เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8339 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8854 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7188 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

เทศกาลงานบุญประเพณี

งานประเพณีตำข้าวเม่า

: งานประเพณีตำข้าวเม่าชุมชนวัดจำปา ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
ช่วงข้าวออกรวงใกล้เก็บเกี่ยว วิถีชุมชนบ้านวัดจำปาจะมีประเพณีตำข้าวเม่า ข้าวที่จะมาทำข้าวเม่าได้ ต้องไม่อ่อน ไม่แก่เกินไป (ชาวบ้านเรียกว่า “ข้าวพอเม่า”) นำมาคั่วด้วยไฟอ่อนๆ แล้วเทใส่กระด้งให้เย็นพอประมาณ ก่อนนำไปตำด้วยครก ช่วงที่ตำใหม่ๆ ข้าวเม่าจะอ่อน นิ่ม หอมกลิ่นข้าวใหม่ กินแบบดิบๆ หรือจะคลุกกินกับกล้วยสุกเฉยๆ ก็อร่อยไม่แพ้กัน แต่ถ้าจะให้อร่อยเหาะขึ้นไปอีก ก็คลุกน้ำตาลทราย เกลือนิดหน่อย พร้อมกับขูดมะพร้าวคลุกเคล้าลงไป ยิ่งอร่อยหวานมันขึ้นไปอีก
 ประเพณีการตำข้าวเม่า เป็นประเพณีที่มาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว มีทั้งการร้องรำ แข่งขันการตำข้าวเม่าอย่างสนุกสนานรื่นเริงเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา ก็ประมาณช่วง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้านั่นเอง หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า ข้าวเม่าเป็นอาหารหวานอย่างหนึ่งของชาวไทยที่ประกอบอาชีพทำนา ชาวนารู้จักทำข้าวเม่ากันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ โดยใช้เมล็ดข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวที่มีรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ นำมาคั่ว ตำ แล้วนำไปรับประทานได้เลย ถ้าทำสุกใหม่ ๆ ก็จะนิ่ม หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้าด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ รับประทานแทนขนมหวาน แต่ในปัจจุบัน การตำข้าวเม่ากำลังจะสูญหายไปจากชาวนาไทย เนื่องจากสังคมเกษตรกรรมกำลังเปลี่ยนแปลงไป แต่ในบางท้องถิ่นก็ยังคงมีประเพณีตำข้าวเม่า เนื่องจากสภาพชีวิตของชุมชนยังมีความผูกพันอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ การตำข้าวเม่าเป็นประเพณีหนึ่งซึ่งนอกจากจะนำความสนุกสนานรื่นเริงมาสู่ชาวบ้านแล้วยังทำให้ได้กินของอร่อย และสามารถตากแห้งเก็บไว้กินได้ตลอด ทั้งปีในสมัยก่อนนั้น การตำข้าวเม่ามักจะทำในเวลากลางคืน จะเป็นคืนเดือนมืดหรือคืนเดือนหงายก็ได้แล้วแต่สะดวก ในระหว่างคั่วข้าวเม่าบนเตาไฟจะมีประเพณีการเล่นของหนุ่มสาวโดยนำเอามะพร้าวทึนทึกขว้างไปที่เตาไฟทำให้ภาชนะที่ใช้คั่วข้าวเม่าแตกกระจายหรือบุบบู้บี้ จะทำให้บรรยากาศสนุกสนาน คนขว้างที่แอบอยู่ในมุมมืดจะวิ่งหนี ผู้ที่กำลังทำข้าวเม่าก็จะช่วยกันวิ่งไล่จับเอาตัวมาทำโทษ โดยเอาดินหม้อทาหน้า หลังจากนั้นก็จะช่วยกันตำข้าวเม่าโดยใช้ครกไม้ตำข้าวเปลือกและสากไม้มาช่วยกันตำให้เป็นข้าวเม่าในแต่ละจังหวัดและแต่ละท้องถิ่นในประเทศไทย มีประเพณีตำข้าวเม่ามานานแล้ว ซึ่งแต่ละท้องถิ่นได้ฟื้นฟูวัฒนธรรมการทำข้าวเม่าไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้สืบทอด และระลึกถึงวัฒนธรรมที่มีค่ามาแต่โบราณ และถือว่าจะต้องปฏิบัติสืบต่อไปทุกปี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวนารุ่นใหม่ได้เรียนรู้และสืบทอดประเพณีการตำข้าวเม่า และเผยแพร่ออกไปให้กว้างขวาง เป็นการเสริมสร้างความสามัคคีของคนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้อนุชนรุ่นหลังช่วยกันอนุรักษ์ประเพณีการตำข้าวเม่า
 ในสมัยก่อนชาวบ้าน จะมาพร้อมกันที่ลานตากข้าว หลังจากนั้นจะมีการสาธิตการตำข้าวเม่า และมีกิจกรรมต่าง ๆเพื่อความสนุกสนานในงาน เช่น การขูดมะพร้าว การตำข้าวเม่า การกินข้าวเม่า พิธีกรรมการตำข้าวเม่าในสมัยก่อนนั้น ส่วนใหญ่การตำข้าวเม่ามักจะเป็นกิจกรรมของผู้หญิง เวลาที่ลูกสาวบ้านใดตำข้าวเม่าก็มักจะมีหนุ่มในละแวกหมู่บ้านที่เป็นเพื่อนหรือเป็นแฟนมาช่วยตำบ้าง คั่ว-ตำ-ฝัดกันไป ขบเคี้ยวกินเล่นพลางพูดจาหยอกล้อกันบ้าง เกี้ยวพาราสีกันตามประสาหนุ่มสาว แต่ทั้งนี้ก็อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ที่นั่งดูนั่งฟังอยู่บนบ้านหรือชานเรือน บางทีท่านเหล่านั้นก็ลงมานั่งพูดนั่งคุยแบบเป็นกันเองที่บริเวณลานบ้านที่ตำข้าวเม่านั้นด้วย ในปัจจุบันยังมีการจัดกิจกรรมตำข้าวเม่า โดยแต่ละท้องถิ่นก็จะกำหนดการพิธีตำข้าวเม่าของท้องถิ่นตนเอง เพื่อความสะดวกและตามหลักที่สืบต่อกันมา

 

วันที่จัดงาน : 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2566

โดย : วัดจำปา

ที่อยู่ : ต.บ้านโข้ง อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 72

ปรับปรุงล่าสุด : 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 06:00:43

ข้อมูลเมื่อ : 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 05:55:58

 
 
 
 

เทศกาลงานบุญประเพณี 10 อันดับ

ประเพณีสารทลาว

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู : 5524

งานปริวาสกรรม

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู : 2501

ปฏิบัติธรรมในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2565

ข้อมูลเมื่อ : 06-01-2565

เปิดดู : 2262

งานประเพณีทำบุญอัฐิรวมญาติ ประจำปี 2565

ข้อมูลเมื่อ : 18-04-2565

เปิดดู : 1940

งานประเพณีทิ้งกระจาดให้ทาน

ข้อมูลเมื่อ : 17-10-2564

เปิดดู : 1478

กำหนดการงานวัดท่าขนุน พ.ศ. ๒๕๖๖

ข้อมูลเมื่อ : 25-02-2566

เปิดดู : 1302

ยกช่อฟ้าอุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู : 1047

เทศกาลงานประจำปี 2567

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2566

เปิดดู : 1002