เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8344 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8859 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7193 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สื่อมีเดีย

ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

รายละเอียด
ประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
จากการศึกษาประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จากเอกสารต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ นามเดิม โต นามฉายาว่า พรหมรังสี เกิดในรัชกาลที่ 1 ณ บ้านตำบลไก่จ้น (ท่าหลวง) อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 5 ขึ้น 12 ค่ำ ปีวอก จ.ศ. 1150 ตรงกับวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2331 เวลาพระบิณฑบาต มารดาชื่อ ละมุด (บางคนบอกว่าชื่อ เกศ) เดิมเป็นชาวตำบลท่าอิฐ อำเภอบ้านโพธิ์ (อำเภอเมือง) จังหวัดอุตรดิตถ์ บิดาไม่ปรากฏชื่อ (บางตำราบอกว่าบิดาคือ ร.1 บางตำราบอกว่า ร.2) ขณะที่ท่านเป็นทารกนั้น ครอบครัวได้ย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ที่ตำบลไชโย จังหวัดอ่างทอง พอท่านยืนนั่งได้ ครอบครัวจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม จังหวัดพระนคร กล่าวกันว่า ขณะที่ท่านวัยเยาว์นั้น ท่านได้ศึกษาอักขรสมัยในสำนักเจ้าคุณอรัญญิก (ด้วง) วัดอินทรวิหาร ครั้นอายุ 12 ปี (พ.ศ. 2342) ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ (อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม บางลำพู เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ย้ายมาอยู่วัดระฆังเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมตั้งแต่บัดนั้น ขณะที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อครั้งยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ทรงโปรดปรานมาก จึงทรงรับไว้ในพระราชูปถัมภ์ ครั้นอายุครบอุปสมบท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้บวชเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (บางท่านบอกว่า บวชที่วัดระฆังโฆสิตาราม) เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2350 โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก วัดมหาธาตุเป็นพระอุปัชฌาย์
การศึกษาเบื้องต้นของ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น นอกจากศึกษาคันถธุระ (พระปริยัติธรรม) ที่มีความเชี่ยวชาญดีแล้ว ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนาธุระอย่างจริงจังอีกด้วย จะเห็นได้ว่าในช่วงรัชกาลที่ 2 การศึกษาวิปัสสนาธุระมีความเจริญรุ่งเรืองมาก “ด้วยปรากฏในจดหมายเหตุว่า เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2364 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดฯให้อาราธนาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณในทางวิปัสสนาธุระ ทั้งในกรุงและหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายเหนือ มารับพระราชทานบริขารอันควรแก่สมณะฝ่ายอรัญวาสี แล้วแต่งตั้งเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานแก่พระสงฆ์สามเณรและคฤหัสถ์ รวม 73 รูป” (พระครูปลัดสมคิด สิริวฑฒโน. 2550: 65) จึงสันนิษฐานว่า สมเด็จโตคงได้ศึกษาจากหลายสำนักเช่น สำนักเจ้าคุณอรัญญิก (แก้ว) วัดอินทรวิหาร และสำนักเจ้าคุณบวรวิริยะเถระ(อยู่) วัดสังเวชวิศยาราม รวมทั้งได้เรียนจากพระอาจารย์แสง วัดมณีชลขันธ์ ลพบุรีด้วย พระอาจารย์แสงรูปนี้กล่าวกันว่า เป็นผู้ทรงคุณในทางวิทยาคม สามารถย่นเวลาและหนทางได้ นอกจากนั้น ท่านยังได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูงและการสร้างพระเนื้อผงกับสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) และสันนิษฐานว่า สมเด็จโตได้ร่วมปลุกเสกพระเนื้อผงนั้นด้วย
อย่างไรก็ตาม สมเด็จโตมีอัธยาศัยไม่ปรารถนายศศักดิ์ แม้จะแตกฉานในพระไตรปิฎก และเก่งด้านพระปริยัติธรรม แต่ก็ไม่เข้าสอบเป็นพระเปรียญ แม้แต่รัชกาลที่ 3 จะทรงตั้งเป็นพระราชาคณะ ท่านก็ทูลขอเสีย และมักหลบออกไปธุดงค์ตามหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งไปไกลถึงลาวและเขมรก็มี แต่ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 4 ท่านจึงยอมรับเอาสมณศักดิ์ดังที่ปรากฏคือ ปี พ.ศ. 2395 เป็นพระธรรมกิติ ต่อมาอีกสองปีคือ พ.ศ. 2397 เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวี ครั้นถึงปีชวด พ.ศ. 2407 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ จนกระทั่งท่านได้มรณภาพในคืนวันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือนแปด ปีวอก จ.ศ. 1234 ตรงกับวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2415 เวลา 2 ยาม คำนวณอายุได้ 85 ปี (ประวัติอย่างละเอียด โปรดศึกษาในหนังสือที่ระลึกงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พุทธศักราช 2550 และเล่มอื่นๆ)
จากการศึกษาประวัติของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ของสุชาติ มั่นคงพิทักษ์กุล (2552)รวมทั้งหลักฐานอื่นๆ ที่ผู้เขียนค้นพบ สามารถเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ต่างๆ ตามหนังสือและบทบันทึกของผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งช่วงเวลาของการสร้างพระพิมพ์สมเด็จ ออกเป็น 5 ช่วง พอสรุปได้ดังนี้
ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2361 – 2385ในช่วงของรัชกาลที่ 2 และ 3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุประมาณ 30-54 ปี ถือเป็นช่วงที่ท่านเริ่มมีชื่อเสียงในด้านการเทศน์ ในช่วงปี พ.ศ. 2363-2365 สมเด็จโตได้มีโอกาสร่ำเรียนวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูง รวมทั้งการออกแบบและมวลสารในการสร้างพระพิมพ์กับสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน)
ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2385 – 2393 ในช่วงของรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 54-62 ปีหลังจากได้กลับไปจัดงานศพให้โยมมารดา ตอนอายุ 54 ปี จากนั้นท่านใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการธุดงค์ ทั้งทางเหนือ ลาว และเขมร  รวมทั้งได้สร้างพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตรวัดกลางคลองข่อย ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2390 และ ในช่วงเวลาใกล้กัน ได้สร้างพระเจดีย์นอนที่หลังโบสถ์วัดละครทำ ตำบลบ้านช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันหักพังหมดแล้ว
 
             ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2394 - 2407 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 63-76 ปี เป็นช่วงเวลาที่ท่านได้รับตำแหน่งราชาคณะตั้งแต่ที่ พระธรรมกิติ (พ.ศ. 2395) พระเทพกระวี (พ.ศ. 2397) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พ.ศ. 2407) ในช่วงเวลานี้ น่าจะมีการสร้างพระสมเด็จ เนื่องในโอกาสฉลองเลื่อนสมณศักดิ์ตามลำดับดังกล่าวด้วย นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์ทางด้านการเมืองเช่น การขึ้นครองราชย์ของรัชกาลที่ 4 และสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ในปี พ.ศ. 2394 และเหตุการณ์พระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2396 ต่อมาท่านได้สร้างพระนั่งโต ที่วัดเกศไชโย จังหวัดอ่างทอง ในปี พ.ศ. 2406-2407 รวมทั้งได้สร้างพระสมเด็จ จำนวน 84,000 องค์ มีพิมพ์ 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น ฯลฯ เพื่อบรรจุไว้ในกรุวัดดังกล่าวด้วย ช่วงนี้หลวงวิจารณ์เจียรนัย ซึ่งเป็นหนึ่งในช่างของกรมช่างสิบหมู่ เริ่มเข้ามามีบทบาทในการออกแบบพิมพ์พระสมเด็จ และสันนิษฐานได้ว่า น่าจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี เจ้ากรมช่างสิบหมู่ รวมทั้งมีความผูกพันกันกับเจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้ากรมท่า และกลุ่มวัง ในการสร้างพระสมเด็จและพระพิมพ์ต่างๆ ถวายแด่องค์หลวงปู่โตเพื่ออธิษฐานจิต และว่ากันว่า เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้อัญเชิญเหล็กไพลดำมาจากที่ใดที่หนึ่ง ด้วยวิธีใดก็ยังไม่แน่ชัด แต่ท่านก็ได้นำมาทำเป็นสร้อยประคำเหล็กไพลดำจำนวนหนึ่ง สันนิษฐานว่า เศษจากการกลึงลูกประคำ ได้นำไปเป็นส่วนผสมในพระสมเด็จจำนวนมาก โดยเฉพาะในพระสมเด็จที่สร้างถวายโดยกลุ่มวัง ความรู้เรื่องเหล็กไพลดำนี้ รับรู้เฉพาะในวงแคบของผู้ปฏิบัติธรรมกลุ่มหนึ่ง จึงโปรดใช้วิจารณญาณ เพราะความจริงแท้ทั้งหมด ยังเกินวิสัยของผู้เขียน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี เจ้ากรมช่างสิบหมู่
เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้ากรมท่า
ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2408 - 2411 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) อายุ 77-80 ปีในปี พ.ศ. 2408 ได้มีการสร้างพระสมเด็จเพื่อบรรจุกรุพระธาตุพนมจำลองในวัดบวรสถานสุทธาวาส (วังหน้า) มิใช่ที่พระธาตุพนม จ.นครพนม และเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสวรรคต ในปี พ.ศ. 2408 ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2410 ท่านเริ่มสร้างพระยืนโต ที่วัดอินทรวิหาร จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุวัดอินทรวิหารด้วย ขณะเดียวกันท่านยังได้สร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระนามว่า “พระพุทธมหามุนีศรีมหาราช” ที่วัดกุฎีทอง (วัดพิตเพียน) ตำบลพิตเพียนอำเภอมหาราชจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อีกด้วย
           ช่วงที่ 5 พ.ศ. 2411–2415 ซึ่งถือเป็นช่วงสุดท้ายของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ต่อเนื่องจนกระทั่งมรณภาพ ดังจะเห็นได้จากในช่วงต้นของรัชกาลที่ 5 โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2411 มีการสร้างพระพิมพ์ พระบูชา และสิ่งมงคลต่างๆ จำนวนมาก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์สมบัติ พิธีพุทธาภิเษกและอธิษฐานจิต จึงเป็นวาระอันยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีมาในกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 มีการสร้างพระสมเด็จเบญจรงค์หรือเบญจสิริ เพื่อเตรียมถวายรัชกาลที่ 5 ที่ได้ส่วนผสมหลักมาจากประเทศจีนโดยเจ้าประคุณกรมท่า (ท้วม บุนนาค) ซึ่งพระชุดนี้เรียกว่า พระสมเด็จวังหน้า ต่อมาจึงได้นำไปบรรจุไว้ในกรุวัดพระแก้วในภายหลัง ในช่วงปี พ.ศ. 2413 เสมียนตราด้วง ได้มีการขอแม่พิมพ์จากสมเด็จโต เพื่อสร้างพระสมเด็จจำนวน 84,000 องค์ เพื่อบรรจุลงในกรุเจดีย์ใหญ่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) แต่ได้สร้างและทำพิธีที่วัดอินทรวิหาร ในปีเดียวกันนี้ เจ้าประคุณสมเด็จโต ยังสร้างพระนอนวัดสะตือ จังหวัดอยุธยา จึงน่าจะมีการสร้างพระสมเด็จบรรจุในกรุนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2415 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มรณภาพ ท่านเจ้าคุณพระธรรมถาวร ได้นำพระสมเด็จออกมาแจกในงานศพจำนวนมากกว่าสามหมื่นองค์ และเป็นพระสมเด็จที่ได้รับการลงรักปิดทองส่วนใหญ่ และอีกบางส่วนจำนวนมากมีผู้นำไปไว้ที่หอสวดมนต์ และบนเพดานพระวิหารของวัดระฆังด้วย

โดย : วัดดอนมะเกลือ

ที่อยู่ : ต.ดอนมะเกลือ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 3747

ปรับปรุงล่าสุด : 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 21:22:39

ข้อมูลเมื่อ : 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 21:22:39

 
 
 
 

สื่อมีเดีย 10 อันดับ

วันนี้วันพระ (๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 30-04-2567

เปิดดู : 26

วันนี้วันพระ (๒๓ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-04-2567

เปิดดู : 36

วันนี้วันพระ (๑๖ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 16-04-2567

เปิดดู : 64

ทำบุญวันสงกรานต์

โดย วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 10-04-2567

เปิดดู : 13

วันนี้วันพระ (๘ เมษายน ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 08-04-2567

เปิดดู : 61

วันนี้วันพระ (๙ มีนาคม ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-03-2567

เปิดดู : 64

วันนี้วันพระ (๓ มีนาคม ๒๕๖๗)

โดย วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2567

เปิดดู : 59