เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8346 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8861 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดดอนยายหอม

รหัสวัด
2730108001

ชื่อวัด
วัดดอนยายหอม

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 500

ที่อยู่
วัดดอนยายหอม

เลขที่
257

หมู่ที่
3

ซอย
-

ถนน
เศรษฐกิจ 2

แขวง / ตำบล
ดอนยายหอม

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
60 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวา

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดท่องเที่ยว
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เป็นมูลนิธิ

จำนวนเข้าดู : 3321

ปรับปรุงล่าสุด : 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 10:03:45

ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวัดดอนยายหอม
 
ที่ตั้งวัดในปัจจุบัน
          วัดดอนยายหอม  เป็นวัดราษฎร์   สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย  ตั้งอยู่เลขที่  ๒๕๗  หมู่ที่   ๓ 
ตำบล ดอนยายหอม   อำเภอ เมืองนครปฐม    จังหวัด นครปฐม
 
พื้นที่ตั้งวัด
          มีเนื้อที่   ๖๐   ไร่   ๑   งาน    ๕๙   ตารางวา
ทิศเหนือ             จดถนนนครปฐม  -  บ้านแพ้ว
ทิศใต้                  จดคลองสาธารณะประโยชน์
ทิศตะวันออก      จดถนนสาธารณะประโยชน์  -   โรงเรียนวัดดอนยายหอม
ทิศตะวันตก        จดทางสาธารณะประโยชน์
 
ความเป็นมาแต่เดิม
          วัดดอนยายหอม  เดิมเรียกว่า  วัดโคกยายหอม  เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ  ตั้งอยู่ท่งทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ตั้งวัดในปัจจุบัน  ต่อมาประมาณปี  พ.ศ.๒๔๕๐  หลวงพ่อทรัพย์  เจ้าอาวาสวัดคิ้วงาย  อำเภอนครชัยศรี  จังหวัดนครปฐม  ได้แนะนำชาวบ้านให้ช่วยกันย้ายวัดโคกยายหอมข้ามลำคลองมาตั้งใหม่ที่หมู่ ๓  ตำบลดอนยายหอมในปัจจุบัน  สาเหตุที่ต้องย้ายก็เพราะที่ตั้งเดิมวัดเป็นที่ลุ่มเมื่อถึงเวลาน้ำหลากมา  น้ำจะท่วมกุฏิ  ศาลา วิหาร  และโบสถ์  ยังความลำบากให้บังเกิดแก่ภิกษุสามเณรและชาวบ้านเป็นอย่างมาก  ประกอบกับในสมัยนั้นวัดโคกยายหอมมีสภาพเกือบจะเป็นวัดร้างอยู่แล้ว  พื้นที่วัดที่ตั้งใหม่มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๘ ไร่  เมื่อย้ายวัดเดิมข้ามคลองมาตั้งวัดใหม่ในที่ดอนกว่าแล้วเมื่อถึงเวลาน้ำหลากไหลมาน้ำก็ไม่ท่วมวัด ชาวบ้านจึงได้รวมใจกันเปลี่ยนชื่อวัดใหม่จากเดิมวัดโคกยายหอม  มาเป็น  วัดดอนยายหอม  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
          เมื่อหลวงพ่อทรัพย์ได้ทำการชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันย้ายวัดและปลูกสร้างวัดใหม่ใกล้จะเสร็จเรียบร้อย  หลวงพ่อทรัพย์ก็ได้อาราธนานิมนต์  พระวินัยธรฮวบ  พรหมสร  จากวัดทอง  อำเภอบางกอกน้อย  กรุงเทพมหานคร  มาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม  องค์แรก
          การที่หลวงพ่อทรัพย์ไปอาราธนาพระวินัยธรฮวบ  หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า  หลวงพ่อฮวบ  อาจมองได้  ๒  ประเด็นคือ
          ประเด็นแรก  วัดโคกยายหอมในขณะนั้น  อาจเป็นวัดร้างมานานพอสมควร  เพราะว่าน้ำท่วมเกือบทุกปี  พระเณรจึงหนีไปอยู่ที่อื่นกันหมด  วัดวาจึงทรุดโทรมมาก  ประจวบกับในสมัยนั้นบ้านดอนยายหอมหรือหมู่บ้านบริเวณใกล้เคียง  ต่างเป็นที่ชุมนุมของนักเลงหัวไม้  และโจรชุกอย่างมาก  พระเณรอยู่ด้วยความลำบาก  จึงได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นจนหมดสิ้น  เมื่อหลวงพ่อทรัพย์มาพบเห็นเข้าจึงได้ชักชวนชาวบ้านช่วยกันย้ายข้ามคลองมาตั้งในที่ดอน
          ประเด็นที่สอง  หลวงพ่อทรัพย์คงจะรู้จักและสนิทกับหลวงพ่อฮวบเป็นอย่างดี  และคงจะรู้ดีด้วยว่า  คนที่จะมาอยู่วัดดอนยายหอมได้จักต้องเป็นผู้ที่เก่งและมีความกล้าหาญพอสมควร  จึงได้ชักชวนมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมเป็นองค์แรกหลังจากที่ย้ายวัดมา
          ในขณะที่หลวงพ่อฮวบย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมนั้น  มีอายุประมาณ ๒๕ ปี  ย้ายมาจากสำนักวัดทอง(สุวรรณาราม)  เขตบางกอกน้อยธนบุรีเดิม
          เมื่อเอ่ยถึงวัดทอง  บางกอกน้อย  ทุกคนที่รู้จักและอยู่ในแวดวงของพระเครื่องต้องคิดถึง พระปิดตา มหาอุตม์ของหลวงพ่อทับ  วัดทอง
          หลวงพ่อทับ  หรือที่มีนามตามสมณศักดิ์ว่า  ท่านพระครูเทพสิทธิ์เทพาธิบดีผู้สร้างพระปิดตามหาอุตม์  วัดทองที่ลือลั่นทั่ววงการและเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นพระปิดตาที่ยอดเยี่ยมที่สุด  เมื่อได้ตรวจสอบประวัติทั้งของหลวงพ่อทับและประวัติของหลวงพ่อฮวบแล้ว  ปรากฏว่า  ทั้งสองท่านเป็นพระที่บวชในรุ่นราวคราวเดียวกัน  อยู่ในสำนักเดียวกันมาตั้งแต่บวช  จนกระทั่งหลวงพ่อฮวบย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม  และต่อมาหลวงพ่อทับก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทอง  บางกอกน้อย  ธนบุรี
          ในขณะที่หลวงพ่อฮวบ  ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมนั้น  หลวงพ่อทับยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส  ท่านยังเป็นพระหนุ่มทั้งคู่  มีวิชาอาคมสูงส่งและท่านทั้งสองเก่งในทางก่อสร้างอย่างมาก  น่าเป็นไปได้ว่าหลวงพ่อทับอาจเคยมาพำนักอยู่ที่วัดดอนยายหอม  เพื่อช่วยหลวงพ่อฮวบก่อสร้างวัดดอนยายหอม  ความสัมพันธ์ระหว่างวัดทองและวัดดอนยายหอมจึงแนบแน่นเป็นอย่างมากในยุคนั้น
          พระวินัยธร ฮวบ พรหมสร.  มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมได้ไม่นานนักก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระปลัดฮวบ พรหมสร.  ในระหว่างที่หลวงพ่อฮวบเป็นเจ้าอาวาสปกครองภิกษุสามเณรวัดดอนยายหอมอยู่นั้นท่านได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุและเสนาสนะต่างๆ  มากมายตามกำลังทรัพย์  และกำลังแรงของชาวบ้านที่มีอยู่  อาทิเช่น  โบสถ์  หอระฆัง  มณฑปพระเจดีย์  พระพุทธบาทจำลอง  กำแพงวัดด้านทิศเหนือ  และสระน้ำพร้อมทั้งได้หล่อรูปหลวงพ่อทรัพย์ผู้สร้างวัดดอนยายหอมไว้ด้วย
          พระปลัดฮวบ พรหฺมสโร  ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์  สามารถทำการอุปสมบทให้กุลบุตรได้  ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองภิกษุสามเณรวัดดอนยายหอมอยู่ถึง ๖๔ ปี  และถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา  เมื่อปี  พ.ศ. ๒๔๖๖  รวมอายุได้ ๙๑ ปี
          ก่อนที่พระปลัดฮวบจะมรณภาพนั้น  ท่านชราภาพมาก  ไม่สามารถจะบริหารกิจการของวัดได้  จึงเป็นการจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะสงฆ์ในวัดนั้นและชาวบ้านจะต้องเลือกหาพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เห็นว่าพอจะเหมาะสมกับตำแน่งเจ้าอาวาสดูแลปกครองวัดต่อไป  เรียกว่าเป็นรองสมภาร
          โดยที่พระภิกษุเงินเป็นผู้ใกล้ชิดกับพระปลัดฮวบ  ขนาดที่เรียกว่าเป็นก้นกุฏิ  ได้ปฏิบัติเอาใจใส่ดูแลพระปลัดฮวบซึ่งถือว่าเป็น  บุรพาจารย์มาตั้งแต่บวช  เมื่อพระปลัดฮวบอาพาธ พระภิกษุเงินยิ่งเพิ่มความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดเสมอสมกับเป็นศิษย์ที่ชื่อว่ากตัญญูกตเวที  การเต็มใจปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์และปราศจากการหวังผลตอบแทน  กระทำไปตามหน้าที่ของศิษย์ที่ดีนั้นย่อมส่งผลให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติได้
          ครั้นเมื่อวันที่  ๓๐  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๕๙  ท่านเจ้าคุณพุทธลักขิต  เจ้าคณะจังหวัดได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมวัดดอนยายหอมตามที่ได้มีกำหนดการไว้  ท่านเจ้าคุณได้ตรวจวัดเรียบร้อยแล้วพบสิ่งบกพร่องบางประการที่จะต้องรีบบูรณปฏิสังขรณ์  เหตุเรื่องนี้อาจเกี่ยวกับสมภารเจ้าวัดท่านชราภาพมากแล้วนั่นเอง  ท่านเจ้าคุณจึงได้เรียกประชุมเจ้าคณะสงฆ์และชาวบ้านว่าจำเป็นต้องเลือกพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งขึ้นเป็นรองเจ้าอาวาสเพื่อกำกับดูแลปกครองวัดแทนมติที่ประชุมมีเสียงเป็นเอกฉันท์ให้พระภิกษุเงินได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาส  ท่านเจ้าคุณจึงได้เรียกพระภิกษุเงินออกมายืนอยู่ต่อหน้าพุทธบริษัททั้งหลายและได้กล่าวแต่งตั้งให้เป็นรองเจ้าอาวาสเลยทีเดียว  ท่านเจ้าคุณพุทธลักขิต  ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า  กิตติศัพท์ของพระภิกษุเงินนั้น  ท่านได้รับทราบมานานแล้วว่าเป็นภิกษุหนุ่มที่แข็งแกร่งในด้านมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างหาตัวจับได้ยาก  ทั้งมีปฏิภาณในการสั่งสอนอบรมประชาชนและวางตนได้เหมาะสมเป็นที่เคารพศรัทธาต่อพระภิกษุและชาวบ้าน  ท่านยังทำนายไว้อีกว่า  ภิกษุเงินรูปนี้จะต้องเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่ทรงความสามารถในการทะนุบำรุงพระศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไปด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องทางศีลและวินัย  สุดท้ายท่านเจ้าคุณยังกล่าวอีกว่า  ‘คุณจะเป็นผู้ปกครองชาวบ้านนี้ให้อยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม คุณจะเป็นผู้นำทางให้เข้าไปในแสงสว่าง อันหมายถึงความสงบสุข ลักษณะของคุณก็บอกชัดว่าเป็นผู้ชอบแผ่เมตตาจิต ขอให้คุณเจริญรุ่งเรือง อยู่ในพระบวรศาสนายิ่งๆ ขึ้นไปเถิด’
           สืบต่อมาจนถึงปี  พ.ศ. ๒๔๖๖  พระปลัดฮวบเจ้าอาวาสก็ถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชรา  ทางเจ้าคณะจังหวัดจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้พระภิกษุเงินผู้เป็นรองเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมซึ่งตรงกับวันที่  ๒  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๖  เมื่อพระภิกษุเงินได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารมีหน้าที่บริหารกิจการของวัดโดยสมบูรณ์แล้ว  ก็ได้ใฝ่ใจปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ที่เกี่ยวกับความสะดวกของพระภิกษุและชาวบ้านมากมายหลายประการจวบจนกระทั่งปี  พ.ศ. ๒๕๒๐  ท่านก็มรณภาพด้วยอาการที่สงบ  สิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี  พรรษา ๖๔ พรรษา
          เมื่อพระราชธรรมาภรณ์  หลวงพ่อเงิน  เทพเจ้าแห่งดอนยายหอมมรณภาพแล้ว  เจ้าคณะจังหวัดได้แต่งตั้งพระครูเกษมธรรมนันท์  ซึ่งเป็นรองเจ้าอาวาสสมัยหลวงพ่อเงินเป็นเจ้าอาวาส  ให้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมสืบต่อจากหลวงพ่อ  เมื่อวันที่  ๗  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๕๒๐  รวมอายุได้ ๗๑ ปี พรรษา ๕๑ พรรษา  เมื่อหลวงพ่อแช่มได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมแล้วท่านก็ได้พยายามสืบต่อเจตนารมณ์ของหลวงพ่อเงินตลอดมา  ท่านได้บูรณปฏิสังขรณ์  ก่อสร้างเสนาสนะในวัดดอนยายหอมมากมาย  ได้พัฒนาหมู่บ้านดอนยายหอมให้เจริญรุ่งเรือง  จวบจนกระทั่งวันที่  ๙   ธันวาคม พ.ศ.  ๒๕๓๖  ท่านก็มรณภาพด้วยอาการที่สงบสิริรวมอายุได้ ๘๘ ปี  พรรษา ๖๗ พรรษาและปัจจุบันพระครูวิมลสุทธิสาร  เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมสืบต่อจากหลวงพ่อแช่ม  และมีพระครูปฐมวราจารย์ เป็นรองเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมและเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม มีพระมหชาญ  ชาตเมโธและพระใบฎีกาสวรรค์  กิตฺติวณฺโณ,ดร. เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม
 
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและครั้งต่อมา
          สมัย พระปลัดฮวบ( หลวงพ่อฮวบ )  เป็นเจ้าอาวาสอยู่ท่านได้สร้างอุโบสถหลังแรกขึ้นประมาณปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐   และในยุคต่อมา พระราชธรรมาภรณ์ ( หลวงพ่อเงิน )ได้เป็นเจ้าอาวาส  ปี พ.ศ.  ๒๔๖๖   และ หลวงพ่อเงินเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นประมาณปี พ.ศ.  ๒๔๘๐  อุโบสถหลังนี้ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาดกว้าง   ๑๐  เมตร   ยาว   ๒๔  เมตร    สูง  ๑๘   เมตร  ช่อฟ้าหน้าบรรล์ลงรักปิดทอง   ซุ้มประตูหน้าต่างแกะลวดลายประดับมุข   บานประตูเขียนลวดลายทองรดน้ำภายในอุโบสถเป็นพื้นหินขัด
 
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อกันมา
        ต่อมา ปี พ.ศ.  ๒๔๖๖   พระปลัดฮวบ ( หลวงพ่อฮวบ )  ได้ถึงแก่มรณภาพลง  ทางเจ้าคณะจังหวัดจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ หลวงพ่อเงิน ผู้เป็นรองเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมซึ่งตรงกับวันที่  ๒  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๖๖  เมื่อ หลวงพ่อเงิน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารมีหน้าที่บริหารกิจการของวัดโดยสมบูรณ์แล้ว  ก็ได้ใฝ่ใจปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ที่เกี่ยวกับความสะดวกของพระภิกษุและชาวบ้านมากมายหลายประการดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้
          พ.ศ.  ๒๔๖๕   สร้างหอสวดมนต์    สร้างเป็นแบบโบราณ  พื้นชั้นเดียวยกไต้ถุนสูง
          พ.ศ. ๒๔๗๑   สร้างศาลาการเปรียญ ขนาดกว้าง  ๑๖  เมตร   ยาว  ๒๒   เมตร  ๑  หลัง
          พ.ศ.  ๒๔๘๐   สร้างอุโบสถ ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาดกว้าง   ๑๐  เมตร   ยาว   ๒๔  เมตร    สูง  ๑๘   เมตร
          พ.ศ.  ๒๔๙๔   สร้างสถานีอนามัยประจำตำบลดอนยายหอม
          พ.ศ.  ๒๕๐๐  สร้างหอพระปริยัติธรรม  เป็นตึกทรงปั้นหยา  มีมุขกลาง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาดกว้าง  ๖  เมตร   ยาว  ๒๔   เมตร
          พ.ศ.  ๒๕๐๐  สร้างหอระฆัง  เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมซ้อนสองตอน
          พ.ศ.  ๒๕๐๕  สร้างหอสมุดราชธรรมาภรณ์   สร้างแบบไทยมีมุขหน้าชั้นเดียว   ขนาดกว้าง  ๖.๕๐ เมตร   ยาว  ๘.๕๐   เมตร  ๑  หลัง
          พ.ศ. ๒๕๐๙  สร้างมณฑป รูปทรงไทยแบบจตุรมุข  เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง  ๑๐   เมตร
          พ.ศ. ๒๕๐๙  สร้างศาลา คุณยายหอม  พร้อมๆ กับที่สร้างมณฑปขนาดกว้าง  ๖  เมตร ยาว  ๒๔   เมตร
          พ.ศ. ๒๕๑๒  สร้างวิหารหลวงพ่อเงิน  ขนาดกว้าง   ๔.๕๐  เมตร   ยาว   ๘.๕๐  เมตร  ๑  หลัง 
          ต่อมา ปี พ.ศ.  ๒๕๒๐ พระราชธรรมาภรณ์ ( หลวงพ่อเงิน ) ได้มรณภาพลงทางเจ้าคณะจังหวัดจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ พระครูเกษมธรรมนันท์ ( พลวงพ่อแช่ม ) ผู้เป็นรองเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอมซึ่งตรงกับวันที่  ๗  พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๒๐ เมื่อ หลวงพ่อแช่ม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารมีหน้าที่บริหารกิจการของวัดโดยสมบูรณ์แล้ว  ก็ได้ใฝ่ใจปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสะดวกของพระภิกษุและชาวบ้านมากมายหลายประการด้วยกัน  และในปี   พ.ศ.  ๒๕๓๖    พระครูเกษมธรรมนันท์  ( พลวงพ่อแช่ม)ได้มรณภาพลงทางเจ้าคณะจังหวัดจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ พระครูปลัดประพันธ์  วิสุทฺธิสาโร  ผู้เป็นรองเจ้าอาวาสเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม  เมื่อ พระครูปลัดประพันธ์   วิสุทฺธิสาโร  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมภารมีหน้าที่บริหารกิจการของวัดโดยสมบูรณ์แล้ว  ก็ได้ใฝ่ใจปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่เกี่ยวกับความสะดวกของพระภิกษุและชาวบ้านตำบลดอนยายหอมจนถึงปัจจุบันนี้ และปัจจุบันนี้ พระครูปลัดประพันธ์   วิสุทฺธิสาโร  ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโทที่ พระครูวิมลสุทธิสาร
ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม,ที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลดอนยายหอม
 
สถานที่ราชการที่สร้างอยู่ในเขตวัด
          ๑.  สถานีตำรวจตำบลดอนยายหอม
          ๒. สถานีอนามัยตำบลดอนยายหอม
          ๓. โรงเรียนศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์
 
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ
          ๑.   พระพุทธศรีทักษิณานุสรณ์  พระประธานในอุโบสถ  หน้าตัก กว้าง  ๘๕  นิ้ว   สูง  ๑๑๑   นิ้ว
          ๒.  รูปหล่อ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนยายหอม หลวงพ่อทรัพย์   หลวงพ่อฮวบ  หลวงพ่อเงิน  หลวงพ่อแช่ม   อยู่ที่วิหารหลวงพ่อเงิน
          ๓.  เสาเสมาธรรมจักร อยู่ที่วิหารหลวงพ่อเงิน
          ๔.  รูปปั้นคุณยายหอม อยู่ในศาลาอนุสรณ์ คุณยายหอม ใกล้มณฑป
          ๕.  พระพุทธบาทจำลอง และพระพุทธรูปประจำวัน  ๗  ปาง  อยู่ในมณฑป
          ๖.  ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นหน่อโพธิ์จากพุทธคยา ประเทศอินเดีย ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
          ๗. ศาลาธรรมโสฬส ที่ประดิษฐานศพ พระราชธรรมมาภรณ์ (หลองพ่อเงิน )
          ๘. หอกัมมัฏฐาน ที่ประดิษฐานศพ พระครูเกษมธรรมนันท์  ( หลวงพ่อแช่ม )
 
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
 
          ๑.  อุโบสถหลังแรกสมัย พระปลัดฮวบ( หลวงพ่อฮวบ )  เป็นเจ้าอาวาสอยู่ท่านได้สร้างอุโบสถหลังแรกขึ้นประมาณปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐
          ๒.  อุโบสถหลังที่สอง สมัยหลวงพ่อเงินสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้าง  ๑๐  เมตร ยาว  ๒๔ เมตร    สูง  ๑๘   เมตร  พ.ศ.  ๒๔๘๐  
          ๓.  วิหารหลังแรก        สมัย พระปลัดฮวบ( หลวงพ่อฮวบ )  เป็นเจ้าอาวาสอยู่ท่านได้สร้างวิหารหลังแรกขึ้นประมาณปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐
          ๔.  วิหารหลังที่สอง     สมัยหลวงพ่อเงิน มีขนาดกว้าง   ๔.๕๐  เมตร   ยาว   ๘.๕๐  เมตร  พ.ศ. ๒๕๑๒ 
          ๕.  ศาลาการเปรียญหลังแรก  สร้างสมัยหลวงพ่อฮวบ  ประมาณปี  พ.ศ.  ๒๔๐๐
          ๖.  ศาลาการเปรียญหลังที่สองแบบทรงไทย   สร้างสมัยหลวงพ่อเงิน  มีขนาดกว้าง  ๑๖  เมตร                         ยาว   ๒๒   เมตร ปี  พ.ศ.  ๒๔๗๑
          ๗.  ศาลาการเปรียญหลังที่สามแบบทรงไทย   สร้างสมัยหลวงพ่อแช่ม  มีขนาดกว้าง  ๑๖  เมตร                             ยาว   ๒๒   เมตร ปี  พ.ศ.  ๒๕๒๒  ศาลาทั้งสามหลังนี้ รวมกัน  มีเสาทั้งหมด   ๑๔๔   ต้น
          ๘.  มณฑป  เป็นรูปทรงไทยแบบจตุรมุข   ยกพื้นสูงมีบันไดขึ้นลงทั้งสี่ด้าน  เป็นทรงสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง  ๑๐   เมตร  สร้างเมื่อปี  พ.ศ.   ๒๕๐๙
          ๑๑.  หอระฆัง  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมซ้อนสองตอน ตั้งบันไดเวียนอยู่ตรงกลางมีขนาดกว้าง   ๘   เมตร   สูง    ๑๒    เมตร    สร้างเมื่อปี   พ.ศ.  ๒๕๐๐ 
          ๑๒. ฌาปนสถาน  ก่อสร้างเมื่อปี   พ.ศ.   ๒๕๑๑
 
ได้รับพระราชวิสุงคามสีมา
          เมื่อพ.ศ.  ๒๔๗๘
 
ผูกพัทธสีมา
          เมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๙๒
 
ลำดับรายนามเจ้าอาวาส
          รูปที่   ๑    พระปลัดฮวบ     พรหมฺสโร                       ตั้งแต่    พ.ศ.     ๒๔๐๐  -  ๒๔๖๖
          รูปที่   ๒   พระราชธรรมาภรณ์  ( หลวงพ่อเงิน )              ตั้งแต่    พ.ศ.     ๒๔๖๖ -  ๒๕๒๐
          รูปที่   ๓   พระครูเกษมธรรมนันท์ ( หลวงพ่อแช่ม )           ตั้งแต่    พ.ศ.     ๒๕๒๐ - ๒๕๓๖
          รูปที่   ๔   พระครูวิมลสุทธิสาร ( หลวงพ่อประพันธ์ )         ตั้งแต่    พ.ศ.     ๒๕๓๖ – ๒๕๖๒
          รูปที่   ๕   พระครูปฐมวราจารย์ (หลวงพ่ออวยพร)            ตั้งแต่    พ.ศ.     ๒๕๖๒ - ถึงปัจจุบัน

แผนที่ภาพ

รายการพระ

พระครูปฐมวราจารย์ (อวยพร) ฐิติญาโณ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 27-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-12-2564

พระใบฎีกาสวรรค์ กิตฺติวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 27-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 09-09-2565

พระมหาสุดใจ จนฺทปญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 19-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 09-09-2565

พระอเนกวิทย์ อนาวิโล

ข้อมูลเมื่อ : 19-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 09-09-2565

พระมหาชาญ ชาตเมโธ

ข้อมูลเมื่อ : 21-01-2565

ปรับปรุงล่าสุด : 21-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด