เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8352 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8868 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7199 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

เทศกาลงานบุญประเพณี

งานบุญประเพณีสารทพวน วัดเนินเกษม

สารทพวน
   พวนหรือชาวไทยพวน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ในบริเวณเมืองซำเหนือ เมืองเชียงขวาง และเมืองพวนในประเทศลาว ต่อมาได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยด้วยเหตุหลายประการคือ หนีภัยสงคราม ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ถูกชักจูงเข้ามาด้วยความสมัครใจ 
   พวนมีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย 3 ครั้ง คือ  ครั้งที่ 1 ราวปี พ.ศ.2322 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพไปตีเมืองลาว แล้วนำชาวลาวมาด้วย ซึ่งน่าจะมีพวนในเมืองพวนปะปนมาด้วย  ครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2335 เจ้านันทเสน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองเวียงจันทน์ ได้นำพวนและโซ่งส่งมายังกรุงเทพฯ เพื่อเป็นเครื่องราชบรรณาการต่อกษัตริย์ไทย และครั้งที่ 3 ระหว่างปี พ.ศ. 2376 - 2378 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เจ้าพระยาธรรมาธิบดีเป็นแม่ทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ในลาว ที่ญวนเข้าครอง และได้นำพวนมากรุงเทพฯ ด้วย อย่างไรก็ตาม นอกจากการเข้ามาประเทศไทยด้วยเหตุผลทางสงครามแล้ว ยังมีพวนบางส่วนที่อพยพเข้ามาเพื่อแสวงหาแหล่งทำมาหากินด้วย
   ปัจจุบันมีชาวไทยพวนตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวไทยพวนส่วนใหญ่นอกจากมีความเชื่อถือในเรื่องธรรมชาติและนับถือผีบรรพบุรุษของตนแล้ว ยังเป็นพุทธศาสนิกชนมีประเพณีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา คือประเพณีสารทพวน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของตัวเองตามแต่ละท้องถิ่น คล้ายกับเป็นการผสานระหว่างประเพณีบุญข้าวห่อหรือบุญข้าวประดับดิบ บุญข้าวสากของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว และประเพณีสารทไทย
   ชาวไทยพวน ที่ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จะจัดงานสารทในวันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 โดยทำบุญกระจาด ใส่ข้าวของเครื่องใช้อุทิศให้กับบรรพบุรุษ เชื่อว่าความหมายของสิ่งของที่ถวายนั้นจะสะท้อนถึงการขอพรหรือความต้องการจากวิญญาณบรรพบุรุษ เช่น ถวายสมุดดินสอ สำหรับผู้ที่ต้องการความรู้หรือความฉลาดหลักแหลม ถวายกระจก หวี สำหรับที่ต้องการความสวยงาม โดยจะถวายพร้อมกับหมากพลู ดอกข้าวโพด และตกแต่งกระจาดด้วยพวงระย้า จากนั้นจะนำห่อข้าวไปวางไว้ตามท้องนา เพื่อบูชาแม่โพสพ และก่อนงานจะช่วยกันกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญถวายพระภิกษุที่วัดในวันรุ่งขึ้น  เมื่อพิธีเสร็จจะนำอาหารจากการทำบุญมาแลกเปลี่ยนกันระหว่างครัวเรือน เพื่อสร้างความสัมพันธ์และสามัคคีกันภายในชุมชน

วันที่จัดงาน : 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565

โดย : วัดเนินเกษม

ที่อยู่ : ต.มะขามล้ม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี

จำนวนเข้าดู : 67

ปรับปรุงล่าสุด : 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 21:02:35

ข้อมูลเมื่อ : 25 มกราคม พ.ศ. 2565 04:43:47

 
 
 
 

เทศกาลงานบุญประเพณี 10 อันดับ

ประเพณีสารทลาว

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู : 5530

งานปริวาสกรรม

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู : 2513

ปฏิบัติธรรมในเทศกาลขึ้นปีใหม่ 2565

ข้อมูลเมื่อ : 06-01-2565

เปิดดู : 2263

งานประเพณีทำบุญอัฐิรวมญาติ ประจำปี 2565

ข้อมูลเมื่อ : 18-04-2565

เปิดดู : 1943

งานประเพณีทิ้งกระจาดให้ทาน

ข้อมูลเมื่อ : 17-10-2564

เปิดดู : 1481

กำหนดการงานวัดท่าขนุน พ.ศ. ๒๕๖๖

ข้อมูลเมื่อ : 25-02-2566

เปิดดู : 1307

ยกช่อฟ้าอุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

เปิดดู : 1050

เทศกาลงานประจำปี 2567

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2566

เปิดดู : 1016