ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
รหัสวัด
02710512001
ชื่อวัด
วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
วันตั้งวัด
ปี 2300
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 02 เดือน กันยายน ปี 2518
ที่อยู่
บ้านพระแท่น
เลขที่
121
หมู่ที่
10
ซอย
-
ถนน
ท่าเรือ-พระแท่น
แขวง / ตำบล
พระแท่น
เขต / อำเภอ
ท่ามะกา
จังหวัด
กาญจนบุรี
ไปรษณีย์
71130
เนื้อที่
2390 ไร่ - งาน - ตารางวา
มือถือ
0819429135
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 2529
ปรับปรุงล่าสุด : 28 มีนาคม พ.ศ. 2565 22:05:31
ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 20:28:39
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
วัดพระแท่นดงรัง วัดนี้เดิมมีฐานะเป็นวัดราษร์ ตั้งอยู่บนเนินเขาป่าไม้เต็งรัง และไม้เบญจพรรณอื่นๆ อันเป็นบริเวณเดียวกับที่ประดิษฐาน “ พระแท่นดงรัง” ซึ่งเป็นปูชนียสถานสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย วัดนี้มีอาณาเขตกว้างขวางมาก บริเวณที่วัดเป็นรูปวงกลมรี ทิศตะวันออกจดหมู่บ้านโป่ง ทิศตะวันตกจดทุ่งนา ทิศเหนือจดหมู่บ้านหนองทะเบียน ทิศใต้จดหมู่บ้านท่าโป่ง ทางวัดได้ทำการสำรวจเนื้อที่ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีเนื้อที่ประมาณ ๒,๓๙๐ไร่เศษ สภาพทั่วไปส่วนใหญ่เป็นป่าไม้เต็งรังอยู่บนที่ลาด ริมเขาและบนภูเขา และทางราชการได้ออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดป่าพระแท่นดงรัง ให้เป็นป่าคุ้มครอง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔
สำหรับบริเวณวัด ทั้งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่เศษ ได้อนุญาตให้กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างอาคารเรียนระดับมัธยมศึกษา อีก ๑๐๓ ไร่ ซึ่งอยู่ ทางด้านทิศใต้และนอกกำแพงวัด
การก่อสร้างวัดพระแท่นดงรัง วัดนี้ได้สร้างขึ้นแต่เมื่อใดและใครเป็นผู้สร้างนั้นได้สืบสวนค้นคว้าหลักฐานกันมา นานแล้ว แต่ไม่สามารถหาหลักฐานอันแน่นอนได้ เพียงแต่สันนิษฐานกันว่า คงจะสร้างขึ้นในระยะใกล้เคียงกับการค้นพบ “ พระแท่นดงรัง” ในสมัยกรุงศรีอยุธยาดังปรากฏหลักฐานในข้อความหนังสือตำนานพระพุทธเจดีย์สยาม พระราชนิพนธ์ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวว่า
“ พระบริโภคเจดีย์ คงนับถือพระศรีมหาโพธิ์มาจากลังกา อย่างสมัยกรุงสุโขทัยมาในชั้นหลังทีเดียวเห็นจะเป็นใน รัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ์ได้พันธุ์ พระศรีมหาโพธิ์ มาจากลังกา โปรดฯ ให้ปลูกไว้ที่วัดระฆัง อันอยู่ต่อท้ายเขตพระราชวัง แล้วเปลี่ยนชื่อวัดระฆังเป็นวัดวรโพธิ์ กันมาจนบัดนี้ นอกจากพระศรีมหาโพธิ์ ก็เกิดมีพระพุทธบาท พระพุทธฉาย ในแขวงเมืองสระบุรี พระแท่นดงรังในแขวงเมืองราชบุรี และพระแท่นศิลาอาสน์ ในแขวงเมืองทุ่งยั้ง นับถือกันว่าเป็นบริโภคเจดีย์มา
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาด้วย
นอกจากนี้ จากนิราศพระแท่นดงรังของสามเณรกลั่น ซึ่งเดินทางมานมัสการพระแท่นดงรัง พร้อมกับสุนทรภู่ ผู้เป็นบิดา เมื่อเดือน ๔ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ และของนายมี หมื่นพรหมสมพัตสร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ก็แสดงให้เห็นว่า
ได้มีวัดพระแท่นดงรังอยู่แล้วแต่สมัยนั้น โดยเฉพาะวิหารที่สร้างคลุมพระแท่นนั้น ทางกรมศิลปกรก็สันนิษฐานไว้ว่า หลังเดิมคงจะสร้างใน รัชกาลที่ ๑ หรือต้นรัชกาลที่ ๒ ครั้นล่วงมาหลายปี วิหารหลังเดิมคงชำรุดทรุดโทรมลง ใน รัชกาลที่ ๓ บรรดาพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ได้บอกบุญร่วมใจกันปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ มีทำพาไลข้างนอกกับชานทักษิณโดยรอบ เป็นต้น ดังปรากฏอยู่ในบัญชีรายนามท้ายเรื่องนี้
ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารพระแท่น และอุโบสถของวัดพระแท่นดงรังอีกครั้งหนึ่ง ดังปรากฏในพงศาวดารว่า “ เมื่อปีกุลเบญจศก (พ.ศ. ๒๔๐๖ ) ที่พระแท่นดงรังก็ได้โปรดให้กรมการเมืองราชบุรี ทำวิหารและพระอุโบสถที่ค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ จำนวนเงินไม่ปรากฏฯ และให้สร้างเจดีย์ขึ้นที่หลังพระแท่น ๑ องค์
วัดพระแท่นดงรังนี้ เสนาสนะแต่ครั้งโบราณได้ชำรุดทรุดโทรมปรัก หักพังไปหมดแล้ว และได้มีการย้ายกุฎิและศาลาการเปรียญหลายครั้ง เท่าที่มีหลักฐานปรากฏอยู่ ได้มีการย้ายมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ ครั้ง และการย้ายที่สำคัญคือ สมัยท่านสมภารน้อยเป็นเจ้า อาวาส ในราวพ.ศ. ๒๔๖๕ ท่านได้ย้ายและบูรณะกุฎิและศาลาขึ้นใหม่แทบทั้งหมด และท่านสมภารน้อยองค์นี้ ได้เป็นผู้ชักชวนพุทธบริษัทบูรณะซ่อมแซมมณฑปครอบพระพุทธบาท บนเขาถวายพระเพลิง ซึ่งเป็นมณฑป ๑๒ เหลี่ยม และครั้งสุดท้ายท่านพระครูพุทธมัญจาภิบาล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ย้ายกุฎิมาอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้ นอกจากนั้นยังได้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆทั้งหมด รวมทั้งพระอุโบสถหลังใหม่ด้วย
สำหรับการก่อสร้างพระอุโบสถของวัดพระแท่นดงรัง ก็คงจะได้สร้างพร้อมๆกับการก่อสร้างวิหารครอบพระแท่น ซึ่งอยู่ติดกัน แต่คงสร้างเสร็จภายหลัง การสร้างวิหารครอบพระแท่น เพราะสันนิษฐานจากพระราชนิพนธ์ประพาสไทรโยค ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิพนธ์ไว้ว่า “ วิหารพระแท่นนั้น หันหน้าตรงทิศใต้ รอบนอกมีกำแพงแก้วทักษิณรอบ มีพระเจดีย์เล็กๆ น้อยๆ หลายองค์ ในรอบบริเวณนั้นมีวิหารหรือศาลาดูเป็นของค้างหรือทำไม่แล้วเสร็จ ก่ออิฐแผ่นใหญ่ขึ้นไป เหลืออยู่ครึ่งบ้างเกือบครึ่งบ้าง แต่สองข้างนั้นที่จะเป็นโบสถ์หรือวิหารไม่มีเครื่องบน” และในเวลาต่อมาคงจะได้มีการสร้างเพิ่มเติมจนเสร็จเรียบร้อย
การก่อสร้างถาวรวัตถุในวัดพระแท่นดงรังสมัยนั้น นอกจากสร้างวิหารครอบพระแท่นสร้างมณฑปบนเขาถวายพระเพลิง และสร้างอุโบสถแล้ว ยังมีการก่อสร้างอื่นๆอีกเช่นสร้างวิหารพระอานนท์ และวิหารพระทรมานพระกาย ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของวิหารพระแท่นนอกจากนั้นมีการสร้างศาลาการเปรียญ และศาลาหลังเล็กๆไว้เป็นต้น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถทราบประวัติความเป็นมาของการก่อสร้างถาวรวัตถุเหล่านี้
วัดพระแท่นดงรัง นับว่าเป็นวัดเก่าโบราณยิ่งวัดหนึ่งในประเทศไทย และเป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินได้เสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระแท่นดงรังในวัดนี้หลายพระองค์ ที่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดคือ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จฯ เมื่อพ.ศ. ๒๔๐๘
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จฯ เมื่อพ.ศ. ๒๔๒๐
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เสด็จฯ เมื่อพ.ศ.๒๔๖๔
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์)
ก็ได้เสด็จฯ มานมัสการพระแท่นดงรังนี้ เมื่อเดือน๖ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๒ อีกด้วย
พระบาทสมเด็จ พระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เสด็จฯ ณ วัดพระแท่นดงรัง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาวัดพระ แท่นดงรัง ๒ ครั้ง คือ
ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๑๒ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา, ทรงวางศิลาฤกษ์เพื่อการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่,
ทรงลงพระปรมาภิไธยบนแผ่นศิลา, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นโพธิ์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงปลูกต้นรัง
ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถและเททองหล่อพระประธาน และพระพุทธรูปจำลอง กับทรงรับเครื่องบินทำฝนหลวง ซึ่งสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต ๗ น้อมเกล้าฯ ถวาย
อนึ่ง พระบรมวงศานุวงค์หลายพระองค์ก็ได้เสด็จมาวัดพระแท่นดงรัง อาทิ
พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๑๒ เพื่อทรงเตรียมการรับเสด็จ พระราชดำเนินมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา
สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ และพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี
เสด็จมาทรงประกอบพิธีเปิดงานนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๑๓ และเสด็จมาส่งทอดผ้าพระกฐินส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๑๓
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินทรเทพรัตนสุดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
เสด็จมาทรงนมัสการพระแท่นดงรัง เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๑๕
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ เสด็จมาตัด
หวายลูกนิมิตพระอุโบสถเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
พระแท่นดงรัง นับว่าเป็นเจดียฐานประการหนึ่ง คือถือว่าเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และนับว่าเป็นสังเวชนียสถานแห่งหนึ่ง ในสี่แห่งของพระพุทธเจ้า คือสถานที่ประสูติ สถานที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธปรินิพพาน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในประเทศอินเดียในปัจจุบัน
ตามตำนาน อันเป็นคติที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ภายนอกประเทศอินเดีย ด้วยอำนาจฌานสมาบัติ และได้ประดิษฐานเจดีย์หรือ ตรัสพยากรณ์เรื่องราวต่าง ๆ ไว้ในแว่นแคว้นเหล่านั้น จึงเกิดมีเจดีย์วัตถุและพุทธพยากรณ์ที่อ้างว่า พระพุทธองค์ได้ทรงประดิษฐานเจดีย์วัตถุไว้หลายแห่งในแว่นแคว้นต่าง ๆ
ในประเทศไทยก็มีตำนานเกี่ยวกับการประทับรอยพระพุทธบาท และการสร้างพระธาตุเจดีย์อยู่เป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งพระแท่นและพระพุทธฉาย สำหรับพระแท่นที่มีอยู่ในพงศาวดารคือ พระแท่นศิลาอาสน์ มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย แต่พระแท่นดงรังไม่ได้มีกล่าวไว้ในพงศาวดาร จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ความอัศจรรย์ของพระแท่นดงรังนั้นผิดกับเจดีย์วัตถุอื่น เนื่องจากมีผู้เชื่อว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ พระแท่นดงรังนี้จริง ๆ ซึ่งเท่ากับว่าเมืองไทยนี้เป็นมัชฌิมประเทศ อันเป็นสถานที่ ประสูติ ตรัสรู้ และดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
"….. ในระหว่างนางรังทั้งคู่ค้อม แต่ไม้รังยังรักพระศาสดา |
ชวนกันไปไหว้พระแท่นแผ่นศิลา คำนับน้อมกิ่งก้านก็สาขา อนิจจาเราเกิดไม่ทันองค์" |
ปัจจุบันมีวิหารสร้างครอบพระแท่นไว้ ซึ่งคงสร้างไว้นานแล้ว เพราะเมื่อปี พ.ศ. 2376 สามเณรกลั่น ได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรังกับสุนทรภู่ ได้แต่งนิราศไว้มีความตอนหนึ่งว่า
"ถึงพระแท่นแสนสงัดเห็นวัดมี กับต้นรังทั้งคู่ยังอยู่พร้อม ต่างชื่นชมโสมนัสยิ่งศรัทธา เข้าประตูดูแผ่นพระแท่นดัง ………" |
ทั้งโบสถ์ที่ครอบพระแท่นแผ่นศิลา ดูยอดน้อมเข้ามาข้างแท่นที่แผ่นผา ตามบิดาทักษิณด้วยยินดี เหมือนบัลลังก์แลจำรัสรัศมี |
ส่วนที่เป็นพระแท่นนั้นเป็นปลายของเทือกศิลาที่ยื่นออกมา มีลักษณะเป็นศิลาแท่งสูงข้างหนึ่ง ต่ำข้างหนึ่ง ข้างสูงวัดได้ศอกคืบ และยังมีส่วนที่สูงขึ้นไปอีกเหมือนเป็นหมอน กว้างประมาณคืบเศษ สูงประมาณหนึ่งคืบ ข้างปลายพระแท่นสูง 16 นิ้ว พระแท่นยาว 11 ศอกคืบ กว้าง 4 ศอก เศษบริเวณส่วนบน ส่วนล่างกว้าง 3 ศอก เศษ
บริเวณที่ตั้งพระแท่นดงรังมีสถานที่ต่าง ๆ อันเนื่องด้วย พระพุทธเจ้าดังนี้
รายการพระ
พระราชวิสุทธาภรณ์ (ทองดำ) อิฏฺฐาสโภ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 12-03-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร
ข้อมูลเมื่อ : 29-11-2564