ข้อมูลทั่วไป
QR Code วัดพังม่วง
รหัสวัด
02720508002
ชื่อวัด
วัดพังม่วง
นิกาย
มหานิกาย
ประเภทวัด
วัดราษฎร์
วันตั้งวัด
ปี 2370
วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 02 เดือน กันยายน ปี 2497
ที่อยู่
บ้านพังม่วง
เลขที่
108
หมู่ที่
3
ซอย
-
ถนน
ทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ( กม.๙๑.๗๐๐) สายกรุงเทพ สุพรรณบุรี ชัยนาท
แขวง / ตำบล
วังน้ำซับ
เขต / อำเภอ
ศรีประจันต์
จังหวัด
สุพรรณบุรี
ไปรษณีย์
72140
เนื้อที่
22 ไร่ - งาน 28 ตารางวา
มือถือ
0804326464
โทรศัพท์
0804326464
จำนวนเข้าดู : 1297
ปรับปรุงล่าสุด : 3 มีนาคม พ.ศ. 2565 19:06:30
ข้อมูลเมื่อ : 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 09:37:31
ประวัติความเป็นมา
ประวัติวัดพังม่วง
ที่ตั้ง
บ้านพังม่วง เลขที่ ๑๐๘ หมู่ที่ ๓ ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ ( กม.๙๑.๗๐๐) สายกรุงเทพ –สุพรรณบุรี –ชัยนาท ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ๗ ๒ ๑ ๔ ๐
สถานะภาพ
เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ชลประทานสามชุก
ที่ดิน
ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๒๒ ไร่ ๒๘ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๕๘๗๓ อาณาเขตทิศเหนือติดที่ดินเอกชน ทิศใต้ติดที่ดินเอกชน ทิศตะวันออกติดที่ดินเอกชนใกล้ถนนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ และทิศตะวันตกติดแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก
มีที่ดินประเภทธรณีสงฆ์ ๒ แปลง รวมเนื้อที่ ๓๐ ไร่ คือ
- ที่ตั้งริมถนนทางหลวงหมายเลข ๓๔๐ กม. ๙๑.๓๐๐ จำนวน ๒ ไร่เศษ ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บริจาคถวายวัดโดยนายม้วน วังกรานต์ ปัจจุบันเอกชนเช่าปลูกบ้าน
- ที่ตั้งบริเวณริมบึงลำควง หมู่ ๔ ตำบลวังน้ำซับ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๒๘ ไร่ บริจาคถวายโดยนายก๊ก พวงผกา
ประการที่ ๑. สันนิษฐานว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ช้างพังในกองทัพสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งไปรบกับกองทัพพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ กลับมาข้ามแม่น้ำท่าจีนตรงบริเวณนี้ จะไปกรุงศรีอยุธยา (ในหน้าแล้ง แม่น้ำท่าจีนบริเวณนี้ จะแห้งขอด จนสามารถเดินข้ามได้ เป็นที่มาของตำบลวังน้ำซับ) แล้วล้ม จึงชื่อว่า วัดพังม่วง ตามลักษณะของช้างมงคลหัตถี ผิวดังสีดอกอัญชัน รูปร่างสูงสง่า
ประการที่ ๒. สันนิษฐานว่า สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ว่า “บางม่วง” ชาวบ้านในชุมชนนี้เห็นว่าน่าจะเป็น “พังม่วง” มากกว่า ด้วยเหตุผลว่าไม่มีป่าหรือสวนมะม่วง เดิมเป็นป่าเบญจพรรณ เคยขุดพบงาช้างฝังดินในพื้นที่คู่หนึ่งในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ และน่าจะเป็นที่อยู่ของโขลงช้าง มีช้างบางเชือกมีผิวสีเข้มออกม่วง ซึ่งตรงกับตำราคชศาสตร์ลักษณะช้างดี ช้างมงคล เรียกว่า “ช้างตระกูลมงคลหัตถี” จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “พังม่วง”
บ้านพังม่วงมีพื้นที่ครอบคลุมทั้ง ๒ ฝั่งแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ราวๆ ๔ ตารางกิโลเมตร และน่าจะเป็นหมู่บ้านชายเขตพระนครเมืองสุพรรณบุรี หมู่บ้านหนึ่ง อยู่ห่างเพียง ๒๓ กิโลเมตร จึงอาจจะใช้ชื่อนี้มาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา
การตั้งวัด
ในอดีต ในหมู่บ้านพังม่วงมีวัดตั้งอยู่ ๒ วัดคือ
- วัดพังม่วง อยู่ริมแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันตก แต่ได้กลายเป็นวัดร้างมาแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันที่ดิน ที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านออกโฉนดโดยราชการเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ( ร.ศ. ๑๒๘)
- วัดพิกุนทอง อยู่ริมแม่น้ำท่าจีนฝั่งตะวันออก เป็นวัดมาตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ มีเจ้าอาวาสรูปแรกคือพระอาจารย์เปรม พ.ศ. ๒๓๗๐
การเปลี่ยนชื่อวัด
สมัยก่อนคนอ่านออก เขียนได้มีจำนวนน้อย วัดไม่มีป้าย และในหมู่บ้านนี้มีเพียงวัดพิกุนทองเพียงวัดเดียว แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกชื่อวัดตามหมู่บ้านว่า “วัดบ้านพังม่วง” แล้วกร่อนมาเป็น “วัดพังม่วง”
วิสุงคามสีมา
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรกในรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ และครั้งที่สอง เมื่อ วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗
รายนามเจ้าอาวาส
- หลวงพ่อเปรม พ.ศ. ๒๓๗๐ - พ.ศ. ๒๓๗๒ (ย้ายไปจำพรรษาที่อื่น)
- หลวงพ่อบัว พ.ศ. ๒๓๗๕ - พ.ศ. ๒๓๗๙ (ย้ายไปจำพรรษาที่อื่น)
- หลวงพ่อริด พ.ศ. ๒๓๙๐ - พ.ศ. ๒๔๑๔
- หลวงพ่อแฉ่ง พ.ศ. ๒๔๓๐ - พ.ศ. ๒๔๓๐ (ลาสิกขา)
- หลวงพ่อช้าง พ.ศ. ๒๔๓๕ - พ.ศ. ๒๔๔๕ (ลาสิกขา)
- หลวงพ่อโฉม พ.ศ. ๒๔๔๗ - พ.ศ. ๒๔๖๐ (ลาสิกขา)
- หลวงพ่อลอย พ.ศ. ๒๔๖๐ - พ.ศ. ๒๔๗๖ (ลาสิกขา)
- พระครูทอง (ทอง) พ.ศ. ๒๔๗๖ - พ.ศ. ๒๕๑๐
- พระครูสุวรรณประภาธร (ทองอยู่) พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๔๔
- หลวงพ่อสมชาย พ.ศ. ๒๕๔๔ - พ.ศ.๒๕๔๕ (ลาสิกขา)
- พระศรีธรรมคุณาธาร พ.ศ. ๒๕๔๕ - พ.ศ.๒๕๖๐ (จำนง วรวฑฺฒโน ป.ธ.๙)
- พระมหามนพ กิตฺติมโน พ.ศ. ๒๕๖๐ - ปัจจุบัน
แผนที่ Google Map
Google Map Link
กดดู
รายการพระ
ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด
เทศกาลงานบุญประเพณี
ปูชนียวัตถุสถาน
วีดีโอพระพุทธศาสนา
สาระธรรม
สื่อมีเดีย
สำนักปฏิบัติธรรม
วัดพังม่วง
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2565
ทรัพย์สินของวัด
ท้าวเวสสุวรรณ
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2565
วิหารหลวงพ่อสัมฤทธิ์
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2565
โครงการและกิจกรรมเด่น
ขอพรท้าวเวสสุวรรณ
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2565
ออกร้านการกุศล
ข้อมูลเมื่อ : 03-03-2565