




ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดทรงคนอง
รหัสวัด
2730602001
ชื่อวัด
วัดทรงคนอง
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2256
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน มกราคม ปี 2484
ที่อยู่
66 หมู่ 5 ต.ทรงคนอง อ.สามพราน จ.นครปฐม
เลขที่
66
หมู่ที่
5
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
ทรงคนอง
เขต / อำเภอ
สามพราน
จังหวัด
นครปฐม
ไปรษณีย์
73210
เนื้อที่
30 ไร่ - งาน 2 ตารางวา
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1346
ปรับปรุงล่าสุด : 22 มกราคม พ.ศ. 2565 19:49:24
ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดทรงคนอง (โดยสังเขป)
วัดทรงคนองเป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖ หมู่ที่ ๕ ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ มีพื้นที่ทั้งหมด ๓๐ ไร่ ๒ ตารางวา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ส่วนประวัติความเป็นมาของวัดจากหนังสือ “ทำเนียบวัดและพระสังฆาธิการจังหวัดนครปฐม” ได้กล่าวว่า “ได้สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๒๕๖” ในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หลักฐานของวัดไม่มีการบันทึกแต่อย่างใด เพียงแต่บอกเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งต่อมาได้มีการค้นพบประวัติของผู้สร้างอุโบสถ โดยบันทึกไว้ในสมุดข่อยว่า วัดนี้ แต่เดิมมีพระครูสุข เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมานานเท่าใดไม่ปรากฏ เมื่อพระครูสุขมรณภาพแล้ว บรรดาสิ่งก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ก็ชำรุดทรุดโทรมลงมากจนเกือบกลายเป็นวัดร้าง ต่อมานายจุ๋ย (จิน) ซึ่งมีเชื้อสายจีนได้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่หลังหนึ่ง เพื่อใช้แทนหลังเก่า เสร็จแล้วได้ไปอาราธนาพระภิกษุอิน ซึ่งอยู่ที่วัดคงคารามมาเป็นเจ้าอาวาส จากนั้นวัดก็ได้รับการปฏิสังขรณ์ และก่อสร้างสิ่งต่างๆ จึงทำให้วัดเจริญขึ้นตามลำดับ เมื่อพระอธิการอินได้มรณภาพลง พระภิกษุเรืองก็ได้ทำหน้าที่ปกครองวัดมาจนกระทั่งมรณภาพ ทางวัดก็ได้เลือกพระอธิการกล่อมเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อมา และได้ทำการปฏิสังขรณ์อุโบสถใหม่อีกครั้ง โดยมีนายหริ่ง ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านวิปัสสนาเป็นหัวหน้าในครั้งนี้ พระอธิการกล่อมมรณภาพลง พระอธิการแจ่มก็ได้ปกครองวัดนี้ต่อมา จนกระทั่งมรณภาพ พระสมุห์มี จนฺทสโร ซึ่งเป็นพระฐานานุกรมของพระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดสรรเพชญ ก็ได้ทำหน้าที่ปกครองวัดมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๖ ในระหว่างที่พระสมุห์มี ได้ปกครองวัดอยู่นั้น ท่านก็ได้ดัดแปลงสิ่งต่างๆ ของวัดโดยจัดสร้างและวางให้ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งใดที่ชำรุดทรุดโทรมก็ได้ทำการปฏิสังขรณ์และซ่อมแซมให้ดีขึ้น นอกจานี้ยังได้ก่อสร้างถาวรวัตถุในพระศาสนาไว้อีกหลายอย่าง อาทิเช่น จัดสร้างกุฏิ ถนน ศาลาการเปรียญ หอเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนประชาบาล และยังได้บอกบุญเรี่ยไรเงินเพื่อจะนำมาปฏิสังขรณ์อุโบสถหลังเก่าขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องด้วยอุโบสถชำรุดทรุดโทรมมากจนเกือบใช้การไม่ได้เสียแล้ว จึงมีดำริว่า น่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ แต่ยังไม่ทันได้สร้าง ก็ถึงแก่มรณภาพเสียก่อนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ต่อมาทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งพระภิกษุขวบ ฐิติญาโณ เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อมา พอถึงเดือน ๔ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ พระอธิการขวบ จึงได้เริ่มสร้างอุโบสถใหม่ขึ้น ในระหว่างที่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ประเทศไทยก็ตกอยู่ในภาวะสงคราม บรรดาสิ่งของต่างๆ ก็ขาดแคลน และมีราคาแพงมาก จึงทำให้การก่อสร้างอุโบสถต้องหยุดชะงักลง คงเหลือเพียงแต่พื้น เพดาน กำแพง และการผูกพัทธสีมาเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ทางวัดจึงได้ทำการอัญเชิญพระประธานจากอุโบสถหลังเก่าไปไว้ยังอุโบสถหลังใหม่ (หลังปัจจุบัน) ต่อมาพระอธิการขวบ ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชทินนามว่า พระครูฐิติญาณสังวร และท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ หลังจากนั้นทางคณะสงฆ์ก็ได้แต่งตั้งให้พระภิกษุมหา นิเทสโก เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดต่อมา ซึ่งท่านได้จัดสร้างศาลาฌาปนสถานไว้ ๑ หลัง สร้างศาลาการเปรียญใหม่ ๑ หลัง และได้พัฒนาสิ่งต่างๆ ของวัดไว้อีกมาก ต่อมาท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร มีราชทินนามว่า พระครูนิเทศกิจจาทร ท่านได้ทำหน้าที่ปกครองวัดเรื่อยมาจนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ท่านก็ได้ลาออกจากเจ้าอาวาสและย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดต่างจังหวัด เพื่อต้องการความสงบ ต่อมาทางคณะสงฆ์ก็ได้แต่งตั้งพระมหาสมเกียรติ เตชวณฺโณ ให้รักษาการแทนเจ้าอาวาส และแต่งตั้งเป็นเจ้าวาสปกครองวัดสืบมาจนถึงปัจจุบันนี้
วัดทรงคนอง เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สำหรับอดีตเจ้าอาวาสเท่าที่สามารถสืบค้นได้มีดังนี้
๑. พระครูสุข เป็นเจ้าอาวาสนานเท่าใดไม่ปรากฏ
๒. พระอธิการอิน เป็นเจ้าอาวาสจนมรณภาพ
๓. พระอธิการเรือง เป็นเจ้าอาวาสจนมรณภาพ
๔. พระอธิการกล่อม เป็นเจ้าอาวาสจนมรณภาพ
๕. พระอธิการแจ่ม เป็นเจ้าอาวาส จนมรณภาพ พ.ศ. ๒๔๕๖
๖. พระสมุห์มี จนฺทสโร พ.ศ. ๒๔๕๖ - ๒๔๘๒
๗. พระครูฐิติญาณสังวร (ขวบ ฐิติญาโณ) พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๒๕๑๕
๘. พระครูนิเทศกิจจาทร (มหา นิเทสโก) พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๖
๙. พระมหาสมเกียรติ เตชวณฺโณ ๒๕๓๖ - ปัจจุบัน
สภาพทั่วไปในปัจจุบัน วัดทรงคนองมีพื้นที่ติดต่อกับสวนผลไม้เป็นส่วนใหญ่ บริเวณด้านหน้าวัดอยู่ทางทิศเหนือหันหน้าวัดลงสู่แม่น้ำท่าจีน จึงทำให้มีความร่มเย็น และมีต้นไม้ให้ร่มรื่น ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชผลไม้ได้แก่ ส้มโอ มะพร้าว ฝรั่ง เป็นต้น
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู