ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดยกกระบัตร
รหัสวัด
ชื่อวัด
วัดยกกระบัตร
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 500
วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500
ที่อยู่
-
เลขที่
3
หมู่ที่
6
ซอย
-
ถนน
-
แขวง / ตำบล
ยกกระบัตร
เขต / อำเภอ
บ้านแพ้ว
จังหวัด
สมุทรสาคร
ไปรษณีย์
74120
เนื้อที่
๔๘ ไร่ - งาน ๙๒ ตารางวา
คุณสมบัติวัด
จำนวนเข้าดู : 4993
ปรับปรุงล่าสุด : 28 มกราคม พ.ศ. 2565 09:37:40
ข้อมูลเมื่อ : 26 กันยายน พ.ศ. 2564 16:27:50
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดยกกระบัตร โดยสังเขป
สภาพฐานะที่ตั้งวัด
วัดยกกระบัตร ตั้งอยู่เลขที่ ๓ หมู่ ๖ ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวนเนื้อที่ ๔๘ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา วัดยกกระบัตรตั้งขึ้นมาได้ ๙๓ กว่าปี เมื่อปี พ..ศ.๒๔๗๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖
อณาเขตและอุปจารวัด
วัดยกกระบัตร ในด้านทิศเหนือติดกับคลองวัดยกกระบัตร ด้านทิศใต้ติดกับแพรกสาธารณะ ด้านทิศตะวันออกติดกับคลองท่าแร้ง ด้านทิศตะวันตกติดกับที่ดินเอกชน
ทรัพย์สินของวัด มีที่ดินทั้งหมดในปัจจุบัน ๔๘ ไร่ ๙๒ ตารางวา ส่วนหนึ่งของที่ดินวัดได้ให้ทางราชการจัดสร้างอาคารโรงเรียนวัดยกกระบัตร ในระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการศึกษา
ความเป็นมาของวัด
วัดยกกระบัตร ชาวบ้านได้ริเริ่มสร้างสร้างวัดนี้โดยมี ม.ร.ว.จันทร์ เสนีย์วงศ์ มีศรัทธาถวายที่ดินจำนวน ๕๐ ไร่ เพื่อสร้างวัด แล้วในสมัยนั้นชาวบ้านได้นิมนต์พระอาจารย์แสง ซึ่งท่านได้เดินธุดงค์ปักกลดอยู่ มาเป็นผู้ร่วมการก่อสร้างวัดในเบื้องต้น และได้ช่วยกันปลูกกุฏิขึ้น ใช้เสาไม้ในป่า ซึ่งในสมัยนั้นสามารถหาไม้ได้ง่ายมาก และมุงหลังคาด้วยจาก จากก็มาจากชาวบ้านในยุคนั้นซึ่งส่วนมากก็เย็บจากมุงหลังคาด้วยตนเองกันเกือบทั้งหมด พอเริ่มช่วยกันสร้างเป็นสำนักสงฆ์เป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็ได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์ในตอนนั้นว่า “วัดคลองยกกระบัตร” ถือเอาคลองข้างวัดเป็นเหตุ และพระอาจารย์แสงท่านก็ได้ช่วยดูแลสำนักสงฆ์อยู่ได้ไม่นาน หลังจากนั้นก็ได้ลาญาติโยมเพื่อขอเดินธุดงค์ต่อไป หลังจากที่พระอาจารย์แสงไปแล้ว ก็ได้มีพระอาจารย์สนมาช่วยดูแลสร้างสำนักวัดนี้ต่อ และด้วยในสมัยนั้นท้องถิ่นยกกระบัตรกันดารมาก ยุงก็ชุมแถมจระเข้ก็มี เพราะยังเป็นแบบธรรมชาติล้วนๆในยุคสมัยนั้น และหลังจากที่พระอาจารย์สนไปแล้ว ก็ได้มีพระอาจารย์บุญนาคมาอยู่ช่วยดูแลสำนักสงฆ์นี้อีกประมาณ ๒ พรรษา ก็ลาจากไปอีก ต่อมามีพระอาจารย์เพชรมาอยู่ได้ ๑ ปีเศษๆ ก็ลาจากไป ต่อมาได้มีพระอาจารย์ชินมาอยู่ช่วยดูแล หลังจากนั้นไม่นานท่านก็ขอลาไปเดินธุดงค์ต่อ และก็ได้มีพระอาจารย์หงส์มาอยู่ช่วยดูแลได้ไม่นานท่านก็จากไปอีก เพราความทุรกันดารในสมัยก็ถือว่าลำบากพอสมควร แต่ต่อมาไม่นาน จนมาถึงสมัยพระอธิการคุ้ม องฺกุโร ได้มาอยู่ ซึ่งในยุคของท่านได้พัฒนาปรับปรุงจากสำนักสงฆ์ยกขึ้นเป็นวัดตามกฏหมายอย่างสมบูรณ์แบบ หลวงพ่อคุ้มได้เริ่มทำการก่อสร้างอุโบสถด้วยเสาไม้จริง หลังคามุงด้วยจาก และในช่วงนี้สมัยหลวงพ่อคุ้ม องฺกุโร ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ชื่อว่า “วัดยกกระบัตร” หลังจากนั้นไม่นานท่านเองได้มรณภาพลง เมื่อวัดได้ว่างจากเจ้าอาวาสลง ทางคณะสงฆ์ก็ได้แต่งตั้ง พระครูสาครสังวรกิจ ท่านเป็นนักพัฒนาจนวัดได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาดีเด่น และได้มีการก่อสร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่เปลี่ยนแปลงจากหลังเดิมที่เป็นเสาไม้หลังคามุงจาก เป็นอาคารปูนคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างถาวร และได้จัดงานปิดทองฝังลูกนิมิตผูกพัทธสีมา ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๒๙ พระครูสาครสังวรกิจ ก็ได้ลาสิกขา ทางการคณะสงฆ์ก็ได้แต่งตั้ง “พระครูประกาศสรวุฒ” เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ต่อยอดพัฒนาวัดมาโดยลำดับ แต่เนื่องด้วยภายหลังสุขภาพร่างกายของท่านไม่ค่อยดี มีโรคประจำตัวรุมเร้าล้มป่วยจนทำให้ท่านมรณภาพ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ ๖ ปี คณะสงฆ์ก็แต่งตั้ง “พระครูใบฏิการุ่งรัตน์ ธีรคุโณ” เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดตลอดหลังจากได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส แต่พอเป็นมาถึงปีที่ ท่านก็ได้ลาสิกขา คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ “พระครูใบฎีกาชุมพล คุณงฺกโร” เป็นเจ้าอาวาส ท่านก็อยู่ได้เพียง ๔ ปี ท่านก็ ลาสิกขาในปี พ.ศ.๒๕๔๔ ทางคณะสงฆ์แต่งตั้งให้ “พระครูสาครธรรมโชติ” ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดธรรมโชติอยู่ก่อนแล้ว ให้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดยกกระบัตรปในปี พ.ศ.๒๕๔๔ จนถึงปัจจุบัน
การศึกษาและการสาธารณสงเคราะห์ภายในวัด วัดยกกระบัตรได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาพระปริยัติธรรม คือ มีการเปิดสอนนักธรรมและธรรมศึกษาขึ้นภายในวัด และให้พระภิกษุสามเณรเข้าสอบธรรมสนามหลวง ทุกปี สำหรับวันธรรมะสวนะหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทางวัดได้จัดให้มีการบำเพ็ญกุศลตลอดมา เช่น ทำบุญตักบาตรทุกวันพระตลอดปี และมีการประพิธีทางศาสนามาโดยตลอด เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตลอดมาเป็นประจำ
วัดได้หาทุนสำหรับสงเคราะห์พระภิกษุสามเณร ผู้ศึกษาธรรม บาลี และจัดหาทุนสงเคราะห์ นักเรียนชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา และผู้เรียนดีแต่ยากจนมาโดยตลอด
การบริหารและการปกครอง วัดยกกระบัตรได้ดำเนินการปกครองภายในวัดตามพระธรรมวินัย กฎหมายคณะสงฆ์ และ กฏมหาเถรสมาคม และมีไวยาวัจกรช่วยในการบริหารจัดการ
รายนามเจ้าอาวาสวัดยกกระบัตร ทั้งในอดีตและปัจจุบันคือ
- พระอาจารย์แสง
- พระอาจารย์สน
- พระอาจารย์บุญนาค
- พระอาจารย์เพชร
- พระอาจารย์ชิน
- พระอาจารย์หงส์
- พระอธิการคุ้ม องฺกุโร เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกตามกฎมหาเถรสมาคมหมายและบ้านเมือง
- พระครูสาครสังวรกิจ พ.ศ.๒๔๙๗ – ๒๕๒๙
- พระครูประกาศสรวุฒิ พ.ศ.๒๕๒๙ – ๒๕๓๖
- พระครูใบฎีการุ่งรัตน์ ธีรคุโณ พ.ศ.๒๕๓๗ - ๒๕๔๑
- พระครูใบฎีกาชุม คุณงฺกโร พ.ศ.๒๕๔๑ – ๒๕๔๕
- พระครูสาครธรรมโชติ พ.ศ.๒๕๔๕ – ปัจจุบัน
ปูชนียสถานและเสนาสนะภายในวัดยกกระบัตร
ที่ | เสนาสนะ | การใช้สอย | หมายเหตุ |
๑ | อุโบสถ | - สถานที่ประกอบพิธีสังฆกรรม - ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล |
|
๒ | วิหารหลวงพ่อคุ้ม | - ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๓ | ศาลาเอนกประสงค์ | -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๔ | อาคารพระครูสาครสังวรกิจ | -ประกอบกิจกรรมต่างๆ | |
๕ | กุฏิสงฆ์ | -พักอาศัยของพระสงฆ์ | |
๖ | หอปริยัติธรรม หอฉัน | -เรียนนักธรรม -ฉันภัตตาหารของพระสงฆ์ -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล |
|
๗ | กุฏิพระครูประกาศสรวุฒ | พักอาศัยของพระสงฆ์ | |
๘ | หอระฆัง | -ตีบอกเวลา | |
๙ | หอกลอง | -ตีบอกเวลา | |
๑๐ | ศาลาประชารวมใจ | -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๑๑ | ศาลาบำเพ็ญกุศล (ศาลา๑) | -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๑๒ | ศาลาบำเพ็ญกุศล (ศาลา๒) | -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๑๓ | ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน | -ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล | |
๑๔ | โรงครัว | -ประกอบอาหารเวลามีงาน | |
๑๕ | ศาลาร่มเย็น | -ที่พักสำหรับประชาชนทั่วไป | |
๑๖ | หอพระไตรปิฎก | -เก็บพระไตรปิฎก -เก็บพระพุทธรูปหยก –หิน -ที่พักสำหรับถืออุโบสถศีล |
|
๑๗ | หอน้ำประปา | -สำหรับไว้ใช้ภายในวัดและประชาชน | |
๑๘ | วิทยุชมชนวัดยกกระบัตร | -ไว้เป็นสื่อเผยแผ่ธรรมะ -ประชาสัมพันธ์ในชุมชน |
|
๑๙ | ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน | -เพื่อเป็นศูนย์การศึกษาของชุมชน | |
รายการพระ
พระครูสาครธรรมโชติ ติสฺสวํโส
ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส
ข้อมูลเมื่อ : 27-09-2564
ปรับปรุงล่าสุด : 12-02-2566