เข้าสู่ระบบสมาชิก
สถิติสารสนเทศ
วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรมหาวิหาร
1 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นเอก วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรมหาวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นโท วรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี ราชวรวิหาร
0 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี วรวิหาร
2 วัด
พระอารามหลวง ชั้นตรี สามัญ
9 วัด
วัดราษฎร์
1455 วัด
สำนักสงฆ์
83 วัด
ที่พักสงฆ์
72 วัด
วัดร้าง
2 วัด
วัดทั้งหมด
1624 วัด
 
ศาสนบุคคลไทย
พระภิกษุ
8339 รูป
สามเณร
302 รูป
แม่ชี
89 รูป
ศิษย์วัด
33 คน
บุคคลทั่วไปชาย
39 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
52 คน
ทั้งหมด
8854 รูป/คน
 
ศาสนบุคคลต่างชาติ
พระภิกษุ
40 รูป
สามเณร
25 รูป
แม่ชี
1 รูป
ศิษย์วัด
3 คน
บุคคลทั่วไปชาย
0 คน
บุคคลทั่วไปหญิง
0 คน
ทั้งหมด
69 รูป/คน
 
สถิติสถานภาพพระภิกษุปัจจุบัน
พระบวชใหม่
7188 รูป
ลาสิกขา
34 รูป
มรณภาพ
10 รูป
 

ข้อมูลทั่วไป

QR Code วัดลานคา

รหัสวัด
2730509001

ชื่อวัด
วัดลานคา

นิกาย
มหานิกาย

ประเภทวัด
วัดราษฎร์

วันตั้งวัด
ปี 2460

วันรับวิสุงคามสีมา
ปี 2470

ที่อยู่
วัดลานคา

เลขที่
-

หมู่ที่
10

ซอย
-

ถนน
-

แขวง / ตำบล
ดอนตูม

เขต / อำเภอ
บางเลน

จังหวัด
นครปฐม

ไปรษณีย์
73130

เนื้อที่
29 ไร่ - งาน 32 ตารางวา

มือถือ
081-851-3449

คุณสมบัติวัด

เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม

จำนวนเข้าดู : 931

ปรับปรุงล่าสุด : 30 ธันวาคม พ.ศ. 2564 06:17:37

ข้อมูลเมื่อ : 29 กันยายน พ.ศ. 2564 13:26:27

 
 
 
 

ประวัติความเป็นมา

ประวัติ
พระครูถาวรศีรวัตร
  สถานะเดิม
                ชื่อ  นายพรหม   นามสกุล อารมณ์ชื่น
                        เกิดวันที่  24 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒477  บิดา  นายสำอาง อารมย์ชื่น
                มารดา  นางจ้อย  อารมณ์ชื่น  ณ บ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 3 ตำบลสามง่าม
                         อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม
 บรรพชา    
                วันที่  ๒ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕01
                        ณ วัดลานคา  ตำบลดอนตูม  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม 
                พระอุปัชฌาย์  พระสุวัตถิธรรมประภาส  ณ วัดลำพญา
                        ตำบลลำพญา  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม                                               
 อุปสมบท
                วันที่  ๒ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕01
                        ณ วัดลานคา  ตำบลดอนตูม  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม 
                พระอุปัชฌาย์  พระสุวัตถิธรรมประภาส  ณ วัดลำพญา
                        ตำบลลำพญา  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม                                               
                พระกรรมวาจาจารย์  พระอธิการสวิง  ฐานกโร  วัดลำลูกบัว
                        ตำบลสามง่าม  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม
                พระอนุสาวนาจารย์  พระสงัด  สิทฺธิลาโภ   วัดลานคา
                        ตำบลดอนตูม  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม
วิทยฐานะ
                พ.ศ. -        สำเร็จการศึกษาชั้น ป.๖  โรงเรียนวัดลานคา
                                     ตำบลดอนตูม  อำเภอบางเลน  จังหวัดนครปฐม                            
               พ.ศ. ๒๕04   สอบได้ น.ธ.เอก  สังกัดสำนักศาสนศึกษา วัดลานคา
                                     อำเภอดอนตูม  สำนักเรียนคณะจังหวัดนครปฐม
งานการศึกษา
             พ.ศ. ๒๕05      เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม
                                       วันที่ ๑ มกราคม ๒๕05
งานปกครอง
                พ.ศ. ๒๕08   เป็นเจ้าอาวาสวัดลานคา   อำเภอดอนตูม  จังหวัดนครปฐม
                                      วันที่ ๒0 พฤษภาคม ๒๕08
 
วัดลานคา
          วัดลานดา เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๑๐ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พื้นที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๒๖ ไร่  งาน ๕๘ ตารางวา ตามหนังสือโฉนดเลขที่ ๕๑๑๔๘ มีอาณาเขตดังนี้
          ทิศเหนือ จรดคลองบางเลนและ หมู่ที่ ๒ , ๓ ตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน
          ทิศใต้ จรด หมู่ ๓ ตำบลดอนตูม อำเภอบางเลน
          ทิศตะวันออก จรดหมู่ ๑ ตำบลบางไทรบำ อำเภอบางเลน
          ทิศตะวันตก จรดหมู่ ๓ ตำบลลำลูกบัว อำเภอบางเลน
ความเป็นมาแต่เดิม
          วัดลานคา เดิมมีนายไกวกับ นายรอด ได้ถวายที่ดินเพื่อสร้างวัด โดยได้รับความร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านในละแวกนี้ ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นก่อนโดยมีหลวงตาพุก เป็นผู้ดูแลประชาชมักเรียกว่า วัดตาไกว ไผ่ตารอด เริ่มสร้างมาแต่ พ.ศ. ใดไม่ปรากฏชัดเจน
          กาลต่อมา เมื่อหลวงตาพุกถึงแก่มรณภาพ พระภิกษุแผ้ว เป็นผู้ดูแลต่อมา โดยมี นายปาน อารมณ์ชื่น เป็นมัคทายก คอยอุปถัมภ์วัดเรื่อยมา จนในที่สุดได้เริ่มทำการถมที่เพื่อทำการสร้างอุโบสถเมื่อถมที่เสร็จแล้วได้เกิดมีน้ำหลากน้ำท่วมจำนวนมาก มีกอหญ้าคาลอยมาติดที่โคกโบสถ์ และที่ใกล้ๆวัดนี้ก็มีหนองน้ำใหญ่อยู่ทิศใต้ ชื่อหนองหญ้าคา ด้วยเหตุนี้ซาวบ้านจึงเรียกว่า วัดหนองหญ้าคาบ้าง วัดลานดาบ้าง และในที่สุดจึงกลายชื่อมาเป็น "วัดลานคา" "ปัจจุบัน
ลักษณะพื้นที่ทั่วไป
          ในอดีตย้อนขึ้นมาประมาณ ๓๐ ปี บริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีหนองน้ำอยู่โดยทั่วไป เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เมื่อถึงฤดูฝนท้องทุ่งนาจะเต็มไปด้วยต้นข้าวแลดูเขียวชอุ่มสุดลูกหูลูกตาสลับด้วยปาละเมาะมีต้นไม้ มีต้นตาลขึ้นประปราย จะมีกระท่อมของชาวนาปลูกไว้เป็นหย่อมๆเมื่อถึงฤดูน้ำ  น้ำจะหลากมาท่วมทุ่งดูเวิ้งว้าง จะมีแต่ระลอกเล็กๆ ของน้ำกระทบ แสงแดดแลดูระยิบระยับ สวยงามยิ่งนัก ไม่มีถนนมีแต่ทางเกวียน ทางคนเดินไปมาหาสู่กัน
          ในฤดูน้ำจะใช้เรือเป็นพาหนะ แต่ในปัจจุบันกลายเป็นอดีต พื้นที่โดยรอบกลายเป็นโรงงานอุสาหกรรม ฟาร์มไร่ หมู่บ้านจัดสรร มีถนนลูกรัง ถนนลาดยาง เข้าหมู่บ้านที่ราบลุ่มที่เป็นท้องนาถูกถมเพื่อสร้างโรงงานอุสาหกรรม ทำสนามกอล์ฟ ที่ดินมีราคาแพงขึ้นท้องทุ่งนาลดน้อยลง ในอนาคตจะไม่ได้เห็นท้องทุ่งนา จะมีแต่โรงงาน หมู่บ้านจัดสรร โดยรอบ
          ยุคที่มีการก่อสร้างและวัดและมีอุโบสถเป็นครั้งแรกและต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๖๗ พระภิกษุแผ้วซึ่งเป็นผู้ดูแลในสมัยนั้น มีนายปาน อารมณ์ชื่น เป็นมัคทายก ได้ทำการก่อสร้างอุโบสถขึ้น ๑ หลัง และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา ต่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ และได้ทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๑ ตามใบพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗o เมื่อทำการผูกพัทธสีมา เรียบร้อยแล้ว  ยังมีเงินสดเหลือ ได้สร้างศาลาการเปรียญ - หลัง ยาวประมาณ ๑๑ วา กว้าง ซ วา สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒,000 บาท เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
          เมื่อพระภิกษุแผ้วได้ลาสิกขาบทแล้วก็มีพระภิกษบุญรอด อารมณ์ชื่น เป็นผู้ดูแลปกครองต่อไป ได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นที่พักอาศัยแก่บรรพชิตจนเป็นที่เรียบร้อย แต่ก็ได้ลาสิกขาบทออกไปประกอบอาชีพ
เมื่อพระภิกษุบุญรอดลาสิกขาบทไปแล้ว พระภิกษุมิน ถิ่นโพธิ์วงศ์ บุตรของนายเปรื่อง นางแม้นได้มาดูแลแทน และได้ย้าย
กุฏิจากเดิมคือทางขอบสระน้ำทางทิศใต้ มาทำทางก่อสร้างขึ้นใหม่ทางทิศเหนือ โดยดัดแปลงรูปทรงบ้าง ซ่อมใหม่บ้าง เสร็จเรียบร้อยเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๐ และก็ได้ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพ
          เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙. ชาวบ้านวัดลานคาได้ประชุมและตกลงไปนิมนต์พระอาจารย์เล็ก ธมุมจารี แห่งวัดศิลามูล มาดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสและเมื่ออาจารย์เล็กมาอยู่วัดลานคาก็เริ่มปฏิสังชณ์บูรณะซ่อมแซมวัดวาอารามเรื่อยมา และทำการสร้างศาลาดิน  1 หลัง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ อยู่ต่อมาอีกไม่กี่ปีก็ต้องลาสิกขาบทไปเช่นเคย
          เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระอาจารย์สงัด สิทธิลาโภ จากวัดใหม่ปิ่นเกลียว มาดำรงตำแหน่งรักษาการต่อไป  เมื่อมาอยู่แล้วเริ่มปฏิสังขรณ์บูรณะให้เป็นที่เรียบร้อย และเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ได้เริ่มทำการก่อสร้างหอฉัน หอสวดมนต์ ๒ ชั้น 1 หลัง สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ ๔๖.๒๕๘.๒๕ บาท ทำถนนเข้าวัดระยะทางประมาณ ๒๕ เส้น โดยซื้อที่ดินจากนายยนต์  ๑ ไร่ และ นายพะยอม พลอยแสงสาย ถวาย ๓ ไร่ นอกจากนั้นนายยนต์ถวายให้วัดและได้ขอ หน้าดิน จาก นายวัฒนา พานิชปฐม  สิ้นค่าน้ำมัน ๑,๔๕๐ บาท เมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ได้ทำการซ่อมแซมอุโบสถหลังเก่า เนื่องจากหลังคาได้พังลงมา สิ้นค่าซ่อมแซมเป็นเงิน ๔,๓๘๙.๕๐ บาท
          จากนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้สร้างเครื่องขยายเสียงไว้สำหรับวัด คิดเป็นมูลค่า ๘,๔๐๐ บาท ต่อมาผู้ใหญ่มาลัย นางสุรินทร์แห่งวัดไร่ขิง อำเภอสามพราน มีจิตศรัทธาบริจาคเงินให้ซื้ออุปกรณ์มาสร้างซ่อมอีก ๑ หลัง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๓,๐๐๐ บาท ต่อจากนั้น เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ก็ได้สร้างกุฏิขึ้นมาใหม่อีก 1 หลัง สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๙,๐๐๐ บาท จนถึงวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๕ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดลานดา ชื่อ พระอธิการสงัด สิทธิลาโภ นักธรรมตรี แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พศ.๒๕๐๕ ก็ได้ลาสิกขาบทไปประกอบอาชีพ ยังภูมิลำเนาเดิม
          ต่อมาชาวบ้านลานคาได้ไปหาเจ้าคณะตำบลบางไทรป่า เพื่อจัดตั้งให้พระพรหม ถวรสีโล มาดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาสและในที่สุดก็ได้รับอนุญาตให้รักษาการแทนได้ จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เป็นเจ้าอาวาสวัดลานคาจนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันอังคารที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ก็ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอบางเลน จากพระธรรมเจดีย์ (พระวิสุทธิวงศาจารย์ในปัจจุบัน) เจ้าคณะภาค ๑๗ วัดเทพธิดาราม ตราตั้งเลขที่ ๑/๒๕๓๓ มีสมณศักดิ์เป็น พระครูถาวรศีลวัตร

การพัฒนาวัดในปัจจุบัน
ในด้านวัตถุ
          พระครูถาวรศีลวัตร ได้วางแผนในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตามความจำเป็นทั้งด้านวัตถุและจิตใจ กล่าวคือ

๑. อุโบสถ          อุโบสถหลังเก่าซึ่งสร้างมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก จึงได้ริเริ่มดำเนินการหาทุนเพื่อสร้างอุโบสถใหม่ โดยเริ่มจาก พ.ศ. ๒๕๒๐ จนกระทั่งเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้กระทำพิธีตอกเสาเข็มหลังใหม่และดำเนินการก่อสร้างเรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ทำพิธีสุมทองเพื่อจะทำการหล่อพระประธานประจำอุโบสถหลังใหม่ โดยมีนายธงชัย นางสุภา ปฐมวัฒนานุรักษ์ เป็นเจ้าภาพ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ที่ ๖ เมษายน ๒๕๒๙ เวลา ๑๐.๐๙ น. เริ่มพิธีหล่อพระประธาน โดยมีพระครูพัฒนาภินันท์ วัดลำลูกบัว พระครูถารศีลวัตร วัดลานคาเป็นรองประธาน เมื่อถึงเวลา ๔.๐๐นเศษคณะอุบาสกอุบาสิกาโดยการนำของพระครูสิริบุญโสภิต วัดใหม่ยายนุ้ย กรุงเทพฯ ได้ทำการสวดมนต์ในปะรำพิธี ทำการสุมทองเมื่อสวดมนต์จบแล้ว ได้สวดชินบัญชรคาถา กำหนดสวด ๙ จบ พอสวดเที่ยวแรก ฝนก็เริ่มตกลงมาเล็กน้อย ต้องย้ายขึ้นไปสวดที่ศาลาการเปรียญ อีกจนครบ ๙ จบ แล้วทำสมาธิจิต เป็นเวลา ๓๐ นาที ในขณะนั้นบนท้องฟ้า ปรากฏมีเมฆครึ้มอยู่จำนวนมาก อากาศเริ่มเย็นลง เมื่อถึงเวลา ๐๙. ๓๐ น. ได้นิมนต์พระสงฆ์อีก ๒๔ รูป ทำการสวดมนต์ ๗ ตำนานย่ออีกฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก และเริ่มสวดบทพาหุงมหากา เพื่อรอฤกษ์เททอง เมื่อถึงเวลาฝนที่ตกหนักได้หยุดลง เมื่อได้ฤกษ์เททองเวลา๑๐.๐๙ น. ได้ทำการเททองหล่อพระประธาน ใช้เวลา ๒๐ นาที เมื่อเสร็จแล้ว ฝนก็เริ่มตกมาอย่างหนักจนถึงบ่าย เย็นจึงหยุดตก เป็นที่อัศจรรย์แก่อุบาสกอุบาสิกานับพันนับหมื่นที่มาร่วมพิธียิ่งนัก และในที่สุดเมื่อถึงวันอาทิตย์ที่ - มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๑ ก็ได้จัดงานผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังใหม่ สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ ๒,๔๐๐,000 บาท โดยได้รับการบริจาคจากประชาชนโดยทั่วไป

๒. วิหารเล็ก          สร้างเมื่อวันอังคารที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้ทำการก่อสร้างวิหาร เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อพระพุทธพิชิตมารา พระประธานองค์เก่า สิ้นค่าก่อสร้าง ๔๐๐,๐๐๐ บาท

๓. กุฏิสงฆ์          ได้วางแผนใหม่ทั้งหมด ด้วยการปรับปรุงกุหลังเก่าและที่สร้างใหม่ ให้อยู่ในแนวเดียวกัน ตลอดทั้งอนุรักษ์ศิลปะแบบไทยเพื่อให้ลูกหลานได้ดูและเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั่วไป กล่าวคือกุฏิทุกหลังเป็นแบบทรงไทย ยอดแหลม และเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ ได้ทำการก่อสร้างกุฏิเจ้าอาวาสหลังใหม่อีก , หลัง เป็นกุฏิทรงไทย ๒ ชั้น ชั้นล่างเป็นคอนกรีต ใช้เป็นที่ประชุมพระสังฆาธิการในโอกาสต่างๆ ชั้นบนเป็นเรือนไทย ๒ หลังคู่ เป็นที่อาศัย สิ้นค่าก่อสร้าง ๒,๐๑๐,๕๐๐ บาท
 
๔. ศาลาการเปรียญ          ได้ทำการซ่อมแชมศาลาการเปรียญหลังเก่าโดยแม่เหรียญ ศรีเมือง บริจาคเงินทั้งสิ้น ๒๐๐,๐๐๐ บาทและต่อมาได้ต่อเติมศาลาหลังเล็กต่อจากหลังใหญ่อีก ๑ หลัง โดยความร่วมมือร่วมใจจากญาติโยมทั่วไป
 
เจ้าอาวาส          พระครูถารศีลวัตร ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๘ - ปัจจุบัน

รายการพระ

พระครูถาวรศีลวัตร (พรหม) ถารวสีโล

ตำแหน่ง : เจ้าอาวาส

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 29-12-2564

พระวิรัช อภิปุญฺโญ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 23-01-2565

พระสมพล กิตฺติวณฺโณ

ข้อมูลเมื่อ : 29-09-2564

ปรับปรุงล่าสุด : 23-01-2565

ข่าวประชาสัมพันธ์จากวัด

ยังไม่มีข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์

เทศกาลงานบุญประเพณี

ยังไม่มีข้อมูลเทศกาลงานบุญประเพณี

ปูชนียวัตถุสถาน

ยังไม่มีข้อมูลปูชนียวัตถุสถาน

วีดีโอพระพุทธศาสนา

ยังไม่มีข้อมูลวีดีโอพระพุทธศาสนา

สาระธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสาระธรรม

สื่อมีเดีย

ยังไม่มีข้อมูลสื่อมีเดีย

สำนักปฏิบัติธรรม

ยังไม่มีข้อมูลสำนักปฏิบัติธรรม

ทรัพย์สินของวัด

ยังไม่มีข้อมูลทรัพย์สินของวัด

โครงการและกิจกรรมเด่น

ยังไม่มีข้อมูลโครงการและกิจกรรมเด่น

ทำบุญกับวัด

ยังไม่มีข้อมูลทำบุญกับวัด