เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1454 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1623 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8287 รูป
สามเณร
290 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8795 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7142 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code ใหม่เจริญผล

รหัสวัด
02710507002

ชื่อวัด
ใหม่เจริญผล

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2469

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน มีนาคม ปี 2510

ที่อยู่
-

เลขที่
9/1

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
แสงชูโต

แขวง / ตำบล
ท่าเรือ

เขต / อำเภอ
ท่ามะกา

จังหวัด
กาญจนบุรี

ไปรษณีย์
71130

เนื้อที่
37 ไร่ 2 งาน 01 ตารางวา

มือถือ
0892233933

คุณสมบัติวัด

เป็นสำนักปฏิบัติธรรม

จำนวนเข้าดู : 1516

ปรับปรุงล่าสุด : 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 19:55:10

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 19:34:17

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดใหม่เจริญผล (โดยสังเขป)
***********
วัดใหม่เจริญผล ตั้งอยู่ เลขที่ ๙/๑ หมู่ ๓ ถนนแสงชูโต ตำบลท่าเรือ อำเภอท่ามะกาจังหวัดกาญจนบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๗ ไร่ ๒ งาน  ๑ ตารางวา โดยมีอาณาเขตทางทิศเหนือ ติดถนนเข้าสุสานตระกูลล้อ  ทิศไต้ ติดหมู่บ้านครก,  บ้านตลาดใหม่ต.ท่ามะกา  ทิศตะวันออก ติดถนนแสงชูโต สายใน  กรุงเทพ ฯ – กาญจนบุรี และ ทิศตะวันตก ติดโรงเรียนท่าเรือพิทยาคม (ที่ตั้งโรงเรียนเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด) และแม่น้ำแม่กลอง
วัดใหม่เจริญผล เดิมชื่อ “วัดราษฎร์เจริญผล” ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง หมู่บ้านครก ตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดราชบุรี (ปัจจุบันคือจังหวัดกาญจนบุรี) อยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาลประจวบอุตสาหกรรม แต่ด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน การเดินทางไปทำบุญที่วัดจึงลำบาก มีคนเข้าวัดน้อยมาก เนื่องจากเป็นป่าไม้ ถนนหนทางไม่สะดวก และด้วยเหตุที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ดังนั้นชาวบ้านและพระสงฆ์จึงร่วมใจกัน ย้ายวัดจากพื้นที่เดิมอยู่หมู่บ้านครกมาที่หมู่บ้านท่าเรือ ในเขตพื้นที่เดี่ยวกันอยู่ห่างจากพื้นที่วัดเก่าประมาณ ๑-๒ กิโลเมตร เป็นสถานที่อยู่ระหว่างหมู่บ้านท่าเรือและหมู่บ้านครก  สันนิษฐานกันว่า ย้ายวัดในช่วงสมัย หลวงตานวมและหลวงตาสู โดยมีตาวร นิ่มนุช และตาเห็ง ภูมรา เป็นกำลังสำคัญฝ่ายฆราวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙
นับตั้งแต่ย้ายวัดมาสร้าง ณ หมู่บ้านท่าเรือนั้น จึงตั้งชื่อวัดใหม่ว่า “วัดใหม่เจริญผล” โดยมีเจ้าอาวาสจากวัดเก่าจนถึงปัจจุบันจำนวน ๑๑ รูป นับตามลำดับ คือ ๑) พระนวม  ๒) พระทอง  ๓) พระชุ่ม  ๔) พระอั่น  ๕) พระครูวรวัตวิมล (ปิ๋ว) พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๗๗)  ๖) พระอธิการลิ่ม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๖  ๗) พระอธิการช่วย พ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๙๐  ๘) พระสินธุ์พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๓  ๙) พระครูกาญจนวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเพลิน ปริสุทฺโธ)    พ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๔๐ ๑๐) พระมหาเมธี อินฺทโชโต (ป.ธ.๙) พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔  ๑๑) พระครูวิสาลกาญจนกิจ    (โทเขมจิตฺโต) รักษาการเจ้าอาวาส ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕ และ ๑๒) พระครูกาญจธีรวงศ์ (ธีรพงษ์ ฐานุตฺตโร) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๖๓ (ปัจจุบัน)  โดยเจ้าอาวาสที่มีบทบาทมากที่สุด และอยู่จำในวัดใหม่เจริญผลนานมากที่สุดคือ พระครูกาญจนวิสุทธิ์ (เพลิน ปริสุทฺโธ) หลวงพ่อเพลินเข้ามาจำอยู่ในวัดใหม่เจริญผลตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ตามประวัติท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญผลในปี พ.ศ. ๒๕๙๓ (หลวงพ่อเพลินอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ อุโบสถวัดแสนตอ) เมื่อหลวงพ่อเพลินมาอยู่วัดใหม่เจริญผล ตอนนั้นเสนาสนะของวัดมีกุฏิไม้ทรงไทย ๒ หลัง ศาลาการเปรียญมุงสังกะสี ๑ หลัง และอุโบสถ   ๑ หลัง เนื่องจากว่ากุฏิและศาลาการเปรียญทรุดโทรมมาก ท่านจึงบูรณะซ่อมแซมใหม่หมด ส่วนเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูกาญจนธีรวงศ์ (ธีรพงษ์ ฐานุตฺตโร) ท่านก็มีบทบาทในการพัฒนาไว้มากมาย เช่น สร้างศาลาปฏิบัติธรรม สร้างห้องน้ำชาย-หญิง บูรณะอุโบสถ เมรุ ศาลาธรรมสังเวช กำแพงวัด และมอบนการศึกษาให้แก่นักเรียนเป็นต้น ตลอดถึงสนับสนุนด้านการศึกษาและการจัดอบรมเข้าค่ายธรรมะปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ 
ส่วนศาสนสถานภายในวัด ได้แก่ ศาลาการเปรียญ โบสถ หอระฆัง  โรงครัว ลานธรรมเมรุ ศาลาธรรมสังเวช (๓ หลัง) กุฏิสงฆ์ (๑๑ หลัง) ห้องน้ำชาย (๑๘ ห้อง) ห้องน้ำหญิง (๒๐ห้อง) ศาลาปฏิบัติธรรม            (๒ หลัง) และศาลาเอนกประสงฆ์  (๒ หลัง) เป็นต้น
             
ด้านการศึกษา   
๑  ท่านได้ส่งพระไปสอนในโรงเรียน ๕  แห่ง   
                 ๒  จัดอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบุตร “
                 ๓  จัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระและวันอาทิตย์
                 ๔  จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
         ๕  จัดสอนธรรมศึกษา ตรี โท เอก
         ๖  จัดบวชเทิดพระเกียรติ ๑๒ สิงหาคม  และ ๕ ธันวาคม
         ๗  อุปถัมภ์ โรงเรียนท่าเรือพิทยาคม  โรงเรียนวัดใหม่เจริญผล  โรงเรียนเด็กก่อนเกณฑ์ ๙หลัง
 
 
ประวัติวัดใหม่เจริญผล
ก่อนที่จะเป็นวัดใหม่เจริญผล (วัดเก่า)
 
         วัดใหม่เจริญผล เดิมชื่อ “วัดราษฎร์เจริญผล” ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง หมู่บ้านครกตำบลท่ามะกา อำเภอท่ามะกา จังหวัดราชบุรี อยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาลประจวบอุตสาหกรรม( อยู่ห่างจากวัดใหม่เจริญผลในปัจจุบัน ๑-๒ กิโลเมตร ) ไม่มีใครทราบว่าสร้างตั้งแต่เมื่อไรและใครเป็นผู้สร้าง เพราะประวัติเกี่ยวกับวัดไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน  แม้แต่คนเฒ่าคนแก่ท่านก็บอกแต่เพียงว่า เมื่อท่านเติบโตขึ้นมาก็เห็นวัดราษฎร์เจริญผลแล้ว
         จากการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับวัดเก่านี้ได้ความว่า  ที่ดินที่สร้างวัดราษฎร์เจริญผลเป็นที่ดินของ ตานวม ยายจันทร์ ภุมรา  และ ตาวร  ยายพลับ นิ่มนุช  ได้บริจาคที่ดิน (จำนวนกี่ไร่ไม่มีหลักฐาน) สร้างวัดขึ้น  แล้วตั้งชื่อว่า “วัดราษฎร์เจริญผล”  เป็นที่ทำบุญบำเพ็ญกุศลของประชาชนในเขตบ้านครก ส่วนพระสงฆ์ในวัดและเจ้าอาวาสนั้นไม่มีข้อมูลชัดเจน จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในปัจจุบัน ท่านบอกแต่เพียงเท่าที่จำได้ในสมัยที่ท่านเป็นเด็กว่า เจ้าอาวาสในวัดเก่านี้มี หลวงตาช่วย  หลวงตาลิ่ม  หลวงพ่อสิน  หลวงตานวม  และหลวงตาสู  ปรากฏว่าหลวงพ่อที่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดราษฎร์เจริญผลนี้ไม่มีรูปใดที่อยู่ได้นาน บางรูปอยู่ได้ไม่กี่ปีก็ย้ายไปอยู่ที่อื่น (ทำให้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับเจ้าอาวาสเลย)
 
         ด้วยเหตุที่วัดตั้งอยู่ไกลจากหมู่บ้าน การเดินทางไปทำบุญที่วัดจึงลำบาก มีคนเข้าวัดน้อยมาก เนื่องจากเป็นป่าไม้ ถนนหนทางไม่สะดวก และด้วยเหตุที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองจึงทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน ดังนั้นชาวบ้านและพระสงฆ์จึงร่วมใจกัน ย้ายวัดจากพื้นที่เดิมอยู่หมู่บ้านครกมาที่หมู่บ้านท่าเรือ ในเขตพื้นที่เดี่ยวกันอยู่ห่างจากพื้นที่วัดเก่าประมาณ ๑-๒ กิโลเมตร เป็นสถานที่อยู่ระหว่างหมู่บ้านท่าเรือและหมู่บ้านครก  สันนิษฐานกันว่า ย้ายวัดในช่วงสมัย หลวงตานวมและหลวงตาสู โดยมีตาวร นิ่มนุช และตาเห็ง ภูมรา เป็นกำลังสำคัญฝ่ายฆราวาส ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙
 
วัดใหม่เจริญผลในอดีต
 
         วัดราษฎร์เจริญผลเมื่อย้ายมาสร้างใหม่ที่หมูบ้านท่าเรือ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “วัดใหม่ราษฎร์เจริญผล” (จากศิลาหินอ่อนในอุโบสถ) เพราะถือการย้ายวัดมาสร้างใหม่เป็นชื่อวัด วัดใหม่นี้มีเนื้อที่ประมาณ ๓๔ ไร่ (ปัจจุบัน ๓๗ ไร่ ๒ งาน ๐๑ ตารางวา) ซึ่งเป็นการช่วยเหลือกันสร้างระหว่างชาวบ้าน โดยการเสียสละที่ดิน และก่อสร้างเสนาสนะเป็นที่พักสงฆ์ นับตั้งแต่มีการสร้างวัดนั้นมีประวัติไม่ชัดเจน แต่ที่ปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยพระครูกาญจนวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเพลิน  ปริสุทฺโธ) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสที่จำอยู่ที่วัดใหม่ราษฎร์เจริญผลนานที่สุด และมีบทบาทเด่นที่สุดในการก่อสร้างและพัฒนาวัด ต่อมาทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองใหม่ โดยจัดให้เขตอำเภอท่ามะกาขึ้นต่อจังหวัดกาญจนบุรี วัดจึงเป็นวัดในเขตจังหวัดกาญจนบุรีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  วัดใหม่ราษฎร์เจริญผลนับตั้งแต่มาสร้างในเขตพื้นที่ใหม่ ชาวบ้านมักนิยมเรียกสั้นๆว่า “วัดใหม่” หรือ “วัดใหม่เจริญผล” เพราะเป็นชื่อที่เรียกง่ายและเข้าใจกัน โดยตัดคำว่า “ราษฎร์” ออกไป ภายหลังทางราชการจึงเรียกชื่อตามชาวบ้านว่า “วัดใหม่เจริญผล” จนถึงปัจจุบัน
 
เจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญผล
 
         นับตั้งแต่ย้ายวัดมาสร้าง ณ หมู่บ้านท่าเรือนั้น ไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าอาวาสแล้วกี่รูป แต่เท่าที่ทราบ คือ ๑) พระนวม  ๒) พระทอง  ๓) พระชุ่ม  ๔) พระอั่น  ๕) พระครูวรวัตวิมล (ปิ๋ว) พ.ศ.๒๔๗๒-๒๔๗๗)  ๖) พระอธิการลิ่ม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๖  ๗) พระอธิการช่วยพ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๙๐  ๘)พระสินธุ์            พ.ศ.๒๔๙๐-๒๔๙๓  ๙) พระครูกาญจนวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเพลิน ปริสุทฺโธ) พ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๔๐               ๑๐) พระมหาเมธี อินฺทโชโต (ป.ธ.๙) พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๔  ๑๑) พระครูวิสาลกาญจนกิจ (โท เขมจิตฺโต) รักษาการเจ้าอาวาส ตั้งแต่พ.ศ.๒๕๔๔-๒๕๔๕ ๑๒.พระครูกาญจนธีรวงศ์ (ธีรพงษ์ ฐานุตฺตโร) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่พ.ศ.๒๕๔๕-๒๕๖๓ (ปัจจุบัน)  แต่เจ้าอาวาสรูปที่มีบทบาทมากที่สุด และอยู่จำในวัดใหม่เจริญผลนานมากที่สุดคือ พระครูกาญจนวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเพลิน  ปริสุทฺโธ)  หลวงพ่อเพลินเข้ามาจำอยู่ในวัดใหม่เจริญผลตั้งแต่เมื่อไรไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่ตามประวัติท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญผลในปี พ.ศ. ๒๕๙๓ (หลวงพ่อเพลินอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ณ อุโบสถวัดแสนตอ) เมื่อหลวงพ่อเพลินมาอยู่วัดใหม่เจริญผลตอนนั้นเสนาสนะของวัดมีกุฏิไม้ทรงไทย ๒ หลัง ศาลาการเปรียญมุงสังกะสี  ๑  หลัง และอุโบสถ  ๑  หลัง เนื่องจากว่ากุฏิและศาลาการเปรียญทรุดโทรมมาก ท่านจึงบูรณะซ่อมแซมใหม่หมด
 
         ราว พ.ศ. ๒๕๑๐ อุโบสถของวัดที่สร้างราวปี  พ.ศ. ๒๔๔๗  มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมากหลวงพ่อเพลินจึงบูรณะ ซ่อมแซม และขยายขนาดอุโบสถให้กว้างขึ้นกว่าเดิม ต่อมาได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ เมื่อบูรณะก่อสร้างพระอุโบสถจนแล้วเสร็จในปี  พ.ศ. ๒๕๑๒  ได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต ใน ปี  พ.ศ. ๒๕๑๓
 
         ศิษย์เอกของหลวงพ่อเพลินมีอยู่  ๒  รูป คือ
๑. พระครูสังฆรักษ์อนันต์ (อาจารย์โท  เขมจิตฺโต ปัจจุบัน เป็นพระครูวิสาลกาญจนกิจ)  ท่านเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการช่วยงานของหลวงพ่อเพลินอย่างมาก แม้ว่าต่อมาพระสงฆ์ได้แต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดตะคร้ำเอนและเจ้าคณะตำบลตะคร้ำเอนก็ตาม (ปัจจุบันเป็นรองเจ้าคณะอำเภอท่ามะกา) ท่านก็ยังมาช่วยงานด้านต่างๆ ในวัดใหม่เจริญผลอย่างสม่ำเสมอ
         ๒. พระมหาเมธี  อินฺทรโชโต ป.ธ. ๙  (เจ้าอาวาสองค์ที่สอง) เป็นศิษย์เอกอีกรูปหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการวางรากฐานทางการศึกษาแก่วัดใหม่เจริญผล เมื่อหลวงพ่อเพลินถึงแก่มรณภาพ (หลวงพ่อเพลินมรณภาพเมื่อวันที่  ๘  ตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๔๐  และได้ทำพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันอาทิตย์ที่  ๙  มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๔๑) คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งท่านให้เป็นเจ้าอาวาสวัดใหม่เจริญผล เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึง วันที่  ๑๒  พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔ ท่านก็ได้มรณภาพ
 
ผลงานของพระครูกาญจนวิสุทธิ์
๑. ในด้านการก่อสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุทุกอย่างของวัด ได้แก่ ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ ฌาปนสถาน ประตูและรั้ววัด เป็นต้น ยกเว้น ลานธรรม และศาลาประดิษฐานรูปหล่อพระครูกาญจนวิสุทธิ์ ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยที่ พระมหาเมธีเป็นเจ้าอาวาส
๒. ด้านการศึกษา
๒.๑  อุปถัมภ์การจัดตั้งโรงเรียนวัดใหม่เจริญผล (โรงเรียนประถมศึกษา)
๒.๒ อุปถัมภ์การจัดตั้งโรงเรียนท่าเรือพิทยาคม (โรงเรียนมัธยมศึกษา) โดยอนุญาตให้ใช้
          ที่ดินของวัดในการก่อสร้าง
๒.๓ สร้างอาคารโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
๒.๔ สร้างศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์เก้าพัฒนา หมูบ้านเก้าหลัง    ตำบลตะคร้ำเอน
๒.๕ สมทบสร้างห้องสมุดประชาชนอำเภอท่ามะกา และอนุญาตให้ที่ดินขิงวัด
๒.๖ อนุญาตให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนใช้สถานที่ของวัดเป็นสถานที่จัดการเรียนการ
          สอน
๒.๗ สนับสนุนโครงการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนกาญจนาภิเษกอนุสรณ์
๒.๘ จัดตั้งสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
๒.๙ จัดส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาภาษาบาลีที่กรุงเทพมหานคร
 
วัดใหม่เจริญผลในปัจจุบัน
สถานภาพของวัดในปัจจุบัน
ปัจจุบันวัดใหม่เจริญผลเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น ตำบลท่าเรือ  อำเภอท่ามะกา  จังหวัดกาญจนบุรี  ถนนแสงชูโต (สายเก่า) กรุงเทพ - กาญจนบุรี ที่กิโลเมตรที่ ๙๙  จากกรุงเทพมหานคร  
 
เจ้าอาวาส
เจ้าอาวาสองค์ที่สอง คือ พระมหาเมธี  อินฺทโชโต ( ป.ธ. ๙ )  ซึ่งเป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของพระครูกาญจนวิสุทธิ์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ วันที่ ๑๔  ตุลาคม  ๒๕๔๐  หลังจากที่หลวงพ่อเพลิน (เจ้าอาวาสองค์เก่า) มรณภาพแล้ว  ท่านทำหน้าที่สีบสานงานต่อมาจนถึงแก่มรณภาพในวันที่  ๑๒  พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
 
สถิติประชากรในวัด

พ.ศ. พระภิกษุ/รูป สามเณร เด็กวัด แม่ครัว รวม
พ.ศ. ๒๕๔๗ ๒๐ - ๒๖
 
 
ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ วัดใหม่เจริญผลมีจำนวนพระภิกษุสามเณร เด็กวัด และแม่ครัว ดังนี้
                                   จำนวน                   รูป (รวมทั้งเจ้าอาวาส)
                  เด็กวัด          จำนวน                   ตน
                  แม่ครัว        จำนวน                   คน
                                           รวม                      รูป / คน
 
อาณาเขตของวัด
วัดใหม่เจริญผลในปัจจุบันมีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ                  ติดถนนเข้าสุสานตระกูลล้อ
ทิศไต้                     ติดหมู่บ้านครก  ,  บ้านตลาดใหม่ ต.ท่ามะกา
ทิศตะวันออก             ติดถนนแสงชูโต สายใน  กรุงเทพ ฯ - กาญจนบุรี
ทิศตะวันตก              ติดโรงเรียนท่าเรือพิทยาคม (พื้นที่โรงเรียนยังเป็นกรรมสิทธิ์ของวัด) 
และแม่น้ำแม่กลอง
 
ศาสนสถานในวัดใหม่เจริญผล
 
สิ่งก่อสร้างและถาวรวัตถุในวัดใหม่เจริญผลมีดังนี้
         ๑. อุโบสถ  อุโบสถของวัดในปัจจุบันเป็นอุโบสถที่บูรณะซ่อมแซมจากหลังเก่า โดยเริ่มก่อสร้าง บูรณะในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และปิดทองฝังลูกนิมิตในปี พ.ศ. ๒๕๑๓  ในอุโบสถมีพระพุทธรูป “สมเด็จพระบรมครู สัมมาสัมโพธิญาณ” เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตัก ๓๙ นิ้ว สูง ๖๙  นิ้ว อุโบสถหลังนี้เป็น เป็นอุโบสถ  ๒  ชั้น มีชั้นไต้ดิน ๑ ชั้น  และชั้นบนอีก ๑ ชั้น  แต่ชั้นไต้ดินยังสร้างไม่เสร็จจึงปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบันใช้ประโยชน์เฉพาะอุโบสถชั้นบนเท่านั้น
         ๒. กุฏิสงฆ์ขนาดเล็กจำนวน ๔ หลัง ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร  สร้างไว้ ๔ มุมของอุโบสถ อยู่ในเขตกำแพงอุโบสถ เป็นกุฏิขนาดเล็ก มีห้องเดียว เป็นที่พำนักจำพรรษาของพระภิกษุ
         ๓. ลานธรรมกาญจนวิสุทธิ์  เป็นลานธรรมธรรมชาติไต้ร่มไม้ ขนาดกว้าง  ๑๘  เมตรยาว ๒๕  เมตร ปูพื้นด้วยพื้นปูนตัวหนอน  มีรั้วเหล็กดัดโดยรอบสูงประมาณ ๑ เมตร ด้านหน้าและด้านหลังมีประตูด้านละ ๒ ประตู  และด้านซ้ายขาวด้านละ  ๑  ประตู เป็นสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมของวัดในการจัดอบรมปฏิบัติธรรม จัดอบรมเข้าค่ายคุณธรรมจริยธรรม
         ๔. อาคารศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นอาคารขนาด  ๒  ชั้นชั้นล่าง  ๒  ห้อง  ชั้นบน ๒  ห้อง  สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗  ชั้นบนเป็นห้องพักของพระสงฆ์ในวัด (ปัจจุบันใช้เป็นห้องเรียน กศน.) ส่วนชั้นล่างเป็นห้องเรียนของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)
         ๕. ศาลาห้องครัว เป็นศาลาชั้นเดียว  แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนของห้องครัว ๑ ห้อง และส่วนของห้องโถง  ๑  ห้อง  ส่วนของห้องโถงทางวัดอนุญาตให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนใช้เป็นห้องเรียน  โดยมีห้องสุขา จำนวน ๑๐ ห้อง  และห้องน้ำ จำนวน ๒ ห้อง
๖. ศาลาโรงฉัน (ศาลาการเปรียญหลังใหม่)  ขนาดกว้าง.............เมตรยาว.............เมตร สูง..............เมตร เป็นศาลาขนาดใหญ่  ๒  ชั้น  ชั้นล่างเป็นสถานที่ทำภัตกิจของพระสงฆ์และเป็นที่ประกอบพิธีกรรมในวันธรรมสวนะ (หรือธัมมัสสวนะ)    และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นล่างมีห้องน้ำจำนวน ๒ ห้อง ห้องสุขาจำนวน ๓ ห้อง ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่พักของผู้มาเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม “ค่ายพุทธบุตร” หรือค่ายปฏิบัติธรรม มีห้องน้ำและห้องสุขารวม จำนวน ๑ ห้อง
         ๗. กุฏิเจ้าอาวาสองค์เก่า (พระครูกาญจนวิสุทธิ์)  เป็นกุฏิ ๒ ชั้น  สร้างถวายโดย คุณแก้ว และคุณระเบียบ  พึงประสบ  เป็นกุฏิที่พำนักของสงฆ์ในวัด (แต่ปัจจุบันนี้กำลังทุบเพื่อสร้างเป็นห้องประชุมขยายเพิ่มเติมไว้รองรับการรับผู้เข้ามาอบรม
         ๘. ศาลาที่พักของพระสงฆ์ในวัด  เป็นศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ ๒ ชั้น  ชั้นบนเป็นที่พักของพระสงฆ์ มีจำนวน  ๑๒  ห้อง  ชั้นล่างเป็นที่พักของเด็กวัดและที่พำนักสงฆ์ จำนวน๑๒ ห้อง  ส่วนห้องโถงตรงกลางของชั้นล่าง ใช้เป็นที่อบรมคุณธรรมจริยธรรม ทำกิจวัตรสำหรับผู้มาอบรม ในกรณีที่ใช้ลานธรรมไม่ได้ เช่น ฝนตก เป็นต้น
๙. กุฏิร่วมใจสามัคคี เป็นกุฏิสำนักงานเจ้าอาวาส  ขนาด ๒ ชั้น  ชั้นล่าง แบ่งเป็น  ๒ห้อง  และชั้นบนแบ่งเป็น  ๔  ห้อง
         ๑๐. กุฏิคุณโยมยิ้น   ตั้งสากล  เป็นกุฏิที่สร้างถวายโดย คุณโยมยิ้น  ตั้งสากล  เป็นกุฏิชั้นเดียวห้องเดียว พร้อมห้องน้ำ ๑ ห้อง
         ๑๑. กุฏิคุณระเบียบ  พึงประสบ  เป็นกุฏิห้องเดียวชั้นเดียว มีห้องน้ำในตัว พร้อมติดตั้งแอร์ มีขนาดและแบบเดียวกันกับกุฏิโยมยิ้น  เป็นกุฏิสำหรับรับรองพระอาคันตุกะ
๑๒. กุฏิรับรองสงฆ์     เป็นกุฏิขนาดชั้นเดียว ห้องเดียว พร้อมแอร์    สร้างถวายโดย     นายยัง  รงค์ฤทธิไกร และนายซิ้นฝัด  เซี่ยงหยุง เป็นกุฏิขนาดและแบบเดียวกับกุฏิคุณระเบียบ เป็นกุฏิรับรองพระสงฆ์หลังที่สอง
         ๑๓. ศาลาสว่างอนุสรณ์  สร้างถวายโดย คุณแม่สว่าง  โกมลโชติ เป็นกุฏิขนาดชั้นเดียว ห้องเดียว พร้อมห้องน้ำ เป็นกุฏิขนาดและแบบเดียวกันกับกุฏิรับรองสงฆ์
         ๑๔. กุฏิแดง  เป็นกุฏิไม้  ๒  ชั้นทาสีแดงทั้งหลัง ชั้นล่างเป็นห้องพัสดุ เก็บวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ถ้วย ชาม จาน หม้อ แก้ว เป็นต้น สำหรับให้ประชาชนยืมไปใช้เมื่อคราวมีงานส่วนชั้นบนเป็นที่พำนักสงฆ์มีจำนวน  ๒  ห้อง  
         ๑๕. กุฏิทรงไทย  เป็นกุฏิไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูงประมาณ  ๒  เมตรจากพื้น เป็นกุฏิที่พักสงฆ์ที่เก่าแก่ที่สุดในวัด มีจำนวนห้องเดียว
๑๖. หอระฆัง  เป็นหอระฆังขนาด  ๒  ชั้น  สร้างด้วยปูน
๑๗. ศาลาประดิษฐานรูปหล่อพระครูกาญจนวิสุทธิ์ (พลวงพ่อเพลิน  ปริสุทฺโธ)   ขนาดหน้าตัก  ๒๔  นิ้ว ปูพื้นหินอ่อน สร้างไว้เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน
         ๑๘. ศาลาประดิษฐานรูปหล่อพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ)  เป็นศาลาปูพื้นหินอ่อน รูปแบบเดียวกับศาลาประดิษฐานรูปหล่อพระครูกาญจนวิสุทธิ์  สร้างถวายโดย คุณเด่น  คุณบุญเพิ่ม   ชลธีกุล  รูปหล่อขนาดหน้าตัก  ๒๘  นิ้ว
๑๙. ห้องน้ำห้องสุขา  อยู่ข้างๆ กุฏิแดง มีห้องน้ำ ๒ ห้อง และห้องสุขา ๔ ห้อง
๒๐. ฌาปนสถาน (เมรุ)  เป็นสถานที่ในการประกอบการฌาปนกิจศพ (เผาศพ)  ปูพื้นด้วยหินอ่อน
         ๒๑. ศาลาศิรินาคราชอุทิศ  เป็นศาลาที่พักศพรอการประกอบพิธีฌาปนกิจ  สร้างโดยตระกูลนาคราช
         ๒๒. ศาลากาญจนวิสุทธิ์  เป็นศาลาที่สร้างเมื่อประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพ พระครูกาญจนวิสุทธิ์ (หลวงพ่อเพลิน  ปริสุทฺโธ)  เป็นศาลาหลังโปร่ง ปูด้วยกระเบื้องหินอ่อน ขนาด  ๑๘ เสา
         ๒๓. เจดีย์ขนาดใหญ่สีขาว  ขนาดฐาน  ๑๐  เมตร  สูง  ๑๕  เมตร  อยู่ด้านหลังศาลาสว่างอนุสรณ์  เป็นเจดีย์บรรจุกระดูกตระกูลที่เสียสละที่ดินเพื่อสร้างวัด ได้แก่  มัธยมจันทร์ ,  พึงประสพ , เจริญพานิช , นาคราช , โกมลโชติ , สุขอร่าม , และเปรื่องกาญจน์
 
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
 
                 พระอธิการธีรพงษ์   ฐานุตตโร   ท่านอุปสมบท เมื่อวันที่  ๑๕  มิถุนายน  พุทธศักราช  ๒๕๒๓ ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วันที่  ๑๓  ตุลาคม  พุทธศักราช  ๒๕๔๕  ท่านได้ทำการบูรณ ศาลาและพระอุโบสถเป็นจำนวนเงิน  ๑,๗๐๐,๐๐๐ บาท  ท่านสร้างศาลาปฏิบัติธรรม  ๑  หลัง เป็นจำนวนเงิน  ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท เทพื้นคอนกรีต เป็นจำนวนเงิน  ๒๐๐,๐๐๐ บาท    
             
ด้านการศึกษา   
๑  ท่านได้ส่งพระไปสอนในโรงเรียน ๕  แห่ง   
                 ๒  จัดอบรมเยาวชน “ค่ายพุทธบุตร “
                 ๓  จัดปฏิบัติธรรมทุกวันพระและวันอาทิตย์
                 ๔  จัดโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
         ๕  จัดสอนธรรมศึกษา ตรี โท เอก
         ๖  จัดบวชเทิดพระเกียรติ ๑๒ สิงหาคม  และ ๕ ธันวาคม
         ๗  อุปถัมภ์ โรงเรียนท่าเรือพิทยาคม  โรงเรียนวัดใหม่เจริญผล  โรงเรียนเด็กก่อนเกณฑ์ ๙หลัง
 

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูกาญจนธีรวงศ์ ฐานุตฺตโร

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระมหามานะ สีลเตโช

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระนิมิตร สนฺตมโน

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

พระสมชาย สิกฺขาสโภ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระพุทธิธรณ์ อริยเมธี

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

พระถนัด วฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระสมชาย ปโยโค

ข้อมูลเมื่อ : 05-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระจิรศักดิ์ ชาโนทโย

ข้อมูลเมื่อ : 05-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระณรงค์ รวิวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 05-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

พระณัฐพล ผาสุโก

ข้อมูลเมื่อ : 05-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ประจำปี ๒๕๖๕

ข้อมูลเมื่อ : 23-03-2565

เปิดดู 2864 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ทำบุญวันอาสาฬหบ...

วันที่จัดงาน : 13-07-2565

เปิดดู 86 ครั้ง

ถวายเทียนพรรษาแ...

วันที่จัดงาน : 12-07-2565

เปิดดู 92 ครั้ง

กิจกรรมเวียนเที...

วันที่จัดงาน : 15-02-2565

เปิดดู 182 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

อุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 10-03-2565

เปิดดู 187 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด