เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8346 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8861 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดม่วงตารศ

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดม่วงตารศ

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2400

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2478

ที่อยู่
วัดม่วงตารส

เลขที่
๙๓

หมู่ที่
-

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ทัพหลวง

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
20 ไร่ - งาน 70.9 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
089-8009195

โทรศัพท์
089-8009195

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นศูนย์การเรียน
เป็นชมรมชมรมจิตอาสาตำบลทัพหลวง

จำนวนเข้าดู : 603

ปรับปรุงล่าสุด : 31 มกราคม พ.ศ. 2565 11:55:14

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 20:09:25

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดนี้ได้สร้างขึ้นมาเมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏ ประมาณกันว่า สร้างมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๐ ในกาลก่อนจะสร้างวัดนั้น สถานที่แห่งนี้ เป็นจุดผ่านของชาวบ้านที่เดินทางเพื่อค้าขาย ทำธุระในตัวเมืองนครปฐม ประกอบกับสถานที่นี้ มีต้นไม้มีน้ำอุดมสมบูรณ์ บริเวณนี้จึงกลายเป็นจุดรวมคน จุดนัดแนะ เป็นที่หยุดพักผ่อนระหว่างการเดินทาง จากนั้นก็มีเรื่องราวเล่าสืบๆกันมาว่า มีชายใจดีคนหนึ่ง ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า ตารศ เป็นเจ้าของที่ดินแห่งนี้ แกเป็นคนใจบุญ เกรงว่าผู้คนที่เดินทางสัญจรผ่านไปมาจะหิวน้ำและไม่มีน้ำสะอาดดื่ม แกจึงได้ไปเก็บกวาดต้นมะม่วงใหญ่ริมทางต้นหนึ่งให้ราบสะอาด และได้ตั้งน้ำดื่มไว้ตุ่มหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาได้ดื่มน้ำ ได้หยุดพักหายเหนื่อยจะได้เดินทางต่อไป และเเกก็หมั่นตักน้ำใส่ตุ่มอยู่เป็นประจำมิได้ขาด ก็ยิ่งทำให้ผู้คนนิยมผ่านสถานที่นี้มากขึ้น ในเวลาที่ผู้คนนัดแนะกัน หรือนัดพบกัน ก็จะพูดกันอยู่เสมอว่า ไปคอยที่ต้นมะม่วงตารศ ไปเจอกันที่ต้นมะม่วงตารศ คำว่าต้นมะม่วงตารศ จึงเป็นคำพูดที่ติดปากของผู้คนที่เดินทางสัญจรไปมา ในกาลต่อมาเมื่อตารศ สิ้นชีพไปแล้ว นานๆเข้า สถานที่เเห่งนี้ก็ยังคงเป็นสถานที่สาธารณะ สถานที่นัดพบเช่นเดิม แต่คำพูดว่า ต้นมะม่วงตารศได้กร่อนหายไป เหลือแต่เพียงว่า ม่วงตารศ เท่านั้น กาลต่อมาชาวบ้านรอบๆบริเวณนี้ได้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น ณ ที่เเห่งนี้ วัดนี้จึงได้นามตามสถานที่ว่า วัดม่วงตารศ
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและครั้งต่อๆมา
ในสมัยเริ่มสร้างวัดจนถึงสมัยหลวงปู่นิ่ม วัดยังคงเป็นวัดเล็กๆ แต่จะมีการสร้างอุโบสถหรือยัง ไม่เป็นที่ทราบได้ แต่เมื่อหลวงปู่นิ่มมรณภาพลง พระครูสำอางค์ ได้ย้ายวัดขึ้นไปบนที่ดอนทางทิศใต้ ของวัดเดิม ด้วยสาเหตุที่ว่า เมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมทำให้การปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ลำบาก เมื่อย้ายวัดขึ้นก็ได้สร้างอุโบสถ โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า โบสถ์หลังนั้นมุงด้วยจาก และมีหลักฐานอยู่ถึงปัจจุบัน คือ ลูกนิมิต ที่ปั้นด้วยอิฐมอญและปูนซีเมนต์ และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ แต่อุโบสถหลังนี้ก็อยู่ได้ไม่นาน ในปีพ.ศ. ๒๔๘๒ พระครูสำอางก็ได้เริ่มสร้างอุโบสถอีกหลังหนึ่ง ในขณะนั้นอุโบสถก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ พระครูสำอางค์ได้ลาสิกขาบท พระอธิการ ไข่ ธมฺมสโร ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และได้นำปัจจัยที่ได้จากงานปิดทองฝังลูกนิมิตนั้นมาสร้างอุโบสถจนสำเร็จ ในพ.ศ. ๒๔๙๒ อุโบสถหลังนี้ยังคงใช้ทำสังฆกรรมมาจนถึงปัจจุบัน
 
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมาโดยลำดับ
ในสมัยเริ่มสร้างวัดจนถึงสมัยหลวงปู่นิ่มเป็นเจ้าอาวาส ยังไม่ได้มีการสร้างถาวรวัตถุในบริเวณวัดเลย จะมีก็แต่เพียงกุฏิที่พักสงฆ์เท่านั้น ซึ่งท่านเองก็ได้รับการเคารพนับถือจากชาวบ้านทางด้าน วิชาอาคมแก่กล้า และมีความรู้ทางด้านยาสมุนไพร โดยทราบได้จากหนังสือตำราสมุดข่อย ต่อมาเมื่อหลวงปู่นิ่ม มรณภาพลง เมื่อวันพุธที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๙ รวมสิริอายุได้ ๘๖ ปี ชาวบ้านได้นิมนต์พระสำอางค์ โกวิโท นามสกุลเดิม โตหริ่ม มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ย้ายวัดมาอยู่บนสถานที่สูงทางด้านทิศใต้ เพราะเป็นสถานที่ตั้งวัดเดิมเมื่อฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วม
พ.ศ.๒๔๖๗ สร้างอุโบสถมุงด้วยแฝก ( ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.๒๔๗๑ )
พ.ศ.๒๔๗๐ สร้างศาลาการเปรียญ ยกพื้นไม้ ๑ หลัง
พ.ศ.๒๔๗๑ สร้างโรงเรียนประชาบาล ขึ้นบริเวณที่ตั้งวัด
พ.ศ.๒๔๗๓ สร้างกุฎิสงฆ์ ๒ ชั้นสร้างด้วยไม้ มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์
พ.ศ.๒๔ ๘๒ สร้างอุโบสถทรงไทยด้วยคอนกรีต ก่ออิฐถือปูนมีช่อฟ้าใบระกา
พระครูสำอางค์ ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเป็นอันมาก ด้วยความที่ท่านได้สร้างโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัด ทำให้เด็กได้รับการศึกษาเล่าเรียน จึงทำให้ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอ และท่านยังได้ก่อตั้งโรงเรียนแผนกบาลีขึ้นภายในวัดด้วย แต่การศึกษาแผนกบาลีก็เป็นอันล้มเลิกในภายหลังได้ไม่นาน ต่อมาภายหลังท่าน ได้ลาสิกขาบท ชาวบ้านได้นิมนต์ พระไข่ ธมฺมสโร ซึ่งเป็นพระลูกวัดเป็นเจ้าอาวาส พระอธิการไข่ ธมฺมสโร ร่วมกับชาวบ้านก่อสร้างอุโบสถที่ค้าง และได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิต พ.ศ.๒๔๘๕ อุโบสถสร้างเสร็จใน พ.ศ. ๒๔๙๒ และ พระอธิการไข่ ได้ลาสิกขาบทใน พ.ศ๒๔๙๕ ในครั้งนั้นหลวงพ่อเกิด ( พระวิหารการโกวิท ) เจ้าอาวาสวัดทัพหลวง ได้ให้ลูกศิษย์ของท่าน คือ พระชิต จิตฺตสํวโร ( พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และท่านได้สร้างถาวรวัตถุ เรื่อยมาตามลำดับ
พ.ศ.๒๔๙๗ สร้างกำแพงแก้ว รอบอุโบสถ
พ.ศ.๒๔๙๗ สร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง
พ.ศ.๒๔๙๘ บูรณต่อเติมศาลาการเปรียญ
พ.ศ.๒๕๐๒ สร้างโรงครัวทำด้วยไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ.๒๕๐๙ สร้างกุฏิสงฆ์ทำด้วยไม้ ๒ ชั้น ๒ หลัง
พ.ศ.๒๕๑๐ สร้างแท๊งค์น้ำ เจาะบ่อบาดาล ตั้งเครื่องสูบน้ำ เดินท่อประปา ในวัดและรอบๆวัด
พ.ศ.๒๕๑๓ สร้างหอฉัน ยกพื้นปูน เครื่องบนเป็นไม้
พ.ศ.๒๕๑๕ สร้างศาลาการเปรียญ ยกพื้นปูน เครื่องบนทำด้วยไม้ กว้าง ๒๐ ม. ยาว ๒๔ ม.
พ.ศ.๒๕๑๙ สร้างกุฏิสงฆ์ ทำด้วยไม้ ๒ ชั้น ๑ หลัง
พ.ศ.๒๕๒๕ สร้างศาลาฌาปณสถาน พร้อมเตาเผา กว้าง ๑๒ ม. ยาว ๒๘ ม.
พ.ศ.๒๕๓๔ บูรณอุโบสถ สิ้นเงินไป ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๓๙ สร้างกุฏิเจ้าอาวาสทรงไทยสองหลังคู่ สองชั้น มีมุขด้านหน้า กว้าง ๑๐ ม. ยาว ๒๑ ม. สิ้นเงินไป ๒,๘๐๐,๐๐๐ บาท
พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส มาจนถึง พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้มรณภาพลง ในวันศุกร์ที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ตรงกับวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๕ ด้วยโรคชราภาพ รวมสิริอายุได้ ๘๕ ปี ๒๓ วัน ต่อมา พระมหาชำนาญ โกวิโท ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้พัฒนาวัดเรื่อยๆมาตามลำดับ
พ.ศ. ๒๕๔๕ สร้างกุฏิสงฆ์ทรงไทยประยุกต์สองชั้น จำนวน ๒ หลัง แต่ละหลังกว้าง ๘ ม. ยาว ๑๔ ม. รวมมูลค่า ๗๕๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๔๖ สร้างหอฉันและโรงเรียนปริยัติธรรม เป็นทรงไทยประยุกต์ สองชั้น โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงเหล็กมุงกระเบื้อง กว้าง ๑๘ ม. ยาว ๓๔ ม.รวมมูลค่า ๗,๐๐๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๔๗ สร้างศาลากรรมฐานด้วยไม้ ๑ หลัง กว้าง ๘ ม. ยาว ๑๔ ม. รวมมูลค่า ๖๐๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๔๘ สร้างกำแพงวัด ฐานคอนกรีตเสริมเหล็กตอกเข็ม ก่อด้วยหินศิลาแลง ยาว ๑๔๐ ม. รวมมูลค่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ.๒๕๔๙ สร้างถนนภายในวัด ยาว ๓๔๐ ม. รวมมูลค่า ๙๐๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๕๐ สร้างเรือนไทยหมู่ด้วยไม้สัก กว้าง ๒๑ ม. ยาว ๒๖ ม. รวมมูลค่า ๙,๐๐๐,๐๐๐บาท
พ.ศ.๒๕๕๒ สร้างเขื่อนกันดินบริเวณหน้าวัดทั้งสองฝั่ง ยาว ๒๕๐ ม. รวมมูลค่า๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๓ สร้างศาลาเอนกประสงค์ โครงสร้างเป็นไม้ กว้าง๑๙ ม.ยาว๒๓ ม. พื้นคอนกรีต พร้อมห้องน้ำ รวมมูลค่า ๘๕๔,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๔ สร้างศาลาริมทางและศาลาท่าน้ำ บริเวณหน้าวัด รวมมูลค่า ๓๘๕,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๕ สร้างห้องน้ำ คอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๑๓ ห้อง รวมมูลค่า ๖๐๐,๐๐๐ บาท
พ.ศ. ๒๕๕๖ บูรณเมรุ เปลี่ยนประตูกระจก ทาสี สร้างศาลาที่พักร้อน ภายในวัดจำนวน ๔ หลัง สร้างพระสิวลียืนบนฐานหมุน รวมมูลค่าทั้งสิ้น ๗๐๐,๐๐๐ บาท
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
๑ พระพุทธนีลศิลารตโนภาส แกะสลักด้วยหินทรายเขียว ปางปฐมเทศนา หน้าตักกว้าง ๖๙ นิ้ว เป็นพระประธานในโรงเรียนปริยัติธรรม
๒ พระประธานประจำอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารสะดุ้ง เนื้อโลหะผสม สร้างขึ้น ในพ.ศ. ๒๔๘๕
๓ พระเจ้าทันใจ เป็นพระก่ออิฐปั้นปูน หน้าตัก ๖๕ นิ้ว ประดิษฐานอยู่โคนต้นโพธิ์
๔ หลวงปู่นิ่ม อดีตเจ้าอาวาส ปัจจุบันมีรูปเหมือนของท่านอยู่ในวิหาร และจะมีงานปิดทองประจำปี ในวันตรุษไทย เป็นประจำ
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
๑ อุโบสถหลังเเรก สร้างด้วยไม้หลังคามุงจาก พ.ศ. ๒๔๖๗
๒ อุโบสถหลังที่ ๒ สร้างแบบทรงไทย หลังคาลดหลั่น ๓ ชั้น มีมุขหน้าหลัง หลังคาชั้นล่าง วนรอบเป็นแบบปั้นหยา เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐถือปูน มุงกระเบื้อง มีช่อฟ้าใบระกา เครื่องบนเป็นไม้ สร้าง พ.ศ.๒๔๘๒ – พ.ศ.๒๔๙๒
๓ ศาลาการเปรียญ ยกพื้นสูง เทคอนกรีต เสาไม้หลังคามุงกระเบื้องลอนใหญ่ สร้างพ.ศ.๒๕๑๕
๔ วิหาร ทรงไทย ยกพื้น เป็นที่ตั้งของรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาส สร้างพ.ศ. ๒๕๒๒
๕ ศาลาฌาปณสถาน เป็นทรงไทยประยุกต์ มีเตาเผาอยู่ในศาลา สร้างพ.ศ. ๒๕๒๕
๖ หอระฆัง เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทรงจตุรมุข สองชั้นยกพื้น สร้างพ.ศ. ๒๕๓๖
๗ กุฏิเจ้าอาวาส เป็นทรงไทยสองชั้น สองหลังคู่ ชั้นล่างคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้างบนเป็นไม้สัก สร้างพ.ศ. ๒๕๓๙
๘ กุฏิสงฆ์ ทรงไทยประยุกต์สองชั้น ๒ หลัง สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๕
๙ โรงเรียนปริยัติธรรมและหอฉัน ทรงไทยประยุกต์ คอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างพ.ศ. ๒๕๔๖
๑๐ ศาลากรรมฐาน สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๗
๑๑ กำแพงวัด สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๘
๑๒ โรงครัว ที่พักอุบาสิกา สร้าง พ.ศ. ๒๕๔๙
๑๓ เรือนไทยหมู่ไม้สัก สร้างพ.ศ. ๒๕๕๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ ผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕
ลำดับรายนามเจ้าอาวาส
๑ รูปที่ ๑ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
๒ รูปที่ ๒ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
๓ รูปที่ ๓ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
๔ รูปที่ ๔ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
๕ รูปที่ ๕ หลวงปู่นิ่ม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
๖ รูปที่ ๖ พระครูสำอางค์ โกวิโท ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๕
๗ รูปที่ ๗ พระอธิการไข่ ธมฺมสโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔
๘ รูปที่ ๘ พระครูปัจฉิมทิศบริหาร ( ชิต จิตฺตสํวโร ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๖
๙ รูปที่ ๙ พระครูโกวิทสุตสาร ( ชำนาญ โกวิโท ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔
ไวยาวัจกรคนปัจจุบัน นายบุญโสม ศรันย์วิริยะพงศ์

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูโกวิทสุตสาร (ชำนาญ) โกวิโท

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 14-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-02-2565

พระใบฎีกาสุทัศน์ สุทสฺสโน

ข้อมูลเมื่อ : 24-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 24-01-2565

อัศนัย อัคคฺปัญโญ

ข้อมูลเมื่อ : 31-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-01-2565

ธนภัทร ธนวัฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 31-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 31-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด