



ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดสามัคคีธรรม (ปลายน้ำ)
รหัสวัด
02720113003
ชื่อวัด
วัดสามัคคีธรรม (ปลายน้ำ)
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
วันที่ 01 เดือน มกราคม ปี 2474
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 15 เดือน ตุลาคม ปี 2487
ที่อยู่
วัดสามัคคีธรรม (ปลายน้ำ)
เลขที่
221
หมู่ที่
4
ซอย
-
ถนน
เทศบาลตำบลท่าเสด็จ 18
แขวง / ตำบล
สระแก้ว
เขต / อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72230
เนื้อที่
18 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา
โทรศัพท์
0899957938
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 707
ปรับปรุงล่าสุด : 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 10:58:01
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 12:55:25
ประวัติความเป็นมา
ความเป็นมาของบ้านและวัดสามัคคีธรรม (ปลายน้ำ)
�เมื่อราวๆก่อนพุทธศักราช ๒๔๔๗ นายจง จงเจริญ พร้อมด้วยนายด้วงและนายเอี่ยม ได้อพยพมาจากบ้านโพธิ์ท่าทราย ได้เข้ามาอาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ริมบึงฝั่งตะวันตก ประกอบการทำมาหากินด้วยอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ อยู่ร่วมกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโจรผู้ร้ายเบียดเบียน แม้แต่ข้าวในนาเมื่อนวดแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ในนาโดยไม่ต้องเฝ้า ตลอดถึงวัวควายก็ไม่ค่อยมีคอก ผูกกันไว้ที่โคลนต้นไม้และใต้ถุนเรือน นับว่ามีความสุขสบายไม่ต้องคอยระวังรักษา เมื่อมีหลักมีฐานมั่นคงดีแล้วก็พร้อมใจกันมีศรัทธาที่จะสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ที่ดอนหน้าวัดข้ามเวลานี้ มีพระหลวงตาอยู่เฝ้าวัดพอได้ให้ชาวบ้านอาศัยทำบุญให้ทานรักษาศีลกันปีๆหนึ่ง ก็ไม่มากองค์ ตลอดถึงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุก็เป็นไปตามภาษาชนบท
�ครั้นต่อมาก็ช่วยกันย้ายวัดข้ามฟากมาตั้งอยู่ดอนดงทอง(ที่ตั้งวัดอยู่ในเวลานี้)ก็มีแต่พระหลวงตาเฝ้าวัดอยู่ตามเคยและก็ไม่มากองค์อีก แต่ว่าวัดจะตั้งอยู่นานสักเท่าใดนั้น ไม่ปรากฏชัดแต่ท่านผู้รู้ทราบมาคร่าวๆว่าวัดได้ร้างไปอีก
� ต่อมาราวๆ พุทธศักราช ๒๔๖๔ นายบาง พร้อมด้วยประชาชนก็ได้ช่วยกันขนย้ายวัดตั้งที่ดอนภูมิ แล้วนายเจียกซึ่งเป็นบุตรของนายบาง บวชเป็นพระภิกษุเป็นหัวหน้าปกครองวัด มีพระอยู่ครบคณะ แต่บางปีก็ไม่ครบต่อมาๆจากนั้น วัดก็ร้างไปอีก
หลังจากนั้นมาประมาณ พุทธศักราช ๒๔๗๑ ชาวบ้านปลายน้ำก็พร้อมใจกันช่วยกันสร้างวัดขึ้นอีกที หน้าวัดข้ามตีนสะพานฝั่งใต้วัด ฝ่ายพระภิกษุมีอาจารย์อ่อง ดูแลวัดเป็นหัวหน้าปกครองพระ มีพระอยู่จำพรรษาครบคณะบ้าง ไม่พอบ้าง และแล้ววัด ก็ได้ร้างไปอีก
�ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๗๔ ชาวบ้านพร้อมใจกันไปขออนุญาตทางการคณะสงฆ์ เพื่อขอสร้างวัดขึ้นอีกทีที่ดอนดงทอง(ที่ตั้งวัดในเวลานี้) และได้สถาปนา ยก พระอธิการบุญนาค ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ในครั้งนี้ทายก ทายิกา รู้สึกว่ามีศรัทธาแข็งแรงขึ้น จึงเริ่มก่อสร้างขึ้นมาเป็นสำนักสงฆ์ มีนามว่า วัดสามัคคีธรรม แรกๆมีพื้นกุฏิเป็นพื้นกระดาน ฝาแฝก มุงหลังคาแฝก ๓ หลัง พอพระอยู่อาศัยเทศกาลจำพรรษาปีๆหนึ่ง มีพระครบคณะบริบูรณ์ ทั้งพระท้องถิ่นและต่างถิ่นก็มีมาอยู่จำพรรษาด้วยเสมอๆไม่ขาด และได้เปลี่ยนแปลงเสนาสนะเป็นเครื่องสัพมุงกระเบื้อง สังกะสี เป็นของถาวรเป็นลำดับมา แต่ศาลาบำเพ็ญบุญนั้นยังเป็นเครื่องไม้ไผ่มุงแฝกพอที่จะกันแดดกันฝนไปได้ปีๆหนึ่ง รุ่งขึ้นก็ซ่อมกันอีกทุกๆปีไป
� ในพุทธศักราช ๒๔๗๙ พระอธิการบุญนาค พร้อมด้วยทายกและกรรมการวัดมีความเห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์โดยได้ปรึกษาหารือกันว่า วัดของเรานี้ เป็นวัดบ้านป่าดอน ยังห่างไกลต่อการศึกษา ฉะนั้น ควรจะมีโรงเรียนประชาบาลอยู่ในวัดของเราบ้าง พอจะได้ให้เด็กๆได้มีการศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย พอเป็นเครื่องช่วยเปิดหูเปิดตาของกุลบุตร กุลสตรี ภาคนี้ขึ้นเป็นพื้นฐานสืบมาจนทุกวันนี้ นับว่าเป็นแนวทางแห่งความเจริญในส่วนของการศึกษาภาษาไทย ส่วนทางวัดก็ได้รับความเจริญก้าวหน้าเป็นลำดับ
� ประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๑ พระอธิการบุญนาค พร้อมทายกและกรรมการ เริ่มขออนุญาตวิสุงคามสีมาขึ้น หลังจากนั้นหลายปีผ่านไปก็ได้รับพระบรมราชานุญาตเป็นเขตวิสุงคามสีมา ตามพระบรมราชานุญาตตามกฎหมาย ซึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๗
� เมื่อถึงพุทธศักราช ๒๔๙๐ พระอธิการบุญนาค ก็มรณภาพลง ในระหว่าง ๖ เดือนที่วัดยังไม่มีเจ้าอาวาส ได้มีพระหลวงตารูปหนึ่งเฝ้าวัดกับสามเณรอีกหนึ่งพออยู่เป็นเพื่อนกัน ในระยะนี้นั้น หัวอกหัวใจของชาวบ้านก็ อกสั่นขวัญหายไปตามๆกัน ด้วยความเคารพ ศรัทธาและอาลัยถึง พระอธิการบุญนาค ไหนยังจะคิดว่าจะไปหาพระที่ไหนมาปกครองวัดต่อไป
� พอขึ้นพุทธศักราช ๒๔๙๑ นายชาย นายกลม ขุนเสวศสารักษ์ ก็พากันไปรับพระอธิการเยื้อน ที่กำลังศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดหน่อพุทธางกูร เพื่อให้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม และหลังจากนั้นระยะหนึ่งก็เริ่มหาเครื่องสัมภาระก่อสร้างศาลาการเปรียญ เตรียมเสร็จสรรพเพียงพอแล้วในปี พุทธศักราช ๒๔๙๗ตรงกับเดือน ๕ แรม ๖ ค่ำ ยกเสาติดเครื่องบนมุงเสร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๙๙,ยกช่อฟ้าใบระกาเสร็จใช้ได้ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ นับว่าเป็นสิริมงคล สร้างความเป็นสง่าราศรีให้แก่วัดและชาวบ้านท้องถิ่นปลายน้ำ โพธิ์เขียว ดอนตะไล้ ให้มีเกียรติยศขึ้นว่าเป็น พุทธมามกเป็นเครื่องอบอุ่นใจ เรียกร้องเอามิ่งขวัญของประชาชนแถบนี้กลับคืนมาสู่ร่างอีกครั้งหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่ดี ซึ่งวัดนี้เคยสร้างมานานแล้วหลายต่อหายครั้งไม่เคยมีศาลาเป็นถาวรวัตุเลย พึ่งเกิดมีขึ้นครั้งนี้เป็น ปฐมฤกษ์ ข้อสำคัญที่จะลืมเสียมิได้ ก็คือ น้ำใจของชาวบ้านแถบนี้ แม้ว่าเป้นบ้านเล็กๆก็จริง แต่มีน้ำใจแข็งแรง มั่นคง เด็ดเดี่ยวด้วยศรัทธาอันแรงกล้าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จนทำให้สามารถสร้างศาลาหลังนี้ขึ้นมาได้ เป็นเครื่องแสดงถึงน้ำใจว่า ทำกันจริงๆ ทุกๆคน อันนี้เป็นนิมิตเครื่องหมายของคำว่า ความสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ด้วยกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังความคิด แม้ว่าเราจะได้บริจาคทรัพย์คนละเล็กละน้อย ก็ได้ชื่อว่าเราได้ร่วมกัน สามัคคีกันสร้างศาลาหลังนี้ขึ้น อีกทั้งจะเป็นมรดกฝากไว้ให้ลูกหลานของเราดูเป็นตัวอย่างในวันข้างหน้าชั่วกาลนาน.
"สามัคคี คือ พลัง"
ลงนาม พระอธิการเยื้อน ผู้เขียน.
วัดสามัคคีธรรม (ปลายน้ำ)
มีพระอธิการบุญนาค��ปญฺญาปโชโต เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก
อาณาเขต ทิศเหนือ จดที่ดินเอกชน ทิศใต้และทิศตะวันออก จดลำธารปลายน้ำ ทิศตะวันตก จดที่ดินเอกชน
มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน ๑ แปลง มีเนื้อที่ ๔๐ ไร่ โฉนดที่ดินเลขที่ ๓๔
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
๑.อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๒๒ เมตร(บูรณะใหม่ พ.ศ.๒๕๔๐ และ พ.ศ.๒๕๕๘)
๒.ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๑ (บูรณะใหม่ พ.ศ.๒๕๕๔)
๓.หอสวดมนต์ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๙ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๖ เมตร
๔.กุฎิสงฆ์ ๓ หลัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘
๕.ศาลาบำเพ็ญกุศล เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙
๖.อาคารห้องน้ำ ๓ หลัง จำนวน ๒๐ ห้อง (บูรณะใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖ / ๒๕๕๙ และ ๒๕๖๐)
ด้านบริหารการปกครอง�มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้ คือ
๑.พระอธิการบุญนาค� �ปญฺญาปโชโต��พ.ศ.๒๔๗๕-๒๔๙๐
๒.พระอธิการเยื้อน� ��ปญฺญาสิริ� � � พ.ศ.๒๔๙๑-๒๕๐๐
๓.พระอธิการบุญมี� � กนฺตสีโล� � ���พ.ศ.๒๕๐๐-๒๕๑๐
๔.พระอธิการปอ� � ��จนฺทโชโต� � � พ.ศ.๒๕๑๒-๒๕๒๗
๕.พระอธิการพรม� � ฐานวโร� � � � � พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๓๘
๖.พระอธิการทอง� � นิติสาโร� � � � �พ.ศ.๒๕๓๙-๒๕๕๙
๗.พระครูสังฆรักษ์เนียม� จารุวณฺโณ���พ.ศ.๒๕๕๙-ปัจจุบัน
ด้านการศึกษา��มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม เปิดสอนเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖ - จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ๙�รูป
�
เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : ลำดับเจ้าอาวาส (1.9 mb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : อดีตเจ้าอาวาสรูปแรก (77.03 kb)
เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 4 (64.05 kb)
รายการพระ
พระครูสังฆรักษ์เนียม จารุวณฺโณ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 16-01-2566
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ
ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565
เปิดดู 239 ครั้ง
วันมาฆบูชา มาร่วมกันทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรม เวียนเทียน
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2566
เปิดดู 13 ครั้ง
โครงการสร้างสุขปรองดองสมานฉันท์โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565
เปิดดู 54 ครั้ง
ขอเชิญร่วมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคล
ข้อมูลเมื่อ : 16-01-2566
เปิดดู 6 ครั้ง
๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๕ วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข้อมูลเมื่อ : 28-06-2565
เปิดดู 22 ครั้ง
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ๓ มิถุนายน ๒๕๖๕
ข้อมูลเมื่อ : 02-06-2565
เปิดดู 107 ครั้ง
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดสามัคคีธรรม(ปลายน้ำ)
ข้อมูลเมื่อ : 27-03-2565
ทรัพย์สินของวัด
โฉนดที่ดินตั้งวัด
ข้อมูลเมื่อ : 21-02-2565
พระพุทธรูป ณ ศาลาการเปรียญ
ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา
ข้อมูลเมื่อ : 21-03-2565
กิจกรรมทางสถาบันพระมหากษัตริย์
ข้อมูลเมื่อ : 21-03-2565
ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ
ข้อมูลเมื่อ : 18-03-2565
หมู่บ้านรักษาศีล ๕
ข้อมูลเมื่อ : 21-02-2565
เจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาถวายพระพรชัยมงคล
ข้อมูลเมื่อ : 16-01-2566
มีศีลมีสุข
ข้อมูลเมื่อ : 16-02-2565
งานศึกษาสงเคราะห์ / สาธารณสงเคราะห์
ข้อมูลเมื่อ : 16-02-2565
วัด ประชา รัฐ สร้างสุข
ข้อมูลเมื่อ : 18-03-2565