เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8345 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8860 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7194 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดเทียนดัด

รหัสวัด
2730615001

ชื่อวัด
วัดเทียนดัด

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
-

วันรับวิสุงคามสีมา
-

ที่อยู่
วัดเทียนดัด

เลขที่
66

หมู่ที่
1

ซอย
วัดเทียนดัด

ถนน
-

แขวง / ตำบล
บ้านใหม่

เขต / อำเภอ
สามพราน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73110

เนื้อที่
- ไร่ - งาน - ตารางวา

จำนวนเข้าดู : 897

ปรับปรุงล่าสุด : 29 ธันวาคม พ.ศ. 2564 14:38:35

ข้อมูลเมื่อ : 26 กันยายน พ.ศ. 2564 14:31:38

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

สถานที่ตั้ง         วัดเทียนดัดนี้ได้สร้างมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายหรือทิศตะวันออกของแม่น้ำท่าจีน(หรือแม่น้ำนครชัยศรี)อยู่ในพื้นที่ของตำบลบ้านใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ซึ่งที่ตั้งวัดเป็นฝั่งคุ้งของแม่น้ำ กระแสน้ำพัดเซาะตลิ่งพังอยู่ตลอดเวลา เมื่อสมัยก่อน บริเวณหน้าวัดมีกระแสน้ำวนมาก เพราะมีอุโบสถพังลงไปกั้นกระแสน้ำอยู่หลังหนึ่ง มาสมัยปัจจุบันนี้น้ำไม่วนแล้ว คงเป็นเพราะกองอิฐกองปูนพังทลายไปหมดแล้ว และในทางทิศใต้ของวัด มีวัดติดต่อกันใกล้เคียงลงไปทางแม่น้ำ ประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นวัดอ้อมใหญ่ ทางทิศเหนือเป็นวัดเชิงเลน    
ความหมายของชื่อวัด วัด     (นาม)     หมายถึง     อารามที่ของพระภิกษุสงฆ์ ;
        (กิริยา)     หมายถึง     เหวี่ยง สอบความยาว หรือวัดตะหวัดขึ้น

เทียน   (นาม)     หมายถึง     ชื่อต้นไม้เล็ก ๆ จำพวกหนึ่งมีหลายชนิดด้วยกัน;เครื่องตามไฟ ใช้ด้ายฟั่นเป็นไส้ หล่อหุ้มเป็นแท่งด้วยไข หรือขี้ผึ้ง ในที่นี้  หมายถึงเทียนขี้ผึ้งที่จุดบูชาธรรม หรือบูชาพระ เมื่อจุดแล้วย่อมลุกเป็นไฟ ให้แสงสว่าง เห็นสิ่ง                                                ต่าง ๆ แต่ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเมื่อผู้ใดทำให้สว่างขึ้นในใจ  ย่อมมีความเจริญทุกเมื่อ

ดัด        (นาม)     หมายถึง    ต้นไม้ที่ขัดให้เป็นรูปต่าง ๆ  เรียกไม้ดัด ;
            (กิริยา)    หมายถึง    ทำแข้งขาด้วยกิริยาต่าง ๆ  ให้หายเมื้อยขบ ; ทำให้คด โค้ง ตรงหรือมีรูปต่าง ๆ ตามต้องการ,ทำให้เที่ยงตรง, แก้  เช่น  ดัดนิสัย ; ดาด, กั้น, ดัดจริต คำว่าดัด ในที่นี้หมายถึง  ดัดกาย  วาจา  ใจ  ให้เรียบร้อย

...ดังนั้น  นามวัดเทียนดัดจึงเป็นมงคลนามอย่างดียิ่ง...
พื้นที่ของวัด
               พื้นที่ของวัด  เดิมมีประมาณ ๓๕ ไร่ ต่อมานางหนูได้ยกที่ดินเป็นมรดกกับพระครูอาทรพิทยคุณ ประมาณ ๕๐ ไร่  แต่พระครูอาทรพิทยคุณเมื่อได้รับที่ดินนั้นแล้ว ก็ยกที่ดินนั้นให้เป็นของวัดอีกต่อหนึ่งทั้งหมด  เมื่อรวมกันแล้วมีประมาณ  ๘๕  ไร่ แต่ถูกกระแสน้ำเซาะพังเสียหายเหลืออยู่ขณะนี้ ๗๕ ไร่ ๓ งานตามโฉนดเลขที่ ๔๓๑๓ ได้แบ่งเป็น
  • เขตสังฆาวาส (อารามสงฆ์) ๒๕ ไร่ ( ส่วนนี้ถูกแบ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียน ๕ ไร่ )
  • ส่วนที่เหลือเป็นที่ธรณีสงฆ์  ๕๐ ไร่ ๓ งาน ( ที่ธรณีสงฆ์นี้ถูกแบ่งเป็นถนน ๑๐ ไร่ )
เขตติดต่อ  (พื้นที่ดินทั้งหมด) ทิศตะวันออก     จดที่ดินเลขที่  ๒๙_๑๘๔   คลองสาธารณประโยชน์ ถนนสาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก      จดลำกระโดงสาธารณประโยชน์  แม่น้ำนครชัยศรี
ทิศเหนือ          จดที่ดินเลขที่ ๒๙  ลำกระโดงสาธารณประโยชน์
ทิศใต้             จดคลองสาธารณประโยชน์ แม่น้ำนครชัยศรี
การคมนาคม             การคมนาคมไปมาติดต่อกับวัดเทียนดัดได้ทั้งทางบกและทางน้ำ ในทางน้ำนั้น เนื่องจากหน้าวัดอยู่ติดแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรี   เรือสามารถเดินขึ้นล่องตามแม่น้ำได้ตลอดลำน้ำ  ( สมัยก่อนตรงบริเวณหน้าวัดจะมีจระเข้ขึ้นอยู่เป็นประจำ เรือผ่านไปผ่านมาพากันเกรงกลัว  แต่ไม่ปรากฏว่าจระเข้นั้นจะเข้าทำร้ายผู้ใดเลย )  ส่วนทางบกได้สร้างถนนรถยนต์แยกจากทางถนนเพชรเกษมระหว่างหลักกิโลเมตรที่  ๒๙  ( จากกรุงเทพ ฯ )  ซึ่งระยะทางจากทางแยกเข้าถึงวัดประมาณ  ๓  กิโลเมตร และสามารถเข้าทางวัดโรมันได้อีกทางหนึ่ง  เมื่อปี  ๒๕๓๑  มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำตรงหน้าวัด  รถจึงสามารถเข้าทางหน้าวัดได้อีกทางหนึ่ง  ซึ่งถนนเส้นนี้สามารถมาจากทางบ้านแพ้ว  และทางมหาชัย  กระทุ่มแบน ของจังหวัดสมุทรสาครการเดินทางด้วยรถยนต์ก็สะดวกดีทั้งสามทาง
ความเป็นมาแต่เดิม            ตำบลบ้านใหม่นี้ประกอบด้วยหมู่บ้านต่าง ๆ   หลายหมู่บ้านด้วยกัน   เช่น  “หมู่บ้านดงเกด”  ซึ่งเป็นหมู่บ้านซึ่งตั้งวัดเทียนดัด  หน้าวัดฝั่งตรงข้ามแม่น้ำเป็น  “หมู่บ้านเก่า”   ไปทางตอนใต้ของวัดลงไปเป็น  “หมู่บ้านบางเสม็ด”  (ปัจจุบันเรียกว่า  หมู่บ้านสวนผัก)  และหมู่บ้านบางประแดง  ส่วนทางทิศเหนือติดกับตำบลท่าข้าม  และตำบลบางช้าง  ส่วนตอนใต้ติดตำบลอ้อมใหญ่  ซึ่งตำบลเหล่านี้ล้วนอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
           
          วัดเทียนดัดนี้ได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  (ตอนปลาย)  และเนื่องจากได้สร้างในหมู่บ้านดงไม้เกด  เดิมจึงมีชื่อเรียกว่า  “วัดดงเกด”  มาจนสมัยกรุงธนบุรีวัดดงเกดนี้ถูกไฟไหม้เผาจนหมด   ชาวบ้านจึงได้รวบรวมศรัทธาจัดสร้างขึ้นใหม่   ในชั้นต้นจัดสร้างกุฏิพอให้พระอยู่อาศัยไปก่อน  โดยไปตัดต้นจาก    มาเย็บเป็นแผง ๆ   เรียก  “กระแชง”  เอามามุงหลังคากุฏิ  จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่า  “วัดกระแชงดาด”
           
          ในกาลต่อมาอีกนานชื่อวัดได้เปลี่ยนไปเป็น  “วัดเชิงดาด” (ในสมัยพระอธิการมน )  และเนื่องจากวัดนี้อยู่ฝั่งคุ้ง  กระแสน้ำเซาะตลิ่งพังอยู่เสมอ ๆ จนเป็นอ่าวน้ำลึกลงไปทำให้เกิดกระแสน้ำวน  จึงได้มีสร้อยนามต่อท้ายชื่อว่า  “วัดเชิงดาดคงคาวน”  ต่อมาเรียกเปลี่ยนไปว่า  “วัดเชิงดาดคงคาวล” เปลี่ยนจากตัวสะกด  น  เป็น  ล   สะกด
           
          หลังจากไฟไหม้ครั้งนั้นและชาวบ้านได้สร้างกุฏิให้พระอยู่พอประทังไปได้แล้ว ต่อมามีพระธุดงค์องค์หนึ่ง  ได้เดินทางมาจากอยุธยา  ชื่อว่า  “หลวงพ่อมหัสดำ”   ได้เห็นซากและความเสียหายของวัดนึกสังเวชและมีศรัทธาจะสร้างให้ดียิ่งขึ้นใหม่ จึงได้พักอยู่และรวบรวมศรัทธาชาวบ้านจัดการบูรณะซ่อมแซมต่อเติม   และสร้างโบสถ์ (นับเป็นหลังที่ ๒)*   ตลอดจนศาลาการเปรียญและกุฏิ   เสนาสนะ  ขึ้นแทนของเก่าที่ถูกไฟไหม้  เมื่อสำเร็จเรียบร้อยดีแล้วท่านจึงกลับไป  และได้ให้พระภิกษุรูปหนึ่ง  ( ตามหลักฐานที่ค้นคว้าได้ว่าเป็น  “พระวินัยธรเผือก”  หรือเรียกว่า  “หลวงพ่อเผือก” )  รักษาวัดต่อไป
           
          พระวินัยธรเผือกเป็นเจ้าอาวาสต่อมา ปรากฏว่ากระแสน้ำหน้าวัดได้ไหลเซาะตลิ่งพังลง  จนกระทั่งพัดเอาโบสถ์ที่หลวงพ่อมหัสดำสร้างนั้นพังลงแม่น้ำไป  ชาวบ้านจึงรวบรวมศรัทธากันสร้างขึ้นใหม่อีกเป็นหลังที่สาม   ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้  ต่อมาเมื่อพระวินัยธรเผือกมรณภาพก็ได้นำเอาอัฐิของท่านบรรจุในพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นหน้าโบสถ์  ซึ่งพระเจดีย์นั้นยังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
           
          ต่อจากนั้นก็ได้มีเจ้าอาวาสสืบต่อมาอีกหลายองค์   จนกระทั่งถึงสมัยหลวงพ่อคงเป็นผู้รักษาการและก็มรณะภาพลง    พระอธิการมนจึงได้รับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา  ครั้งหนึ่งสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส    ได้เสด็จผ่านเขตมณฑลนครชัยศรี  ได้เสด็จประทับที่วัดสรรเพชญ  ในครั้งนั้นเจ้าอาวาสทุก ๆ  วัดได้ไปเฝ้ารับเสด็จ     พระองค์ท่านได้รับสั่งถามความกับพระอธิการมนว่า  “อยู่วัดไหน”  เช่นเดียวกับเจ้าอาวาสวัดอื่น ๆ  พอพระอธิการมนทูลตอบว่า  “อยู่วัดเชิงดาดคงคาวล”   เท่านั้น   พระองค์ท่านจึงตรัสว่า   “ชื่อยาวไปและไม่เหมาะควรเปลี่ยนใหม่”   และได้ทรงพระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า   “วัดเทียนดัด”   นับว่าเป็นมงคลนามอันดียิ่ง   วัดจึงมีนามว่า  วัดเทียนดัด”  มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
การตั้งวัด             ตามหลักฐานที่ค้นพบ  วัดเทียนดัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์  พ.ศ. ๒๒๗๕  และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อ  .ศ. ๒๒๘๐  โดยพระอธิการภิรมย์  รตนปัญโญ  (ปัจจุบันเป็นพระครูวิกรมพิทยคุณ)มีความประสงค์จะหาหลักฐานของการตั้งวัด  โดยที่ศึกษาธิการอำเภอสามพราน  คุณพิชัย  คัมภีรศาสตร์   เป็นผู้ดำเนินการค้นหา  และได้พบหลักฐาน  ณ  ที่ว่าการอำเภอสามพราน  จึงได้มอบให้กำนันวิลัย    ซิ้มเจริญ  นำมาให้เจ้าอาวาสวัดเทียนดัด
อาณาเขตเฉพาะที่ตั้งวัด ทิศเหนือ             ยาว   ๕   เส้น     จดลำกระโดงสาธารณประโยชน์
ทิศใต้                 ยาว   ๕   เส้น     จดถนนซอยวัดเทียนดัด
ทิศตะวันออก       ยาว   ๕   เส้น     จดถนนซอยวัดเทียนดัด - โรมัน
ทิศตะวันตก         ยาว   ๕   เส้น     จดลำกระโดงสาธารณประโยชน์ แม่น้ำท่าจีน
 
 หมายเหตุ.   ที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๕ ไร่นี้  รวมถึงโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดเทียนดัดและป้อมยามตำรวจด้วย
ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ
  • พระประธานในโบสถ์ (หลวงพ่อศรีรัตน์) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง  ๑.๖๘  เมตร  สูงตลอดยอดรัศมี  ๒.๓๘  เมตร  (หลวงพ่อองค์นี้ปรากฏว่ามีผู้เคารพนับถือมาก  มีผู้มาบนบานก็ปรากฏว่าได้ประสบผลสำเร็จตามความปรารถนาของผู้มาหาอยู่เสมอ)
  • พระเจดีย์หน้าโบสถ์  สร้างประมาณสมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย  สันนิษฐานว่าบรรจุอัฐิของพระวินัยธรเผือก เดิมฐานกว้าง ๔.๓๒ เมตร สูงตลอดยอด ๗.๒ เมตร( ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาล แต่ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมมาตลอด ) และหลังจากนั้นยังมีการสร้างเจดีย์อีก   ๕  องค์  อยู่บริเวณหน้าโบสถ์  แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด
  • ธรรมาสน์เทศน์ทรงมณฑป  สร้าง  พ.ศ. ๒๔๖๙ สูงตลอดยอด ๕ เมตร
  • หลวงพ่อสังกัจจายน์  (หลวงพ่อโต)  หน้าตักกว้าง  ๓๔  นิ้ว  สูง ๐.๗๕ เมตร  สร้าง  พ.ศ. ๒๕๑๕
  • พุทธเจดีย์ศรีปฐมบรมธาตุ  สร้างเสร็จ  พ.ศ. ๒๕๓๒  กว้าง ๑๒ เมตร/ยาว ๑๒ เมตร  ด้านข้างสี่ด้าน ๆ  ละ ๔ เมตร สูงตลอดยอด ๓๘ เมตร
ลักษณะพื้นที่ทั่วไปและภูมิทัศน์โดยรอบ           ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม อยู่ริมแม่น้ำท่าจีน  ในอดีตพื้นที่โดยรอบรวมทั้งที่ตั้งวัดเป็นทุ่งนา มีบ้านเรือนตั้งอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน  การคมนาคมไม่สะดวก  ในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก  มีถนนหนทางสะดวกสบายดี  มีบ้านเรือนชุมชนเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  ซึ่งทางด้านหลังวัดชุมชนขยายตัวจนเป็นชุมชนแออัด  มีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น   และมีโรงงานอุตสาหกรรมได้ขยายตัวในชุมชนเทียนดัดจำนวนหนึ่ง  ซึ่งก็อยู่รอบ ๆ วัด
ลำดับนานเจ้าอาวาสวัดเทียนดัด
  วัดเทียนดัดนี้ได้สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  ไม่พบหลักฐานนามเจ้าอาวาสองค์แรก  เท่าที่ทราบได้  มีลำดับดังนี้
  • สมัยกรุงธนบุรี    คือ    หลวงพ่อมหัสดำ
  • ต่อมา   คือ    พระวินัยธรเผือก
  • ต่อจากนั้นก็มีเจ้าอาวาสสืบต่อมาอีก  (ไม่ทราบนามและจำนวน)
  • ต่อจากนั้น   คือ     หลวงพ่อคง
  • ต่อจากนั้น   คือ     พระอธิการมน ดำรงอยู่จนถึง  พ.ศ.๒๔๖๓
  • พระครูอาทรพิทยคุณ  (หลวงปู่ผล  ธมฺมโชติ)  รักษาการตั้งแต่  พ.ศ.๒๔๖๓ และดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ  พ.ศ. ๒๔๗๕ - ๒๕๓๑   (ในระหว่าง  พ.ศ.๒๔๖๙ – ๒๔๗๗  พระครูปลัดผัน  ดิสฺสุวณ   (หลวงพ่อผัน )  ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่านพระครูอาทรพิทยคุณ  ได้มาช่วยพัฒนาวัดและกิจการพระศาสนา  จนเมื่อ  พ.ศ.๒๔๗๗  ท่านพระครูปลัดผัน ได้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางช้างเหนือ  จนถึง  พ.ศ.๒๔๘๕  ท่านก็มรณภาพ )  
  • พระครูมนูญกิจจานุวัตร  (หลวงพ่อแสวง  ธมฺมรโส)   พ.ศ.  ๒๕๓๑ - ๒๕๓๕
พระครูวิกรมพิทยคุณ  (หลวงพ่อภิรมย์  รตนปญฺโญ)   พ.ศ.  ๒๕๓๕ - ปัจจุบัน 
 
 
 

รายการพระ

พระครูวิกรมพิทยคุณ (ภิรมย์) รตนปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 19-04-2567

พระครูปลัดไพฑูรย์ เมธิโก

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระแม้น กตสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 28-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระศักดิ์ชัย สมาหิโต

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระธวัชชัย สทฺธาธิโก

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระชัยยุทธ ฐานุตฺตโม

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระบุญชัย สุภโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระประพันธ์ วสโภ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระสุพจน์ อยวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระนพดล นาถธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระโปรย ฉนฺทปฺปตฺโต

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระสมชาย จนฺทสาโร

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระรพิน สมาหิโต

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระนราทิพย์ ฐิตสีโล

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระชาลี เมตฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

พระณัฐวุฒิ ฉนฺทนฏฺโฐ

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

สามเณรกิตติ แสงบำรุง

ข้อมูลเมื่อ : 01-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 24-02-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ทอดกฐินสามัคคี วัดเทียนดัด

ข้อมูลเมื่อ : 26-10-2564

เปิดดู 2771 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด