัดนี้ อาตมภาพ จักได้รับประทานแสดงพระสัทธรรมเทศนา ในพระธรรมคาถา พรรณนาถึงประโยชน์ของความไม่วิวาท จนกว่าจะยุติลงด้วยเวลา    
ท่านสาธุชนทั้งหลาย ความวิวาทนั้น มีโทษ โดยส่วนเดียว หาประโยชน์มิได้เลย ควรที่บัณฑิตจะงดเว้น    และเป็นของสำหรับคนพาลจะสรรเสริญ เพราะบุคคลใด ชุมชนใดก็แล้วแต่ มองเห็นประโยชน์ ของการไม่วิวาท สังคมนั้น ก็มักจะอยู่กันด้วยสันติสุข แต่ว่าสังคมใดมองเห็นว่า ความวิวาท มีการทะเลาะ เบาะแว้ง เป็นต้นนั้น เป็นประโยชน์ สังคมนั้นๆ ก็จะย่ำแย่ไปตามลำดับ แม้ในคราวที่สมเด็จพระบรมศาสดายังทรงพระชนม์อยู่ ก็ทรงประสบกับปัญหา แห่งการทะเลาะเบาะแว้งอยู่บ่อยครั้ง จนถึงขนาด ต้องทรงหลีกเร้นไปประทับอยู่ในป่าเพียงลำพังพระองค์  นั่นก็แสดงให้เห็นว่า การวิวาทนั้น พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ หากใครให้การสนับสนุนการทะเลาะเบาะแว้ง การวิวาท บุคคลผู้นั้นก็ยังเป็นผู้จมปลักอยู่ใต้โลก เป็นผู้ทำลายความสมัครสมานสามัคคี เป็นบุคคลไม่เจริญ ดังพุทธศาสนสุภาษิตที่อาตมภาพได้อัญเชิญไว้เป็นหัวข้อนิกเขปบท ณ เบื้องต้นว่า วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา เป็นต้นนั้น มีความหมายว่า ท่านทั้งหลาย เห็นความวิวาท โดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทเป็นธรรมอันเกษมจากภัยแล้ว จงเป็นผู้พร้อมเพรียงมีความประณีประนอมกันเถิด นี้เป็นพุทธานุสาสนี จะเห็นได้ว่า พระองค์ตรัส ว่าวิวาทนั้นเป็นภัย คำว่าภัยก็แปลว่า สิ่งที่น่ากลัว สิ่งที่เป็นความเสื่อม หาความเจริญมิได้ ท่านทั้งหลายจะเห็นได้ว่า  เรามักจะเรียกสิ่งที่น่ากลัวต่างๆ ว่าภัยอยู่เสมอ เช่นวาตภัย ภัยอันเกิดลม อัคคีภัย ภัยอันเกิดไฟ อุทกภัย ภัยอันเกิดแต่น้ำ  เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ เป็นภัยที่น่ากลัว แต่ก็ยังน่ากลัว ไม่เท่าภัยอันเกิดแต่การทะเลาะเบาะแว้ง เพราะว่าวิวาทภัยนั้น ทำลายทุกสิ่ง ทำลาย แม้กระทั่ง ญาติ มิตรสหาย หรือ แม้แต่คนครอบครัวเดียวกัน ทำลายได้ แม้ เทวดา ที่คบกันดีแล้ว เห็นกันดีแล้ว ดังเรื่องภิกษุโกสัมพี ในสมัยพุทธกาล  สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
                                                                               ปเร จ น วิชานนฺติ             มยเมตฺถ ยมาม เส
                                                                            เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ           ตโต สมฺมนติ เมธคา
 อันมีความหมายว่า ชน เหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะย่อยยับ ป่นปี้ ในท่ามกลางสงฆ์ ส่วนชนเหล่าใด ในระหว่างพวกนั้น ย่อมรู้สึกตัวได้ ความหมายมั่น ของชนเหล่านั้น ย่อมระงับ เพราะชนเหล่านั้นเอง   พระบรมศาสดา ทรงแสดงให้เห็นว่า หมู่ชนใด ที่ถึงความป่นปี้ที่มีมาจากความวิวาทในหมู่คณะ  หากรู้เท่าทัน ละความหมายมั่น เย่อหยิ่งทะนงตนเสียได้ ก็จะพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ จากทะเลาะเบาะแว้ง ก็จะกลับมาสามัคคีกัน ปรองดองกัน  อันที่จริงแล้ว คนเราทะเลาะกันก็ด้วยความไม่ยอมกัน คิดว่าตนถูกเสมอ ยอมรับนับถือในความคิดเห็นของตน ไม่ยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น แม้ว่าความคิดเราจะผิด ก็มักจะหาลู่ทาง หาคำพูด ให้ความคิดของตนถูกให้ได้ ความจริง เราไม่ได้เคารพในความคิดเห็นของตนเองเท่าใดนักดอก แต่เรายอมไม่ได้ที่มีคนมาว่า หรือ ขัดแย้งในความคิดเราเท่านั้น ก็เป็นเหตุให้ยึดมั่นในความคิดตน  ยิ่งมีคนมาว่าความคิดเราเท่าใด เราก็ยิ่งจะรัก และหวงแหนในความคิดเราเท่านั้น ทั้งๆที่มันเป็นสิ่งผิด นี่ก็เป็นเหตุเบื้องต้น หรือมูลเหตุ ของความทะเลาะเบาะแว้ง  ท่านทั้งหลายที่ทราบดังนี้แล้ว จงอย่าได้พอใจในความวิวาทกันเลย จงอย่าเห็นประโยชน์ในความวิวาท จงเห็นประโยชน์ของความสามัคคี ดังที่ สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเอาไว้ว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
แปลความว่า ความพร้อมเพรียงของหมู่นำมาซึ่งความสุข กิจการงานใดก็แล้วแต่ ที่ประกอบด้วยความสามัคคี กิจการงานนั้นก็มักจะสำเร็จลุล่วงลงได้โดยง่าย อุปสรรค ที่มาขัดขวางก็จะน้อย ดังเช่น ไม้ไผ่ที่มีอยู่ลำเดียว เมื่อถูกลมพายุพัดเข้า ย่อมแตกหักได้ง่าย แต่ถ้าอยู่รวมกลุ่มกับไผ่ในกอซึ่งมีมากลำ พอถูกลมพายุพัดเข้าก็ทัดทาน ต้านลม จนสามารถตั้งอยู่ได้โดยปลอดภัย ฉันใด  บุคคล เมื่ออยู่โดยลำพัง ทำกิจการ ใด เมื่อมีอุปสรรคเข้ามาก็ยากที่จะแก้ไขหรือป้องกันได้ แต่ถ้าอยู่เป็นคณะที่ประกอบด้วยสามัคคีแล้วไซร้ ก็จะป้องกัน และขจัดปัดเป่าอุปสรรคอันนั้นไปได้ฉันนั้น เหมือนกัน รับประทานวิสัชชนา ในเรื่องโทษของความวิวาท ก็เห็นจะสมควรแก่เวลา จึงขอสมมติ ยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ 

 

ผู้แต่ง
พระครูอนุกูลปัญญาวุธ เจ้าอาวาสวัดโพธาราม

โดย : วัดโพธาราม

ที่อยู่ : ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 396

ปรับปรุงล่าสุด : 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 18:45:50

ข้อมูลเมื่อ : 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 18:42:50

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

การรับข่าว ควรที่จะรับอย่างมีสติ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู : 15

การสรงน้ำพระ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู : 17