เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
292 รูป
แม่ชี
87 รูป
ศิษย์วัด
38 คน
บุคคลทั่วไปชาย
41 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
53 คน
ทั้งหมด
8856 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
46 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
75 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7183 รูป
ลาสิกขา
42 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดภูเขาดิน

รหัสวัด
msuphanburi092

ชื่อวัด
วัดภูเขาดิน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2468

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 28 เดือน ธันวาคม ปี 2533

ที่อยู่
วัดภูเขาดิน

เลขที่
213

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
สระแก้ว

เขต / อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี

จังหวัด
สุพรรณบุรี

ไปรษณีย์
72230

เนื้อที่
32 ไร่ 3 งาน 13 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

มือถือ
0828792478

จำนวนเข้าดู : 2687

ปรับปรุงล่าสุด : 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 11:47:32

ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 12:54:57

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัดภูเขาดินในอดีต
      ประวัติวัดภูเขาดิน  ดูจะไม่มีผู้ทราบนัก  เห็นจะทราบแต่ว่าที่ชื่อ  “เขาดิน”  เพราะมีเจดีย์ใหญ่ที่ตั้งอยู่บนเนินมีลักษณะคล้ายภูเขา   ตามหลักฐานเอกสารที่ค้นพบได้พบว่าพระราชหัตถเลขาของพระ บาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕  เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านเสด็จ  ประพาสสระศักดิ์สิทธิ์ที่ริมน้ำท่าว้าได้ระบุถึงซื่อ “เขาดิน” ไว้ดังนี้ 
      “วันที่ ๒๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗  (พ.ศ.๒๔๕๑)  ลงเรือพระศรีเทพไปเข้าครองระหว่างวัดมหาธาตุ (วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ)  และหลักเมือง  ไปออกหลังเมือง  ในท้องทุ่งหลังเมืองมีต้นตาลเป็นอันมาก  เป็นคันตลิ่งสูงดงตาลแลสุดสายตา  เมื่อขึ้นฝั่งน้ำไปทั้งสองข้างในระหว่างดงตาลนั้นเป็นทุ่งนา  งามดีเป็นอันมาก  พระป่าเลไลย์อยู่ชายดงตาล  เมื่อพ้นดงตาลออกไปแล้ว  เป็นป่าไผ่มีทางเกวียน  ทางเกวียนนั้น หน้าน้ำใช้เป็นคลองที่เรือไปวันนี้  นาน ๆ ก็ตกเป็นทุ่งเป็นนามีชื่อต่าง ๆ  ทุ่งละใหญ่ ๆ  ทางนั้นคดไปคดมาเรียกว่า“ สามสิบสามคด ” มีอยู่แห่งหนึ่ง  ระยะทางตั้งแต่ลำน้ำนี้ขึ้นไป ๗๐๐ เส้น  จึงถึงลำน้ำเก่าเขาเรียกว่า  ลำน้ำเขาดินท่าว้า  ที่ได้ชื่อว่าเขาดินนั้นเพราะเหตุว่า มีสระสี่สระอยู่เหนือน้ำ  วัดหน้าพระธาตุเมืองเก่าอยู่ใต้น้ำ วัดเขาดินนี้อยู่ย่านกลาง เป็นวัดใหญ่อยู่ฝั่งตะวันตกมีพระเจดีย์และโบสถ์  แต่พระสงฆ์ลงไปจำพรรษาวัดสารภีเหนือน้ำขึ้นไป  เหตุด้วยตามลำน้ำข้างเหนือมีน้ำตลอดปี
          เมื่อพิจารณาข้อความในพระราชหัตถเลขานี้แล้ว  ชื่อลำน้ำเขาดินเห็นจะตั้งขึ้นตามชื่อวัดเขาดิน  ที่อยู่ในย่านกลางของลำน้ำดังกล่าว  ชี้ให้เห็นว่าชื่อวัดเขาดินเรียกกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ ๕  แล้ว  แต่จะเริ่มเรียกกันมาแต่ครั้งใดด้วยสาเหตุใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานใดระบุถึง
          อย่างไรก็ตาม  ข้อความนี้จะระบุว่าวัดเขาดิน  เป็นวัดใหญ่และมีศาสนสถานที่สำคัญคือเจดีย์และโบสถ์  แต่พระสงฆ์ลงไปอยู่วัดสารภีเหนือน้ำขึ้นไป  เพราะลำน้ำข้างเหนือน้ำลึก  มีน้ำตลอดปี  บ่งบอกถึงสภาพของวัดเขาดิน  ที่เริ่มเสื่อมลงเพราะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่  หรืออาจจะอยู่บ้างก็คงเป็นฤดูที่มีน้ำมาก  ที่พระสงฆ์สามารถจะใช้ประโยชน์ได้
            กระนั้นก็ตามโบราณสถาน  ที่มีอยู่ในวัดเขาดินคือพระเจดีย์และโบสถ์นั้น  เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ถึงสภาพและความสำคัญของวัดเขาดิน  โดยเฉพาะพระเจดีย์  กล่าวได้ว่าเป็นเจดีย์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์  เมื่อเทียบกับเจดีย์เก่าที่อื่น ๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี  และมีรูปแบบที่ค่อนข้างแปลกใหม่กว่าเจดีย์สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์  คือเป็นเจดีย์ซึ่งตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมสูง  มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีของจังหวัดสุพรรณบุรี   เสนอความเห็นว่า   เป็นเจดีย์สมัยอู่ทอง 
             นอกจากนั้นอาจารย์ประยูร  อุบชาฎะ  แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร  ผู้ใช้นานปากกาว่า น. ณ ปากน้ำ  ยังเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเจดีย์วัดเขาดินว่า  เดิมเป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมตั้งอยู่ในฐานสี่เหลี่ยมสูงบนเนินดิน  ซึ่งปัจจุบันถูกแก้ให้เป็นเจดีย์กลม  เป็นรูปแบบของเจดีย์ที่สร้างก่อนสมัยอยุธยา  ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์สมัยปาละ  อาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๖ - ๑๘ ( พ.ศ.๑๖๐๐ - ๑๘๐๐ ) และจะมีอยู่ตามที่สำคัญในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  จึงกล่าวได้ว่า  วัดเขาดินนี้เป็นวัดที่สำคัญวัดหนึ่ง ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา  ที่สร้างมาแต่ก่อนสมัยอยุธยาแล้ว
       แม้จะมีหลักฐานทางด้านเอกสารและโบราณคดี  ที่พอจะบ่งบอกเรื่องราวของวัดเขาดินได้บ้าง แต่ก็ยังไม่กระจ่างชัดพอสิ่งเหล่านี้ ทำให้เราทราบเพียงระยะเวลาและสถานการณ์ที่วัดนี้ดำรงอยู่ใน ช่วงหนึ่ง  ส่วนรายละเอียดความเป็นมาของวัด  ใครเป็นผู้สร้าง  สร้างเมื่อใด  เพื่อจุดประสงค์อะไรและอื่น ๆ  ดูเหมือนจะไม่มีใครทราบ  แม้ว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง  ทั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยความเก่าแก่ ของวัดนี้ซึ่งเก่าแก่มากจนไม่มีสามารถจะสืบทอดเรื่องราวถึงคนที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันได้
         กระนั้นก็ตาม  ก็ยังมีผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับวัดเขาดิน  อยู่อีกท่านหนึ่งคือ  พระเทพวุฒาจารย์  ( หลวงพ่อ เปลื้อง )  อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี  ตอนนั้นอายุท่าน ๑๐๑ ปี  ( เกิดพ.ศ.๒๔๒๖ )  ได้เล่าให้คุณมนัส  โอภากุล  ฟังถึงเรื่องพระพุทธบาทไม้ของวัดพระรูปว่า  ปู่  ย่า  ตา  ทวด  ของท่าน  ซึ่งเป็นคนทางบ้านเขาดินท่าว้า  เล่าให้ฟังต่อมาอีกที่ว่า  เมื่อสงครามไทยพม่า พ.ศ.๒๓๑๐  พม่าเที่ยวไล่กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยยังเมื่อพม่า  บ้านเมืองให้เขาทำลายเสีย  พระภิกษุหนึ่งรูปที่วัดเขาดิน  ที่มีความเสียดายพระพุทธบาทไม้แผ่นนี้เป็นอันมาก  จึงเอาไปซุกซ่อนไปไว้ในป่า  ต่อเมื่อสงครามสงบพม่ายกกองทัพไปหมดแล้วที่วัดเขาดิน ไม่มีเณรจำอยู่จำพรรษา  ท่านจึงพิจารณาว่าควรลำเรียงพระพุทธบาทไม้แผ่นนี้ไว้ที่อื่น  ท่านจึงเอาไม้ไผ่มาผูกเป็นมัดต่อเป็นแพ  และลำเรียงออกจากท่าว้าเขาดิน มาออกแม้น้ำท่าจีนแล้วเอาขึ้นที่วัดพระรูปตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
          เรื่องพระพุทธบาทไม้ที่วัดพระรูปกับวัดเขาดินนี้  เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย  และอย่าคิดว่าไม่มีมูลความจริงเสียทีเดียว  เพราะไม่มีใครทราบว่า  พระพุทธบาทนี้มีความเป็นมาอย่างไร  แต่ทราบว่าเดิมพระพุทธบาทไม้มาประดิษฐ์สถานอยู่ที่วัดนี้และลอยมาแต่เหนือ  ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบเส้นทาง คมนาคม  ในสมัยโบราณก็มีผู้ยืนยันว่าเมื่อลำคลองเล็ก ๆ แยกจากแม่น้ำท่าว้ามาสู่แม่น้ำสุพรรณ ( ท่าจีน ) เมื่อรัชกาลที่ ๕  เสด็จประภาสที่เมืองสุพรรณก็ได้เสด็จผ่านวัดเขาดินด้วย  เเสดงว่าลำน้ำท่าว้าเชื่อมต่อแม่น้ำได้จริง ๆ  ในแง่ของสภาพภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณก็มีร่องรอยว่าลำน้ำท่าว้าว่าเป็นลำน้ำใหญ่หรือแม่น้ำใหญ่หรือแม่น้ำสุพรรณเดิม  และเป็นทางคมนาคมที่สำคัญมาก่อนตั่งแต่เมืองอู่ทอง  ยังเรืองอำนาจ
         อย่างไรก็ดี พระพุทธบาทไม้ที่วัดพระรูปนี้  น่าจะเป็นของที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาเพราะลวดลายที่แกะสลัก  เป็นลักษณะของลวดลายสมัยก่อนอุยธยา  ดังนั้นหากพระพุทธบาทไม้นี้ถูกนำมาจากวัดเขาดินจริง  ตามหลักฐานโบราณคดี  วัดเขาดินต้องเป็นวัดเก่าแก่ที่ที่สร้างมาตั้งแต่ก่อนสมัยอุยธยาอย่างแน่นอน   ส่วนจะเป็นที่มีความสำคัญในระดับไหนนั้น  อาจพิจารณาได้จากโบราณสถานและอาณาบริเวณ  ซึ่งจัดได้ว่าเป็นวัดใหญ่และมีศาสนสถานขนาดใหญ่  คือโบสถ์ (โบสถ์นั้นดูจะเป็นฝีมือการสร้างของช่างในสมัยเดียวกับเจดีย์  อาจเป็นสมัยอุยธยาหรือรัตนโกสินทร์) การที่จะสร้างวัดขนาดใหญ่เช่นนี้ได้  ชี้ให้เห็นว่าผู้สร้างจะต้องเป็นผู้อำนาจ  ที่จะสามารถเกณฑ์แรงงานคนมาสร้างวัดขนาดใหญ่เช่นนี้ได้  ในสมัยโบราณการสร้างจะต้องเป็นวัดและสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่โต  เช่น  วังไม่มีแรงงานจ้างเหมือนในปัจจุบัน  แต่เป็นการเกณฑ์แรงงานของมูลนาย
           เมื่อพิจารณาถึงการควบคุมกำลังคนหรือบ่าวไพร่ ในสมัยโบราณแล้ว  ผู้ที่สามารถควบคุมกำลังคนได้ก็คือ  “ เจ้าเมือง ”  “ ขุนนาง ”   ที่อยู่ในฐานะมูลนายทั้งหลาย  จึงสันนิษฐานได้ว่าในบริเวณชุมชนเขาดินในปัจจุบัน  น่าจะมีหรือเคยเป็นชุมชนโบราณที่มีผู้นำอำนาจในระดับหนึ่ง   อาจเป็นกษัตริย์   เจ้าเมือง  หรือขุนนาง  และจากลักษณะของวัดเขาดินที่เป็นวัดใหญ่วัดนี้  น่าจะเป็นวัดที่ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของชุมชน  หรือเมืองในแถบนี้เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุกลางเมืองสุพรรณบุรี
         ความเป็นมาของความสำคัญในสมัยโบราณของวัดเขาดิน ที่ลองค้นได้จากหลักฐานทาง ด้านเอกสารโบราณคดี และการบอกเล่าของท่านผู้รู้นั้นสันนิษฐานได้ว่า เป็นวัดที่มีความสำคัญในระดับศูนย์กลางทางพุทธศาสนาชุมชนโบราณ ได้ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาแล้ว ถึงแม้วัดนี้อาจจะเสื่อมลงถึงขึ้นไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่  โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ.๒๓๑๐  เมื่อกรุงศรีอยุธยา  พ่ายแก่พม่าครั้งที่ ๒  เมืองสุพรรณบุรี  ในฐานะเมืองที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของพม่า  ก็ได้รับความกระทบกระเทือนไปด้วย  ผู้คนต้องอพยพหลบเข้าป่า  บ้างก็ถูกพม่ากวาดต้อนไป  สภาพวัดหลายวัดในสุพรรณบุรี  จึงถูกทอดทิ้งอยู่ในสภาพวัดร้าง  เพราะปราศจากพระภิกษุสงฆ์และสามเณรจำพรรษาอยู่รวมทั้งวัดเขาดินด้วย  แต่วัดเขาดินก็ยังคงสภาพของวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในปัจจุบัน และในอนาคตหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวัดเขาดิน  คงจะได้รับการทำนุบำรุงให้เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาของบรรดาพุทธศาสนิกชนเช่นที่เป็นมาในอดีต
ประวัติวัดในปัจจุบัน
          วัดภูเขาดิน  เป็นวัดราษฎร์  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๓  หมู่ที่  ๑  ตำบลสระแก้ว   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี   จังหวัดสุพรรณบุรี  ทิศเหนือจดป่าช้า   ทิศใต้ติดถนน  ทิศตะวันออกจดแม่น้ำท่าว้า  ทิศตะวันตกติดโรงเรียนวัดภูเขาดิน
การตั้งวัด
๑.วัดภูเขาดิน  เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๔๖๘  เป็นวัดที่กฎกระทรวงศึกษาธิการออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๔๘๔  มีผลบังคับใช้
๒.ตั้งอยู่เลขที่ ๒๑๓  หมู่ที่  ๑  ตำบลสระแก้ว   อำเภอเมืองสุพรรณบุรี   จังหวัดสุพรรณบุรี
๓.ปัจจุบันมีที่ดินที่ตั้งวัด 
   ๓.๑ เนื้อที่จำนวน  ๓๒  ไร่  ๓  งาน  ๑๓  ตารางวา
   ๓.๒ มีที่ธรณีสงฆ์  ๓  ไร่  ๔๙  ตารางวา
๔.มีอาคารเสนาสนะ  ดังนี้
๒.๑ อุโบสถ  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๘ เดือน ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๓  
  ๒.๒ วิหาร  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
  ๒.๓ ศาลาการเปรียญสองชั้น  ชั้นล่างเป็นพื้นปูน  ชั้นบนเป็นเสาไม้  พื้นไม้ 
  ๒.๔ กุฏิสงฆ์
  ๒.๕ ฌาปนสถาน (เมรุ)  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
ปูชณียวัตถุและโบราณวัตถุ  ดังนี้
๑. หลวงพ่อจักรเพชร              ๑  องค์
๒. เจดีย์เก่าแก่                      ๑  องค์
ทางด้านการบริหารและการปกครอง
วัดภูเขาดิน  ตั้งแต่สร้างวัดมามีเจ้าอาวาสปกครองวัด  ดังนี้
รูปที่  ๑  หลวงพ่อพระครูสุมนต์  สุทฺธสีโล
รูปที่  ๒  หลวงพ่อทอง  ปญฺฑิโก
รูปที่  ๓  หลวงพ่อสนธ์  ธมฺมทีโป
รูปที่  ๔  พระครูบรรพตสุวรรณรักษ์
รูปที่  ๕  พระอธิการไพรสน  วรธมฺโม   พ.ศ. ๒๕๕๙ – ปัจจุบัน

ปัจจุบัน  มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา  ๑๑  รูป 

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (2.09 mb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (1.39 mb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : (1.41 mb)

แผนที่ภาพ

รายการพระ

พระครูบรรพตสุวรรณรักษ์ จนฺทสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 02-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระอธิการไพรสน วรธมฺโม

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระวิเชษฐ์ จนฺทโก

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 25-01-2565

พระประยูร เขมปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 04-08-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระปัญญา อุชุจาโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระจำนงค์ ปภาโส

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระนน ปนฺนภาโร

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 23-07-2565

พระสำเริง ชินลาโภ

ข้อมูลเมื่อ : 04-08-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 06-08-2566

พระวินัย ชยธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-08-2566

พระสุรชัย อินฺทปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 04-08-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 23-07-2567

พระวรรณดี ฐานรโต

ข้อมูลเมื่อ : 04-08-2566

ปรับปรุงล่าสุด : 23-07-2567

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

งานบูรพาจารย์วัดภูเขาดิน

ข้อมูลเมื่อ : 01-08-2567

เปิดดู 38 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ทำบุญเข้าพรรษา ...

วันที่จัดงาน : 02-08-2566

เปิดดู 70 ครั้ง

เวียนเทียนวันอา...

วันที่จัดงาน : 01-08-2566

เปิดดู 77 ครั้ง

ทำบุญวันอาสาฬหบ...

วันที่จัดงาน : 01-08-2564

เปิดดู 91 ครั้ง

ห่มผ้าเจดีย์และ...

วันที่จัดงาน : 17-04-2564

เปิดดู 95 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

พระประธานในอุโบ...

ข้อมูลเมื่อ : 16-02-2565

เปิดดู 502 ครั้ง

หลวงพ่อจักรเพชร

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

เปิดดู 1632 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ประวัติพระพุทธเ...

ข้อมูลเมื่อ 16-05-2565

เปิดดู 128 ครั้ง

ประวัติ พระพุทธ...

ข้อมูลเมื่อ 06-03-2565

เปิดดู 164 ครั้ง

อาจารย์คมพาไปไห...

ข้อมูลเมื่อ 21-02-2565

เปิดดู 175 ครั้ง

วัดภูเขาดิน

ข้อมูลเมื่อ 21-02-2565

เปิดดู 243 ครั้ง

สาระธรรม

ธรรมวิจารณ์

ข้อมูลเมื่อ : 17-02-2565

เปิดดู 70 ครั้ง

สื่อมีเดีย

พุทธานุพุทธประว...

ประเภทไฟล์ : ppt

ข้อมูลเมื่อ : 22-02-2565

เปิดดู 505 ครั้ง

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

หลวงพ่อจักรเพชร

ข้อมูลเมื่อ : 17-02-2565

โครงการและกิจกรรมเด่น

วันวิสาขบูชา 65

ข้อมูลเมื่อ : 15-05-2565

การบวชชีพราหมณ์

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

การบวชเณรภาคฤดูร้อน

ข้อมูลเมื่อ : 29-01-2565

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด