เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดวังก์วิเวการาม

รหัสวัด
02710801002

ชื่อวัด
วัดวังก์วิเวการาม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 11 เดือน มีนาคม ปี 2511

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2528

ที่อยู่
-

เลขที่
999

หมู่ที่
ม.2

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
หนองลู

เขต / อำเภอ
สังขละบุรี

จังหวัด
กาญจนบุรี

ไปรษณีย์
71240

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว

จำนวนเข้าดู : 590

ปรับปรุงล่าสุด : 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564 19:46:04

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 15:31:58

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดวังก์วิเวการาม; (มอญဘာဝင်္ကဝိဝေကာရာမ) หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ (ဘာကျာ်ဇၞော်အ္စာတၠဥတ္တမ) เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า ห่างจากอำเภอเมืองกาญจนบุรี ประมาณ 220 กิโลเมตร

ในระยะแรกมีเพียงกุฏิและศาลา มีฐานะเป็นสำนักสงฆ์ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกว่า วัดหลวงพ่ออุตตมะ ตั้งอยู่บนเนินสูงในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำ 3 สาย คือแม่น้ำซองกาเลีย แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำรันตี ไหลมาบรรจบกัน ในปี พ.ศ. 2505 ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้ใช้ชื่อว่า วัดวังก์วิเวการาม ซึ่งตั้งตามชื่ออำเภอเดิม คืออำเภอวังกะ-สังขละบุรี ซึ่งต่อมาถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอ ก่อนที่จะยกฐานะเป็น อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2508

เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน[1] หลวงพ่ออุตตมะได้จัดสรรที่ดินของวัดวังก์วิเวการามให้ชาวบ้านครอบครัวละ 30 ตารางวา ปัจจุบันหมู่บ้านชาวมอญมีพื้นที่ราว 1,000 ไร่เศษ มีผู้อาศัยราว 1,000 หลังคาเรือน ชาวบ้านเกือบทั้งหมดจัดเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่าซึ่งไม่มีบัตรประชาชน หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืชผักสวนครัวตามชายน้ำ ทำประมงชายฝั่ง คนหนุ่มสาวส่วนหนึ่งนิยมเป็นลูกจ้างในโรงงานเย็บเสื้อที่อยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้าน

วัดวังก์วิเวการามหลังใหม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2528
        วัดก่อสร้างด้วยศิลปะแบบมอญและไทยประยุกต์ วิหารศิลปะมอญปัจจุบันเป็นที่เก็บสังขารของหลวงพ่ออุตตมะในโลงแก้ว ส่วนศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น ชั้นล่างใช้เป็นที่จัดงานบุญต่าง ๆ ส่วนชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ใช้เก็บคัมภีร์ใบลานอักษรมอญโบราณ พระพุทธรูป อัฐบริขาร และเครื่องใช้ต่างๆ

ที่วิหารพระหินอ่อนประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน พระพุทธรูปหยกขาว หุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงพ่ออุตตมะ รวมถึงงาช้างแมมมอธ นอกจากนี้ภายในวัดยังมีเจดีย์พุทธคยาจำลอง สร้างจำลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยสร้างเมื่อ พ.ศ. 2521[1] บริเวณใกล้กับวัดวังก์วิเวการามคือ สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

ส่วนบริเวณวัดหลวงพ่ออุตตมะเดิม ปัจจุบันพระอุโบสถหลังเก่าจมอยู่ใต้น้ำ มีชื่อเสียงด้านสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า วัดใต้น้ำ สังขละบุรี
        
วัดวังก์วิเวการามเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนหลายเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับชาวมอญ ในการประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของมอญ งานอื่น เช่น ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการจัดงานคล้ายวันเกิดของหลวงพ่ออุตตมะ มีงานกิจกรรมและพิธีกรรมทางศาสนา อย่าง งานแข่งขันชกมวยคาดเชือก การแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น เช่น การรำแบบมอญ การรำตงของชาวกะเหรี่ยง และมีการแต่งกายตามแบบวัฒนธรรมชาวไทยรามัญ[3]

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

สุชาติ สิริปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-11-2564

สมโภชน์ ฐานิสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 15-11-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-11-2564

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด