เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8344 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8859 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7192 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

เทศกาลงานบุญประเพณี

กิจกรรมเวียนเทียนวันมาฆบูชา

“วันมาฆบูชา” เป็นวันที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนา 2 ประการคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมโอวาทปาฏิโมกข์ และพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร โดยตรัสขณะแสดงธรรมว่า “ต่อไปนี้อีก 3 เดือน เราจักเสด็จดับขันธปรินิพพาน” หลังจากทรงสั่งสอนพระธรรมมาเป็นเวลา 45 ปี
            ความหมายของคำว่า “มาฆบูชา” ย่อมาจากคำว่า “มาฆปุรณมีบูชา”แปลว่า การบูชาพระในวันเพ็ญเดือน 3 เหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญเดือน 3 ปีนั้นเกิดเหตุอัศจรรย์ 4 อย่าง เรียกว่า “จาตุรงคสันนิบาต” มีความหมายดังนี้
     จาตุร แปลว่า 4 องค์ แปลว่า ส่วน 
       สันนิบาต แปลว่า ประชุม
ความสำคัญของ “จาตุรงคสันนิบาต” ในวันมาฆบูชา
            1. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ ซึ่งพระสงฆ์เหล่านี้ต่างแยกย้ายไปจาริกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสถานที่ต่างๆ 
            2. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูปเหล่านี้ ล้วนเป็นพระอรหันต์ทุกรูปโดยได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง เรียกว่าวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา 
            3. พระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ต่างมาประชุมพร้อมเพรียงกันโดยมิได้มีการนัดหมาย
            4. วันที่มาประชุม ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันเพ็ญกลางเดือน 3) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเทศนา อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือโอวาทปาติโมกข์
ประวัติพิธีปฏิบัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย
            พิธีปฏิบัติ หรือพิธีกรรมวันมาฆบูชาในประเทศไทย เริ่มต้นสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพิธีพระราชกุศลนิมนต์พระสงฆ์วัดบวรนิเวศ และวัดราชประดิษฐ์ 30 รูป ฉันในพระอุโบสถวันพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำเสด็จออกทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการแล้วพระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเหมือนอย่างที่วัดแล้ว จึงได้สวดมนต์ต่อไปมีสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย สวดมนต์จบทรงจุดเทียนรายตามราวรอบพระอุโบสถ 1,250 เล่ม มีประโคมด้วยอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงได้มีเทศนาโอวาทปาติโมกข์กัณฑ์ 1 เป็นเทศนาทั้งภาษามคธและภาษาสยาม เครื่องกัณฑ์จีวรเนื้อดีผืนหนึ่ง เงิน 3 ตำลึงและขนมต่างๆ เทศน์จบพระสงฆ์ซึ่งสวดมนต์รับสัพพีทั้ง 30 รูป ถือปฏิบัติตามวิธีปักษคณนาฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

หลักธรรมสำคัญใน “วันมาฆบูชา”

            หลักธรรมสำคัญในวันมาฆบูชา คือ “โอวาทปาติโมกข์” เป็นหลักธรรมอันเป็นหลักหัวใจสำคัญในพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าแสดงธรรมให้แก่พระอรหันต์ทั้ง 1,250 รูปในวันนั้น ได้แก่ การทำความดี, ละเว้นความชั่ว และทำจิตใจให้บริสุทธิ์
กิจกรรมในวันมาฆบูชา แบ่งออกเป็น 3 อย่าง ได้แก่ พิธีหลวง พิธีราษฎร์ และพิธีสงฆ์
            1. พระราชพิธี
            สำนักพระราชวังจะมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันมาฆบูชา ออกประกาศให้ทราบโดยทั่วกันทุกปี โดยปกติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จฯ ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้วยพระองค์เอง ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่บางปีจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทน
            2. พิธีราษฎร์
            สถานศึกษา จะพานักเรียนไปประกอบพิธีในวัด ด้วยการนัดหมายให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย นำเครื่องสักการะไปเวียนเทียนในช่วงบ่ายหรือเย็น ส่วนประชาชนนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปเวียนเทียนกันที่วัดในช่วงเย็น หรือช่วงค่ำ หลังจากฟังโอวาทเสร็จแล้วจะร่วมกันเดินเวียนเทียนรอบโบสถ์
            3. พิธีสงฆ์
            พระสงค์จะเป็นผู้นำประกอบพิธีต่างๆ ให้โอวาท สวดมนต์ แสดงธรรมและประวัติความเป็นมาของวันมาฆบูชา และเจริญสมาธิภาวนา
            ในวันมาฆบูชาช่วงเย็นถึงค่ำจะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ โดยเริ่มจากพระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ประชาชนทั่วไป กระทำ 3 รอบ ด้วยการเวียนทางขวาเรียกว่า เวียนแบบทักขิณาวัฏ
            รอบที่ 1 ให้รำลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า โดยภาวนาคาถา บทอิติปิโส ภควาฯ ไปจนจบ เพื่อให้จิตใจมีสมาธิ
            รอบที่ 2 ให้รำลึกถึงคุณพระธรรม โดยภาวนาคาถา บทสวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมฯ ไปจนจบ
            รอบที่ 3 ให้รำลึกถึงคุณพระสงฆ์ โดยภาวนาคาถา บทสุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆฯ ไปจนจบ

วันที่จัดงาน : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 - 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

โดย : ใหม่เจริญผล

ที่อยู่ : ต.ท่าเรือ อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี

จำนวนเข้าดู : 155

ปรับปรุงล่าสุด : 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 20:44:38

ข้อมูลเมื่อ : 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 20:44:38

 
 
 
 

เทศกาลงานบุญประเพณี 10 อันดับ

ประเพณีสารทลาว

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู : 5519

งานปริวาสกรรม

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู : 2494

ปฏิบัติธรรมในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2565

ข้อมูลเมื่อ : 06-01-2565

เปิดดู : 2260

งานประเพณีทำบุญอัฐิรวมญาติ ประจำปี 2565

ข้อมูลเมื่อ : 18-04-2565

เปิดดู : 1938

งานประเพณีทิ้งกระจาดให้ทาน

ข้อมูลเมื่อ : 17-10-2564

เปิดดู : 1475

กำหนดการงานวัดท่าขนุน พ.ศ. ๒๕๖๖

ข้อมูลเมื่อ : 25-02-2566

เปิดดู : 1294

ยกช่อฟ้าอุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู : 1043

เทศกาลงานประจำปี 2567

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2566

เปิดดู : 985