ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดหนองหลวง
รหัสวัด
02721001001
ชื่อวัด
วัดหนองหลวง
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2401
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 25 เดือน ธันวาคม ปี 2525
ที่อยู่
วัดหนองหลวง
เลขที่
6/1
หมู่ที่
5
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
หนองหญ้าไซ
เขต / อำเภอ
หนองหญ้าไซ
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72240
เนื้อที่
36 ไร่ - งาน - ตารางวา
มือถือ
081-858-3387
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 5701
ปรับปรุงล่าสุด : 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 14:37:05
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 14:22:54
ประวัติความเป็นมา
วัดหนองหลวงเดิมตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี
เหตุที่เป็นอย่างนี้ เนื่องจากการแบ่งหมู่บ้านยึดถือเขตคลองธรรมชาติเป็นเกณฑ์ คลองนี้เป็นทางนำ้ซึ่งไหล มาจากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของคลองแบ่งเป็น เขตของหมู่ที่ 2 คือหมู่บ้านหนองหลวง วัดหนองหลวงสมัยนั้นก็ตั้งอยู่เหนือคลอง จึงเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตปกครองของหมู่ที่ 2 มาปัจจุบันคลองเปลี่ยนทิศทางเดินของนำ้ขณะนี้วัดหนองหลวงตั้งอยู่ทางทิศใต้ของคลอง จึงถือว่าอยู่ในเขตการปกครองของหมู่ที่ 5 ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านหนองหญ้าไซ วัดหนองหลวงจึงเปลี่ยน จากการอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 มาเป็นอยู่ในหมู่ที่ 5 เจดีย์ดงวัดนอกวัดนี้ปัจจุบันมีเจดีย์ 1 องค์ แต่ผู้เชี่ยวชาญของ กรมศิลปากรวิเคราะห์ว่าเป็น “ปราง” สร้าง เมื่อปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ผู้อาวุโสเล่าว่า สร้างมานานไล่เลี่ยกับวัดหนองหลวงทีเดียว ทำเลที่ตั้งวัดนอกจึงไม่เหมาะเนื่องด้วยความ กันดารไม่มีลำนำ้ไหลผ่านเช่นวัดหนองหลวง จึงไม่มีพระภิกษุรูปใดไปอยู่ประจำและกลายเป็นวัดร้างในที่สุด สมัยก่อนวัดนอกเป็น ป่าดงรกชัฏมาก จะมีงูตัวใหญ่อาศัยอยู่ รวมทั้งมีเสือคอยจับกินสัตย์เลี้ยงของชาวบ้าน ในยามคำ่คืนเป็นอาหาร ไม่มีใครอยากย่าง กรายเข้ามาใกล้ดงวัดนอกยามคำ่คืนเพราะ เกรงจะไม่ปลอดภัย ปัจจุบันที่ตรงเจดีย์วัดนอก กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการได้ขึ้น ทะเบียนเป็นวัดร้างไว้ ซึ่งมีเนื้อที่ดินจำนวน 5 ไร่เศษ ขณะนี้ประชาชนได้อาศัยสถานที่แห่งนี้ เป็นลานตากพืชของเกษตรกร ซึ่งก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมาก วิหาร มีพระรูปหนึ่งชื่อว่าหลวงพ่อเกตุประทุม เป็นประธานดำเนินการซ่อมแซมบูรณะกำแพงวิหาร และ ก่อสร้างหลังคาวิหารนี้ด้วย โดยเฉพาะ กำแพงจะใช้ไม้รกฟ้าผ่า โดยอาศัยขี้เถ้าไม้รกฟ้า ซึ่งออกสีขาวนวลมาฉาบทาแทนปูนขาวโดย ตลอดมีความเฉลียวฉลาดสามารถนำวัสดุอุโบสถ เป็นถาวรวัตถุสำคัญยิ่งในทาง พระพุทธศาสนา วัดทุกวัดจะต้องมีโบสถ์เป็นสัญลักษณ์สำคัญ ด้วยกาลเวลาอันยาวนาน วัดหนองหลวงจึงมีอุโบสถประจำวัด เช่นกัน อุโบสถวัดหนองหลวงปัจจุบันมี 2 หลัง อุโบสถ หลังแรก ขนาดกว้าง 3 วา 2 ศอก ยาว 5 วา 3 ศอก 1 คืบ สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง สร้างเมื่อ ประมาณ พ.ศ.2423 พระพุทธรูปสร้างโดยการ ปั้นด้วยปูนซีเมนต์ หลวงพ่อธูปเป็นผู้สร้าง ฝัง ลูกนิมิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๕ คงสงสัยว่าทำไม อุโบสถจึงสร้างได้เร็วนัก การสร้างอุโบสถหลัง นี้สร้างด้วยไม้ ไม้สมัยนั้นมีมากมายและมีอยู่ ใกล้กับวัด จึงสะดวกทุกอย่าง การสร้างอุโบสถ ด้วยไม้จึงสำเร็จได้ในเวลาอันรวดเร็วได้ ศาลตาเจ้าวัด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัดใกล้ๆกับวิหาร ศาลนี้ มีมานานเป็ นของคู่ประจำวัดหนองหลวง ซึ่ง ก่อนนั้นปลูกเป็นศาลเล็กๆ ครั้นหลวงพ่อพระครูศรีกัลยาณคุณเจ้าอาวาสได้ทำการปรับปรุง ก่อสร้างใหม่ให้มีขนาดใหญ่ดูเหมาะสมมีความเรียบร้อยขึ้นมาก วัดหนองหลวงเป็นวัดที่มีอดีตอันยาวนาน อดีตหลวงพ่อ อาจารย์ ผู้รักษาการที่เคยประจำอยู่ ณ อารามแห่งนี้ มี จำนวนไม่น้อยเลย ผู้รวบรวมคิดว่าการสืบเสาะ สัมภาษณ์ ผู้อาวุโสเกี่ยวกับรายชื่อเจ้าอาวาสในอดีตคงจะได้รายชื่อท่านไม่ครบทุกองค์ แต่มีความรู้สึกอบอุ่นใจได้ว่า ได้มีศาลตาเจ้าวัดเป็นศูนย์รวมของอดีตพระคุณเจ้าที่เคยมีพระคุณ ต่ออารามแห่งนี้ไว้เป็นสถานที่สักการะรำลึกถึง เทศกาลเข้าพรรษาในวันพฤหัสบดีแรกของ เดือนได้กำหนดเป็นวันทำบุญ “ศาลตาเจ้าวัด ” ขึ้นทุกปีนับตั้งแต่พระครูศรีกัลยาณคุณ เป็นเจ้าอาวาสได้จัดงานประจำปีโดยตลอดมานับเป็น วันกตัญญูกตเวทิตาของชาวพุทธที่มีต่อ ผู้มีพระคุณต่อวัดหนองหลวงโดยแท้ ผู้ที่มาร่วมทำบุญวันนั้นถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมที่ดีของสังคม สระน้ำสระนำ้วัดหนองหลวง มีมานานเป็นสระคู่วัดเลยทีเดียว สมัยก่อนนั้นใช้ แรงงานคนขุดคงต้องใช้ เวลาไม่น้อยเลย ท่านเล่าว่า เมื่อมีวัดก็เห็นมีสระนำ้แห่งนี้ด้วยแล้ว จึงไม่ทราบว่าผู้ใดขุดสระและ ขุดสมัยใด สันนิฐานว่า คงขุดต่อกันมาเรื่อยๆ ภายหลังเมื่อมีเครื่องจักรกลก็ใช้เครื่องจักรกล ช่วยขยายให้กว้างและลึกด้วย เพื่อประโยชน์ของชุมชนทีมีความหนาแน่นของประชากรมากขึ้น *************
ทำเนียบเจ้าอาวาส
๑.หลวงพ่อจอน
๒.หลวงพ่ออ่วม
๓.หลวงพ่อไสว
๔.หลวงพ่อถึก
๕.หลวงพ่อลอย
๖.หลวงพ่อมะลิ
๗.พระอธิการยวง อภิสฺสมาจาโร พ.ศ.๒๔๘๐ - ๒๔๙๓
๘.พระอธิการฉิ่ง จันทร์นำ้เงิน พ.ศ.๒๔๙๔ - ๒๕๐๑
๙.พระสมุห์นิคม ภมรพล พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๐๘
๑๐.พระอธิการเทียบ อานนฺโท พ.ศ.๒๕๐๙ - ๒๕๑๔
๑๑.พระมหาเผื่อน สุมนติสุโส พ.ศ.๒๕๑๗ - ๒๕๒๑
๑๒.พระครูศรีกัลยาณคุณ (ป.ธ.๖) พ.ศ.๒๕๒๓ - ๒๕๖๐
๑๓.พระครูกิตติวีรานุวัฒน์ พ.ศ.๒๕๖๑ - ปัจจุบัน
เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : ใบวิสุคามสีมา (243.49 kb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : โฉนดที่ดินวัด (307.49 kb)
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูกิตติวีรานุวัฒน์ ธมฺมวุฑโฒ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565
ปรับปรุงล่าสุด : 27-02-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
ขอเชิญร่วมบุญประเพณีสงกรานต์ ในวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕
ข้อมูลเมื่อ : 11-03-2565
เปิดดู 914 ครั้ง
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
สวดมนต์ปฏิบัติธรรม
ข้อมูลเมื่อ : 17-11-2565
ถือศีลสวดมนต์ข้ามปี
ข้อมูลเมื่อ : 11-02-2565
ทรัพย์สินของวัด
โฉนดที่ดินวัด
ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565
ใบวิสุงคามสีมา
ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
โครงการวัดสีขาว
ข้อมูลเมื่อ : 17-11-2565
โครงการช่วยเหลือชาวบ้านที่ขาดแคลน
ข้อมูลเมื่อ : 25-07-2565
กิจกรรมเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
ข้อมูลเมื่อ : 29-03-2565
กิจกรรม"ปันสุขช่วยชาวบ้านหนองหญ้าไซ
ข้อมูลเมื่อ : 22-02-2565
โครงการกิจกรรม ธนาคารน้ำใต้ดิน
ข้อมูลเมื่อ : 22-02-2565
โครงการเยาวชนคนดีศรีสุพรรณ
ข้อมูลเมื่อ : 08-02-2565