เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดทุ่งลาดหญ้า

รหัสวัด
2710107001

ชื่อวัด
วัดทุ่งลาดหญ้า

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน ตุลาคม ปี 500

ที่อยู่
-

เลขที่
262

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ลาดหญ้า

เขต / อำเภอ
เมืองกาญจนบุรี

จังหวัด
กาญจนบุรี

ไปรษณีย์
71190

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

Facebook
คลิกดู

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
เป็นสำนักปฏิบัติธรรม
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นพิพิธภัณฑ์
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 904

ปรับปรุงล่าสุด : 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 03:21:06

ข้อมูลเมื่อ : 28 กันยายน พ.ศ. 2564 15:27:15

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดทุ่งลาดหญ้าตำบลลาดหญ้า  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี
 
            วัดทุ่งลาดหญ้า หรือชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า “วัดลาดหญ้า”  สังกัดมหานิกาย อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์  ตำบลลาดหญ้า  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  ภาค ๑๔

สถานที่ตั้งวัด
            วัดทุ่งลาดหญ้าตั้งอยู่ที่  ๒๖๒ บ้านลาดหญ้า หมู่ ๑ ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี  มีเนื้อที่ตั้งวัด ๔๖ ไร่  ๗๗ ตารางวา
อาณาบริเวณวัดทุ่งลาดหญ้า
                        ทิศเหนือ                      จดแนวถนน กาญจนบุรี – เขื่อนศรีนครินทร์ฯ
                        ทิศใต้                          จด ตลาดบ้านลาดหญ้า
                        ทิศตะวันออก                 จด ถนนพระครูสอน
                        ทิศตะวันตก                   จด แม่น้ำแควใหญ่
 
ประวัติก่อนการสร้างวัด
            เหนือบริเวณวัดทุ่งลาดหญ้าออกไปประมาณ ๒ กิโลเมตร เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองกาญจนบุรีเก่า  ซึ่งเป็นเมืองหน้าด่านของไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี  โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่  ใกล้เขาชนไก่ มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๑๘๐ เมตร ยาว ๓๖๐ เมตร มีป้อมมุมเมือง ๔ มุม  มีแม่น้ำแควใหญ่ เป็นเสมือนคูเมือง ด้านทิศตะวันตก  และลำน้ำ ลำตะเพิน เป็นคูเมืองด้านทิศเหนือ  มีป้อมเป็นเนินดิน ๔ มุม  ภายในเมืองมีซากวัดต่างๆ ถึง ๗ วัด คือ วัดขุนแผน วัดนางพิมพ์ วัดแม่หม้ายเหนือ  วัดแม่หม้ายใต้  วัดมอญ  วัดจีน  วัดป่าเลไลย์  และมีบริเวณที่เรียกกันว่าตลาดนางทองประศรี
            ความสำคัญของเมืองกาญจนบุรีเก่า เป็นเมืองหน้าด่านตะวันตก ที่คอยสกัดทัพพม่าที่ยกเข้ามาทางด้านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นเส้นทางโบราณ ระหว่างเมืองมอญ กับ ไทย มี ๒ เส้นทาง คือ เส้นทางเหนือหรือเรียกว่าทางด่านแม่ละเมา  และทางด่านเจดีย์สามองค์ เมืองกาญจนบุรี  โดยออกจากเมืองเมาะตะมะ  ข้ามแม่น้ำอัตรัน (เมืองเชียงกราน) เมืองสมิ  ข้ามแม่น้ำกษัตริย์ และข้ามภูเขา เข้าแดนไทยทางด่านเจดีย์สามองค์  มาลงน้ำแควน้อย จากสามสบล่องลงมาทางเมืองไทรโยคเก่า (ปัจจุบัน คือ บริเวณวัดดงสัก ตำบลไทรโยค  อำเภอไทรโยค แล้วตัดข้ามช่องกระบอก มาลงลำน้ำแควใหญ่ที่เมืองศรีสวัสดิ์ หรือที่เมืองท่ากระดานด่านกรามช้างแล้วเดินเลียบแม่น้ำแควใหญ่จนถึงเมืองกาญจนบุรีเก่า  ที่ทุ่งลาดหญ้า จากนั้นจะเป็นที่ราบเดินทางสะดวก เข้าสู่เมืองสุพรรณบุรี  วิเศษไชยชาญ และเข้าตีกรุงศรีอยุธยา
            เมืองกาญจนบุรีเก่า จึงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญ ที่คอยสกัดกั้นทัพพม่า มาตั้งแต่สงครามครั้งแรก  คราวรบพม่าที่เมืองเชียงกราน ในปี พ.ศ.๒๐๘๑  และกลายเป็นเส้นทางเดินทัพไทย-พม่า  ที่ทำสงครามต่อกันไม่น้อยกว่า ๑๕ ครั้ง  ครั้งสุดท้ายที่เราเสียกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐   ต่อมาไทยย้ายเมืองมาตั้งที่ กรุงธนบุรี  ก็ต้องทำศึกกับพม่าอีก ๒ ครั้ง  จนเมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ กรุงเทพฯในปี พ.ศ.๒๓๒๕ ได้เพียงสามปี คือ พ.ศ.๒๓๒๘ พม่าก็ยกทัพมาตีไทยถึง ๙ ทัพ ยกเข้ามา ๕ ทาง จำนวนพลกว่า ๑๔๔,๐๐๐ คน  เราเรียกสงครามครั้งนี้ว่า “การรบพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า”  สงครามครั้งนี้ กองทัพหลวงพระเจ้าปะดุง ยกเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ พร้อมกองทัพอีก ๔ กองทัพ ผ่ายไทยได้ให้ กรมพระราชวังบวร มหาสุรสีหนาท มาสกัดทัพพม่าที่ ทุ่งลาดหญ้า ซึ่งเป็นวิธีคิดใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๑  เพราะทรงพิจารณาเห็นว่า ที่ทุ่งลาดหญ้าเป็นทางที่พม่าต้องเดินทัพเข้ามา  ถ้าไทยสามารถรักษาทุ่งลาดหญ้าไว้ได้ กองทัพพม่าต้องตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งเป็นที่กันดาร  จะหาเสบียงอาหารเลี้ยงกองทัพ และจะเดินทัพก็ยาก  เปรียบเหมือนข้าศึกต้องอยู่ในตรอก ไทยคอยสกัดกั้นอยู่ปากตรอก ถึงกำลังน้อยกว่าก็สู้ได้  ในที่สุดพม่าก็พ่ายทัพกลับไป ไม่สามารถยกทัพผ่านทุ่งลาดหญ้าไปได้
            หลังจากสงครามเก้าทัพ สงครามไทย-พม่า ก็เริ่มเบาบางลง  เส้นทางเดินทัพเปลี่ยนไป เมืองกาญจนบุรีเก่า  จึงถูกทิ้งร้าง ถอยร่นลงมาสกัดทัพที่ปากแพรก หรือลิ้นช้าง  ในครั้งแรกเพียงแต่ปักเสาระเนียดบนเชิงเทิน  จนในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดให้สร้างกำแพงเมือง ก่ออิฐถือปูน ในบริเวณที่ตั้งเมืองใหม่ ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำแควน้อย และแม่น้ำแควใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๔  เพื่อป้องกันข้าศึก และติดต่อค้าขายกับเมืองในลุ่มน้ำแม่กลอง
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสไทรโยคได้บันทึกเกี่ยวกับกาญจนบุรีไว้ว่า “แต่เมืองที่ตั้งอยู่ตำบลปากแพรกเดี๋ยวนี้ ไม่เป็นทางพม่าข้าศึกเข้ามาเลย  ถ้าโดยจะเดินกองทัพมา คงข้ามที่เขาชนไก่เมืองเดิม ตัดไปสุพรรณบุรีเข้ากรุงทีเดียว  ถ้าจะลงทางล่างก็เข้าราชบุรีไปเล่นสวนบางช้างสมุทรสงคราม แต่ที่ปากแพรกนี้เป็นที่ค้า ท่าขาย  ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมนั้นขึ้นไปตั้งเหนือมาก มีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าจะไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งอยู่ที่ปากแพรกนี้  เป็นทางไปมาแต่เมืองราชบุรีง่าย  เมืองที่ตั้งก่อกำแพงไว้นี้อยู่ที่แม่น้ำสามแยกตรงทางแม่น้ำน้อย เหมือนหนึ่งจะคิดรับทางเรือ แต่กองทัพของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกมาครั้งนั้น ต้องส่งทัพหน้าไปตั้งที่ลาดหญ้ารับทางพม่าข้าศึก ทัพหลวงจึงตั้งอยู่ที่ลิ้นช้างกาญจนบุรี  เมืองกาญจนบุรีเมื่อก่อนก็เป็นระเนียดไม้มาตลอด...”
            และทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงม้าถึงทุ่งลาดหญ้า ทรงบันทึกว่า “ ...ถึงหนองบัว ลาดหญ้า จนถึงเขาชนไก่ ทาง ๕๙๐ เส้น ที่ลาดหญ้ามีหญ้ามากถ้าจะเลี้ยงช้างสักกี่ร้อยก็เลี้ยงได้ เป็นที่สำคัญในการศึก  เมื่อเรายังทำศึกอยู่กับพม่า  กองทัพเราตั้งรับ หรือกองทัพข้าศึกจะมาตั้ง  ก็มักจะชิงเอาที่นี่ไว้ในกองทัพด้วยเป็นที่อุดม ได้อาศัยเลี้ยงพาหนะในกองทัพได้มาก ที่เขาชนไก่นั้น  เป็นเมืองเก่าที่ยังมีวัดร้างอยู่ที่นั่น..”
            เมื่อย้ายเมืองกาญจนบุรีมาอยู่ปากแพรกแล้ว มีการบูรณะสร้างวัดวาอารามขึ้นใหม่ เช่น วัดไชยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้)  วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)  วัดถาวรวราราม (วัดญวณ) ทำให้วัดต่างๆที่เมืองกาญจนบุรีเก่า ถูกทิ้งร้าง ต่อมาได้มีการนำเอาพระพุทธรูปในวัดร้างไปเป็นพระประธานในอุโบสถ เช่น ที่วัดถาวรวราม (วัดญวณ) เป็นต้น
 
ประวัติการสร้างวัดลาดหญ้า
            หลังจากสิ้นสงคราม ไทย-พม่า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ประชาชนเริ่มมาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนริมน้ำแควใหญ่มากขึ้น การคมนาคมในสมัยนั้นต้องใช้ทางน้ำสัญจรไปมาจากเมืองท่ากระดาน เมืองศรีสวัสดิ์ ซึ่งอยู่เหนือขึ้นไป โดยการใช้แพ หรือเรือล่องตามลำน้ำแควใหญ่ ผ่านบ้านลาดหญ้ามาเมืองกาญจนบุรีที่ปากแพรก  ขากลับทวนน้ำจะต้องเดินทางบก ทั้งไปและกลับจะต้องผ่านบริเวณบ้านลาดหญ้า  ต่อมาชุมชนเริ่มหนาแน่นขึ้น จึงได้มีการก่อสร้างวัดขึ้นบริเวณลำน้ำแควใหญ่ ณ บ้านลาดหญ้า  ตำบลลาดหญ้า  อำเภอเมืองกาญจนบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี  จากหลักฐานที่ปรากฏ มีรายนามเจ้าอาวาสปกครองวัด ดังต่อไปนี้
                            รูปที่ ๑     พระอธิการช่วงไม่พบหลักฐานว่าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาแต่ปีใด จากหนังสือทำเนียบสงฆ์   ร.ศ. ๑๒๓  (พ.ศ.๒๓๔๗) ปรากฏว่าท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดมาก่อนแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๕
                             รูปที่ ๒     พระอธิการแมว    
                             รูปที่ ๓     พระอธิการกล่อม
                             รูปที่ ๔     พระกาญจนวัตรวิบูล (สอน  อินฺทสโร) เกิดเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๔ มรณภาพ เมื่อวันที่  ๒๘กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๐๙  ปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๖๐-๒๕๐๙ 
                            รูปที่ ๕   พระมงคลสิทธิคุณ (ลำใย   ปิยวณฺโณ)  เกิดเมื่อวันที่ ๑๘  มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๘  มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์  พ.ศ.๒๕๔๖ ปกครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๔๖
                             รูปที่ ๖     พระครูสิทธิกิจจานุวัตร  (ประเสริฐ  อติเมโธ)  เกิดเมื่อ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๐๒  ปกครองวัดเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖-ปัจจุบัน

            วัดลาดหญ้าเดิม มีอุโบสถหลังเล็กๆอยู่ริมน้ำ ต่อมาถูกน้ำเซาะตลิ่งพัง จึงสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ ในสมัยท่านเจ้าคุณ พระกาญจนวัตรวิบูล  (สอน  อินฺทสโร) เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๗ ในปี พ.ศ.๒๕๑๕ ทางกองทัพบกได้สร้างกองพลที่ ๙ ขึ้น  ณ บริเวณทุ่งลาดหญ้า เพื่อเป็นการประกาศเกียรติประวัติยุทธภูมิทุ่งลาดหญ้า ที่เคยเป็นสมรภูมิที่ไทยชนะสงครามครั้งยิ่งใหญ่ ในประวัติศาสตร์สงคราม ไทย-พม่า ที่เรียกว่า “สงคราม ๙ ทัพ” ทางกองพลที่ ๙ ได้จัดพิธีทางศาสนา บำเพ็ญกุศลในวันสำคัญต่างๆ ที่วัดทุ่งลาดหญ้าสม่ำเสมอ  จึงได้มีการก่อสร้าง กุฏิ ศาลา และอุโบสถหลังใหม่ขึ้น ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๒๕ ในปี พ.ศ.๒๕๒๕  พระครูกาญจโนปมคุณ (ลำใย ปิยวณฺโณ)  ได้เปลี่ยนชื่อ  “วัดลาดหญ้า” เป็น “วัดทุ่งลาดหญ้า”  เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น และเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งสงคราม เก้าทัพ  วัดทุ่งลาดหญ้าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี พ.ศ.๒๕๒๖  กรมการศาสนาได้จัดประชุม เจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่าง  ที่วัดทุ่งลาดหญ้า เมื่อวันที่ ๑๘-๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๐  มีการเปิดทำการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๙ เป็นต้นมา โดยเปิดสอน  นักธรรมชั้น  ตรี  โท  เอก และได้ส่งพระภิกษุสามเณรไปศึกษาบาลีกับสำนักต่างๆ  ต่อมา ปี พ.ศ.๒๕๓๐ ก็ได้เปิดเป็นสำนักศาสนศึกษาบาลี และได้มีการเรียนการสอนสืบต่อมา ต่อมาได้จัดสร้าง โรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กถาวร ขนาดกว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๕ เมตร เพื่อใช้เป็นสถานที่ อบรมครูสอนพระปริยัติธรรม ในภาคกลาง, ภาค ๓, ภาค ๔ ขึ้นทุกปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๓ – ๒๕๓๙  ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ได้ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควใหญ่ เพื่อใช้สัญจรไปมาของประชาชน ระหว่างฝั่งแม่น้ำแควน้อย กับ แควใหญ่  ตามแบบมาตรฐานของกรมโยธาธิการ  ขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕๐ เมตร  โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ นายพิศาล มูลศาสตรสาคร ปลัดกระทรวงมหาดไทยทำพิธีวางศิลาฤกษ์  ต่อมาวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๑  สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเสด็จมาวางคานคอนกรีตตัวสุดท้าย   สะพานนี้ใช้เวลาสร้าง ๘ เดือน จึงแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๕๔๐ ได้สร้างสถานสงเคราะห์คนชราขึ้น ที่บ้านท่าหวี  ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ในพื้นที่ ๕๖ ไร่ ๖๓ ตารางวา โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเสด็จวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๐ และทรงเสด็จ ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓  ปัจจุบัน ได้ชื่อว่า “สถานสงเคราะห์คนชราเฉลิมราชกุมารี” อยู่ในความดูแลของกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการ กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ในปี พ.ศ.๒๕๔๕ พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่อลำใย  ปิยวณฺโณ)  ได้สร้างพิพิธภัณฑ์วัดทุ่งลาดหญ้า โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะ อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น  เช่น วัดขุนแผน  วัดแม่หม้าย  วัตถุโบราณ  ซากสัตว์โบราณ  หม้อชามโบราณ และนิทานพื้นบ้าน เรื่องขุนช้าง-ขุนแผน เพื่อถ่ายทอดให้อนุชนรุ่นหลักได้ทราบ
ปัจจุบันวัดทุ่งลาดหญ้ามีเนื้อที่ ๔๖ ไร่ ๗๗ ตารางวา

                        ทิศเหนือ             จดแนวถนน กาญจนบุรี – เขื่อนศรีนครินทร์ฯ
                        ทิศใต้                 จด ตลาดบ้านลาดหญ้า
                        ทิศตะวันออก        จด ถนนพระครูสอน
                        ทิศตะวันตก          จด แม่น้ำแควใหญ่
ในอาวาส ประกอบด้วย  เขตพุทธาวาส  เขตสังฆาวาส  เขตสาธารณะสงเคราะห์ เขตจัดประโยชน์
 

(เรื่องโดย ผศ.วรวุธ   สุวรรณฤทธิ์)
มหาวิทยาลับราชภัฏกาญจนบุรี

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูกาญจนกิจวิธาน ธมฺมจิตโต

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 12-11-2565

พระครูสิทธิกิจจานุวัตร อติเมโธ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 03-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 02-02-2565

พระมหาไพรัช ฐิตวํโส

ข้อมูลเมื่อ : 08-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระธงค์ชัย ธีรปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 08-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระพิษณุ ภูริปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 20-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระบรรยง โชติวโร

ข้อมูลเมื่อ : 02-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระสมโภชน์ สุมโน

ข้อมูลเมื่อ : 02-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระวิทยา สุจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 02-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระมานพ สุธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระสุภกิจ สุปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระฤทธิเกียรติ์ กมโล

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระอธิชา ชุตินฺธโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระประยูร ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระประวิช ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระรุ่งโรจน์ ถาวโร

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระเชิด อคฺคธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระมาโนช สุธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระมณู ธีรปญโญ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระวิจิตร วิจิตโต

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระณัฐวุฒิ ธีรปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 03-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 03-02-2565

พระสัญชัย ปภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระสุรเดช จนฺตโสภโณ

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระอนุรักษ์ จนฺทโชโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระทัศพงษ์ ธานวุโธ

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระวรเศรษฐ์ วรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระศานติ ยสปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระภาณุเดช อภิชาโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

สามเณรธนวิชญ์ บุญศิริ

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

สามเณรพรชัย ทองสุข

ข้อมูลเมื่อ : 04-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 04-02-2565

พระครูปลัดสมหมาย สุภทฺโท

ข้อมูลเมื่อ : 14-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 14-02-2565

พระสมชาย อาภรโณ

ข้อมูลเมื่อ : 14-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 14-02-2565

พระสมศักดิ์ สุมโณ

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

พระศักดิ์ชัย นาถธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

พระสุเทพ เขมทฺธโร

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

พระสุวัฒชัย สิริเขโม

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

พระวันชัย ชุติปุณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

พระธนายุทธ คุณงฺถโร

ข้อมูลเมื่อ : 15-02-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 15-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด