เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8348 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8863 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7196 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดบางน้อยใน

รหัสวัด
2730503003

ชื่อวัด
วัดบางน้อยใน

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
วันที่ 04 เดือน มีนาคม ปี 2472

วันรับวิสุงคามสีมา
วันที่ 22 เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2503

ที่อยู่
วัดบางน้อยใน

เลขที่
17

หมู่ที่
11

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
บางหลวง

เขต / อำเภอ
บางเลน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73190

เนื้อที่
32 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา

โทรศัพท์
034399371

คุณสมบัติวัด

เป็นวัดประชารัฐสร้างสุข
เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม
เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อปต.)

จำนวนเข้าดู : 882

ปรับปรุงล่าสุด : 4 มกราคม พ.ศ. 2565 13:52:32

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 14:20:30

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

                                วัดบางน้อยใน ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
สังกัดคณะสงฆ์
มหานิกาย
การตั้งวัด 
           ได้เริ่มตั้งวัดเมื่อ ช่วงปลายรัชกาลที่ ๖ ประมาณวันที่ ๔ มีนาคม ปี พ.ศ.๒๔๗๒ (ร.ศ.๑๔๖) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๐๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตรที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๓๒ ไร่ ๒ งาน ๔๗ ตารางวา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๗ ตอนที่ ๑๘ วันที่ ๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๐๓ โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็น โฉนด เลขที่ ๓๕๖๙๐ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของวัด มีอาณาเขต ดังนี้คือ.-

          - ทิศเหนือ จด ๕๒๗๒ ๑๕๓๑ ๓๖๗๑
          - ทิศใต้ จดทางสาธารณะประโยชน์
          - ทิศตะวันออก จดทางสาธารณะประโยชน์
          - ทิศตะวันตก จดทางสาธารณะประโยชน์   
ประวัติวัด
          สถานที่สร้างวัดนี้เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เป็นดงป่าไผ่ สมัยนั้นการคมนาคมไม่สะดวก มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ได้ร่วมกันจัดสร้างสำนักสงฆ์ ณ บ้านบางน้อยในขึ้น ตามหลักฐานไม่ทราบแน่ชัดว่าพระภิกษุรูปใดเป็นรูปแรกที่ชาวบ้านได้นิมนต์ให้มาอยู่ประจำสำนักสงฆ์ในระยะนั้น   จวบจนสมัยต่อๆ มาจากคำบอกเล่ากล่าวว่าชาวบ้านบางน้อยในได้ไปปรึกษากับหลวงปู่คล้าย (พระครูปุริมานุรักษ์) ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวงบางปลาสมัยนั้น ให้จัดหาพระผู้ใหญ่ในวัดศิลามูลไปอยู่ประจำบำรุงศรัทธาชาวบ้านไปพลางก่อน ดังพอที่จะสืบค้นได้ดังนี้
         พระอาจารย์จ่าง ไม่ทราบฉายา ไปจากวัดศิลามูลองค์แรก อยู่ต่อมาประมาณเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๙ (ร.ศ.๑๕๕) ครั้นพระอาจารย์มาอยู่ประจำแล้ว ได้จัดสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้น ๑ หลัง ในปีเดียวกันนั้นเอง พระอาจารย์จ่างเห็นว่าประชาชนสนใจกันมากขึ้น และก็มีความสามัคคีกันดี จึงปรึกษาทายกทายิกาปลูกกุฏิหลังที่ ๒ ขึ้นอีก มีพระมาอาศัยอยู่ประมาณ ๘ รูป
          พระอาจารย์จ่างได้ควบคุมดูแลปกครองพระภิกษุสามเณรเรื่อยมา ตามประวัติเล่าว่า พระอาจารย์จ่าง ได้นำประชาชนและชาวบ้าน เข้าป่าตัดเสา ตัดไม้ ตามป่าพนมทวน และบ้านทับกระดาน อำเภอสองพี่สอง ซึ่งมีไม้แก่น ไม้เต็งรัง ช่วยกันเลื่อยปลูกกุฏิ ปลูกศาลาการเปรียญ เพื่อให้ประชาชนได้ทำบุญสร้างกุศลมาตามลำดับ พระอาจารย์จ่าง อยู่จำพรรษาวัดบางน้อยใน ประมาณ ๗ หรือ ๘ ปี ท่านก็ได้ลาจากญาติโยม และลาหลวงปู่คล้าย พระอุปัชฌาย์ของท่าน ออกเดินธุดงค์ไปตามป่า ตามหัวเมืองต่างๆ ท่านไม่กลับมาวัดอีกเลย แต่ท่านจะมรณภาพเมื่อปี เดือน ใด ไม่มีประวัติ
          พระอาจารย์ผ่อง ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๗ เมื่อว่างเจ้าอาวาสชาวบ้านบางน้อยในจึงพากันไปหาหลวงปู่คล้ายอีก หลวงปู่คล้ายจึงบอกให้ชาวบ้านไปคุยกับอาจารย์ผ่อง ศิษย์หลวงปู่เอง ซึ่งท่านเห็นว่าพอจะเป็นผู้ปกครองพระภิกษุสามเณรได้ เมื่อชาวบ้านได้ปรึกษากันแล้ว ก็ตกลงนิมนต์พระอาจารย์ผ่องไปดูแลปกครองพระภิกษุสามเณรตั้งแต่บัดนั้น ต่อมาหลวงปู่คล้ายจึงได้ส่งพระลพ ฉายา ปริปุณฺโณ ศิษย์อีกองค์หนึ่งไปอยู่เป็นเพื่อน โดยมีหน้าที่ติดต่อประสานงานในการก่อสร้างการสาธารณูปการในสมัยนั้น พระอาจาย์ลพกับพระอาจารย์ผ่องได้ร่วมกันสร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง หลังคามุงกระเบื้อง, สร้างโรงเรียนปริยัติธรรม ๑ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร หลังคามุงกระเบื้อง, ต่อมาพระอาจารย์ผ่อง ได้ย้ายกลับวัดศิลามูล
         หลวงปู่คล้ายจึงมอบให้พระอาจารย์จือ ฉายา นาโค ซึ่งเป็นพระอยู่จำพรรษาวัดบางน้อยในเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสพระอาจารย์จือ นาโค รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางน้อยในอยู่นาน เพราะไม่มีวิทยะฐานะทางนักธรรมเลย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ท่านจึงได้ร่วมกับพระอาจารย์ลพ สร้างกุฏิขึ้น ๓ หลัง กว้าง ๔ เมตร ยาว ๙ เมตร หลังคามุงกระเบื้อง
       วัดบางน้อยในนี้ ได้สร้างมาหลายปีแล้ว อุโบสถของวัดยังไม่มี พระอาจารย์จือ นาโค ท่านได้ปรึกษากับพระมหาเฉลียว กลฺยาโณ วัดศิลามูล ขณะนั้นกำลังดำรงตำแหน่งองค์การศึกษาอำเภอบางเลนรูปหนึ่งให้อนุเคราะห์ช่วยทำเรื่องรายงานขอวิสุงคามสีมาให้กับวัดบางน้อยในเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓  จวบจนวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๘ พระอาจารย์จือ นาโค อายุ ๕๘ พรรษา ๓๕ จึงได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการสงฆ์อำเภอบางเลน ขอเสนอคณะกรรมการสงฆ์จังหวัดแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส  ใบตราตั้งที่ ๗/๒๕๐๘ โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมสิริชัย ประธานคณะกรรมการสงฆ์จังหวัด ลงนามแต่งตั้งพระอธิการจือ นาโค เมื่อรับแต่งตั้งแล้ว ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะสงฆ์มาตามลำดับ
          พระอธิการจือ นาโค เป็นเจ้าอาวาสอยู่ได้ประมาณ ๑๖-๑๗ ปี ท่านได้มรณภาพเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๑๗ ณ วัดบางน้อยใน ด้วยโรคชรา
        ครั้นพระอธิการจือ นาโค มรณภาพแล้ว ชาวบ้านบางน้อยในจึงติดต่อกับพระครูประภัศรธรรมคุณ เจ้าคณะตำบลบางหลวง ขอให้พิจารณาพระอาจารย์เจริญ ฉายา อิสิญาโณ เป็นลูกชาวบ้านบางน้อยใน ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสต่อมา พระจารย์เจริญ ขณะนั้นมีพรรษาได้ ๔ พรรษา
        พระอาจารย์เจริญ อิสิญาโณ ครั้นได้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางน้อยในนั้น ได้รับความสนับสนุนจาก ท่านคฤหบดีมีผู้ศรัทธา ๒ ท่าน คือ พล.ต.ต.สงวน คล่องใจ อดีตผู้บัญชาการกองปราบ กับคุณนายอุษา คล่องใจ ภรรยาของผู้การฯ ได้สละทุนทรัพย์ทั้งส่วนตัว และชักชวนญาติมิตรนำทุนทรัพย์ มาสร้างอุโบสถ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๑๘ เป็นต้นมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙ จึงสร้างอุโบสถหลังนั้นสำเร็จสมความปรารถนา ครั้นสร้างอุโบสถสำเร็จแล้ว ท่านคฤหบดีทั้ง ๒ ได้สละทุนทรัพย์อีกก้อนหนึ่ง สร้างพระประธานประจำอุโบสถอีกหนึ่งองค์ ลงรักปิดทองเรียบร้อย ได้นำประดิษฐานบนแท่นในพระอุโบสถ โดยท่านผู้การฯ และคุณนายอุษา คล่องใจ ได้กราบอาราธนา เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกองค์ที่ ๑๘ และท่านเจ้าคุณพระเทพสังวรญาณฯ เป็นประธานเททอง และเบิกพระเนตร เจริญชัยมงคลคาถา
         ครั้นต่อมาเมื่อสร้างอุโบสถเสร็จ หล่อพระประธานเสร็จ นำประดิษฐานบนแท่นอุโบสถแล้ว พระอาจารย์เจริญ อิสิญาโณ ได้ลาสิกขาบทไป จนถึงสมัยพระครูปรีชา ปริยัติกิจ วัดศิลามูล เป็นเจ้าคณะตำบลบางหลวง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จึงต้องรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางน้อยในติดต่อกันมาโดยตำแหน่ง จนกระทั่งในกาลต่อมาจึงได้นิมนต์พระสมทรง ฉายา อรุโณ อยู่วัดแก้วฟ้าจุฬามณี กรุงเทพมหานคร  ให้เดินทางมาอยู่วัดบางน้อยใน เมื่อวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ครั้นมาอยู่ประจำวัดบางน้อยใน ย้ายมาถูกต้องตามระเบียบคณะสงฆ์แล้ว เจ้าคณะตำบลบางหลวง จึงประกาศแต่งตั้งให้พระสมทรง อรุโณ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส หลังจากนั้นจึงได้รับตำแหน่งพระครูสมุห์ฐานานุกรม ของพระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เป็นพระครูสมุห์สมทรง อรุโณ ต่อมาได้ทำการผูกพัทธสีมา-ปิดทองฝังลูกนิมิต วัดบางน้อยใน ในวันที่ ๑๙-๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ จนแล้วเสร็จ ลุปี พ.ศ.๒๕๓๐ จึงลาสิกขาไป วัดได้ว่างผู้รักษาการดูแล  จนกระทั่งในวันที่ ๓๐ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ พระครูปรีชาปริยัติกิจ ได้แต่งตั้งพระดา  จนฺทวณฺโณ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ลุปี พ.ศ. ๒๕๓๒ คณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมจึงมีคำสั่งที่ ๘/๒๕๓๒ แต่งตั้ง พระดา ฉายา จนฺทวณฺโณ อายุ ๕๘ พรรษา ๕ วิทยฐานะนักธรรมโท ซึ่งเป็นพระท้องที่ บวชเมื่อวันที่ ๒๑ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ โดยมีพระโอด จนฺทโชโต เป็นกรรมการผู้ช่วยเจ้าอาวาสในช่วงเวลานั้น  พระอธิการดา จนฺทวณฺโณ ได้ทำหน้าที่เจ้าอาวาสปกครองคณะสงฆ์เป็นระยะเวลานาน ได้ทำการก่อสร้างศาลาหอสวดมนต์, กุฏิปูน ๒ ชั้น ๑๔ ห้อง ๑ หลัง และต่อเติมศาลาการเปรียญที่วางรากฐานไว้แต่สมัยอาจารย์เจริญจนแล้วเสร็จ พระอธิการดา จนฺทวณฺโณ ได้มรณะภาพลงในวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ 
          หลังจากวัดบางน้อยในขาดเจ้าอาวาสลง คณะสงฆ์ได้มีคำสั่งจากพระมหาปรีชา ภูริปญฺโญ เจ้าคณะตำบลบางหลวงแต่งตั้งให้พระมหาณรงค์ มหาปญฺโญ อายุ ๓๘ พรรษา ๕ วิทยฐานะนักธรรมเอก เปรียญธรรม ๕ ประโยค ซึ่งเป็นพระสังกัดอยู่ในวัดบางน้อยใน ซึ่งได้ไปเรียนบาลีอยู่ที่วัดพระปฐมเจดีย์เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบางน้อยใน ตั้งแต่วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ แต่เนื่องจาก พระมหาณรงค์ มหาปญฺโญ ยังต้องรอสอบประโยค ๖ จึงเดินทางไปกลับในการดูแลพระภิกษุสงฆ์ จวบจนสอบและประกาศผลเรียบร้อยแล้ว จึงได้ลงมาอยู่วัดบางน้อยในตามคำสั่งแต่งตั้ง พระมหาณรงค์ มหาปญฺโญ ได้ปกครองพระภิกษุสามเณรมาด้วยความเรียบร้อยจวบจนวันที่ ๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชรัตนมุนี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม จึงมีคำสั่งแต่งตั้งที่ ๑๔/๒๕๕๓ ให้พระมหาณรงค์ ฉายา มหาปญฺโญ อายุ ๓๙ พรรษา ๕ วิทยฐานะ นักธรรมเอก เปรียญธรรม ๖  ประโยค ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ลำดับเจ้าอาวาส
          วัดบางน้อยในได้มีพระภิกษุที่ดำรงตำแหน่งโดยการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดซึ่งพอจะสืบค้นหา สืบลำดับได้ดังนี้
          ๑. พระอธิการจือ นาโค ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ จนถึง ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๑๖-๑๗         
          ๒. พระอธิการดา จนฺทวณฺโณ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๒
          ๓. พระมหาณรงค์ มหาปญฺโญ, ดร. ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน
ไวยาวัจกรวัดบางน้อยใน
          ๑. นายประเทือง แก้วมณี
          ๒. นายบุญชู ศรีอินทร์กิจ

แผนที่ Google Map

Google Map Link
กดดู

รายการพระ

พระมหาณรงค์ มหาปญฺโญ

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 13-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 04-01-2565

พระสมบัติ อินฺทวีโร

ข้อมูลเมื่อ : 14-10-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด