เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

เทศกาลงานบุญประเพณี

เทศกาลงานบุญประเพณี วันสงกรานต์ ๑๓

วันสงกรานต์ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๖ ณ วัดวังสำเภาล่ม พระครูอุดมรัตน์วัฒน์ และพระสงฆ์ ชาวบ้านวังสำเภาล่ม ได้มาร่วมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์ ร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ และทำบุญ ซื้อ ทราย ถวายวัด เพื่อนำไปบูรณะอุโบสถวัดวังสำเภาล่ม ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก
อวยพรให้ท่านและครอบครัว มีความสุขความเจริญ ด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ สุขภาพร่างกายแข็งแรง โรคภัยจงอย่าได้แผ้วพาน ขอให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความร่มเย็น ร่ำรวยเงินทองทรัพย์สิน สูงส่งด้วยบารมี พรใดล้ำ พรใดเลิศ พรใดประเสริฐ ขอจงบังเกิดแก่ท่าน และครอบครัวตลอดสงกรานต์ ปี ๒๕๖๖
ประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันสงกรานต์
วันสงกรานต์ หรือ วันมหาสงกรานต์ เป็นวันที่ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลีของประเทศอินเดีย แต่วันสงกรานต์ของไทยเปลี่ยนจากการสาดสี เป็นการสาดน้ำใส่กัน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายน และในอีกแง่หนึ่งยังมีความเชื่อว่าเป็นการปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป ทำให้นิยมเล่นสาดน้ำ และประแป้งกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยจะไม่ถือโทษโกรธกัน
คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤต ที่มีความหมายว่า "การเคลื่อนย้าย" โดยเชื่อว่าในวันสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาการเคลื่อนย้ายของจักรราศี อีกนัยหนึ่งก็คือการเคลื่อนสู่ปีใหม่ ทำให้คนไทยยึดถือวันสงกรานต์เป็น "วันขึ้นปีใหม่ไทย" มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่ง พ.ศ. 2483 ก่อนจะปรับเปลี่ยนให้เป็นไปตามแบบแผนสากลนิยม ซึ่งก็คือวันที่ 1 มกราคมของทุกปี
ทั้งนี้ การละเล่นสงกรานต์ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า กัมพูชา ลาว รวมถึงบางพื้นที่ของเวียดนาม จีน ศรีลังกา และอินเดีย
เรื่องเล่า "ตำนานนางสงกรานต์"
สำหรับประวัติวันสงกรานต์ หรือกำเนิดวันสงกรานต์ มักมีเรื่องเล่าที่เชื่อมโยงถึง "ตำนานนางสงกรานต์" โดยอ้างอิงตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ
ตำนานเล่าว่า มีเศรษฐีฐานะร่ำรวยคนหนึ่ง ไม่มีบุตร จึงไปบวงสรวงขอบุตรกับพระอาทิตย์ และพระจันทร์ แต่รอหลายปีก็ไม่มีบุตรสักที จนกระทั่งถึงฤดูร้อนปีหนึ่ง เศรษฐีได้นำข้าวสารซาวน้ำ 7 สี หุงบูชารุกขพระไทร พร้อมเครื่องถวาย และการประโคมดนตรี โดยได้ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร พระไทรได้ฟังก็เห็นใจ จึงไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้เศรษฐี ต่อมาเศรษฐีได้บุตรชาย และตั้งชื่อว่า "ธรรมบาลกุมาร"
ธรรมบาลกุมารเป็นคนฉลาดหลักแหลม จนมีชื่อเสียงร่ำลือไปไกล ทำให้ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาท้าทายปัญญา โดยได้ถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร ให้เวลา 7 วัน หากฝ่ายใดแพ้จะต้องตัดศีรษะบูชา ท้ายที่สุดธรรมบาลกุมารสามารถตอบปัญหาได้ ท้าวกบิลพรหมจึงต้องเป็นฝ่ายตัดศีรษะ แต่หากศีรษะนี้ตกลงพื้นโลก จะเกิดเพลิงไหม้โลก
 
ท้าวกบิลพรหมจึงสั่งให้บาทบาจาริกาของพระอินทร์ทั้ง 7 นาง สลับหน้าที่หมุนเวียนทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียร หรือศีรษะของตนแห่รอบเขาพระสุเมรุ ปีละ 1 ครั้ง ซึ่งตรงกับช่วงมหาสงกรานต์ โดยนางสงกรานต์ทั้ง 7 มีชื่อ ดังนี้
1. นางทุงษะเทวี
2. นางรากษเทวี
3. นางโคราคเทวี
4. นางกิริณีเทวี
5. นางมณฑาเทวี
6. นางกิมิทาเทวี
7. นางมโหธรเทวี
คติความเชื่อ และเรื่องราวประวัติวันสงกรานต์ จึงเชื่อมโยงกับโหราศาสตร์การเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษในช่วงวันมหาสงกรานต์ โดยในแต่ละปีก็จะมีชื่อนางสงกรานต์ทั้ง 7 สลับหมุนเวียนกันนั่นเอง
นางสงกรานต์ 2566 ทรงนามว่า ‘กิมิทาเทวี’ ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา
นางสงกรานต์ 2566 ทรงนามว่า ‘กิมิทาเทวี’ ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา ทำนายน้ำฝน ข้าวพืชพรรณธัญญาหาร สมบูรณ์ดี
 
ปีเถาะ (มนุษย์ผู้หญิง ธาตุไม้) เบญจศก จุลศักราช 1385 ทางจันทรคติ เป็น อธิกมาส ทางสุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน วันที่ 14 เมษายน เป็น วันมหาสงกรานต์ ทางจันทรคติตรงกับวันศุกร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 เวลา 16 นาฬิกา 01 นาที 02 วินาที
 
นางสงกรานต์ ทรงนามว่า ‘กิมิทาเทวี’ ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จนั่งมาเหนือหลังมหิงสา (ควาย) เป็นพาหนะ
 
คำทำนาย เกี่ยวกับนางสงกรานต์ 2566
วันที่ 16 เมษายน เวลา 20 นาฬิกา 12 นาที 24 วินาที เปลี่ยนจุลศักราชใหม่เป็น 1385 ปีนี้ วันเสาร์ เป็น ธงชัย , วันพุธ เป็น อธิบดี , วันศุกร์ เป็น อุบาทว์ , วันศุกร์ เป็น โลกาวินาศ
เกณฑ์ธัญญาหาร ได้เศษ 6 ชื่อ ลาภะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ 9 ส่วน เสีย 1 ส่วน ธัญญาหาร พลาหาร มัจฉมังษาหาร จะบริบูรณ์ อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ ตกราศีปัถวี ( ดิน ) น้ำงามพอดี
ปีนี้ วันจันทร์  เป็นอธิบดีฝน  บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า  ตกในโลกมนุษย์  50  ห่า ตกในมหาสมุทร 100 ห่า  ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า  ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า นาคให้น้ำ 2 ตัว
เกณฑ์ธัญญาหาร  ได้เศษ  6  ชื่อ  ลาภะ  ข้าวกล้าในภูมินาจะได้  9  ส่วน  เสีย  1  ส่วน  ธัญญาหาร  พลาหาร  มัจฉมังษาหาร  จะบริบูรณ์  อุดมสมบูรณ์ เกณฑ์ธาราธิคุณ  ตกราศีปัถวี  ( ดิน )  น้ำงามพอดี
สงกรานต์ ปี 2566 นี้ #วัดวังสำเภาล่ม #มีบอกบุญให้ท่านร่วมเป็นเจ้าภาพหลายรายการ
    บุญ : ผ้าห่มพระพุทธและพระอรหันต์ •ผ้าสรงน้ำพระ •ถวายทรายเข้าวัด •สร้างพระไตรปิฎก •บุญทั่วไปอัฐิรวมญาติ •โรงทานผู้สูงอายุ •สบทบทุนบูรณะพระอุโบสถ ฯลฯ
    เช้าวันที่ 13-14-15 เมษายน 66 ทำบุญที่วัด
    คืนวันที่ 14 เม.ย. 66 สวดอภิธรรมอัฐิรวมญาติ
ผู้มีจิตศรัทธาติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพได้ที่ #เคาน์เตอร์กรรมการวัดฯเซอร์วิส ช่วงเวลาทำบุญเช้า หรือ ช่องทางออนไลน์ก็ได้เช่นกันค่ะ
ที่นี่ วัดวังสำเภาล่ม หมู่ที่ 1 ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี

 

วันที่จัดงาน : 13 เมษายน พ.ศ. 2566 - 13 เมษายน พ.ศ. 2566

โดย : วัดวังสำเภาล่ม

ที่อยู่ : ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 47

ปรับปรุงล่าสุด : 13 เมษายน พ.ศ. 2566 23:40:47

ข้อมูลเมื่อ : 13 เมษายน พ.ศ. 2566 22:59:16

 
 
 
 

เทศกาลงานบุญประเพณี 10 อันดับ

ประเพณีสารทลาว

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู : 5522

งานปริวาสกรรม

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู : 2494

ปฏิบัติธรรมในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2565

ข้อมูลเมื่อ : 06-01-2565

เปิดดู : 2260

งานประเพณีทำบุญอัฐิรวมญาติ ประจำปี 2565

ข้อมูลเมื่อ : 18-04-2565

เปิดดู : 1938

งานประเพณีทิ้งกระจาดให้ทาน

ข้อมูลเมื่อ : 17-10-2564

เปิดดู : 1475

กำหนดการงานวัดท่าขนุน พ.ศ. ๒๕๖๖

ข้อมูลเมื่อ : 25-02-2566

เปิดดู : 1296

ยกช่อฟ้าอุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู : 1043

เทศกาลงานประจำปี 2567

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2566

เปิดดู : 994