เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8361 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8877 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7207 รูป
ลาสิกขา
35 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

สาระธรรม

ปฏิบัติธรรมอยู่ แต่มักจะกังวลคิดโน่นคิดนี่อยู่เสมอ

รายละเอียด

วันนี้จะกล่าวถึงในเรื่องการปฏิบัติของเราว่า ส่วนใหญ่แล้วพวกเราปฏิบัติธรรมอยู่ แต่มักจะกังวลคิดโน่นคิดนี่อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบ้าน เรื่องครอบครัว เรื่องสามี เรื่องภรรยา บางคนฟุ้งซ่านไปถึงขนาดหนี้สินต่าง ๆ ก็มี ขอให้เราทุกคนทำใจว่าเรานั่งอยู่ตรงนี้ ต่อให้เป็นห่วงเป็นใยเท่าไร เราก็ไปแก้ไขเรื่องเหล่านั้นไม่ได้ ที่แน่ ๆ ถ้าหากกำลังใจเราฟุ้งซ่านแบบนี้ ถ้าตายลงไปเราอาจจะลงสู่อบายภูมิ เมื่อรู้จักเตือนสติตัวเองแบบนี้ กำลังใจก็จะได้อยู่กับลมหายใจเข้าออกมากขึ้น

ส่วนที่ ๒ คือเรื่องนิวรณ์ทั้ง ๕ อย่างที่เป็นกิเลสหยาบ มากั้นความดีไม่ให้เข้าถึงใจของเรา คือ กามฉันทะ ความข้องเกี่ยวกับรูปสวย เสียงเพราะ รสอร่อย สัมผัสระหว่างเพศ พยาบาท ความโกรธเกลียดอาฆาตแค้นผู้อื่น ถีนมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ขี้เกียจปฏิบัติ อุทธัจจะกุกุจจะ ความฟุ้งซ่าน ความหงุดหงิดรำคาญใจ และวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในผลการปฏิบัติ ซึ่งนิวรณ์ ๕ นี้ ถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในใจของเรา ความดีก็จะเข้าไม่ถึง แต่การละนิวรณ์นั้นง่ายมาก ก็คือเอาสติของเราจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออก ตราบใดที่ยังไม่หลุดไปจากลมหายใจ ตราบนั้นนิวรณ์ก็ยังกินเราไม่ได้

ในขณะเดียวกันก็ขอให้เราเป็นบุคคลที่มีสัจจะ ทำความดีเพื่อความดี ปฏิบัติธรรมเพื่อธรรม อย่างที่ภาษาบาลีว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ก็คือปฏิบัติให้สมควรแก่ธรรม ก็แปลว่าเราจำเป็นที่จะจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับการปฏิบัติของเรา โดยไม่ส่งส่ายกำลังใจไปที่ไหน พยายามทบทวน ตามดูตามรู้ลมหายใจของเรา ว่าตอนนี้ลมหายใจเข้าออกนี้ แรงหรือเบา ยาวหรือสั้น ซึ่งปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย เรามีหน้าที่ตามดูตามรู้เท่านั้น และเราจะตามดูตามรู้เช่นนี้ตลอดไปโดยไม่ทอดทิ้ง ก็แปลว่าเราต้องเป็นคนมีสัจจะมั่นคง จริงจัง จริงใจต่อการกระทำของเรา

ลำดับต่อไป เมื่อลมหายใจเข้าออกและคำภาวนาเริ่มทรงตัวแล้ว ก็ให้ทุกคนตั้งใจแผ่เมตตาไปสู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทุกภพทุกภูมิ ทุกหมู่ทุกเหล่า ตั้งใจว่าเราไม่เป็นศัตรูกับใคร เรายินดีเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั่วโลก การแผ่เมตตาทำให้สภาพจิตของเราชุ่มชื่น เยือกเย็น ไม่รู้สึกแห้งแล้ง ทำให้อยากที่จะปฏิบัติธรรม

เมื่อแผ่เมตตาจนกำลังใจทรงตัวดีแล้ว ก็ให้กำหนดภาพพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่ง ที่เรารักชอบมากที่สุด เอาไว้บนศีรษะของเรา หันหน้าไปทางเดียวกับเรา จะมีขนาดสีสันอย่างไรอยู่ที่เราชอบใจ หายใจเข้าให้ภาพพระเลื่อนลงไปในท้อง หายใจออกให้ภาพพระเลื่อนขึ้นไปบนศีรษะ ใหม่ ๆ อย่าเพิ่งไปเอาความชัดเจน ความชัดเจนจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อสมาธิเราทรงตัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แรก ๆ ให้สามารถนึกได้ว่ามีภาพพระอยู่บนศีรษะของเรา ไหลตามลมหายใจเข้าไป ไหลตามลมหายใจออกมา ทำได้เพียงเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

เมื่อภาพพระชัดเจนสว่างไสวเพียงพอแล้ว ก็ยกเอาหัวข้อธรรมต่าง ๆ มาพินิจพิจารณา ก็คือดูให้เห็นว่า สภาพร่างกายของเราก็ดี ของคนอื่นก็ดี ของสัตว์อื่นก็ดี ของวัตถุธาตุสิ่งของต่าง ๆ ก็ดี มีความไม่เที่ยงเป็นปกติ เกิดขึ้นในเบื้องต้น แปรปรวนในท่ามกลาง สลายไปในที่สุด ระหว่างดำรงชีวิตอยู่ก็เต็มไปด้วยความทุกข์ คือ ทุกข์ของการเกิด ทุกข์ของการแก่ ทุกข์ของการเจ็บ ทุกข์ของการตาย ทุกข์ของการพลัดพรากของรักของชอบใจ ทุกข์ของการปรารถนาไม่สมหวัง ทุกข์ของการกระทบกระทั่งอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ เป็นต้น

และร่างกายนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเรา เพราะว่ารวมขึ้นมาจาก ดิน น้ำ ไฟ ลม ให้เป็นส่วนที่เราอาศัยอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็ตายพังไป เราก็ต้องไปหาร่างกายใหม่ตามบุญตามกรรมที่เราสร้างมา ถ้าไม่นิยมการเกิด สภาพจิตสลัดถอนการยึดมั่นถือมั่นออกไปได้ เราถึงจะหลุดพ้นจากกองทุกข์เข้าสู่พระนิพพาน

ให้ทุกคนหยิบยกข้อธรรมต่าง ๆ ขึ้นมาพิจารณา หลังจากที่กำลังใจของเราภาวนาจนทรงตัวแล้ว ถ้ารู้สึกว่าการพิจารณาไม่ชัดเจน ก็ให้กลับมาหาภาพพระ กลับมาหาลมหายใจของเราใหม่ ทำสลับกันไปสลับกันมาดังนี้ จนกระทั่งสภาพจิตยอมรับจริง ๆ ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ก็เอาจิตเกาะภาพพระไว้เป็นจุดสุดท้าย ตั้งใจว่านั่นคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบนพระนิพพาน เราเห็นพระองค์ท่านเท่ากับเราอยู่กับพระองค์ท่าน เราอยู่กับพระองค์ท่านคือเราอยู่บนพระนิพพาน แล้วก็ตั้งหน้าภาวนาพิจารณาไป จนกว่าจะได้รับสัญญาณบอกว่าหมดเวลา

พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
เทศน์ช่วงทำกรรมฐาน ณ บ้านเติมบุญ
วันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑

ผู้แต่ง
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.

โดย : วัดท่าขนุน

ที่อยู่ : ต.ท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

จำนวนเข้าดู : 54

ปรับปรุงล่าสุด : 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 17:53:53

ข้อมูลเมื่อ : 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 17:53:53

 
 
 
 

สาระธรรม 10 อันดับ

หลักธรรมของพระพุทธเจ้าตรัสว่า

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 16-05-2567

เปิดดู : 12

ความชั่วไม่ทำเสียเลยดีกว่า

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 09-05-2567

เปิดดู : 14

การรับข่าว ควรที่จะรับอย่างมีสติ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 01-05-2567

เปิดดู : 23

การสรงน้ำพระ

โดย วัดท่าขนุน

ข้อมูลเมื่อ : 29-04-2567

เปิดดู : 19