เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7197 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

ธรรมนูญชีวิต

รายละเอียด

ธรรมนูญชีวิต 
A Constitution For Living 
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 

บทนำ

เมื่อพูดถึงเรื่องทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ศาสนาทั้งหลายมีแนวปฏิบัติแตกต่างกันเป็น ๒ แบบ กล่าวคือ แบบหนึ่ง ไม่ใส่ใจเรื่องอย่างนั้นเลยโดยสิ้นเชิง มุ่งเน้นเฉพาะแต่การบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง คือการเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า หรือเข้าถึงปรมัตถสัจจะ ส่วนอีกแบบหนึ่งก็สั่งสอนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับชีวิตประจำวันนั้นเสียอย่างละเอียดพิสดาร โดยกำหนดแก่เราว่าจะต้องคิดหมายใคร่ทำอะไรๆ แค่ไหนอย่างไร จะต้องกินอาหารอะไร จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าแบบไหน ศาสนาสองแบบนี้น่าจะเป็นสุดโต่ง ๒ ด้าน 

พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนสายกลางหรือสอนความพอดี ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ คำสอนในพระพุทธศาสนาดำเนินสายกลาง ระหว่างการเพิกเฉยไม่ใส่ใจเสียเลยต่อเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน กับการตราบทบัญญัติเป็นกฎข้อบังคับที่เคร่งตึงตายตัว พระพุทธศาสนาสอนแนวทางความประพฤติตามหลักสัจธรรมที่เป็นอกาลิโก ว่าด้วยประโยชน์สุขที่พึงได้ อันเกิดจากการอยู่ร่วมสัมพันธ์กันโดยใช้ปัญญาด้วยเมตตากรุณา และพร้อมกันนั้นก็มุ่งให้บรรลุถึงอิสรภาพทางจิตปัญญาที่เป็นจุดหมายสูงสุดถึงขั้นที่ทำให้อยู่ในโลกได้โดยไม่ติดโลกหรืออยู่เหนือโลก 

เนื้อหาในหนังสือนี้ได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา (ยุคแรก) สายเถรวาท ที่ทุกวันนี้ยังใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และถือปฏิบัติกันอยู่ ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คำสอนนี้มีอายุเกินกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว แต่มิได้คร่ำคร่าล้าสมัยแต่ประการใด ในสังคมปัจจุบันยุคถือหลักความเสมอภาค ที่แบบแผนความประพฤติต่างๆ ตามที่ถือสืบๆ กันมาแต่เดิม ได้ถูกล้มล้างลงไป หรือถูกตั้งข้อสงสัยไปหมด และทั้งๆ ที่มีแนวคิดภูมิปัญญาชนิดที่ว่า “รู้แจ้งเจนจบ” แพร่สะพัดไป แต่ชีวิตของผู้คนกลับสับสนวุ่นวายยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ในสภาพเช่นนี้ คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ย้อนยุคสมัยมีมาแต่ครั้งที่อะไรๆ ยังเป็นไปตามธรรมดาสามัญกว่านี้อย่างมากมายนั้น จะเป็นเสมือนกระแสอากาศสดชื่นบริสุทธิ์ที่ผ่านเข้ามาในห้องที่มีผู้คนแออัด บาทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะหวนกลับไปหาคุณค่าที่ว่าเก่าๆ แต่คงทนดีกว่า 

เมื่อการดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ ยึดหลักความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกัน มากกว่าจะมุ่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตน ก็จะเห็นผลปรากฏว่า ชีวิตและกิจการเหล่านั้นมิใช่จะเลวร้ายอย่างที่เราเคยคิด และที่แท้แล้วมันจะช่วยให้ชีวิตของเราโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นด้วย ลองนำแนวคิดของคนสมัยนี้จำนวนมากที่มองสังคมเป็นสนามชิงผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กับคำสอนง่ายๆ ว่าด้วย “การปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง” หน้า ๖๒ มาเทียบกันดูซิว่าเป็นอย่างไร 

คนปัจจุบันจำนวนมากมองชีวิตทุกวงการเป็นการต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ที่ขัดกัน เกิดเป็นฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้าง รัฐบาลกับราษฎร คนมีกับคนจน และแม้แต่หญิงกับชาย หรือลูกกับพ่อแม่ เมื่อคนถือเอาทรัพย์และอำนาจเป็นจุดหมายของชีวิต สังคมก็กลายเป็นสนามต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวที่ขัดกัน เราก็เลยต้องเที่ยวหาจริยธรรมสำหรับมาปกป้องผลประโยชน์เหล่านั้น นี่คือ “จริยธรรมเชิงลบ” กล่าวคือ สังคมยึดหลักผลประโยชน์แบบเห็นแก่ตัว โดยถือ “สิทธิของแต่ละคนที่จะแสวงหาความสุข” แล้วเราก็เลยต้องหาจริยธรรมดังเช่น “สิทธิมนุษยชน” มาคอยกีดกั้นกันและกันไว้ ไม่ให้คนมาเชือดคอหอยกัน ในระหว่างที่กำลังวิ่งหาความสุขนั้น 

หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็น “จริยธรรมเชิงบวก” ประโยชน์สุขคือจุดหมาย หาใช่ทรัพย์และอำนาจไม่ พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมเป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้ทุกคนมีโอกาสอันเท่าเทียมกันที่จะพัฒนาตนเอง และเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด และนำเอาจริยธรรมมาใช้เพื่อเกื้อหนุนจุดหมายที่กล่าวนี้ 

คำสอนที่แสดงไว้ในหนังสือนี้ ยึดถือตามหลักธรรมที่เป็นความจริงอันไม่จำกัดกาล กล่าวคือ กรุณา เมตตา สามัคคี สังคหะ และปัญญา คนสมัยใหม่ที่มองธรรมชาติคนว่าเห็นแก่ตัว อาจจะรู้สึกว่าคำสอนเหล่านี้เป็นเพียงอุดมคติ แต่ก็มิใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หลักธรรมเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างไรก็ตาม จะต้องระลึกไว้ว่า คำสอนเหล่านี้เก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว อาจจะมีอยู่ ๒ - ๓ อย่างที่จะต้องนำมาแปลความหมายให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า คำสอนเหล่านั้นง่ายพอที่ผู้อ่านจะกลั่นกรองความหมายเอามาใช้ได้ด้วยตนเอง ขอให้หลักธรรมดังกล่าวอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน เหมือนดังที่ได้อำนวยประโยชน์แก่ชาวพุทธจำนวนมากมายทั่วทั้งโลก

 
 

ผู้แต่ง
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปอ.ปยุตฺโต

โดย : วัดยาง

ที่อยู่ : ต.ศรีประจันต์ อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 70

ปรับปรุงล่าสุด : 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 17:33:16

ข้อมูลเมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 17:08:18

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

การสรงน้ำพระ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู : 13

พรปีใหม่ที่ดีที่สุด

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-01-2567

เปิดดู : 95

ภาวนาแล้วอยากรวย

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-12-2566

เปิดดู : 70