เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดแค

รหัสวัด
2720102003

ชื่อวัด
วัดแค

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 01 เดือน มกราคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
วัดแค

เลขที่
120/5

หมู่ที่
1

ซอย
-

ถนน
สมภารคง

แขวง / ตำบล
รั้วใหญ่

เขต / อำเภอ
เมืองสุพรรณบุรี

จังหวัด
สุพรรณบุรี

ไปรษณีย์
72000

เนื้อที่
7 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา

Facebook
คลิกดู

อีเมล์
watkaetooyak@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 581

ปรับปรุงล่าสุด : 11 มีนาคม พ.ศ. 2565 16:07:51

ข้อมูลเมื่อ : 27 กันยายน พ.ศ. 2564 12:35:37

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดแค
   เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อปรากฏในวรรณคดี เรื่อง “ขุนช้างขุนแผน” อยู่ในอำเภอเมืองสุพรรณบุรี ไปทางเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ 2 กิโลเมตร ภายในวัดนี้มีต้นมะขามใหญ่วัดโคนต้นโดยรอบได้ประมาณ 10 เมตร เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้นมะขามต้นนี้ ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากท่านอาจารย์คงไว้โจมตีข้าศึก นอกจากนี้ทางจังหวัดได้สร้างเรือนไทยทรงโบราณเรียกว่า “คุ้มขุนแผน” ไว้ใกล้กับต้นมะขามยักษ์นี้อีกด้วย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จประพาสวัดแคเมื่อ พ.ศ. 2447 
   วัดนี้มีโบราณวัตถุที่น่าสนใจ ได้แก่ พระพุทธบาทสี่รอย ทำด้วยทองเหลือง กว้าง 1.40 เมตร ยาว 2.80 เมตร สร้างซ้อนกันไว้ในรอยใหญ่ นอกจากนี้ก็มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิราบศิลปะรัตนโกสินทร์ จีวรและอังสะเป็นดอกพิกุลงดงามมาก ประดิษฐานอยู่ในวิหารหน้าพระประธาน สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ ก็มี เช่น ระฆังทองเหลือง หม้อต้ม กรักทองเหลือง ตู้ใส่หนังสือที่พระบาทสมเด็จพระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเมื่อปี 2412

ต้นมะขามใหญ่ในวัดแค ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่มีชื่อเสียงปรากฏในวรรณคดีพื้นบ้านอันเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาวสุพรรณบุรีและของชาติ เรื่อง "ขุนช้าง ขุนแผน" ต้นมะขามใหญ่วัดโคนต้นโดยรอบวงประมาณ 10 เมตร สูง 15 เมตร เชื่อกันว่าขุนแผนได้เรียนวิชาเสกใบมะขามจากต้นมะขามต้นนี้ให้เป็นตัวต่อตัวแตนจากขรัวตาคง

 

บันทึกจากคำบอกเล่าของชาวบ้าน

ในหนังสือ “ประวัติวัดแค” ม.๑ ต.รั้วใหญ่ อ.เมืองฯ จ.สุพรรณบุรี พิมพ์ครั้งที่ ๕ เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๒

 

เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น เมื่อรัตนโกสินทรศก ๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนกระทั่งถึงเมืองสุพรรณบุรี
วันที่ ๓ สิงหาคม เสด็จประพาสบ้านสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง
วันที่ ๔ สิงหาคม เวลาเช้า ออกเรือจากบางปลาม้า และเย็นวันนั้น "เสด็จไปประพาสเหนือน้ำประทับเสวยที่วัดแค"

 

พระองค์ทรงพระราชปรารภว่า ...... เสด็จเมืองสุพรรณคราวนี้เป็นที่น่าเสียดายอยู่อย่างหนึ่งด้วยไม่ถูกฤดูเหมาะ ในเวลานี้น้ำในแม่น้ำยังน้อย จะเที่ยวทางเรือก็ขัดข้อง ส่วนทางบกฝนก็ตก พอแผ่นดินเป็นหล่มเป็นโคลน จะไปไหนก็ยาก เพราะฉะนั้นจึงเสด็จประพาสได้ที่ใกล้ๆ ในบริเวณเมืองวันที่ ๔ นั้น (๔ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓) เสด็จประพาสเหนือน้ำประทับเสวยที่ วัดแค

 

วันที่ ๕ เสด็จทอดพระเนตรที่ว่าการเมือง วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลักเมือง และวัดป่าเลไลยก์ เวลาบ่าย ออกกระบวนล่องลงมาประพาสข้างใต้ ประทับเสวยเย็นที่วัดบางยี่หน

 

ขรัวตากัน ท่านมีตัวตนอยู่จริง เป็นเจ้าอาวาสวัดแคระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๙ – ๒๔๖๕ มรณภาพในร่มกาสาวพัตร ท่านมีชื่อว่า "กัน ทองมี" เป็นบุตรพ่อมีแม่ซับ เล่ากันว่าพ่อแม่อพยพมาจากกรุงเก่าอยุธยาของเรานี้เอง ซึ่งไม่ต่างกับชาวบ้านบริเวณนั้นนักที่ชักชวนกันมาจากที่เดียวกัน

 

บ่าย ๔ โมงเย็นของวันที่ ๔ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) มีชายกลุ่มหนึ่งจำนวน ๓ คน พายเรือเล็กมาจอดที่ท่าวัดแค แล้วชายทั้งสามขึ้นจากเรือมาที่ลานวัด เห็นลูกศิษย์วัดวิ่งเล่นอยู่ที่ลานวัดก็ถามว่า หนู กุฏิเจ้าอาวาสอยู่ไหน ท่านอยู่หรือไม่ เด็กลูกศิษย์ชี้มือบอกไปว่า อยู่กุฏินั้น และอาจารย์ก็อยู่ที่นั่นด้วย แล้วก็เล่นสนุกกันตามประสาเด็กต่อไป ชายกลุ่มนั้นเดินขึ้นไปบนกุฏิ เห็นขรัวตากันกำลังนั่งพิงหมอนอิงอย่างเอกเขนกสบายอารมณ์ แล้วชายกลุ่มนั้นนั่งยองๆ ลง ยกมือไหว้ ขรัวตากันจึงถามว่า "เป็นใครกัน มาจากที่ไหน มีธุระอะไรหรือ"
ชายคนหนึ่งในกลุ่มนั้นดูจะอาวุโสกว่าเพื่อน ตอบว่า เราทั้งสามเป็นมหาดเล็กของพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์กำหนดจะเสด็จมาประทับที่วัดแคเย็นวันนี้ ให้เขาทั้งสามมาบอกข่าวล่วงหน้า พอขรัวตากันได้ยินเช่นนั้นก็รู้สึกดีใจ และตื่นเต้นเป็นอันมาก ต้อนรับขับสู้มหาดเล็กทั้งสามอย่างกุลีกุจอ รีบชงน้ำร้อนน้ำชาให้ แล้วเอ่ยปากถามว่าพระพุทธเจ้าหลวงจะเสด็จตอนเย็นจริงๆ หรือ มหาดเล็กคนนั้นตอบว่า "เสด็จแน่ๆ" ขรัวตากันกระตือรือร้น ในคำตอบของมหาดเล็กยิ่งนัก รีบสั่งให้พระเณรที่วัดเตรียมตัวไว้ให้พร้อม เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จมาจะได้สวดชะยันโต โดยไม่ให้เสียเวลา กำชับกำชาลูกศิษย์วัดไม่ให้เล่นเอะอะจุ้นจ้าน 

ขรัวตากันเป็นพระที่ชอบคุย และคุยเก่งพอสมควร นั่งคุยอยู่กับมหาดเล็กกลุ่มนั้นอยู่เป็นนาน แต่ในใจห่วงกังวลว่า พระพุทธเจ้าหลวงจะเสด็จตอนไหนกันแน่ เพราะมหาดเล็กทั้งสามมาส่งข่าวให้ทราบแล้ว ชรอยมหาดเล็กผู้นั้นเห็นขรัวตากันชอบกินหมาก จึงหยิบหมากขึ้นมาคำหนึ่ง วางไว้ข้างๆ ขรัวตากัน โดยไม่ได้ถวาย แล้วทำทีเป็นเดินไปชมโน่นชมนี่บนกุฏิ แล้วเดินกลับมาที่ขรัวตากันนั่งอยู่ พร้อมกับเอ่ยปากพูดขึ้นว่า

"อ้าว! ท่านอาจารย์ หมากคำนั้นหายไปไหนเล่า ท่านฉันเสียแล้วใช่ไหม ผมไม่ได้ประเคนไม่เป็นอาบัติหรืออาจารย์"

"อ้อ! ไม่เป็นไร อยู่ในหัตถบาส (หมายถึง อยู่ใกล้หรืออยู่ในองค์ประเคน ใช้สำหรับพระสงฆ์) ฉันได้ ไม่เป็นไรหรอก" 

แล้วขรัวตากันก็เคี้ยวหมากหยับๆ ต่อไป มหาดเล็กคนนั้นหัวเราะชอบใจ ที่ขรัวตากันมีปฏิภาณและไหวพริบดี ขณะที่นั่งคุยกันอยู่นั้น มหาดเล็กชี้มือไปยังที่ซึ่งหลวงตากัน จัดให้ในหลวงประทับว่า "นั่นที่อะไร ทำไว้สำหรับใครกัน ฉันขึ้นไปนั่งได้หรือไม่" ขรัวตากันรีบตอบสวนควันขึ้นมาทันทีว่า "อ๊ะ! อ๊ะ! ไม่ได้ ไม่ได้ นั่นจัดไว้สำหรับเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าหลวง คุณเป็นมหาดเล็กธรรมดาธรรมดา ขืนขึ้นไปนั่งเป็นขี้กลากแน่ๆ" ขรัวตากันตอบชนิดหน้าเฉยตาเฉย มหาดเล็กผู้นั้นหัวเราะ และชักนึกสนุก เมื่อคุยกับหลวงตากัน จึงถามว่า "อาจารย์ รู้จักพระพุทธเจ้าหลวงไหม" ขรัวตากัน หัวเราะเอิ๊กลงลำคอ ตอบอย่างยิ้มย่องผ่องใสว่า "พุทโธ่ ทำไมจะไม่รู้จัก เคยเห็นรูปในหลวงมาแยะต่อแยะแล้ว อย่าว่าแต่ใกล้ๆ เลย แม้แต่ไกลๆ ก็จำไม่พลาด"

ขณะที่ขรัวตากันพูดอยู่นั้น นึกเฉลียวใจขึ้นมาว่า เอ! มหาดเล็กคนนี้รูปร่างหน้าตาคล้ายๆ กับพระพุทธเจ้าหลวงเสียด้วย เอาไว้หนวดที่ริมฝีปากเหมือนกัน หรือว่าจะใช่ หรือไม่ใช่ ความคิดสับสน ถกเถียงกันอลวน ฮื้อ! คงไม่ใช่พระพุทธเจ้าหลวงหรอกน่า พระพุทธเจ้าหลวงท่านจะแต่งตัวธรรมดาอย่างนี้หรือ และชายคนนี้บอกว่า เขาเป็นมหาดเล็กหลวงของพระพุทธเจ้าหลวง จะเป็นพระพุทธเจ้าหลวงไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด อาจจะเป็นมหาดเล็กที่มีเค้าหน้าคล้ายกับพระพุทธเจ้าหลวงก็ได้ มหาดเล็กคนนั้นหัวเราะชอบใจขรัวตากันเป็นอย่างมาก จึงพูดขึ้นว่า "เอ! พระพุทธเจ้าหลวงทำไมจึงไม่เสด็จสักที ช้าจัง บางทีพระองค์อาจจะมีธุระหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ เอ! ชักจะหิวข้าวเสียแล้วซิ นี่ก็แดดล่มลมตกโขแล้ว อาจารย์ขอยืมสถานที่ทำอาหารหน่อยได้ไหม" ขรัวตากันตอบว่า "ได้ ! ได้ ! ตามสบาย" แล้วลุกขึ้นเรียกเด็กลูกศิษย์วัดมาช่วยกัน

"เฮ้ย ! อ้ายติง อ้ายผาก อ้ายถม เอ็งไปบอกพวกๆ ของเอ็งมาช่วยกันหน่อย"
แล้วหันมาถามมหาดเล็กผู้นั้นว่า จะต้องการอะไรบ้าง ขอให้บอกอย่างไม่ต้องเกรงใจ
มหาดเล็กผู้นั้นบอกว่า อยากได้ตุ่มมังกรขนาดย่อม เอามาใส่น้ำและพริก เพื่อนำเอามาทำแกงเผ็ด แล้วขรัวตากันให้คนไปหามาจนครบตามความต้องการ

พวกเด็กๆ ลูกศิษย์วัด ต่างมาช่วยกันกุลีกุจอ ถังตักน้ำหายาก เด็กๆ จึงเอาบาตรไปตักน้ำ ตักกันไป เล่นกันไปเป็นที่สนุกสนาน ชั่วครู่น้ำก็เต็มตุ่มมังกร ขณะนั้นเองฝนเริ่มตกลงมาปรอยๆ อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งๆ ที่ไม่มีเค้าว่าฝนจะตก

"เอ! ในหลวงทำไมยังไม่เสด็จมาซักที ฝนก็ตกพรำๆ แล้ว ปกติในหลวงเสด็จไปไหน ฝนตกที่นั่น" ขรัวตากันกล่าวขึ้นลอยๆ รู้สึกว่าจะผิดหวัง 

การหุงหาอาหารเสร็จเรียบร้อยจวนจะใกล้ค่ำ ทุกคนขึ้นไปรับประทานอาหารกันบนศาลาการเปรียญ เพราะกว้างขวางกว่าบนกุฏิ จนกระทั่งทั้งสามมหาดเล็กรับประทานอาหารเสร็จ ในหลวงก็ยังไม่เสด็จ ขรัวตากันออกจะเก้อ และผิดหวังมาก เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็มืดแล้ว ไหนเลยในหลวงจะเสด็จ แต่ในใจคิดว่าวันนี้ไม่เสด็จ อาจจะเสด็จพรุ่งนี้ก็เป็นได้น่า ทำให้ขรัวตากันยังไม่สิ้นหวังเสียเลยทีเดียว

 

การรับประทานอาหารของมหาดเล็กทั้งสามเสร็จเรียบร้อยแล้ว มหาดเล็กผู้อาวุโสกว่าเพื่อนเรียกตาเดช ซึ่งเป็นทายกวัดมาถามว่า ที่วัดแคมีพระภิกษุกี่รูป ตาเดชบอกว่า พระลูกวัด ๑๐ รูป ขรัวตากันอีก ๑ รูป เป็นสมภารเจ้าวัด รวมเป็น ๑๑ รูปด้วยกัน มหาดเล็กผู้นั้นถวายกัปปิยภัณฑ์ ให้ขรัวตากันเจ้าอาวาส ๓ ตำลึง พระลูกวัดรูปละ ๑ ตำลึง ซึ่งตาเดชก็รับไว้ พอใกล้ค่ำมหาดเล็กทั้งสามลาขรัวตากัน พายเรือเล็กเลี้ยวคุ้งน้ำหายไป หลวงตากันมองตามมหาดเล็กทั้งสามด้วยหัวใจลอย 

เช้าวันถัดไป วันที่ ๕ สิงหาคม ร.ศ.๑๒๓ (พ.ศ.๒๔๔๗) 

..............................

พอรุ่งเช้า มหาดเล็กทั้งสามคนเดินขึ้นมาบนวัดอีก ขณะนั้นขรัวตากันตื่นขึ้นมากำลังสวดมนต์อยู่ มหาดเล็กผู้อาวุโสเดินมายังกุฏิที่ขรัวตากันตะโกนขึ้นไปว่า "อาจารย์ อาจารย์ตื่นหรือยัง" ขรัวตากันรีบเปิดหน้าต่างกุฏิโผล่หน้าออกไปดู พอขรัวตากันโผล่ศีรษะออกไป มหาดเล็กผู้อาวุโสจึงพูดว่า "อาจารย์ ฟ้าลานะ" พร้อมกันนั้นยกมือทั้งสองขึ้นนมัสการลาขรัวตากัน ขรัวตากันพอได้ยินคำว่า "ฟ้าลาะนะ" เท่านั้น ทำเอาหัวใจแทบหยุดเต้น จะเป็นลมหน้ามืดเสียให้ได้ พลันขรัวตากันหวนนึกถึงเรื่องราววันวานตอนเย็น ค่อยๆ กระจ่างขึ้นมาในสมอง นึงชังน้ำหน้าตัวเองยิ่งนัก พุทโธ่เอ๋ย ! มีตาหามีแววไม่ ขรัวตากันคุมสติได้ในบัดดล เรียกร้องเด็กลูกศิษย์วัดเสียงหลงให้รัวระฆังเรียกพระไปที่ศาลาการเปรียญทันที แล้วขรัวตากันเองรีบครองจีวรเดินงุดๆ ไปบนศาลาการเปรียญโดยไม่พูดไม่จา จะพูดอะไรก็พูดไม่ออก เงอะๆ งะๆ ทำเพียงชี้มือชี้ไม้โบ๊เบ๊ไม่ได้เรื่อง พอดีพระภิกษุมาครบจึงสวดชะยันโตเพื่ออวยพรและส่งเสด็จ มหาดเล็ก คือ พระพุทธเจ้าหลวง นั่นเอง 

ต่อมาอีก ๔-๕ เดือน มีพระราชสาส์นมาจากพระบรมมหาราชวัง

พอขรัวตากันได้รับพระราชสาส์นก็ไม่เป็นอันกินอันนอน หวาดผวากลัวไปต่างๆ นานา เพราะขรัวตากันไม่ค่อยจะรู้ขนบธรรมเนียมในพระราชวัง กลัวจะไปทำไม่ถูกพระราชอัธยาศัยก็จะได้รับคำตำหนิติเตียน แต่แล้วหลวงตากันก็ตัดสินใจ ฮึ! เป็นไงเป็นกันไม่ถึงกับตายหรอกน่า ดังนั้นพอใกล้จะถึงวันกำหนดเข้าพระบรมมหาราชวัง ขรัวตากันคัดเอาลูกศิษย์ก้นกุฏิติดตามไปด้วย ๒ คน การเดินทางสมัยโน้นยังไม่มีเรือกลไฟ ขรัวตากันจึงเอาเรือมาดมีประทุนแจวไป โดยมีลูกศิษย์แจวหัวแจวท้าย รอนแรมเรื่อยไป กว่าจะถึงกรุงเทพฯ ก็เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๔-๕ วัน เมื่อไปถึงพระบรมมหาราชวังแล้ว ก็ไม่มีอะไร พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงสนทนาปราศรัยกับขรัวตากันเท่านั้น

แล้วพระพุทธเจ้าหลวงพระราชทานเครื่องไทยทานมาหลายอย่าง อาทิ เช่น

. เรือเล็กขนาดยาว ๓ วา ๑ ลำ
. ขันทองเหลือง
. ผ้าไตร
. ผ้าสังฆาฏิ ปักอักษรย่อ "จปร."
. ปิ่นโต
. ตู้ใส่หนังสือ ด้านหน้า ด้านข้าง เป็นกระจก ด้านหลังทึบกระหนกเป็นลายดอกไม้ และประแจจีน เท้าสิงห์ศิลปคล้ายฝีมือจีน สูง ๙๗ ซม. กว้าง ๘๘ ซม. ลึก ๔๕ ซม. พร้อมด้วยหนังสือ

 

ตู้ใบนี้ยังคงรักษาอยู่ที่วัดแค
ส่วนไตร จีวร สังฆาฏิ ฯลฯ หมดสภาพไป 

ขรัวตากันกับลูกศิษย์สองคนภูมิใจยิ่งนัก โยงเรือลำที่พระราชทานมากับเรือแจว ค่ำที่ไหนขรัวตากันก็เข้าพักวัดนั้น ขรัวตากันคุยฟุ้งว่า พระพุทธเจ้าหลวงโปรดให้เข้าไปฉันภัตตาหารในพระบรมมหาราชวัง แล้วพระราชทานสิ่งของต่างๆ มาหลายอย่าง ชวนเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ ที่ขรัวตากันพักแรมไปดูของในเรือ เป็นการคุยโอ่อย่างไม่หยุดปาก เมื่อกลับมาถึงวัดแค ขรัวตากันคุยฟุ้งยิ่งขึ้น กว่าจะหยุดคุยก็อีกหลายวันทีเดียว

แผนที่ภาพ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระครูไพศาลธรรมวงศ์ กตวฑฺฒโน

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 27-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-03-2565

พระสมุห์ อาทิตย์ อธิปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 03-05-2566

พระมหาประเคน อคฺคเมธาวี

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-03-2565

พระปลัด บัวลอย ฐิตเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-03-2565

พระมงคล สิริวฑฺฒโน

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-03-2565

พระเกียรติศักดิ์ กิตฺติสทฺโธ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-03-2565

เทศกาลงานบุญประเพณี

กิจกรรม สวดมนต์...

วันที่จัดงาน : 31-12-2562

เปิดดู 52 ครั้ง

พิธีเจริญพระพุท...

วันที่จัดงาน : 12-07-2560

เปิดดู 78 ครั้ง

พิธีอุปสมบทถวาย...

วันที่จัดงาน : 26-11-2559

เปิดดู 59 ครั้ง

ปูชนียวัตถุสถาน

รอยพระพุทธบาทสี...

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู 966 ครั้ง

อุโบสถ

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู 620 ครั้ง

พระพุทธมงคล

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู 1083 ครั้ง

พระพุทธสุพรรณภู...

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

เปิดดู 94 ครั้ง

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ตำนานวัดแค

ข้อมูลเมื่อ 01-03-2565

เปิดดู 90 ครั้ง

บทกรวดน้ำ สรภัญ...

ข้อมูลเมื่อ 28-02-2565

เปิดดู 1639 ครั้ง

เพลงสุขใจไปวัดแ...

ข้อมูลเมื่อ 31-01-2565

เปิดดู 172 ครั้ง

สาระธรรม

คติธรรม

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู 85 ครั้ง

พรปีใหม่65

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู 259 ครั้ง

สื่อมีเดีย

ข้อคิด ข้อเตือน...

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

เปิดดู 62 ครั้ง

ข้อคิด ข้อเตือน...

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู 78 ครั้ง

ข้อคิด ข้อเตือน...

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู 77 ครั้ง

ข้อคิด ข้อเตือน...

ข้อมูลเมื่อ : 02-03-2565

เปิดดู 77 ครั้ง

สำนักปฏิบัติธรรม

วัดแค

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

ทรัพย์สินของวัด

วิหารมหาอุต

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

อุโบสถวัดแค

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

โฉนดที่ดิน

ข้อมูลเมื่อ : 28-02-2565

โครงการและกิจกรรมเด่น

โครงการโรงทานวัดแค

ข้อมูลเมื่อ : 05-11-2564

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด