ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดดอนไร่
รหัสวัด
02720806003
ชื่อวัด
วัดดอนไร่
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 500
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 14 เดือน มีนาคม ปี 500
ที่อยู่
วัดดอนไร่
เลขที่
78
หมู่ที่
1
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
หนองสะเดา
เขต / อำเภอ
สามชุก
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72130
เนื้อที่
27 ไร่ 1 งาน 39 ตารางวา
มือถือ
081 856 6782
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 1730
ปรับปรุงล่าสุด : 14 สิงหาคม พ.ศ. 2566 16:01:31
ข้อมูลเมื่อ : 26 กันยายน พ.ศ. 2564 20:10:37
ประวัติความเป็นมา
เนื่องจากวัดดอนไร่ เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ปี โดยที่ประชาชนชาวบ้านดอนไร่ในปัจจุบันได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้นมา ก็เพื่อให้ประชาชนชาวบ้านดอนไร่ได้ใช้ประกอบกิจกรรม พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เดิมยังไม่มีวัดเมื่อประชาชนชาวบ้านจะประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่นในการทำบุญวันพระขึ้น - แรม ๘ - ๑๕ ค่ำของแต่ละเดือนประชาชนพุทธบริษัทที่นับถือพระพุทธศาสนาก็จะต้องเดินทางไปยังวัดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับหมู่บ้านดอนไร่มากที่สุด ซึ่งในอดีตรถยนต์หรือยานพาหนะก็ยังไม่มี ถนนหนทางก็ยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้ หรือบางครั้งเกิดมีการเสียชีวิตขึ้นในชุมชน ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็จะต้องนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรือทำการฌาปนกิจศพก็ไม่สะดวกในการประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น ประชาชนชาวบ้านดอนไร่ จึงได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือกันที่จะร่วมกันทำการหาทุนทรัพย์จากผู้ที่มีจิตศรัทธาชาวบ้านดอนไร่ ชาวตลาดสามชุก และในสถานที่อื่นๆ ได้มาร่วมกันบริจาคทรัพย์ปัจจัยเพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในสถานที่ของวัด และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ให้กับชุมชนชาวบ้านดอนไร่ และยังเป็นการช่วยกันจรรโลงพระพุทธศาสนาให้ดำรงตั้งมั่นถาวรต่อไป
วัดดอนไร่เดิมทีที่ยังไม่มีวัดชาวบ้านในสมัยนั้นมักเรียกกันว่า “บ้านหนองตม” เนื่องจากได้สร้างวัดขึ้นในไร่เก่าจึงได้ชื่อว่า วัดดอนไร่ ปัจจุบันตั้งอยู่ในหมู่บ้านดอนไร่ เลขที่ ๗๘ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองสะเดา อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี
วัดดอนไร่เดิมเป็นที่พักสงฆ์ ได้ทำการก่อตั้งมาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ อยู่บนโฉนดเลขที่ ๖๙๒๖ เนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๑ งาน ๗๙ ตารางวา เนื่องจากในสมัยนั้นมีประชาชนชาวบ้านได้ย้ายเข้ามาอยู่ประกอบสัมมาอาชีพ ทำมาหากินกันเป็นจำนวนมากหลายหลังคาเรือน แต่ในหมู่บ้านไม่มีวัดที่จะบำเพ็ญกุศล นายย้า ยาสุกแสง ซึ่งในสมัยนั้นเป็นที่เคารพนับถือของคนในหมู่บ้าน นายย้าจึงได้เป็นผู้นำชักชวนชาวบ้าน
เดินทางไปหาหลวงพ่อปลั่ง ที่วัดโป่งแดง ตำบลหนองผักนาก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี หลวงพ่อปลั่งในขณะนั้นก็นับได้ว่าเป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องเวทย์มนต์คาถาอาคม เป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป นายย้าพร้อมด้วยชาวบ้านจึงได้อาราธนาหลวงพ่อปลั่งให้มาเป็นประธานในการก่อสร้างเป็นที่พักสงฆ์ ในที่ดินอันว่างเปล่าของหมู่บ้าน ซึ่งที่ดินนั้นตามประวัติเดิมทีเป็นของ นายสี นางพูล ไม่ทราบนามสกุล (หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ลุงสี ป้าพูล) โดยที่ทั้งสองนี้ในเวลาต่อมาได้อพยพโยกย้ายไปทำมาหากินในจังหวัดอื่นเป็นเวลานานหลายปีโดยที่ไม่ได้กลับมาอีกเลย และที่ดินในสมัยนั้นก็ยังไม่มีโฉนดนายย้า และหลวงพ่อปลั่ง พร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้มีการตกลงร่วมกันที่จะใช้ที่ดินตรงบริเวณนั้นทำการสร้างเป็นที่พักสงฆ์บ้านดอนไร่
ในปีแรกก็ได้ทำการก่อสร้างกุฏิขึ้นมา ๒ หลัง ลักษณะการก่อสร้าง เสาไม้ทุบเปลือก เครื่องบนไม้ไผ่ หลังคามุงแฝก โดยที่หลวงพ่อปลั่งก็ได้แต่ไปๆ มาๆ อยู่ประมาณ ๒ ปี และหลังจากนั้น ลุงพลอย ดีประเสริฐ ซึ่งก็เป็นญาติสนิทกับ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) ก็ได้อุปสมบทและมาอยู่จำพรรษาที่พักสงฆ์บ้านดอนไร่ หลวงพ่อปลั่งก็จึงได้มอบหมายให้ พระพลอย (ไม่ทราบฉายา) เป็นหัวหน้าดูแลที่พักสงฆ์มาประมาณ ๑ พรรษา หลังจากนั้น พระพลอยก็ได้ลาสิกขาบท เนื่องจากต้องไปรับใช้ชาติเป็นทหาร
และต่อมานายพุธ จันทร์สุวรรณ ซึ่งเป็นมัคนายกวัดอยู่ในสมัยนั้น พร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้ทำหนังสือไปยังกรมการศาสนาเพื่อขออนุญาตตั้งวัด และก็ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนา เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๕ หลังจากที่พระพลอยได้ลาสิกขาบทลงแล้วก็ทำให้วัดขาดผู้นำไป
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๒ นายมุ่ย มีศรีชัย (หรือพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย) ได้ทำการอุปสมบทขึ้นที่ วัดดอนบุบผาราม ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับฉายาว่า พระมุ่ย พุทธรกขิตโต (หรือพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย) หลังจากอุปสมบทแล้วก็ได้พำนักพักจำพรรษาอยู่ที่วัดดอนบุบผาราม ๑ พรรษา และปีต่อมา พระมุ่ย พุทธรกขิตโต (หรือพระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย) ก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดหัวเขา ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี อีก ๒ พรรษา เพื่อทำการศึกษาวิชาคาถาอาคมจากหลวงพ่ออิ่ม เจ้าอาวาสวัดหัวเขาในขณะนั้น จนสำเร็จ
และในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ชาวบ้านดอนไร่จึง ได้พร้อมใจกันเดินทางไปยังวัดหัวเขาเพื่อไปกราบอาราธนา พระมุ่ย พุทธรกขิตโต (พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ หลวงพ่อมุ่ย) มารักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดดอนไร่ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนไร่เมื่อวันที่ - เดือน - พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงวันมรณภาพวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗
ในระหว่างที่หลวงพ่อมุ่ย (หรือพระครูสุวรรณวุฒาจารย์) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็เริ่มทำการก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น กุฏิ, หอสวดมนต์, ศาลาการเปรียญ, อุโบสถ, จนสำเร็จและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ และในวันที่ - ถึง - เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑ หลวงพ่อพร้อมด้วยชาวบ้าน จึงได้กำหนดจัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต หลังจากที่งานสำเร็จผ่านไป ก็พอมีเงินเหลือจากการจัดงานอยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลวงพ่อก็จึงได้มีความคิดออกมาว่า อยากจะสร้างโรงเรียนขึ้นในวัด หลวงพ่อมองเห็นว่าเด็กนักเรียนในหมู่บ้านต้องเดินทางไปโรงเรียนไกล บางส่วนก็ได้เรียน และบางส่วนก็ไม่ได้เรียน บางส่วนก็เรียนที่วัด โดยที่หลวงพ่อพร้อมด้วยพระที่วัดจะสอนให้บ้าง และในขณะเดียวกันสถานที่ของวัดมีไม่เพียงพอสำหรับที่จะสร้างโรงเรียน หลวงพ่อจึงได้ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการเพื่อขอใช้เงินของทางวัดทำการซื้อที่ดิน และทำการก่อสร้างโรงเรียนต่อไป
โดยขอซื้อที่ดินจาก นางเสนอ ดิษสุธรรม ที่มีที่ดินติดอยู่กับที่ดินของวัดทางด้านทิศใต้ของวัดเป็นจำนวนเนื้อที่ ๑๓ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา เป็นจำนวนเงิน ๓๐.๐๐๐ บาท เพื่อใช้ทำการก่อสร้างโรงเรียน ๑ หลัง แบบ ๐๐๘ ขนาด ๕ ห้องเรียน กว้าง ๙ เมตร ยาว ๔๔ เมตร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ การก่อสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว หลังคามุงกระเบื้องลอนคู่ แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๑๒ รวมค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๒๐๕,๐๐๐ บาท หลวงพ่อก็ได้มอบให้แก่ทางรัฐบาล โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนวัดดอนไร่ ในสมัยนั้นได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงปีที่ ๗ มีนายสุบิน ฉายอรุณ เป็นครูใหญ่ และเป็นคนแรกของโรงเรียนวัดดอนไร่
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๒ เด็กนักเรียนโรงเรียนวัดดอนไร่มีเพิ่มมากขึ้น อาคารเรียนสถานที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก ทางรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณมาสนับสนุนในการก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ หลัง แบบ ๐๐๘ ขนาด ๓ ห้องเรียน กว้าง ๙ เมตร ยาว ๒๗ เมตร แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๒ รวมค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑๒๐,๐๐๐ บาท
วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๔ หลังจากนั้น พระครูสุวรรณพัฒนาภินันท์ (หลวงพ่อจำเนียร อินทรศักดิ์) อดีตเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา เจ้าอาวาสวัดดอนไร่ ได้เห็นความสำคัญกับการศึกษา ได้ให้การสนับสนุนในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาให้กับโรงเรียน แล้วทำการมอบทุนการศึกษา พร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาเป็นประจำตลอดอายุไข พร้อมเป็นประธานในการจัดหาทุนทรัพย์สร้างอาคารเรียนขึ้นมาอีก ๑ หลัง โดยที่มีนายขรรค์ชัย บุญปาน ประธานใหญ่ หนังสือพิมพ์มติชนและข่าวสด ร่วมเป็นเจ้าภาพถวายปัจจัยเป็นจำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) กับเงินที่พระครูสุวรรณพัฒนาภินันท์จัดหามาสมทบอีก ๖๒๐,๐๐๐ บาท (หกแสนสองหมื่นบาทถ้วน) แบบ สปช.๑๐๕/๒๙ ขนาด ๒ ชั้น ๘ ห้องเรียน ลักษณะการก่อสร้างเป็นอาคารตอนกรีตเสริมเหล็กถือปูน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ รวมค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑,๖๒๐,๐๐๐ บาท
และหลังจากนั้น หลวงพ่อมุ่ย (หรือพระครูสุวรรณวุฒาจารย์) ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลหนองสะเดา และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ พระครูสุวรรณวุฒาจารย์ (หลวงพ่อมุ่ย) ตลอดเลื่อยมาจนถึงมรณภาพ
รายการพระ
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
ทรัพย์สินของวัด
พระประธานอุโบสถ
ข้อมูลเมื่อ : 04-03-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
โครงการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม เนื่องในวิสาขบูชา
ข้อมูลเมื่อ : 10-06-2567
โครงการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรม เนื่องในวันมาฆบูชา
ข้อมูลเมื่อ : 10-06-2567
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนเฉลิมพระเกียรติ
ข้อมูลเมื่อ : 10-06-2567
โครงการบวชเนกขัมมะปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ
ข้อมูลเมื่อ : 10-06-2567
พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล
ข้อมูลเมื่อ : 10-06-2567
มอบเงินสนับสนุนการศึกษาโรงเรียนวัดดอนไร่
ข้อมูลเมื่อ : 14-08-2566
มอบเงินสนับสนุนซื้ออุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุ
ข้อมูลเมื่อ : 14-08-2566
จัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติ และถวายพระพรชัยมงคล
ข้อมูลเมื่อ : 14-08-2566
โครงการปฏิบัติธรรมวันวิสาขบูชา
ข้อมูลเมื่อ : 04-03-2565
กิจกรรม "เข้าวัด ทำวัตร วันพฤหัสบดี จังหวัดสุพรรณบุรี"
ข้อมูลเมื่อ : 04-03-2565