เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8344 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8859 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7193 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดพะเนียงแตก

รหัสวัด
02730106001

ชื่อวัด
วัดพะเนียงแตก

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2335

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 12 เดือน มีนาคม ปี 2508

ที่อยู่
วัดพะเนียงแตก

เลขที่
96

หมู่ที่
4

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
มาบแค

เขต / อำเภอ
เมืองนครปฐม

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73000

เนื้อที่
154 ไร่ 2 งาน 32 ตารางวา

มือถือ
0836854961

โทรศัพท์
034203332

อีเมล์
WATPHANIENGTAEK@gmail.com

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง
เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นอุทยานการศึกษาในวัด
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.) ดีเด่น

จำนวนเข้าดู : 759

ปรับปรุงล่าสุด : 27 ธันวาคม พ.ศ. 2564 21:34:31

ข้อมูลเมื่อ : 15 กันยายน พ.ศ. 2564 00:00:00

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของชื่อวัด   ผู้สร้างวัด    การบูรณะและพัฒนาวัด
            วัดพะเนียงแตก  จังหวัดนครปฐม   สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นประมาณพ.ศ. ๒๓๓๔ เป็นปีที่  ๑๐  ในแผ่นดินสยามของ    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช    รัชกาลที่  ๑  ตรงกับร.ศ. ๑๐   จุลศักราช  ๑๑๕๓   วัดพะเนียงแตกนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองพะเนียงแตกตามชื่อหมู่บ้าน    เป็นคลองธรรมชาติ    แยกมาจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่านหมู่บ้านพะเนียงแตกแล้วไหลลงสู่แม่น้ำท่าจีน   ที่ตำบลบางพระ   อำเภอนครชัยศรี   จังหวัดนครปฐม   วัดพะเนียงแตกเดิมชื่อว่า  “  วัดปทุมคงคา
ตามหลักฐานเก่าจารึกอยู่ที่จั่วอุโบสถหลังเดิม    สำหรับชื่อวัดพะเนียงแตกหลวงพ่อทา    ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒  เป็นผู้ตั้งให้ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อหมู่บ้าน,  ชื่อตำบล  และชื่อแม่น้ำที่หน้าวัด     เพื่อให้พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัยประจำ   เพื่อการดูแลรักษาและบำเพ็ญสมณธรรมสืบไป   แต่เดิมนั้นบริเวณที่ตั้งเป็นป่ารกชัฏเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด   อาทิ   เช่น  ช้าง  เสือ   กวาง  ชะนี   ลิง  และม้า  เป็นต้น  ซึ่งชาวบ้านสมัยนั้นนิยมทำพลุไฟพะเนียงไปถวายในพระราชวังสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   รัชกาลที่  ๕   ทรงจัดงานพระราชพิธีสมโภชในงานต่าง ๆ ชาวบ้านทั่วไปจึงนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ” วัดพะเนียงแตก
            วัดพะเนียงแตกนี้    มีเนื้อที่ตั้งวัดและที่ธรณีสงฆ์จำนวน  ๑๕๔  ไร่  ๒   งาน   ๓๒ตารางวา    เฉพาะเป็นที่ตั้งวัด  ๔๔  ไร่     ที่ธรณีสงฆ์  ๑๑๐  ไร่  ๒  งาน  ๓๒  ตารางวา
อาณาเขตที่ตั้งของวัด
            เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปกครอง    ดูแลรักษาศาสนสมบัติ   ศาสนวัตถุ   และพระปรางค์เก่าแก่  อายุกว่า  ๒๐๐   ปี   และโบราณวัตถุ   ภายในวัด   จึงแบ่งออกเป็น  ๓   เขต   ดังนี้
            เขตพุทธาวาส                    มีอาณาเขตเริ่มจากทิศเหนือ    ไปตามแนวจรดที่มีการครอบครองทางสาธารณะประโยชน์     ทิศใต้    จรดที่ดินเลขที่  ๑๔๓   ติดคลองพะเนียงแตก    ทิศตะวันออก   จรดที่มีการครอบครองทางสาธารณะประโยชน์    ทิศตะวันตก   จรดที่มีการครอบครองคลองพะเนียงแตก  เป็นเขตแดน    บริเวณภายในเขตพุทธาวาสเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระพุทธชินราช     และปูชนียสถานอื่น ๆ  เช่นอุโบสถ   มณฑปหลวงพ่อทา    มณฑปหลวงพ่อประยงค์  วิหารพระสิวลี  วิหารพระสามสมัยมีพระเชียงแสน      พระสุโขทัย    พระอู่ทอง    วิหารพระสังกัจจายน์  เป็นต้น
            เขตสังฆาวาส                    มีกำแพงและเจดีย์   ล้อมรอบทั้ง  ๔  ด้าน    มีสวนต้นไม้กั้นเขตกลางระหว่างเขตพุทธาวาส   และเขตสังฆาวาสภายในเป็นกุฎิที่อยู่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์   มีศาลาการเปรียญหอสมุด   ศาลากองอำนวยการ  โรงเรียนพระปริยัติธรรม   ศาลาหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล   หอกลอง    หอระฆัง   ศาลาหอฉัน   ศาลาโรงเลี้ยง  เป็นต้น
            เขตธรณีสงฆ์                    ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดที่ประชาชนถวายไว้ให้เป็นสมบัติของวัดตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( ร. ๔ ) จนถึงพุทธศักราช  ๒๔๘๙   ( ร.๘ )  ซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ  ขออนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่ราชการบ้าง มีเทศบาลตำบลมาบแคที่ทำการกำนัน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโรงเรียน  และบางแห่งถูกเวรที่คืนทำคลองชลประทาน    ทำถนนทางเดินรถยนต์  เป็นต้น  จึงทำให้เหลือเป็นที่ธรณีสงฆ์  ประมาณ   ๑๑๐   ไร่
            การได้มาซึ่งผลประโยชน์ของวัดพะเนียงแตก   โดยปกติได้มาโดย   ๓   ทาง  คือ
๑.          เกิดจากค่าเช่า  ค่าบำรุงที่ธรณีสงฆ์   จากพุทธศาสนิกชนเช่าอาศัยทำมาหากิน       
๒.         เกิดจากที่กัลปนาผลที่ประชาชนถวายโฉนดที่ดินซึ่งประชาชนที่อยู่อาศัยในเขต
            ที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวนี้จะต้องทำสัญญาเช่ากับทางวัดเป็นรายปี
 ๔.        เกิดจากรายได้กองการกุศลที่มีจิตศรัทธาบริจาคทำบุญ
 ๕.        รายได้พิเศษจากการจัดงานเทศกาลนมัสการรูปเหมือนพระครูอุตตรการบดี
            ( หลวงพ่อทา )อดีตพระเกจิอาจารย์สมัยรัชกาลที่  ๕   และอดีตเจ้าอาวาส                    
            วัดพะเนียงแตกที่มีเป็นประจำทุกๆปี

เอกสารเกี่ยวกับวัด 1 : (226.23 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 2 : (475.14 kb)

เอกสารเกี่ยวกับวัด 3 : (333.85 kb)

รายการพระ

พระครูพิศาลสาธุวัฒน์ (ทองคำ) จารุโภ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 28-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 26-01-2565

พระปลัดเฉลิมพล จารุวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 25-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 30-01-2565

พระสุภาพ อาภสฺสโร

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระหยวก มหามงฺคโล

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระเอกวัฒน์ วรธมฺโม

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระมหานฤนาท นาถสีโล

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

พระพศวัตร ขนฺติโก

ข้อมูลเมื่อ : 30-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ทอดกฐินสามัคคีประจำปี 2564

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

เปิดดู 1316 ครั้ง

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด