เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8362 รูป
สามเณร
301 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8877 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7208 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

ล่ะชั่ว ทำดี ความผาสุกจึงเกิด

รายละเอียด
เราไม่ทำชั่ว ทำแต่ดี
อะไรก็ตาม ที่เกิดขึ้นแล้ว
เราไม่ชังให้ได้
เอาประโยชน์ให้ได้ ในทุก ๆ เรื่อง
เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่น

จะผาสุกกับชีวิตในทุกเรื่องได้
บางครั้ง บางคน ก็มีข้อสงสัยขึ้นมาได้ว่า การละเว้นความชั่ว กับการทำความดี อย่างไหนจะสำคัญกว่ากันจากคำตรัสของพระพุทธองค์ที่ว่า
"การไม่ทำบาปทั้งสิ้น การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย....."
          แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการไม่ทำบาป การสร้างกุศล และการฝึกจิตมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน และจากคำตรัสในขุททกนิกาย ธรรมบท ปาปวรรคที่ว่า"บุคคลพึงรีบทำความดี พึงห้ามจิตจากบาป เพราะเมื่อทำบุญช้าไป ใจย่อมยินดีในบาป" ย่อมยืนยันได้ว่า ทั้งการละบาป ทำบุญ ต้องทำไปด้วยกัน การละบาป เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ใช้คำพูดส่อเสียด ยุยงผู้อื่น คือการรักษาศีล สำรวมอินทรีย์ อันเป็นหลักเบื้องต้นที่ทำให้บุคคลมีชีวิตอย่างปกติ เมื่อชีวิตเป็นปกติแล้ว (เช่น เมื่อไม่ลักทรัพย์ก็ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะถูกจับ ถูกลงโทษ) การทำความดีเช่น การช่วยสงเคราะห์ผู้อื่น จัดเป็นบุญ เมื่อทำบุญ ย่อมเกิดปีติ สุข ซึ่งปีติ สุข นี้ คือผลที่ได้รับทันทีในปัจจุบัน อันเป็นปีติ สุข ที่เป็นของบุคคลทั่วไป
          บุญ นอกจากจะนำสุขมาให้ในปัจจุบัน เป็นหลักประกันในภพหน้าแล้ว ยังเป็นเครื่องประดับจิต ทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย เมื่อใช้จิตที่เป็นสมาธินี้พิจารณาธรรม จนรู้ทั่วถึงธรรมที่พิจารณาตามความเป็นจริง ย่อมเกิดปีติ สุข อันเป็นปีติ สุข ที่ไม่ใช่เป็นของบุคคลทั่วไปซ้ำขึ้น ซึ่งมีความสำคัญคือสามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังคำตรัสนี้
          " ภิกษุผู้เข้าไปในเรือนว่าง มีจิตสงบ เห็นแจ้งธรรมโดยชอบ ย่อมเกิดความยินดีที่ไม่ใช่เป็นของคนทั่วไป ขณะใด ภิกษุพิจารณาเห็นความเกิดและความเสื่อมของขันธ์ทั้งหลายขณะนั้น เธอย่อมได้รับปีติปราโมทย์ซึ่งเป็นอมตธรรมสำหรับผู้รู้ทั้งหลาย ในอมตธรรมนั้น ธรรมนี้คือความสำรวมอินทรีย์ ความสันโดษและความสำรวมในปาติโมกข์ เป็นเบื้องต้นของภิกษุผู้มีปัญญาในศาสนานี้ เธอจงคบภิกษุที่เป็นกัลยาณมิตร มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้านควรทำการปฏิสันถาร และฉลาดในเรื่องมารยาทเพราะปฏิบัติตามคุณธรรมดังกล่าวนั้นเธอก็จักมากด้วยปราโมทย์จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้"
          การละเว้นความชั่ว รวมไปถึงการสำรวมอินทรีย์ การทำความดี และการหมั่นพิจารณาธรรม จึงต้องควบคู่กันไปในบุคคล เพื่อการพบความสงบที่แท้จริง

 

ผู้แต่ง
พระครูสิริกิตติคุณ

โดย : วัดสังฆจายเถร

ที่อยู่ : ต.สวนแตง อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 76

ปรับปรุงล่าสุด : 2 มีนาคม พ.ศ. 2565 11:56:08

ข้อมูลเมื่อ : 1 มีนาคม พ.ศ. 2565 19:38:03

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

หลักธรรมของพระพุทธเจ้าตรัสว่า

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 16-05-2567

เปิดดู : 16

ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 09-05-2567

เปิดดู : 14

การรับข่าว ควรที่จะรับอย่างมีสติ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู : 25

การสรงน้ำพระ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู : 21