



ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
รหัสวัด
02720102002
ชื่อวัด
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
-
วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500
ที่อยู่
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
เลขที่
41
หมู่ที่
1
ซอย
-
ถนน
สมภารคง
แขวง / ตำบล
รั้วใหญ่
เขต / อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72000
เนื้อที่
93 ไร่ 3 งาน 64 ตารางวา
เว็บไซต์
คลิกดู
มือถือ
081-981-3841
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 2623
ปรับปรุงล่าสุด : 7 มีนาคม พ.ศ. 2565 12:30:27
ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 12:36:32
ประวัติความเป็นมา
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี
อยู่ในตำบลรั้วใหญ่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี ถนนสมภารคงแยกจากถนนมาลัยแมน ไปประมาณ 300 เมตรในสมัยก่อนเป็นศูนย์กลางของเมืองสุพรรณภูมิ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง สันนิษฐานว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 600 ปี ปรางค์องค์ประธาน เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2456 ชาวบ้านลักลอบขุดค้นหาทรัพย์สินจนทรุดโทรมไปมาก พระพิมพ์ผงสุพรรณบุรีที่โด่งดังมาก อันเป็นหนึ่งใน “เบญจภาคี” ก็ได้ไปจากกรุในองค์พระปรางค์นี้ และพระเครื่องที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ที่นอกเหนือจากพระผงสุพรรณ เช่น พระกำแพงศอก พระมเหศวร พระสุพรรณยอดโถ พระสุพรรณหลังผาน ตลอดจนพระเนื้อชินต่างๆ ซึ่งปัจจุบันหายาก นักโบราณคดีหลายท่านให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นศิลปะการก่อสร้าง ในสมัยอู่ทองสุพรรณภูมิ เพราะหลักฐานการก่อสร้าง เป็นการก่ออิฐไม่ถือปูน ซึ่งเป็นวิธีการเก่าแก่ก่อนสมัยอยุธยา
เดิมเป็นวัดสำคัญของเมืองโบราณสุพรรณบุรีมาตั้งแต่สมัยอยุทธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ก่อนถูกทิ้งร้างไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อสงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เมื่อพุทธศักราช 2310 จากนั้นจึงมีการบูรณปฎิสังขรณ์ใหม่ อีกครั้ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ประวัติการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ปรากฎในจารึกบนแผ่นลานทองที่พบจากกรุพระปรางค์ และยอดนภศูล เมื่อพุทธศักราช 2456 ข้อความในจารึกระบุถึงการสร้างพระสถูป (องค์พระปรางค์) ของพระมหากษัตริย์ และการปฎิสังขรณ์ โดยพระราชโอรสในสมัยต่อมา ซึ่งนักวิชาการมีความเห็นว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้าง อาจหมายถึงสมเด็จพระนครินทราธิราช หรืออาจหมายถึงสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2 (เจ้าสามพระยา) จึงนำไปสู่ข้อสันนิษฐานว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี สถาปนาขึ้นช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20) ระหว่างรัชกาลใดรัชกาลหนึ่ง
แผนผังสถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย เจดีย์ทรงปรางค์เป็นประธานของวัด ด้านข้างมีปีกปรางค์หรือปรางค์ขนาดเล็กขนาบปรางค์ประธานทั้งสองข้าง ทำระเบียงคตล้อมอยู่โดยรอบ ด้านนอกระเบียงคตมีวิหารหลวงอยู่ด้านหน้าทางทิศตะวันออก และอุโบสถอยู่ด้านหลังทางทิศตะวันตก โดยสร้างอยู่แนวเดียวกับปรางค์ประธานตามความนิยมในสมัยกรุงศรีอยธยาตอนต้น นอกระเบียงคตยังมีวิหารราย และเจดีย์รายอีกหลายองค์รายล้อมอยู่โดยรอบ
กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เป็นโบราณสถานสำคัญสำหรับชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3710 วันที่ 8 มีนาคม 2478 หลังจากนั้นได้มีการดำเนินงานขุดศึกษาโบราณคดี และบูรณะโบราณสถานบางส่วนเป็นระยะ และปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์จนแล้วเสร็จ เมื่อพุทธศักราช 2562
ลักษณะทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมของพระปรางค์
พระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุสุพรรณบุรี ก่อด้วยอิฐสอดิน ผิวด้านนอกฉาบปูนส่วนฐานทำเป็นชุดฐานบัวลูกฟัก สี่เหลี่ยมย่อมุมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 4 ชั้น รองรับองค์เรือนธาตุ ลักษณะมุมมีมุมประธานซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดใหญ่อยู่กลาง มุมย่อยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขนาบทั้งสองข้าง องค์เรือนธาตุสอบโค้งเข้าหาส่วนบน ย่อมุมรับกับส่วนฐาน มีมุมซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน เฉพาะด้านทิศตะวันออกทำเป็นคูหา ประดิษฐานพระปรางค์จำลอง ผนังห้องคูหาทั้ง 3 ด้านฉาบปูนเรียบ เพดานบุด้วยแผ่นไม้กระดาน และมีบันไดขึ้นสู่คูหาเพียงด้านเดียว หน้าบันเรือนธาตุทำเป็นซุ้มลดซ้อนกัน 2 ชั้น ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นรูปมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏรูปเทพพนมระหว่างมกรและนาค บริเวณชั้นบัวรัดเกล้าปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปอุบะและกลีบบัว อันเป็นแบบประเพณีนิยมสมัยอยุธยาตอนต้นสามารถเปรียบเทียบได้กับชั้นบัวรัดเกล้าที่พระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เหนือขึ้นไปเป็นชั้นเชิงบาตรครุฑแบก ยักษ์แบก แต่ปัจจุบันปรากฏเพียงปูนปั้นรูปยักษ์บริเวณมุมย่อยเท่านั้น นอกจากนี้บริเวณหน้ากระดานของวิมานชั้นแรกยังปรากฏลวดลายปูนปั้นเป็นรูปหงส์ รูปใบไม้ ในกระจกอีกด้วย ส่วนยอดพระปรางค์ประกอบด้วยชั้นวิมานจำลองซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 7 ชั้น สอบโค้งเข้าหาปลาย บริเวณมุมและด้านประดับด้วยกลีบขนุนและซุ้มบันแถลง ยอดพระปรางค์ประดับด้วยนภศูล
เมื่อ พ.ศ. 2456 ในคราวขุดกรุพระปรางค์วัดนี้ได้พบจารึกลานทองหลายลานด้วยกัน ที่สำคัญคือ จารึกที่กล่าวถึงกษัตริย์สองพระองค์ที่ทรงสร้างและทรงซ่อมพระปรางค์องค์ดังกล่าวไว้ด้วย (จารึกหลักที่ 47) ) ซึ่งอายุของจารึกลานทองแผ่นนี้ นักภาษาโบราณหลายท่าน ( ก่องแก้ว วีรประจักษ์, เทิม มีเต็ม , อุไรศรี วรศะริน ) ให้ความเห็นว่า อักษรในจารึกลานทองแผ่นนี้เป็นรูปอักษรในราวพุทธศตวรรษที่ 24 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่เมื่อพิจารณาตามข้อความในจารึกและพระนามพระมหากษัตริย์แล้วจะเห็นว่าเป็นพระนามกษัตริย์ในสมัยอยุธยา ขัดกันกับรูปอักษรมาก ในขณะที่พิจารณาทางรูปแบบศิลปกรรมศิลปกรรมขององค์ปรางค์ก็เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา จึงมีทางเป็นไปได้ว่า จารึกลานทอง หลักที่ 47 วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนี้เป็นจารึกที่สร้างขึ้นใหม่ โดยใช้อักษรข้อความลอกเลียนแบบจารึกของเดิมซึ่งชำรุด
ในปี พ.ศ. 2542-2543 ฝ่ายวิชาการ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ดำเนินงานขุดค้นบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พบว่าบริเวณดังกล่าวนี้ปรากฏร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 17
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
พระครูศรีรัตนวิภูษิต กลฺยาโณ
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 07-10-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 07-03-2565
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2565
ทรัพย์สินของวัด
พระผงสุพรรณองค์ใหญ่
ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2565
วิหารแฝด
ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2565
ปรางค์เจดีย์อิฐ
ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
โครงการเยี่ยมผู้ป่วยติดเตียง คนชรา ผู้พิการ ทุพพลภาพ
ข้อมูลเมื่อ : 07-03-2565
นุ่งโจงห่มสไบ
ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564