เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบ้านยาง

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดบ้านยาง

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 30 เดือน ตุลาคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
-

เลขที่
46

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
บ้านยาง

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 909

ปรับปรุงล่าสุด : 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 19:51:13

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 20:36:44

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของวัดบ้านยาง
วัดบ้านยาง  เลขที่  46  หมู่ที่  3  ตำบลบ้านยาง  อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม
            ตามประวัติเดิม วัดบ้านยางนี้ได้ตั้งอยู่ในดงยางชายฝั่งแม่น้ำ (คลองท่าผา - บางแก้ว)  อยู่ตรงข้ามกับวัดที่ตั้งในปัจจุบันนี้ อันคำว่าแม่น้ำด้วน เพราะแม่น้ำสายนี้ในสมัยนั้นเป็นแม่น้ำด้วนอยู่ คือ ครองตัน ดังนั้นจึงตั้งชื่อวัดว่า วัดบ้านยางแม่น้ำด้วนมาจนถึงทุกวันนี้โดยเยื้องไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เล็กน้อย ซึ่งในขณะนั้นตั้งอยู่ในเขต ๗ ตำบลบ้านยาง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งสร้างประมาณปี พ.ศ.๒๓๔๐ ในรัชกาลที่ ๓ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อันปรากฏว่าวัดบ้านยางในขณะนั้นมีเจ้าอาวาส ปกครองอยู่ ตามที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงปู่เฒ่าจันทร์ เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่  ในสมัยที่หลวงปู่เฒ่าจันทร์ เป็นผู้ปกครองวัดอยู่ ได้ทำการก่อสร้างตลอดมา ซึ่งสิ่งที่ก่อสร้างในครั้งนั้นที่ยังปรากฏอยู่ในขณะนี้ คือ ซากพระอุโบสถ ๑ หลังที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้ ครั้นเวลาล้วงเลยมา หลวงปู่เฒ่าจันทร์ได้ปรึกษาหาลือกับชาวบ้าน ถึงเรื่องที่จะย้ายวัดมาตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเมื่อปรึกษากันตกลงย้ายวัด จึงได้ย้ายวัดมาตั้งอยู่ยังฝั่งซ้ายของแม่น้ำจนถึงทุกวันนี้ เมื่อย้ายวัดมาอยู่ยังฝั่งซ้ายแล้ว หลวงปู่เฒ่าจันทร์ได้ทำการสร้างอุโบสถขึ้นใหม่อีก ๑ หลัง เวลาต่อมา หลวงปู่เฒ่าจันทร์ได้ลาสิขาบทไปแล้ว หลวงพ่อพุ่ม ซึ่งบวชอยู่ในวัดได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองดูแลวัดสืบมาจนถึงมรณภาพ ต่อจากนั้น หลวงพ่อดี  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมาจนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศเป็น พระคระธรรมสุนทร เจ้าคณะตำบลบ้านยาง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี  ในสมัยที่หลวงพ่อดีปกครองอยู่ได้รื้ออุโบสถ หลังที่หลวงปู่เฒ่าจันทร์สร้างไว้ เพราะขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมากและได้สร้างขึ้นมาแทนใหม่ ซึ่งยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ต่อมาพระภิกษุอินทร์ ซึ่งอุปสมบทในสมัย หลวงพ่อพุ่มเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ได้สร้างอุโบสถขึ้นใหม่อีก ๑ หลัง พร้อมด้วยกุฏิ ฯลฯ แยกวัดออกเป็นสองวัด เรียกวัดบ้านยางในและวัดบ้านยางนอก พระภิกษุอินทร์ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านยางนอก ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่ออินทร์
         หลวงพ่อจันทร์ได้อุปสมบทอยู่กับพระอธิการคำ  เจ้าอาวาสวัดหนองเสือ  ตำบลหนองดินแดง  อำเภอเมืองนครปฐม  จังหวัดนครปฐม  (ซึ่งสมัยนั้นคงขึ้นอยู่ในเขตจังหวัดราชบุรี)  ที่วัดบ้านยางนอก  เมื่อหลวงพ่ออินทร์ถึงแก่มรณภาพลง หลวงพ่อจันทร์ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านยางนอกสืบมาเวลาต่อมา ท่านพระครูธรรมสุนทร(หลวงพ่อดี) เจ้าอาวาสวัดบ้านยางใน ถึงแก่มรณภาพลง ชาวบ้านได้อาราธนาหลวงพ่อจันทร์ จากวัดบ้านยางนอก มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านยางใน ส่วนวัดบ้านยางนอกได้ให้ท่านอาจารย์สำเนียงรักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ ต่อมาท่านอาจารย์สำเนียงได้ลาสิกขาบทไป ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดบ้านยางนอกอีก โดยที่หลวงพ่อจันทร์ทำการปกครองทั้งสองวัด จนได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ เป็นพระครูธรรมสุนทร เจ้าคณะตำบลบ้านยาง เวลาต่อมาเมื่อพระอุโบสถซึ่งหลวงพ่ออินทร์ได้สร้างไว้ที่วัดบ้านยางนอกได้ชำรุดทรุดโทรมไม่สามารถที่จะซ่อมแซมขึ้นได้ ท่านพระครูธรรมสุนทร(หลวงพ่อจันทร์) จึงได้รื้อถอนออกแล้วสร้างหลังใหม่ขึ้นแทนในที่เดิมและได้ใช้ในกิจการของสงฆ์มาจนถึงทุกวันนี้ต่อมาท่านพระครูธรรมสุนทร (หลวงพ่อจันทร์)  ได้ถึงแก่มรณภาพลง เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๓ ดังนั้นชาวบ้านยางพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านยางได้พิจารณาเห็นว่าพระภิกษุแดง  วรวํโส  ซึ่งอุปสมบท ณ วัดดอนตูม โดยมีท่านพระครูธรรมสุนทร (หลวงพ่อจันทร์) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอธิการ เป้ วัดเขาแดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์  มีพระมหาสนิท วัดบ้านโป่ง เป็นพระอนุสาวนาจาร ซึ่งปัจจุบัน พระมหาสนิท ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นท่านเจ้าคุณชั้นธรรม  ที่พระธรรมวโรดม ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการเถรสมาคมและตำแหน่งเจ้าคณะภาค ๑ อยู่ในปัจจุบันนี้ (ในอดีต)
         ดังนั้นเมื่อชาวบ้านพร้อมด้วยพระภิกษุมาพิจารณาร่วมกัน จึงเห็นสมควรที่จะอาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสแทนหลวงพ่อจันทร์  จึงได้พร้อมใจกันไปอาราธนาท่านมารักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ในปี  พ.ศ.๒๔๙๔ นั้น และต่อมาเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบมาตลอดระยะเวลาที่พระอธิการแดง วรวํโส ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอยู่ วัดบ้านยางก็ได้ชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ท่านก็ได้ทำการก่อสร้าง บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่และได้ยุบวัดบ้านยางนอกเสีย เพราะเป็นการลำบากแก่การปกครองและได้ปฏิสังขรณ์วัดบ้านยางในให้เจริญขึ้น ดังเป็นที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ดังเช่นเมื่อปี
          พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้สร้างกุฏิไม้มุงกระเบื้อง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๖ เมตร จำนวน ๔ หลัง
          พ.ศ. ๒๔๙๘ สร้างโต๊ะม้านั่งสำหรับพระเรียนปริยัติธรรม จำนวน ๑๐๐ ชุด
          พ.ศ. ๒๕๐๑ สร้างสะพานข้ามคลองที่หน้าวัดเชื่อมโยงระหว่างจังหวัดนครปฐมกับจังหวัดราชบุรี กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘๘ เมตร เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนที่จะสันจรไปมาได้โดยสะดวก มาจนทุกวันนี้
          พ.ศ. ๒๕๐๕ สร้างกุฏิเป็นตึกครึ่งไม้ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๔ เมตร อีก ๑ หลัง
          พ.ศ. ๒๕๐๖ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลโพรงมะเดื่อ
          พ.ศ. ๒๕๐๗ ท่านได้พิจารณาเห็นความลำบากของเด็กนักเรียนซึ่งเป็นกุลบุตรของประชาชนในพื้นที่บ้านยางและใกล้เคียง ซึ่งอาศัยศาลาวัดเรียนหนังสืออยู่ในขณะนั้น ท่านจึงได้ริเริ่มและหาทุนทรัพย์ทำการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นจนสำเร็จ ๑ หลัง ซึ่งมีความกว้าง ๘ เมตร ยาว ๘๘ เมตร เพื่อเป็นที่อาศัยเรียนหนังสือของเด็กสืบมาจนถึงทุกวันนี้
          พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้เจาะบ่อน้ำบาดาล ๑ ลูก เพื่อความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษาในวัดและประชาชนที่มาทำกิจภายในวัดนี้สืบมา
          พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอุปัชฌาย์ เพื่อความสะดวกแก่การอุปสมบทกุลบุตรในตำบลบ้านยางและใกล้เคียง
พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านได้ทำการก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่อีก ๑ หลัง  ซึ่งมีความกว้าง ๑๕ เมตร ยาว๓๕ เมตร เพราะหลังเก่าได้ชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามารถที่จะทำกิจต่อไปได้จึงทำการก่อสร้างขึ้นใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๔ ท่านได้รับการชักชวนได้ช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน โดยสร้างถนนลูกลังจากหน้าวัดและหมู่บ้าน  ไปเชื่อมกับถนนสายบ้านโป่ง-กาญจนบุรี จนเป็นผลสำเร็จประชาชนได้อาศัยเส้นทางนี้สันจรไปมาได้โดยสะดวกมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้สร้างกุฏิไม้แบบทรงไทย กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร อีก ๑ หลัง
พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้ทำการก่อสร้างหอฉันและหอสวดมนต์ขึ้นใหม่สองชั้นอีก ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๕ เมตร เพราะหลังเก่าชำรุดทรุดโทรมจนไม่สามรถที่จะใช้ในการฉันภัตตาหารของพระ ภิกษุสามเณรได้ จึงได้สร้างขึ้นใหม่
พ.ศ. ๒๕๑๙ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ เป็นวันเฉลิมพระชนพรรษา ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ เป็นพระครูธรรมสุนทร นับเป็นองค์ที่ ๓ ของเจ้าอาวาสวัดบ้านยาง ที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูธรรมสุนทร ซึ่งเป็นสัญญาบัตรพัดยศของเจ้าอาวาสองค์เก่า จึงสรุปความได้ว่า วัดบ้านยางนี้เท่าที่ทราบได้มีเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดมาเป็นจำนวนหลายรูปด้วยกัน คือ
๑. หลวงปู่เฒ่าจันทร์
๒. หลวงพ่อพุ่ม
๓. หลวงพ่ออินทร์ (เจ้าอาวาสวัดบ้านางนอก)
๔. พระครูธรรมสุนทร (หลวงพ่อดี)
๕. พระครูธรรมสุนทร (หลวงพ่อจันทร์)
๖. พระครูธรรมสุนทร (หลวงพ่อแดง)
๗. พระครูโกศลจิตานุรักษ์
๘. พระสมูห์จรูญ  ขนฺติโก  (ปัจจุบัน)

รายการพระ

พระสมุห์จรูญ ขนฺติโก

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 01-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระบุญเลี้ยง โกสลฺโล

ข้อมูลเมื่อ : 02-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระวันชัย รตนโชโต

ข้อมูลเมื่อ : 05-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระไชยา ยสินฺธโร

ข้อมูลเมื่อ : 05-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระเชิง วิชโย

ข้อมูลเมื่อ : 05-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระปรัชญา ฐิติโก

ข้อมูลเมื่อ : 05-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระสมควร ฐานวโร

ข้อมูลเมื่อ : 17-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระอุทร นิราสโย

ข้อมูลเมื่อ : 17-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระจักรพันธ์ ธมฺมโชโต

ข้อมูลเมื่อ : 08-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระวีระยุทธ์ อติพโล

ข้อมูลเมื่อ : 09-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระบัญชา ติสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 09-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระชูชาติ จนฺทสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 09-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระทิม ปุณฺณโก

ข้อมูลเมื่อ : 09-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระอาทิตย์ อธิปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 09-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระมงคล คเวสโก

ข้อมูลเมื่อ : 12-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด