เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8353 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8868 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7198 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ปูชนียวัตถุสถาน

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

รายละเอียด

พระพุทธรูปปางมารวิชัย
พระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้านั้น มีปางต่างๆที่สร้างขึ้นแสดงพุทธประวัติในช่วงนั้น และมีจำนวนแตกต่างกันไปตามตำรา

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ กล่าวว่า

“ตั้งแต่สมัยทวาราวดีจนถึงสมัยอยุธยา การสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆยังมีปางอยู่ไม่มากนัก ที่นิยมมากที่สุดคือ ปางมารวิชัย รองลงมาได้แก่ ปางสมาธิ และปางอื่นๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรวบรวมและเรียบเรียงตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้น คือพระนิพนธ์พุทธประวัติเรื่อง “ปฐมโพธิกถา” แล้วทรงประดิษฐ์แบบอย่างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้นตามพุทธประวัติดังกล่าว เพื่อให้ช่างสร้างเป็นพระพุทธรูปรวม ๔๐ ปาง ซึ่งถือเป็นการกำหนดปางต่างๆของพระพุทธรูปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการกำหนดปางพระพุทธรูปเพิ่มเติมขึ้นหลายตำรา เช่น “พระพุทธรูปปางต่างๆ” ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีจำนวน ๕๕ ปาง ใน “ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ” เป็นประติมากรรมนูน สร้างด้วยทองเหลืองทาสีปิดทอง มีจำนวน ๙๐ ปาง ใน “ประวัติพระพุทธรูปปางต่างๆ” ของกรมศาสนา แต่งโดย พิทูร มลิวัลย์ มีจำนวน ๗๒ ปาง และใน “ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ” แต่งโดย พระพิมลธรรม มีจำนวน ๖๖ ปาง จากตำราเล่มหลังนี้ได้ปรากฏงานสร้างพระพุทธรูปรวม ๖๖ ปางที่พระระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม”

จากตำราปางพระพุทธรูปเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่ามี “ปางสะดุ้งมาร” เลย ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีปรากฏปางที่เกี่ยวกับมาร ๒ ปาง คือ

“ปางมารวิชัย” เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หมายถึง พระพุทธประวัติตอนตรัสรู้ มีพญามารมาผจญ พระพุทธองค์องค์ทรงเรียกแม่พระธรณีมาเป็นพยาน แม่พระธรณีได้บีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระพุทธองค์เคยทรงบำเพ็ญบารมี ออกมาไหลท่วมเหล่ามารทั้งหลายพ่ายแพ้ไป พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นปางที่พบมากที่สุดในศิลปกรรมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อู่ทอง อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์
อีกปางในตำรานี้คือ “ปางห้ามมาร” พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ แสดงอาการห้าม หลังจากที่พระพุทธโคดมทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว จึงเสด็จไปประทับที่ใต้ต้นไทร ธิดามารสามพี่น้องได้อาสาบิดามาทำลายตบะของพระพุทธองค์ ด้วยการเนรมิตร่างเป็นสตรีที่สวยงามในวัยต่างๆ ตลอดจนแสดงการรำฟ้อนขับร้อง แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงใส่พระทัย ขับไล่ธิดามารให้พ้นไป

ในพรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระยามารได้อาราธนาให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน พระพุทธโคดมทรงทำปางห้ามมาร แล้วตรัสกับพญามารว่า

“พญามาร ท่านอย่าเกรงใจเราอีกเลย ความปรินิพพานจะมีขึ้นในอีกไม่ช้า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจะดับขันธ์ปรินิพพาน”

เมื่อพระพุทธโคดมตรัสห้ามมารแล้ว พญามารกจึงตรัสให้รักษาวาจา จากนั้นก็หายตัวไป

แต่ในตำราปางพระพุทธรูปอื่นๆนั้น ยังปรากฏมีปางที่เกี่ยวกับมารปรากฏอีกปางหนึ่งคือ “ปางชี้มาร” มีอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพักตร์ ชี้นิ้วพระหัตถ์ไปข้างหน้า เป็นอาการชี้มาร กล่าวถึงที่มาว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร ใกล้นครราชคฤห์ ประจวบกับเวลานั้นพระโคธิกเถระได้บรรลุพระอรหันต์และเข้าปรินิพพาน พระองค์พร้อมกับพระภิกษุได้เสด็จไปที่กุฏิของท่าน ขณะเดียวกับที่มารผู้มีใจบาปได้เสาะแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ พระองค์จึงทรงชี้พระหัตถ์ไปที่มารแล้วตรัสว่า

“มาร เจ้าต้องการอะไรกับสถานที่เกิดของพระโคธิกะ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ไม่อาลัยในชีวิต ได้ถอนตัณหาโดยสิ้นเชิง ไม่มายังภพนี้อีก และปรินิพพานแล้ว”
ส่วน “ปางสะดุ้งมาร” ที่มีกล่าวกันอยู่หลายแห่งนั้น ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในตำราปางพระพุทธรูปต่างๆเลย แต่ก็มีเรื่องเล่าถึงที่มากันไว้ว่า

โดย : วัดเขานางบวช

ที่อยู่ : ต.นางบวช อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 292

ปรับปรุงล่าสุด : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 04:04:39

ข้อมูลเมื่อ : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 04:00:15

 
 
 
 

ปูชนียวัตถุสถาน 10 อันดับ

หลวงพ่อแดง วัดเกาะวังไทร

โดย : วัดเกาะวังไทร

ข้อมูลเมื่อ : 01-02-2567

เปิดดู : 111

หลวงพ่อโต วัดดอนไก่ดี

โดย : วัดดอนไก่ดี

ข้อมูลเมื่อ : 25-12-2566

เปิดดู : 113

พระพิฆเนศ ปางเสวยสุข

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 127

พระพุทธโตรโลกนาถ(หลวงพ่อขาว)

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 23-12-2566

เปิดดู : 129

หลวงพ่อโตทันใจ

โดย : วัดอัมพวนาราม

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู : 192

หลวงพ่อโต ป่าเลไลยก์

โดย : วัดบัวหวั่น

ข้อมูลเมื่อ : 09-12-2566

เปิดดู : 127