



ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดไทร
รหัสวัด
10804
ชื่อวัด
วัดไทร
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
-
วันรับวิสุงคามสีมา
-
ที่อยู่
-
เลขที่
1
หมู่ที่
2
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
ท่ากระชับ
เขต / อำเภอ
นครชัยศรี
จังหวัด
นครปฐม
ไปรษณีย์
73120
เนื้อที่
26 ไร่ 1 งาน 48 ตารางวา
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1863
ปรับปรุงล่าสุด : 7 ธันวาคม พ.ศ. 2564 12:49:15
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 21:04:32
ประวัติความเป็นมา
วัดไทร เป็นวัดที่เชื่อกันว่าเก่าแก่วัดหนึ่งของอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งอาศัยอยู่แถบนั้น ที่พากันกล่าวว่า “เมื่อสมัยพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ก็เห็นเป็นวัดอยู่อย่างนี้แล้ว” แต่เดิมทีวัดไทรนี้มีเรื่องเล่าอีกว่า เดิมมีต้นโพธิ์อยู่ทางด้านทิศเหนือ มีต้นไทรอยู่ด้านทิศใต้ แต่ก่อนเขาเรียกกันว่า “วัดโพธิ์ไทร” ต่อมาคำว่าโพธิ์หายไป จึงเหลือแต่คำว่า “วัดไทร”
หลักฐานทางศิลปะชิ้นแรกที่เราทราบกันดีโดยทั่วไปว่าพบที่วัดไทร ได้แก่ ศิลาจำหลักรูปพระพุทธเจ้าปางแสดงเทศนา ซึ่งขณะนี้ต้องแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม รูปศิลาจำหลักดังกล่าวจัดอยู่ในศิลปะสมัยทวารวดี อายุสมัยประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ที่วัดไทรมีหลักฐานสำคัญทางศิลปะได้แก่ โบราณสถานและโบราณวัตถุที่พบในบริเวณวัด คือ อุโบสถ ใบเสมา พระปรางค์ เป็นต้น อันจะช่วยในเรื่องการกำหนดอายุสมัยของวัดไทรให้แก่เราได้
อุโบสถมีการใช้ศิลปกรรมแบบจีนเข้ามาตบแต่ง แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฐานอุโบสถเป็นฐานอ่อนโค้งแบบท้องเรือสำเภาซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมกันมากในสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เครื่องบนหลังคาไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ทางหงส์ แต่มีรูปมังกรแบบจีนเลื้อยขดอยู่ที่ปลายสุดของสันหลังคาทั้งสองด้าน ที่หน้าบรรณด้านหน้าของอุโบสถมีเครื่องถ้วยชามทั้งที่เป็นชามลายครามและชามเบญจรงค์ ฝังประดับเป็นลวดลาย การใช้ถ้วยชามประดับ สถาปัตยกรรมแบบจีนนี้นิยมทำกันมากในรัชกาลที่ ๓ ดังเช่นพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม พระปรางค์วัดอรุณฯ พระอุโบสถวัดเขายี่สาน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลักฐานที่สำคัญที่สุดก็คือ อุโบสถซึ่งบ่งชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปัญหามีอยู่ว่า อายุของวัดไทร จะเท่ากับอายุของอุโบสถซึ่งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ หรือไม่
เมื่อเราพิจารณาหลักฐานอื่น ๆ พบว่ารอบอุโบสถมีใบเสมหินทรายแดงอยู่โดยรอบซึ่งใบเสมาเหล่านี้เป็นหลักฐานที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เป็นอันขาด ใบเสมามีทั้งสิ้นจำนวน ๘ หลัก มีร่องรอยการซ่อมแซมเพิ่มเติมแล้ว แต่บางหลักก็ยังคงสภาพเก่าอยู่ ได้นำใบเสมานี้ไปปรึกษากับอาจารย์ในคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะลวดลาดของศิลปะโดยเฉพาะ ท่านให้คำตอบว่า ใบเสมาหินทรายสีแดงที่ประดับลวดลายเช่นนี้ ไม่เคยพบในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่พบมากในศิลปะสมัยอยุธยา โดยเฉพาะที่วัดสมณโกฏฐาราม จัดอายุสมัยของใบเสมาชนิดนี้ว่า เป็นฝีมือช่างสมัยอโยธยา – สุวรรณภูมิ
สิ่งที่ควรสนใจคือ คำตอบที่ว่า ใบเสมาชนิดนี้ไม่เคยพบในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เพราะเป็นเครื่องแสดงว่า อายุสมัยของตัวอุโบสถกับอายุสมัยของใบเสมานั้นไม่ตรงกัน
จากหลักฐานต่าง ๆ ที่เราพบบริเวณวัดไทรดังที่บรรยายมาข้างต้น ทำให้การสันนิษฐานอายุของวัดนี้ได้เป็น ๒ ทางคือ
๑.วัดไทรสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตามหลักฐานใบเสมาอุโบสถ และแนวอิฐฐานเดิมเมื่ออุโบสถได้พังทลายไป ต่อมาจึงมีการสร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ในสมัยในรัชกาลที่ ๓ โดยผู้ล่วงลับที่ปรากฏชื่ออยู่ในฮวงซุ้ย
๒.วัดไทรสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๓ (แนวอิฐฐานเดิมก็เป็นของสมัยนี้ด้วย) แล้วขนย้ายใบจากที่อื่นมาไว้ที่วัดนี้
เพ็ญพรรณ ธีรศิริโชติ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูวิสุทธิ์ธรรมโฆส (สายันต์) โฆสธมฺโม
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 03-12-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 21-02-2567