เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดท่าเสา

รหัสวัด
02730211001

ชื่อวัด
วัดท่าเสา

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 01 เดือน มกราคม ปี 500

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 01 เดือน มกราคม ปี 500

ที่อยู่
บ้านท่าเสา

เลขที่
29

หมู่ที่
9

ซอย
-

ถนน
สายบางหลวง

แขวง / ตำบล
ห้วยม่วง

เขต / อำเภอ
กำแพงแสน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73180

เนื้อที่
16 ไร่ 3 งาน 20 ตารางวา

มือถือ
0845336156

จำนวนเข้าดู : 578

ปรับปรุงล่าสุด : 27 มกราคม พ.ศ. 2565 13:34:41

ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

วัดท่าเสา
วัดท่าเสาได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมี พระภิกษุโต๊ะ เป็นผู้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในครั้งแรกได้ เริ่มสร้างกุฏิสงฆ์
ขึ้น ๔ หลัง พอเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุและสามเณร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง พอให้ประชาชน
ได้ใช้ทำบุญ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๒ พระภิกษุโต๊ะก็ได้ย้ายกลับวัดอินทราราม ( หุบรัก ) อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
อันเป็นที่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน
ยุคที่มีการก่อสร้างเป็นวัดมีอุโบสถครั้งแรกและครั้งต่อมา
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระภิกษุเบ้า อุตฺตโม ได้ทำการสร้างอุโบสถขึ้น ๑ หลัง แต่ไม่แล้วเสร็จเพราะฝาผนังแตก ใช้การไม่ได้
ต้องรื้อทิ้ง
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ก็ได้มีพระภิกษุว่อง ฉายา องฺกุโร มารักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ ๓ ปี ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในด้านการก่อสร้างได้เป็นผู้คิดแก้ไขดัดแปลงกุฏิสงฆ์แบบเก่าๆ ทั้งหมดให้เป็นกุฏิสงฆ์แบบใหม่ รวม ๖ หลัง ได้เริ่ม
สร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงสำเร็จคิดเป็นจำนวนเงินค่าก่อสร้าง ๖๐,๐๐๐ บาทเศษ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒
พระอธิการว่อง องฺกุโร ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้ดำเนินการก่อสร้างอุโบสถขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร
สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก
การพัฒนาวัดที่มีสืบต่อมาโดยลำดับ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๙ โดยมีพระภิกษุโต๊ะ เป็นผู้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในครั้งแรก ได้เริ่มสร้าง กุฏิสงฆ์ขึ้น ๔ หลัง พอเป็นที่พัก
อาศัยของพระภิกษุและสามเณร ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้น ๑ หลัง พอให้ประชาชนได้ทำบุญ ต่อมาเมื่อปี
พ.ศ. ๒๔๖๒ พระภิกษุโต๊ะก็ได้ย้ายกลับวัดอินทราราม ( หุบรัก ) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม อันเป็นที่บ้านเกิดเมืองนอนของท่าน
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ได้มีพระภิกษุพรหมมา รักษาการแทนเจ้าอาวาส ได้สร้างกุฏิสงฆ์ ขึ้น ๑ หลัง และหอสวดมนต์
ขึ้นอีก ๑ หลัง พระภิกษุพรหมมา ได้ทำหน้าที่รักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ ๑๐ ปี ก็ได้มรณภาพ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้มีพระภิกษุเบ้า ฉายา อุตฺตโม มารักษาการแทนเจ้าอาวาส อยู่ ๒ ปี ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น
เจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ในพ.ศ. ๒๔๗๖ นี้ ได้ทำเรื่อง ขออนุญาตสร้างวัด และได้รับอนุญาตสร้างวัด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙
การปฏิสังขรณ์ได้ซ่อมแซมต่อเติม พาลัยศาลาการเปรียญหลังเก่า ให้พอเพียงกับประชาชนที่มาทำบุญ ท่านอยู่ในสมณเพศ ๙ ปี
ก็ลาสิกขาบท
ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ก็ได้มีพระภิกษุว่อง ฉายา องฺกุโร มารักษาการแทนเจ้าอาวาส อยู่ ๓ ปี ก็ได้รับแต่งตั้งเป็น
เจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในด้านการก่อสร้างได้เป็นผู้คิดแก้ไขดัดแปลงกุฏิสงฆ์แบบเก่าๆ ทั้งหมด ให้เป็นกุฏิแบบใหม่ รวม ๖
หลัง ได้เริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ จึงสำเร็จ คิดเป็นจำนวนเงินค่าก่อสร้าง ๖๐,๐๐๐ บาทเศษ ต่อมาเมื่อ
พ.ศ. ๒๕๐๒ พระอธิการว่อง องฺกุโร ก็ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และได้ดำเนินการก่อสร้าง อุโบสถขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๕ เมตร
ยาว ๒๐ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก คิดเป็นจำนวนเงิน ๕๕๓,๒๐๐ บาท เศษ ได้สร้างอยู่ ๘ ปีก็สำเร็จ และได้ทำการ
ผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เมื่อทำการผูกพัทธสีมาเรียบร้อยแล้ว เงินเหลือในปีเดียวกันนี้ได้ซื้อที่ดินเพิ่มออกไปอีก ๑๗ ไร่
พร้อมทั้งอาคารเรียนของโรงเรียนราษฎร์ ๑ หลัง เป็นจำนวนเงิน ๔๕,๐๐๐ บาท เพื่อเอาไว้สร้างอาคาร โรงเรียนประชาบาลต่อไป เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ท่านคิดเห็นว่าสภาพร่างกายของท่านชราภาพมาก จึงได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ก็ได้ขอแต่งตั้ง
ให้พระภิกษุพลอย ฉายาฐิติพโล เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ ๑ ปี ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับ
สมณศักดิ์ที่พระครูสถิตวุฒิคุณ และได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ๑ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ๑ หลัง ศาลาประดิษฐานรูปเหมือน
อดีตเจ้าอาวาส ๑ หลัง และฌาปนสถาน ๑ หลัง จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ก็ได้มรณภาพเนื่องจากอุบัติเหตุ
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ก็ได้มีพระอธิการวงษ์ ชิตวํโส ( ปัจจุบันชื่อพระครูชัยการประสิทธิ์ ) ในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ย้ายไป
เป็น เจ้าอาวาสวัดธรรมวิจิตร เจ้าคณะตำบลหนองแซง เขต ๒ จังหวัดชัยนาท ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึงปัจจุบัน ได้นิมนต์พระครูสารดิตถารักษ์ ( เปลี่ยน โอปายิโก ) มาเป็นเจ้าอาวาส และได้ปฏิสังขรณ์
พร้อมได้รื้อกุฏิสงฆ์มาสร้างใหม่ทั้งหมดในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ และพัฒนาวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ธรณีสงฆ์ของวัด
ที่ธรณีสงฆ์มี จำนวน ๖ แปลง
๑. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๘๙๐ มีเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๘ ตารางวา
๒. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๘๙๑ มีเนื้อที่ประมาณ ๙ ไร่ ๒๔ ตารางวา
๓. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๑๙๐๖ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๑ ไร่ ๙๒ ตารางวา
๔. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๓๓๒๓ มีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ๔๕ ตารางวา
๕. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๓๓๒๔ มีเนื้อที่ประมาณ ๕ ไร่ ๒ งาน ๑ ตารางวา
๖. โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๓๓๒๕ มีเนื้อที่ประมาณ ๔ ไร่ ๒ งาน ๗๓ ตารางวา
ปูชนียวัตถุของวัด
พระประธานประจำพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางดีดน้ำมนต์สมัยเชียงแสน หน้าตักกว้าง ๑ เมตรเศษ สูงประมาณ
๑ เมตร ครึ่ง และพระเหลือ หน้าตัก ๒๔ นิ้ว สูง ๒๙ นิ้ว พระสมัยเชียงแสน พระประจำวันพุธ ๑ องค์
ประวัติการสร้างถาวรวัตถุ
อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙
วิหาร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔
ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
กุฏิสงฆ์ สร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖
หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒
หอสวดมนต์ สร้างใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘
ฌาปนสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๒
ผูกพัทธสีมา
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๐๙
ลำดับเจ้าอาวาส
รูปที่ ๑. พระภิกษุโต๊ะ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๑
รูปที่ ๒. พระพรมมา ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๒
รูปที่ ๓. พระเบ้า อุตฺตโม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๒
รูปที่ ๔. พระอธิการว่อง ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๓ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๑
รูปที่ ๕. พระครูสถิตวุฒิคุณ ( พลอย) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๘
รูปที่ ๖. พระอธิการวงษ์ ชิตฺวํโส ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๙ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๑
รูปที่ ๗. พระครูสารดิตถารักษ์ (เปลี่ยน) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๒ ถึง พ.ศ.๒๕๖๑
รูปที่ ๘ พระปลัดพิเชษ ธมฺมธโช ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๖๑ ถึงปัจจุบัน
ไวยาวัจกร
นายคำ ดอนม่วงไพร
นายเนย วัฒนากร
นายร้อย ดอนก้อนไพร

รายการพระ

พระปลัดพิเชษ ธมฺมธโช

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 28-12-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 05-02-2565

พระจำรูญ ฐานวุฑฺโฒ

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 19-01-2565

พระวิชัย กตปุญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 19-01-2565

พระวินัย ชาติสุโร

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 19-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด