เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8354 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8870 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7201 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดท่าใน

รหัสวัด

ชื่อวัด
วัดท่าใน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
-

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
-

เลขที่
19

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ท่าพระยา

เขต / อำเภอ
นครชัยศรี

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73120

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

มือถือ
0897434900

อีเมล์
samuphan@gmail.com

จำนวนเข้าดู : 965

ปรับปรุงล่าสุด : 28 ธันวาคม พ.ศ. 2564 22:37:10

ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 18:26:08

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดท่าใน
      ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านวัดท่า หมู่ที่๑ ตำบลท่าพระยา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สังกัดคณะมหานิกาย
ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๓๐ ตารางวา โฉนดที่ดิน เลขที่ ๖๐๓๖๘

อาณาเขตทิศตะวันออก จรด คลองบางแก้ว
ทิศตะวันตก จรด ทางสาธารณะ
ทิศใต้ และ ทิศเหนือ จรด ถนนสาธารณะ
มีธรณีสงฆ์ จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๒๕ ไร่ โฉนดเลขที่ ๓๑๙๗, ๓๙๑๕, ๖๐๓๖๖, ๖๐๓๖๗ และ ๖๐๓๖๙

ความเป็นมาแต่เดิม
     วัดท่าใน เดิมชื่อว่า วัดท่า ประกาศตั้งวัดเมื่อปี พ.ศ.๒๒๒๓ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่โบราณ สังเกตได้จากโบราณวัตถุ คือพระประธานในอุโบสถ สร้างจากศิลาขาว เดิมเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง แต่ได้รับการดัดแปลงวงพระพักตร์เดิมรูปแบบจึงเปลี่ยนไป เหตุที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดท่า นั้น เพราะสมัยนั้น วัดแห่งนี้เป็นท่าเรือ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคมทางน้ำระหว่างกาญจนบุรี - นครปฐม - กรุงเทพมหานคร เพราะมีอยู่ครั้งหนึ่ง พระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) มีความประสงค์จะมานมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ ได้แต่งนิราศพระประธม ขึ้นในนิราศได้กล่าวถึงการเดินทางโดยเรือ และมาสิ้นสุดระยะทางที่วัดท่าแห่งนี้ ต่อจากนั้นได้นั่งเกวียนต่อไปยังองค์พระปฐมเจดีย์ หรือ นิราศพระแท่นดงรัง ก็กล่าวถึงการ เดินทางโดยเรือ และมาสิ้นสุดที่วัดท่าแห่งนี้อีก แล้วนั่งเกวียนต่อไปยังพระแท่นดงรัง กาญจนบุรี ต่อไป
       วัดท่าผ่านอดีตความเจริญรุ่งเรืองและร่วงโรยมาเป็นลำดับ มีพระภิกษุปกครองวัด หลายรูปจนกระทั่งมาถึงยุคหลวงพ่อรูปหนึ่ง ที่ชาวบ้านเรียกว่า
หลวงพ่อเลียบ ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือมาก หลวงพ่อเลียบปกครองวัดมาจนถึง พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านจึงให้ พระครูสิริวุฒาจารย์ ซึ่งขณะนั้นเป็นพระธรรมดา ชื่อว่า พระห่วง ฉายา สุวณฺโณ ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านดูแลปกครองวัดแทน ส่วนตัวหลวงพ่อเลียบ เองได้ถือรุกขมูลธุดงค์ ออกไปจากวัดเจริญสมณธรรม โดยไม่ได้กลับมายังวัดท่าอีกเลย
       หลวงพ่อห่วง เมื่อปกครองวัด ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุของวัดต่างๆ อีก ๗ วัด และถือได้ว่าในสมัยหลวงพ่อห่วงนี้ วัดได้มีความเจริญทุกๆ ด้าน มีการสร้างศาลาการเปรียญ โรงเรียนปริยัติธรรม กุฏิสงฆ์ทรงไทย อุโบสถ การขุดสระน้ำสำหรับกักน้ำไว้ในฤดูแล้ง ๒ สระใหญ่ ซึ่งปัจจุบันถมไปแล้ว สร้างถนนสำหรับการสัญจรไปมาของชาวบ้าน และอีกหลายอย่างที่จำเป็นสำหรับวัดและชาวบ้าน จนถึง พ.ศ. ๒๔๘๑ หลวงพ่อห่วง ได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าพระยา และในปี พ.ศ.๒๔๙๐ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ มีหน้าที่ในการอุปสมบทกุลบุตร ผู้มีศรัทธา และมีวัดในปกครอง ๙ วัด ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่พระครูสิริวุฒาจารย์  ท่านได้พัฒนาวัด และเป็นที่พึ่งของชาวบ้านทั้งใกล้ และไกลตลอดมา จนปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มรณภาพลงใน วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๐๖ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เวลา ๒๑.๓๐ น. ในวันวิสาขบูชา

ถาวรวัตถุวัดท่าใน
อุโบสถ 
มีลักษณะทรงไทย โครงสร้างส่วนใหญ่ก่ออิฐถือปูน ก่อสร้างเสร็จปี พ.ศ.๒๔๙๖ เป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท มีขนาดกว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๖ เมตร
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างโปร่ง เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ มีขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
หอสวดมนต์ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ เป็นอาคารไม้ทรงไทย ๒ ชั้น 
กุฏิสงฆ์ จำนวน ๘ หลัง เป็นอาคารไม้ ๗ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง
ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔ มีขนาด กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
ปูชนียวัตถุ
มีพระประธานประจำอุโบสถปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๓ เมตร สูง ๔ เมตร ทำด้วยศิลาแลง
ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่มีข้อมูลหลักฐาน
๑. หลวงพ่อเลียบ ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่ดำรงตำแหน่ง
๒. พระครูสิริวุฒาจารย์ (ห่วง สุวณฺโณ) พ.ศ.๒๔๗๕ - ๒๕๐๖
๓. พระอธิการง้อ ปญฺญาพโล พ.ศ.๒๕๐๖ - ๒๕๒๘

๔. พระอธิการทองหล่อ จตฺตมโล พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๓๙
๕. พระมหาไพบูลย์ วิปุโล พ.ศ.๒๕๓๙ - ๒๕๔๙
๖. พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว พ.ศ.๒๕๔๙ - ปัจจุบัน





 

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูสมุห์จิรพันธ์ จิรพนฺธโว

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 15-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 28-12-2564

พระมหาไพบูลย์ วิปุโล

ข้อมูลเมื่อ : 15-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-12-2564

พระโชติกวัฒน์ อภิชาโต

ข้อมูลเมื่อ : 15-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-12-2564

พระบุญธรรม ยสปาโล

ข้อมูลเมื่อ : 15-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-12-2564

พระโสภณ สุทฺธิจิตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 15-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 15-12-2564

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด