เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7197 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดหว้าเอน

รหัสวัด
2730118002

ชื่อวัด
วัดหว้าเอน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2445

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 12 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2545

ที่อยู่
ต.โพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม

เลขที่
51

หมู่ที่
10

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
โพรงมะเดื่อ

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
25 ไร่ 2 งาน - ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
080 779 1354

จำนวนเข้าดู : 1000

ปรับปรุงล่าสุด : 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 20:18:35

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 20:19:29

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดหว้าเอน ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
พื้นที่ตั้งวัด
เป็นที่ลุมเป็นที่ทำนาในสมัยก่อนเป็นรอยต่อระหว่าง ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม กับตำบลหนองกบ อำเภอบ้านโป่ง
จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕ ไร่
ที่ธรณีสงฆ์ของวัด
ที่ธรณีสงฆ์มี ๑ แปลง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๙ ไร่ ๒ งาน
ความเป็นมาเดิม
ความเป็นมาแต่เดิมนั้น นายซึ่ม คนใหญ่ ถวายให้วัด เนื่องจาก พ่อ แม่ ตายหมด ชาวบ้านลือกันว่าเป็นที่แข็ง นายซึ่ม สมัยนั้นก็เหลือตัวคนเดียว กลัวจะเป็นดังชาวบ้านว่าที่แข็ง ก็เลยยกถวายให้วัดตั้งแต่นั้นมายุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและครั้งต่อมา
ชาวบ้านเรียกท่านว่าหลวงพ่อก๋ง รูปแรกที่ท่านได้สร้างอุโบสถ แต่ปีไหนไม่ทราบหลักฐานแน่ชัด จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดที่ถูกต้อง และเป็นที่มาของวัดหว้าเอน หลวงพ่อตน รูปที่สองท่านได้ลาสิกขาบท ต่อมาหลวงพ่อบุญช่วย โสภิโต
ท่านได้มรณภาพเมื่อปี ๒๕๑๗ ต่อมาพระอธิการทอง ปภสฺสโร ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสและในปี ๒๕๓๖ ได้ทำการก่อสร้างอุโบสถ
หลังใหม่ และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๒๐ - ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ พระอธิการทอง ปภสฺสโร ได้รับแต่งตั้งพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูโสภณสิริคุณ อยู่ปัจจุบัน วัดหว้าเอนเป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ โดยเริ่มแรกวัดหว้าเอนยังเป็นแค่สำนักสงฆ์เล็กๆ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ต่อมา มีการพัฒนามาเป็นวัดในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ มีเนื้อที่ครอบคลุมทั้งหมด ๒๕ ไร่ ซึ่งมีชาวไทยใจบุญอุทิศที่ดินให้สร้างวัด และติดกับคลองท่าผา บางแก้วหรือที่ชาวบ้านรู้จักคือคลองวัดหว้าเอน ซึ่งเป็นเส้นบางเขต ระหว่างจังหวัดนครปฐม กับจังหวัดราชบุรี ตามประวัติเดิมวัดหว้าเอนเป็นสำนักสงฆ์ที่ตั้งขึ้นมานานแล้ว จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๔๕ จึงได้ขึ้นทะเบียน เป็นวัดที่ ถูกต้องและที่มาของวัดชื่อหว้าเอนนั้นเพราะว่ามีต้นหว้าใหญ่ขึ้นอยู่ริมคลองและเอนไปทางมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า วัดหว้าเอน โดยมี หลวงพ่อก๋ง เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และในสมัยหลวงพ่อก๋งนี้เอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้นำกองเสือป่า เข้าไปฝึกซ่อมบริเวณวัด และพำนักอยู่ที่วัดพักหนึ่งก่อนกองลูกเสือป่าจะย้ายไปค่ายหลวงจังหวัดราชบุรี โดยในระหว่างที่พักนั้น ได้มีการฝึกซ่อมของกองลูกเสือป่าที่เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ต่อมา หลวงพ่อตน เจ้าอาวาสองค์ที่สอง ก็เป็นได้อยู่ช่วงหนึ่งแล้วก็มีความจำเป็นบางประการ ทำให้ต้องลาสิกขาบท ( สึก ) และแต่งตั้งหลวงพ่อช่วย เป็นเจ้าอาวาสามรูปต่อมา ซึ่งสร้างความฮือฮาในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เพราะเหรียญรูปหลวงพ่อช่วยมีความ ศักดิ์สิทธิ์ มีสาธุชนรับไปบูชาและถูกคนร้ายลอบยิงแต่ไม่เป็นอะไรเลย เพราะกระสุนปืนไม่ออก ปืนไม่ลั่นไก ซึ่งก็ไม่ได้มีคนเดียวยังมี สาธุชนหลายคน ได้เจอเหตุการณ์ทำนองเดียวกัน เพราะต้องไปอยู่ชายแดนทำให้มีการยิงกันบ่อยแต่ก็ไม่โดนสร้างความแปลกใจให้กันผู้ที่ บูชาไว้เป็นอย่างมาก จึงกลับมาไหว้หลวงพ่อช่วยและเล่าเรื่องราวทั้งหลายที่เกิดขึ้นให้สาธุชนทั้งหลายได้ทราบ หลวงพ่อช่วย โสภิโต อุปสมบทที่วัดหว้าเอนมีหลวงพ่อก๋งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อช่วยได้ศึกษาธรรม อย่างเคร่งครัด และได้เรียนรู้มนต์ต่างๆ จนสามารถท่องปาฏิโมกข์ขลังได้รวดเร็วและชัดเจน ต่อมาหลวงพ่อช่วยก็จัดทำวัตถุมงคลมากมาย อาทิ ตะกรุด ๓ ดอก เหรียญกงจักรเนื้อกะไหล่ทองและทองแดง ลมดำ พร้อมทั้งใบฎีกาซึ่งปัจจุบัน หายากมาก เพราะเหรียญกงจักรรุ่นแรก ศักดิ์สิทธิ์มาก เพราะมีลูกศิษย์หลวงพ่อย้ายไปกำแพงเพชร โดนยิง ๓ ครั้ง แต่ปืนยิงไม่ออก ส่วนเหตุที่ถูกลอบยิงนั้นเป็นช่วงที่ลูกศิษย่ หลวงพ่อช่วยย้ายไปอยู่ใหม่ๆนั้นไม่ถูกกับเจ้าถิ่นนั่นเอง และอีกหลายเรื่องเล่าของความขลังในเหรียญกงจักรหลวงพ่อช่วย เหรียญกงจักรรุ่นแรกปลุกเสกโดย พระราชธรรมาภรณ์ ( หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม พร้อมทั้ง ใบฎีกาซึ่งมีความขลัง ต่อ มาได้สร้างเหรียญกงจักรรุ่นที่สอง ก็ยังไม่พอกับความต้องการของสาธุชนที่ขอไปบูชา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ หลวงพ่อช่วยได้ป่วยเป็นอัมพาต จึงให้พระครูโสภณสิริคุณ (พระอาจารย์ทอง) ดูแลวัดแทนจน พ.ศ. ๒๕๑๗ หลวงพาอช่วยก็ได้มรณภาพลง พระอาจารย์ทองไดเป็น เจ้าอาวาสรูปต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในช่วงที่พระอาจารย์ทองดูแลวัดก็พัฒนาวัดให้เจริญพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เปลี่ยนไป ให้ดีขึ้น พระอาจารย์ทอง บวชที่วัดอัมพวัน จังหวัดสุรินทร์ มีพระอธิการสา เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาก็ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหว้าเอน เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยได้สร้างศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ ศาลาคู่เมรุ โรงครัวและโบสถ์ใหม่แทนโบสถ์เก่า ที่ชำรุดทรุดโทรม ไปตาม กาลเวลานั่นเอง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ พระอาจารย์ทองได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ซึ่งถือเป็นเกียรติและพระครูโสภณ สิริคุณก็ยังพัฒนาวัดให้ดีขึ้น โดยจัดงานปฏิบัติธรรมเข้าอยู่ปริวาสกรรม เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติธรรมอันจะนำมาซึ่งความสงบร่มเย็นจิตใจ ซึ่งจัดกันเป็นประจำทุกปี ช่วงแรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ และในช่วงที่ ปฏิบัติธรรมนั้นก็จะให้สาธุชนทั้งหลายได้มาฝึกปฏิบัติธรรม ฝึกจิตใจให้เข้มแข็งเป็นเวลา ๑๐ วัน จึงเป็นการช่วยกล่อมเกลา และเป็นที่พักทางใจให้กับสาธุชนชาวโพรงมะเดื่อมาช้านาน และในช่วง เข้าพรรษาก็มีการสอนธรรมะ แก่สามเณรและพระภิกษุสงฆ์ หรือที่เรียกการสอนปริยัติธรรม พระครูโสภณสิริคุณ ยังส่งเสริมด้านการศึกษาของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดหว้าเอน โดยจะจัดให้มีการแจกทุนการศึกษา แก่นักเรียนผู้ยากจนและด่อยโอกาสทางการศึกษาทุกปี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนในท่องถิ่นนับได้ว่าเป็นพระนักพัฒนา โดยแท้จริงเลยทีเดียวนอกจากนี้วัดหว้าเอนยังเป็นวัดที่ให้ความสะดวกในการที่จะจัดงานต่างๆ ซึ่งทางวัดจะมีข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้ ท่านสาธุชนได้ยืมใช้กัน เนื่องจากบางทีสาธุชนมีความประสงค์ จะจัดงานแต่ต้องการช้อน ชาม ถ้วย หม้อ ฯลฯ เป็นจำนวนมากก็สามารถ ยืมที่วัดได้ เพราะที่วัดได้จัดไว้เพียงพอ และมีการจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย ต่อมาหลวงพ่อทอง ได้มีพระปลัดปรีชา ปริชาโน ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้มาช่วยพัฒนาวัด ปัจจุบันได้ สร้างศาลาคู่เมรุ ปี ๒๕๕๕ สร้างห้องน้ำเพิ่มอีก ๒๘ ห้อง ปี๒๕๕๗ ร่วมกันสร้างวิหารหลวงพ่อช่วย ตั้งแต่ เดือนเมษายน ปี ๒๕๕๕ - จนถึงเดือน เมษายน ปี๒๕๕๘ ได้สร้างเสร็จและทำบุญฉลองวิหารหลวงพ่อบุญช่วย ในปลายปี ๒๕๕๙ พระปลัดปรีชา ได้ให้ช่างมาสร้างศาลาหน้าโรงครัว และสร้างรั้วกำแพงวัด ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ - กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ในปี ๒๕๖๒ หลวงพ่อทองและพระปลัดปรีชา ได้ปรึกษากันกับกรรมการวัดบูรณะป่องเมรุที่ชำรุด ปัจจุบันทางวัดได้จัดงานทำบุญอุทิศแก่บูรพาจารย์ ปิดทองหลวงบุญช่วย วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ของทุกๆปี ได้จัดมาแล้วหลายสิบปี ซึ่งจะตรงการเทศกาลสงกรานต์ ของชาวไทย
ลำดับเจ้าอาวาส
๑. หลงพ่อก๋ง ไม่ทราบ พ.ศ.
๒. หลวงพ่อตน ไม่ทราบ พ.ศ. แต่ลาสิขาจากการบวช
๓. หลวงพ่อช่วย โสภิโต ไม่ทราบ พ.ศ. มรณะ ปี ๒๕๑๗
๔. พระครูโสภณสิริคุณ หรือ พลวงพ่อทอง ฉายา ปภสฺสโร นามสกุล บุตรงาม อุปสมบท ที่ วัดอัมพวัน อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดหว้าเอน วิทยฐานะทางโลก ป.๔ ทางธรรม นักธรรมชั้นโท รับตำแหน่งเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๓๖ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท อยู่จน ๒๗ ก.พ. ๒๕๖๖� ได้มรณะภาพลง�ที่ รพ.นครปฐม
๕.พระปลัดปรีชา�� ปริชาโน�� รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ๒๘ ก.ค. ๒๕๖๖� จนถึง� ปัจจุบัน

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (71.5 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (60.8 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : (70.92 kb)

แผนที่ภาพ

รายการพระ

พระปลัดปรีชา ปริชาโน

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 06-08-2566

พระเพิ่ม กตสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระประเทือง กิตฺติสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระวุฒิศักดิ์ กิตฺติสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 06-02-2567

พระไพฑูรย์ ขตฺิสุโภ

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระมนตรี ญาณวโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

พระทวีวัฒน์ ธีรวโร

ข้อมูลเมื่อ : 06-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 13-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด